แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

แดนพุทธภูมิ : อารัมภกถา คำนำ

                                                                                แดนพุทธภมิ                 

                                                                               อารัมภกกถา  

           โดย 
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

                                                                                                                                    Phisit Kotsupho

คำนำ Introduction

                        แดนพุทธภูมิ  ในช่วงแรก เป็นบทความซึ่งเกิดจากการไปสำรวจตามรอยพุทธสถานที่ประเทศอินเดียตอนเหนือ และประเทศเนปาล ระหว่างวันที่  24 - 28  กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2531  โดยคณะผู้สำรวจจากวัดไทยพุทธคยา   นำโดยพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระธรรมมหาวีรานุวัตร(บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (ก่อนมรณภาพ 2547 ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุเมธาธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร) ผู้เขียนได้ทำหน้าบันทึกรายงานการสำรวจและเพื่อเป็นหลักฐานแห่งการสำรวจภาคสนาม จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาออกเป็นบทความ ในเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตามข้อเท็จจริงที่ได้พบเห็น และผู้เขียนได้ให้ภาพพจน์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าในครั้งหน้า

                        ภายหลังจากการนำบทความเหล่านั้นลงเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ ผู้เขียนได้รับการร้องขอจาก ดร.วิทยา วิทยอำนวยคุณ เจ้าของและผู้จัดการหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ประธานมูลนิธิเพื่อสังคมไทย ให้เขียนถึงพุทธสถานที่เป็นสังเวชนียสถานอื่นๆอีก 3 แห่ง คือ พุทธคยา อิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถและกุสินารา ซึ่งจะทำให้หนังสือแดนพุทธภูมิมีเนื้อหาครบถ้วน  นอกจากนี้ ผู้เขียนคิดว่า หากจะได้เติมเต็มพุทธกิจ 45 พรรษา และสถานที่ทรงจำพรรษา ตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า คงจะเป็นความสมบูรณ์งามพร้อม ทั้งเป็นการปลูกศรัทธาปสาทะให้ชาวพุทธได้อนุสรณ์ถึงพระบรมศาสดาของตนอย่างเปี่ยมด้วยปีติ จึงได้เรียบเรียงพุทธกิจ 45 พรรษาเพิ่มเข้ามาด้วย ผลงานแดนพุทธภูมิที่เต็มรูปแบบเช่นนี้ เกิดขึ้นมาได้ เพราะได้รับกำลังใจและแรงกระตุ้นจาก ดร.วิทยา วิทยาอำนวยคุณ ดังกล่าวมา ขอขอพระคุณไว้ ณ ที่นี้

                        หากบุญกุศลใดๆ ที่ได้เกิดจากการอุทิศแรงกายไปสำรวจ  แรงสมองทำการบันทึก  เรียบเรียง และความพยายามเรียงร้อยเนื้อหาของสังเวชนียสถานที่เหลืออีก 3 แห่งจนครบ  ผู้เขียนขอมอบเป็นปฏิการะแด่บุพการี  บูรพาจารย์ และหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ที่ตั้งใจจะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า   

                        ขอให้พระพุทธศาสนาจงดำรงมั่นตราบกาลนาน

 

                                                                                   

                                                                                    พิสิฏฐ์   โคตรสุโพธิ์

มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

16 พฤษภาคม 2548

 

 

 

สารบัญ

 

            เรื่อง                                                                                                      หน้า

            คำนำ                                                                                                     (1)

บทที่ 1  กบิลพัสดุ์ นครแห่งปิตุภูมิ                                                                            1

บทที่ 2  เทวทหะ นครแห่งมาตุภูมิ                                                                          14

บทที่ 3  ลุมพินี สถานที่ประสูตินาถะของโลก                                                          20

บทที่ 4  แม่น้ำอโนมา สถานที่ทรงผนวช                                                                 31

บทที่ 5 พุทธคยา สถานที่ตรัสู้                                                                                36

บทที่ 6 อิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา                                  59

บทที่ 7 พุทธกิจ 45 พรรษา และสถานที่ทรงจำพรรษา                                               74

บทที่ 8 สาลวโนทยาน กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน                                                   96

บทที่ 9 พุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน                                                        107

บทที่ 10 สรุปและความเห็น                                                                                  129

บรรณานุกรม                                                                                                      132

ประวัติผู้เขียน                                                                                                     134

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น