บทที่ 4
แม่น้ำอโนมา สถานที่ออกผนวช (
โดย
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
Phisit Kotsupho
ความเป็นมา
ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา แคว้นมัลละ
เมื่อ 51 ปีก่อน พ.ศ. เจ้าชายสิทธัตถะ จากศากยตระกูล
ได้เสด็จออกบรรพชา
ทรงตัดพระเมาลีอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมีนายฉันนะ (สารถี) ตามเสด็จ ออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ มาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา
เสด็จข้ามแม่น้ำแล้วจึงทรงบรรพชาดังกล่าวมา ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา หากจะว่ากันจริงๆ แล้ว น่าจะถือได้ว่าเป็นจุดก่อกำเนิดพระพุทธศาสนาทีเดียว เพราะเหตุผลที่ว่า
ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้เสด็จออกผนวช
มัวแต่เสวยความสุขในราชสมบัติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิตามคำทำนายแล้ว
พระพุทธศาสนาย่อมจะไม่มีในโลก
ในเมื่อพระองค์ออกผนวช การผนวช คือ
จุดเริ่มแรกของการแสวงหา โมกขธรรม (Liberation) ดังนั้น ริมฝั่งน้ำอโนมานที
ย่อมจะมีความสำคัญไม่หย่อนไปกว่าพุทธสถานที่อื่น ๆ เลย
ภาพเขียนการตัดพระเมาฬี ถือเพศนักบวช
อโนมานทีอยู่ที่ใด
เรื่องจะชี้เฉพาะแน่นอนลงไปว่า
แม่น้ำอโนมานทีตัวจริงนั้นอยู่ไหนหรือเป็นแม่น้ำสายใด
ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงในวงนักปราชญ์ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
และศาสนศาสตร์อยู่ เพราะปัจจุบัน
แม่น้ำนอกจากจะเปลี่ยนชื่อแล้วยังเปลี่ยนทิศทางเดินของน้ำอีกด้วย เป็นเหตุให้การสำรวจตามค้นในสมัยนี้ หลายสิ่งอาจไม่พบทั้งชื่อเดิมและสถานที่เดิมก็เป็นไปได้ การเปลี่ยนแปลงชื่อบ้าน นามเมือง
และการเปลี่ยนเส้นทางของกระแสน้ำ ย่อมเป็นไปตามกาลเวลา เป็นเรื่องธรรมดาของโลก
เป็นไปตามกฎอนิจจัง
ในเรื่องการค้นหาแม่น้ำอโนมานี้ ได้มีความเห็นแบ่งออกเป็น 2
ฝ่าย
ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
ฝ่ายที่ 1 ความเห็นของหลวงวิจิตรวาทการและนักปราชญ์รุ่นเก่า
ในนิทานกถา กล่าวว่า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชจากกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ผ่านเมืองใหญ่ 3 เมือง เป็นระยะทาง
30 โยชน์ จึงได้ถึงแม่น้ำ อโนมา [1]
ระยะทาง 30
โยชน์ โดย ระยะทาง 1
โยชน์ เท่ากับ 8 ไมล์ ดังนั้น ระยะทาง 30 โยชน์
จะต้องเท่ากับ 240 ไมล์หรือ 384
กิโลเมตร
และตามหลักฐานจากพระพุทธประวัติ
ตอนเสด็จจากกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ มาเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์(สักกชนบท) กล่าวว่าเป็นระยะทาง 60
