ภูมิปัญญาพะเยา : ตำราสร้างพระพุทธรูปจากคัมภีร์โบราณ
ความนำ
เรื่องและสาระสำคัญของเอกสารโบราณในพื้นที่จังหวัดพะเยา
ที่นำเสนอนี้ ก็ด้วยความคิดเป็นทุนเดิมว่า
เมืองพะเยา เป็นเมืองแห่งพระเจ้าตนหลวง(วัดศรีโคมคำ)
และเป็นเมืองแห่งสกุลช่างที่แกะสลัก “พระพุทธรูปหินทราย” ที่เรียกว่า
“สกุลช่างพะเยา”
การที่จะมีผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพระพุทธรูป
ให้สวยสง่า และงดงามได้นั้น นายช่าง หรือ สล่า ต้องมีตำราเป็นรูปแบบ
ไว้ถ่ายทอดวิชาการช่างสร้างพระพุทธรูปเป็นแน่
โดยเฉพาะตำราสร้างพระพุทธรูปของสกุลช่างเมืองพะเยา จึงพยายามแสวงหา ตำรา หรือ คัมภีร์
ที่ว่าด้วยการสร้างพระพุทธรูป ที่เป็นฉบับของเมืองพะเยาเอง และต้องได้มาจากวัดที่คณะวิจัยออกปฏิบัติการวิจัยสำรวจเพื่อการจัดระบบอนุรักษ์
มาปริวรรต
ถอดสาระให้เห็นแบบเบ้าเมืองพะเยา
อันที่จริง
ผู้เรียบเรียงก็ได้พบตำราการสร้างพระพุทธรูปจากคัมภีร์ใบลาน และพับสา ในแหล่งอื่นอยู่มากมาย
ซึ่งในส่วนนั้น ผู้เรียบเรียง ก็ได้นำข้อมูลมาเสนอไว้ในบทก่อหน้านี้แล้ว เมื่อสำรวจมาถึงวัดสุดท้ายในโครงการ
คือ วัดเชียงหมั้น ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว ก็ได้พบ
“พับสา ตำราการสร้างพระเจ้า(พระพุทธรูป)” สมความตั้งใจ จึงได้ทำการปริวรรตออกมา เรื่องตำราการสร้างพระเจ้า(พระพุทธรูป)
ฉบับวัดเชียงหมั้นนี้ ถือว่า “เป็นเรื่องเอก”
ในครั้งนี้
ตำราสร้างพระเจ้า ฉบับวัดเชียงหมั้น ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา คลังข้อมูลฝ่ายล้านนา
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในหนังสือเล่มนี้
ได้คัดเลือกภูมิปัญญาพะเยา ในตำราการสร้งพระเจ้า หรือพระพุทธรูป พอเป็นตัวอย่างมา ซึ่งจะถอดสาระเนื้อในโดยละเอียด
จากฉบับที่ปริวรรตซึ่งผ่านการตรวจสอบชำระโดยสมบูรณ์ ดังต่อไปนี้
1. ความย่อของเรื่อง
ตำนานสร้างพระเจ้า(พระพุทธรูป)
ฉบับวัดเชียงหมั้นนี้ เป็นเอกสารโบราณเขียนบันทึกไว้ในพับสา เรียกว่า “พับก้อม” เนื้อใน
บันทึกความรู้หลายเรื่อง นับแต่การแจงลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป 3 ลักษณะ
สัดส่วนของพระพุทธรูป ที่ว่างดงาม นี้ว่าด้วยพุทธรูปกายนอก ต่อมาชี้แจงว่า
พระพุทธเจ้า ผู้เป็นต้นแบบที่นำมาสร้างรูปเคารพ
พระองค์ประกอบด้วยพระคุณสมบัติสำคัญเรียกว่า ธรรมกาย การสร้างพระพุทธรูป(กายหยาบ)
เป็นสื่อให้รำลึกถึงกายธรรมของพระองค์ เมื่อกราบไหว้ ให้สวดคำสรรเสริญพุทธคุณน้อมเข้าในใจของตน
นอกจากนี้
การสร้างส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป นับแต่พระโมลีลงมาถึงพระบาท