โยชน์ หรือ 480
ไมล์ เท่ากับ 768
กิโลเมตร แม่น้ำอโนมานทีซึ่งในระยะทาง 30
โยชน์
จะเป็นจุดกึ่งกลางเมืองกบิลพัสดุ์
และเมืองราชคฤห์พอดี
ดังนั้น แม่น้ำอโนมา ณ
จุด 30 โยชน์ ดังกล่าว จึงน่าเป็น
แควหนึ่งในบรรดาแควทั้งหลายของแม่น้ำคันดัก
(Gandak River) (แม่น้ำมหิเดิม) ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ 1 ใน แม่น้ำใหญ่
5 สาย ปัญจมหานที
คือ[2]
1. แม่น้ำคงคา(
2. แม่น้ำยมุนา (
3. แม่น้ำสรภู (
4. แม่น้ำอจิรวดี (
5. แม่น้ำมหิ (Mahi Rive)
ปัจจุบันเรียกว่า
คันดัก (Gandak)
หากจะพิจารณาเนื้อความตอนนี้
แสดงว่า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช
ไม่ได้อธิษฐานเพศบรรพชิตในทันที (รุ่งขึ้นของคืนเสด็จออกจากกรุงกบิลพสดุ์) แต่ทรงเดินทางไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางร่วม 385
กิโลเมตร หรือ 30
โยชน์ดังกล่าวมา
จึงได้ถึงอโนมานที (แควหนึ่งของแม่น้ำคันดัก Gandak) เฉลี่ยการเดินทางด้วยม้าไปเรื่อย
ๆ วันละ
40 กิโลเมตร เดินทางประมาณ
10 วัน
จะได้ระยะทางเกือบ 400 กิโลเมตร พระองค์จึงตกลงใจอธิษฐานเพศนักบวช ณ
จุดนั้น (แม่น้ำอโนมา)
จนปัจจุบัน ตามคำอธิบายหลวงวิจิตรวาทการ ก็ยังชี้ไม่ได้ว่า เป็นแม่น้ำสายอะไร ใกล้เมืองไหน ผู้เขียน เห็นว่า ความข้อนี้ดูจะขัดแย้งกับความเป็นจริงจากหลักฐานบาลี เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยแน่นอนแล้ว
จึงเสด็จหนีออกมาเพื่อจะบวช
จะมัวมาคิดตรึกตรองอันใด เดินทางเอื่อยเฉื่อยอีกตั้งร่วม 10
วัน
จึงตกลงพระทัยบวชได้
แสดงว่าพระสิทธัตถะครั้นหนีมาไกลจึงยอมบวชด้วยความจนตรอก
เพราะห่างไกลบ้านเมืองตนมากแล้ว
คำวิจารณ์ของหลวงวิจิตรวาทการดูไม่น่าจะหนักแน่นและเห็นสมกับพระบาลีนัก
ฝ่ายที่ 2 ความเห็นจากขุดค้นสำรวจ
ของคณะโบราณคดีและอินเดียศึกษา
มหาวิทยาลัยโครัขปูร์
คณะสำรวจขุดค้นจาก คณะโบราณคดีและอินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยโครัขปูร์ รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย
(Department of Archeology and Ancient India Studies ; Gorakhpur
University India) ได้ทำการขุดสำรวจใหม่เมื่อ
พ.ศ. 2518 - 2520
(ค.ศ. 1975 - 77) และได้พบหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งยืนยันได้ว่า ในระหว่างถนนสายโครัขปูร์ - พาราณสี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 183 - 184 ห่างหรือก่อนถึงโครัขปูร์ 29
กิโลเมตร
มีแม่น้ำสายหนึ่งซึ่งไหลมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และล่องมาบรรจบกับแม่น้ำใหญ่อีกสายหนึ่ง ณ
หมู่บ้านโสหะเคาระ (Sohagaura)
ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกของถนนระยะทาง 2
กิโลเมตร
แม่น้ำปัจจุบันชื่อ “อามีนาละ” (Aminala) ได้ไหลไปรวมแม่น้ำอจิรวดี หรือ “ราปติ” (Rapti Nadi) ปัจจุบันซึ่งไหลผ่านมาจากนครสาวัตถี
แคว้นโกศล ไปบรรจบแม่น้ำคงคา ณ
ทิศตะวันออก
แม่น้ำอามีนาละสายเล็กๆ นี้
เชื่อว่า เป็นแม่น้ำอโนมา
ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จข้ามฟากมาผนวช
โดยทรงตัดพระเมาลีและอธิษฐานเพศบรรพชิต แน่นอน ไม่ใช่เป็นแม่น้ำแควหนึ่งของแม่น้ำคันดัก
(Gandak) ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการกล่าวเอาไว้ตามทัศนะที่ 1
การขุดค้น ณ
หมู่บ้านโสหะเคาระ (Sohagaura Village) แขวงเมืองเคาริราม (Gauriram
City) ได้พบจารึกต่าง ๆ
แต่ครั้งโบราณ ที่จารึกบนแผ่นหิน
และพบวัสดุต่างๆ อาทิ เครื่องใช้ซึ่งทำด้วยดินเผา และเครื่องประดับประดาจำพวก
ตุ้มหู กำไลมือ และเหรียญโบราณต่าง ๆ เป็นต้น
ในจารึกแผ่นหินนั้น
ให้ความกระจ่างว่า ณ จุดบรรจบของแม่น้ำอามีนาละ และแม่น้ำราปติ (Rapti Nadi) ทางฝั่งตอนใต้ เป็นเส้นทางสัญจรหลักทางน้ำของชุมชนแต่โบราณ เป็นจุดที่ชุมชนทางเหนือจะอาศัยเป็นท่าล่องเรือ หรือข้ามฟากไปทางเมืองสำคัญ ๆ ตอนใต้ และตะวันออก
เช่น เมืองพาราณสี เมืองปัตนะ (ปาฏลีบุตร) เมืองราชคฤห์ และเมืองคยา
เป็นต้น
แม่น้ำอโนมานที
ปัจจุบัน คือ อามีนาละ
เมื่อพิจารณาตาม
ลักษณะภูมิศาสตร์
เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์ จะต้องเดินทางมาข้ามแม่น้ำอโนมา และผนวช
ณ
ตรงจุดบรรจบของแม่น้ำอามีนาละและราปตินทีนี้ ครั้นเสด็จบรรพชาแล้ว ก็ทรงดำเนินไปพักอยู่ ณ
อนุปิยอัมพวัน แควันมัลละ (Malla
State) และในที่สุด จึงทรงเสด็จถึงเมืองราชคฤห์
จนได้พบพระเจ้าพิมพิสารดังกล่าวแล้ว
แคว้นมัลละมี 2 เมืองคือ : เมือง กุสินารา (ห่างจากโครัขปูร์ 55
กิโลเมตร) และเมืองปาวา
ห่างจากกุสินาราประมาณ 20 -
30 กิโลเมตร
ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะผนวช
และเสด็จมาแคว้นมัลละ
แสดงว่าพระองค์ทรงผนวช ณ ที่ซึ่งไม่ไกลจาก เมืองกุสินาราหรือเมืองปาวานัก และจุดที่กล่าวว่าผนวชที่ริมฝั่งอโนมานที ก็คือจุดบรรจบของแม่น้ำอามีนาละ และ
ราปตินที ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้เมืองกุสินารา
และเมือง ปาวา ของแคว้นมัลละเป็นที่สุด
จากการสำรวจบริเวณหมู่บ้านโสหะเคาระ
ฝั่งใต้ของแม่น้ำอามีนาละ ครั้งนั้น
ได้พบเนินดินสูงลักษณะคล้ายเป็นสถูปเก่าแก่
หรือเป็นวิหารในหมู่บ้านนั้น
ไม่พบซากอิฐฐานอาคารใด ๆ