ก็มีบทสรรเสริญพุทธแต่ละอย่าง ให้เขียนลงในวัสดุต่างๆ เช่น
แผ่นเงิน แผ่นทองคำ ทองแดง เหียก(ตะกั่ว) เป็นต้น ตามแต่หาได้ สิ่งที่จัดหามานี้
ใส่พุทธคุณแต่บท เรียกว่า สร้างกายธรรม แล้วนำไปบรรจุตามส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป บอกวิธีสร้างหัวใจพระพุทธรูป
กำหนดขนาดของอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด ม้าม เอาไว้ชัดเจน และชี้แจงพิธีการสวดพุทธาภิเษกเอาไว้ด้วย
ส่วนกลางของพับสา
จะเล่าถึงวิธีสร้างพระเจดีย์ พระธาตุ โรงพระวิหาร ว่าควรทำอย่างไร ก่อนและหลัง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆพิธี เมื่อพระธาตุสร้างเสร็จแล้ว
จะสร้างฉัตรปกกัน ยอดพระธาตุอีก ตำราก็อธิบายขั้นตอนเอาไว้อย่างละเอียด
ส่วนท้ายของพับก้อม ผู้บันทึก ก็วกมากล่าวถึงขนาด
สัดส่วนของพระพุทธรูปที่จะสร้าง วนมาอีกครั้ง มีทั้งการกำหนดสัดส่วนของพระพุทธรูปนั่ง
และพระพุทธรูปยืน ยังขยายถึงการสร้างพระพุทธรูปประจำชะตา หรือ “พระเจ้าชาตา”
หมายถึง ถ้าเจ้าชาตาเกิดวันใด ในสัปดาห์ ให้นำไม้ที่ถือว่าเป็นมงคล เช่นไม้มะเดื่อปล้อง
ไม่พญายอ ไม้ขนุน เป็นต้นเอามาอบให้แห้ง และสร้างพระประจำชาตาในวันที่ตนกิดนั้น ลงอักขระ
คาถา รอบโขงชาตาของตน เพื่อเป็นที่สักการะบูชาส่วนตัว
จะได้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
2 ภาคถอดความเป็นภาษาปัจจุบัน
ในพับก้อม(สมุดขนาดสั้น) ผู้บันทึก เขียน หรือ คัดลอก
เนื้อหาสืบๆกันมา หลายครั้งหลายยุค ภาษาบาลีสะกดผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปมาก ยิ่งคัดลอกออกไปหลายชั้นเท่าใด
ความพล่ามัวก็ย่อมมีมากทวีคุณ หากไม่รู้ภาษาบาลีด้วย ผู้ตรวจชำระก็ยิ่งชำระคำและความได้ยากยิ่ง
ผู้เรียบเรียง ใช้ความพยายามตรวจสอบคำและความให้กลมกลืนกันตามหลักการถอดภาษา ส่วนที่เป็นคำภาษาบาลี
นั้น จะพยายามตรวจชำระให้ตรงกับคำ “บาลี” เดิมที่สุด หากไม่สามารถตกลงใจว่า
จะเป็นคำใด ก็จะ ละเอาไว้ก่อน เนื่องด้วยยังหาฉบับสอบทานที่น่าถือเอาเป็นแบบอย่างไม่ได้(ในเวลานี้)
จึงขออาศัยภูมิรู้เปรียญเอก ตรวจชำระตามที่เคยเรียนรู้มา พอเป็นแบบอย่าง
หากได้มีโอกาสค้นหาฉบับอื่นๆมาสอบชำระ ก็จะทำให้ คำภาษาบาลีที่เขียนอยู่ในตำราการสร้างพระเจ้าฉบับล้านนานี้
ถูกต้องมากยิ่งขึ้น การถอดความจากพับก้อมที่คัดปริวรรตตอนที่เกี่ยวการสร้างพระพุทธรูป
มีดังนี้
ข้อความเริ่มจาก การจำแนกพุทธลักษณะว่า พระพุทธรูป มีลักษณะเป็น 3 แบบ คือ 1.
แบบราชสีห์(สีหลักษณะ/สิงหลักขณะ) 2.