แบบที่เคยพบตามสถานที่สำคัญอื่น ๆ ทางพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านโสหะเคาระได้เชื่อถือสืบต่อ ๆ กันมานานแล้วว่า
“
ณ หมู่บ้านโสหะเคาระ
เป็นที่เสด็จบรรพชาของเจ้าชายสิทธัตถะจากศากยตระกูล” ทั้งจากหลักฐานการขุดสำรวจของคณะโบราณคดี อินเดียศึกษา
ของมหาวิทยาลัยโครัขปูร์
ก็มีข้อเท็จจริงที่ทำให้ความเชื่อโอนมาทางนี้มากกว่าที่จะเห็นคล้อยตามหลวงวิจิตรวาทการว่า
ที่บ้านโสหะเคาระนี้แหละ เป็นจุดที่พระสิทธัตถะทรงผนวช และแม่น้ำอามีนาละ ก็น่าจะเป็น
แม่น้ำ อโนมานที ในครั้งพุทธกาล ทั้งนี้
ว่าตามหลักฐานการสัญจรเส้นทางการค้าขาย เมืองท่าของคนแต่เก่า
เท่าที่คณะโบราณคดีอินเดียให้ความเห็นเอาไว้
ประการสำคัญที่สุดก็คือ พวกเรา มิได้ เชื่อเพียงหลักฐานที่โสหะเคาระ
เท่านั้น ยังได้ตามไปดูหลักฐานการสำรวจอื่นๆ ที่นำไปเก็บไว้ที่
มหาวิทยาลัยโครัขปูร์ พร้อมกับได้สอบถามสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ ผู้เก็บรักษา
และคณาจารย์บางท่านที่เคยไปสำรวจขุดค้นครั้งนั้นเป็นการเพิ่มความมั่นใจถึงต้นตออีกส่วนหนึ่งด้วย
มิได้เอาหลักฐานจากคำบอกเล่าเพียงอย่างเดียว
มีเรื่องตื่นเต้น
ขณะที่พวกเราสำรวจที่หมู่บ้านโสหะเคาระ นั้น มีชาวแขกมุง มากมาย
เพราะเขาคงไม่เคยเห็นชาวต่างชาติ จำนวน เกือบ 20 คน
ทั้งพระทั้งฆราวาส มามุงล้อมดู พวกเราจะเดินไปทางใด ก็จะแห่ตาม
และวิพากษ์ด้วยภาษาแขกดังลั่น
เมื่อเราเดินไป พบบังชราอายุประมาณ 60 ปี เข้ามาเอ่ยปากถามเป็นภาษาไทยที่ชัดมากว่า
พวกท่านมาจากประเทศไทยหรือ
พวกเราตะลึง สุดท้าย บังชราเฉลยว่า สมัยหนุ่มๆ เคยไปทำงานที่บางกอก
เป็นคนขายถั่วและส่งหนังสือพิมพ์ ตอนนี้ วัยชราปลดเกษียณ
จึงกลับมาบ้านเดิมที่อินเดีย และที่หมู่บ้านนี้
เคยมีชาวอินเดียไปทำมาหากินที่เมืองไทยหลายคน
หากคนไทยพบแขกบังที่ขายโรตี ขายถั่ว ส่งหนังสือพิมพ์
ลองถามดูว่ามาจากเมืองใด รัฐใด คำตอบส่วนใหญ่จะว่า มาจาก โครัขปูร์ เป็นพื้น
ส่วน “อาบัง”
นายห้างที่ขายผ้าตามพาหุรัด หรือที่บ้านแขกนั้น
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพ่อค้ามาจากอินเดียตอนเหนือ แถวรัฐปัญจาบ(Panjab) เมืองจันดิคาร์ (Chandigar) เป็นพื้น
เป็นอันว่า อโนมานที ที่เปลี่ยนชื่อ แต่ไม่เปลี่ยนสาย ก็คือ แม่น้ำ
อามีนาละ ที่ไหลจาก สาวัตถี ทางใต้เมืองกบิลพัสดุ์ ล่องเฉียงอาคเนย์
มารวมกับแม่น้ำ ราปตินที หรือนามเดิมคือ อจิรวดี หนึ่งใน ปัญจมหานที ที่คนไทยเคยท่องอาขยานตอน
พระลักษมณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์
ต้องนำน้ำปัญจมหานทีมาเป็นกระสายยารักษาแผลถูกหอกกุมภกัณฑ์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น