แบบช้าง (คชลักขณะ) และ 3. แบบต้นนิโครธ
หรือ แบบต้นไทร (นิโคฺรธลักขณะ ในต้นฉบับ เขียนสะกดเป็น นิโฆธ) ในบางตำรากล่าวถึงลักษณะที่
3 ว่า โคณลักขณะ (แบบโคอุสุภราช)
พระพุทธรูปแบบสีหลักษณะ(สิงห์) ให้วัดจาก ระหว่างเข่า(พระชันนุกา)ทั้งสองขึ้นมาถึงปลายพระนาสิก
ยาวเท่าใด นำมาแบ่งเป็น 4 ส่วน
เอาส่วนที่แบ่งนั้นมาวัดขนาดสัดส่วนของพระพุทธรูป ดังนี้ 1. จากพระชงฆ์ภึงพระนาภี(ท้องน้อย) 2. จากพระนาภีถึงกลางพระอุระ(ระหว่างพระถัน/พระถัน)
3. จากพระอุระถึงปลายพระหนุ 4. จากพระหนุ
ถึงไรพระศก(ตีนผม) 5. จากไรพระศกถึงยอดพระโมลี(จอมผม)
พระพุทธรูปแบบคชลักษณะ ให้วัด จากระหว่างหัวเข่าขึ้นถึงพระโมลี
แล้วแบ่งสัดส่วน ให้ได้องค์พระแบบสีหลักษณะ
ส่วนพระพุทธรูปแบบนิโคฺรธลักษณะ ให้วัดจากระหว่างเข่าขึ้นไปถึง
ไรพระศก(ตีนผม) แล้วนำมาแบ่งออกเป็น 4
ส่วน นำส่วนที่แบ่งนั้น 1. มาวัดสัดส่วนระหว่างพระถันทั้งสอง 2. จากระหว่างพระถันขึ้นมาถึงจะงอยบ่า
(พระอังสา) ทั้งสองข้าง สัดส่วนของข้อมือถึงปลายมือ(พระหัตถ์)
ป้องแขน(พระพาหา) ป้องศอก(พระกัปประ) วัดมาหาลำคอ(ลำพระศอ/พระกัณฐ์)
ก็ใช้ขนาดเดียวกัน
ถ้าสร้างตามสัดส่วนที่กล่าวมา
ปรากฏว่าองค์พระพุทธรูปจะมีขนาดใหญ่เกินไป ก็ให้วัดความยาวจากระหว่างหัวเข่าทั้งสอง(หน้าตัก/พระเพลา)
นำมาแบงออกเป็น 4 ส่วน แล้วนำสัดส่วนนั้น มาเป็นความยาวของ ปล้องแขน ปล้องมือ
ระยะระหว่างพระถันทั้งสอง และขะเบ็ดหน้า(ใบหน้า)
การสร้างพระพุทธรูปไม่ว่าเป็นแบบใดแบบหนึ่ง
ใน 3 ลักขณะนี้ ควรเอาปวนกัน(วัดสัดส่วนตรงตามมาตร ของแต่ละแบบ)
พระพุทธรูปที่สร้างออกมา จึงจะดูดีและงดงาม
หมายเหตุ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมา
ยังเป็นเพียงวัตถุรูปกาย ต้องน้อมนำพระพุทธคุณต่างๆ(ธรรมกาย)
มาสถิตอยู่มีอวัยวะน้อยใหญ่ ทั่วสรรพางค์ ต่อไปนี้ แสดงถึง พระธรรมกาย(พระพุทธคุณสมบัติ)
แต่ละอย่าง เป็นองคาพยพต่างๆ ประจำอยู่ในกายรูปของพระพุทธเจ้าดังนี้
พระธรรมกาย(คุณสมบัติ) 29 ประการ สถิตในองค์อวัยวะน้อยใหญ่ของพระพุทธเจ้า
1.
สพฺพญฺญุตญฺญาณปวรสีสํ พระปัญญาสัพพัญญูตัญญาณ เป็นพระเศียรอันประเสริฐ
ของพระพุทธเจ้า
2.
นิพฺพานารมฺมณปวรวิรสิตเกสํ พระปัญญาญาณที่กำหนดรู้อารมณ์แห่งนิพพาน
เป็นเส้นพระเกสา อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
3.
จตุตฺถฌานปวรนลาฏํ พระปัญญาญาณที่กำหนดรู้จตุตถฌาน
เป็นหน้าผาก(พระนาลาฏ)ของพระพุทธเจ้า
4.
วชิรสมฺมาปฏิญฺญาณปวรอุนฺนาภาสํ(อุณฺณาโลมาภาสํ) พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้วชิรสัมมาปฏิญญาณ (เป็นพระอุณาโลม) มีรัสสมีรุ่งเรืองงาม
ตั้งอยู่กลางหน้าผากระหว่างหว่างคิ้วอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
5.
นีลกสิณโสภาติกนฺตปวรภมุยุคลํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้ยังกสิณทังหลายมีนีลกสิณ(กำหนดสีเขียวเป็นอารมณ์)เป็นต้น
อันงามยิ่งนัก เป็นคิ้วทั้งสอง(ภมุกา) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
6.
ทิพฺพจกฺขุ - สมนฺตจกฺขุ – ปญฺญาจกฺขุ – พุทฺธจกฺขุ - ธมฺมจกขุ - ปวรจกฺขุ พระจักษุ
5 ประการ(มีทิพยจักษุ คือ ตาทิพย์ เป็นต้น)
เป็นพระจักษุ(ดวงพระเนตร)ทั้ง 2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
7.
ทิพฺพโสตญาณปวรโสตาทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้ทิพยโสต คือ มีหูทิพย์
เป็นโสตประสาททั้ง 2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
8.
โคตฺรภูญาณปวรจตุรงฺคฆานํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้โคตรภูญาณเป็นพระนาสิกอันประเสริฐ
ของพระพุทธเจ้า
9.
อนุตฺตรวิโมกฺขาธิมญฺญาณปวรกณฺณทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อุบายอันให้ได้บรรลุโลกุตรวิโมกขธัมม์
เป็นใบพระกรรณอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
10.
โลกียโลกุตฺตรญาณปวรโอฏฺฐทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้โลกียโลกุตตรธัมม์ทั้งมวลอันไม่มีเศษเหลือ
เป็นริมปากทั้ง 2 ข้าง (เบื้องล่างและเบื้องบน) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
11.
สตฺตตึสพฺโพธิปกฺขิยญาณปวรสุภทนฺตา พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้โพธิปักขิยธัมม์สามสิบเจ็ดประการ
เป็นพระทนต์อันประเสริฐ ของพระเจ้า
12.
จตุมคฺคญาณปวรจตุทาฐํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้มัคค์ 4 เป็นพระเขี้ยวแก้วทั้ง
4 เล่มอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
13.
จตุสจฺจญาณปวรชิวฺหา พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้สัจจะทั้ง 4
มีทุกขสัจจะเป็นต้น เป็นลิ้น(พระชิวหา) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
14.
อปฺปฏิหตญฺญาณปวรหนุกํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อย่างไม่ติดขัดในเญยยธัมม์(ธรรมที่พึงรู้)
สามารถวิสัชชนาปัญหาที่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายมาทูลถาม เป็นพระหนุ อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
15.
อนุตฺตรโมกฺขาธิคมญาณปวรกณฺฐํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อุบายที่ให้บรรลุ(อธิคม)
วิโมกขธัมม์ คือ ธัมม์อันให้ถึงพระนิพพานอันประเสริฐ พญาณที่หยั่งรู้ยังลักขณะทั้ง
3 มี อนิจจตา(ความไม่เที่ยง) ทุกขตา(ความเป็นทุกข์) เป็นต้น เป็นปล้องลำพระศอ 3
อัน(กาบคอ 3 ปล้อง) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
16.
จตุเวสารชฺชญาณปวรพาหุทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้ ที่ชื่อว่า
เวสรัชชญาณ 4 ประการ เป็นแขน(พระพาหา)ทั้ง 2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
17.
ทสานุสติญาณปวรวฏฺฏงฺคุลิโสภา พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อนุสติ 10
อัน มีพุทธานุสติ เป็นต้น เป็นนิ้วมือเรียวกลมงามอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
18.
สตฺตโพชฺฌงฺคญาณปวรปินอุรตลํ โพชฌงค์ทั้ง 7
ประการมีสติโพชฌงค์เป็นต้น เป็นพื้นอกเต็มงาม(พื้นพระอุระ) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
19.
อาสยานุสญยญาณปวรถนายุคลํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อาสยะและอนุสยะเป็นพระถัน(นม)
ทั้งคู่ อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
20.
ทสพลญาณปวรมชฺฌิมงฺคํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้พละ 10
ประการ เป็นท่ามกลางองค์ (ลำพระองค์/ลำตัว) อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
21.
ปฏิจฺจสมุปฺปาทญาณปวรนาภิ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้ปฏิจจสมุปปาทธัมม์ทั้งมวลมี
อวิชชาเป็นต้น มีนิโรโธเป็นที่สุด เป็นพระนาภี อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
22.
ปญฺจินฺทฺริยํ ปญฺญาพลํ ปวรชงฺฆนา อินทรีย์ 5 พละ 5 เป็นลำแข้ง(พระชงฆ์)
ทั้ง 2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
23.
ทสกุสลกมฺมปถญาณปวรอุรุทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้กัมมบถ 10 ประการ เป็นขา(พระอุรุ) ทั้ง 2 อันประเสริฐของพระพุทธเจ้า
24.
ทสพลญาณปวรชงฺฆทฺวยํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้พละ 10 ประการ เป็นหน้าแข้ง(พระชงฆ์)ทั้ง
2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
25.
จตุริทฺธิปาทญาณปวรปาททฺวยํ อิทธิบาททั้ง 4 ประการ มี ฉันทะ เป็นต้น
มีวิมังสา เป็นที่สุดเป็นพระบาท(ตีน) ทั้ง 2 อันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
26.
สีลสมาธิญาณปวรสงฺฆาฏิ ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นผ้าสังฆาฏิผืนประเสริฐของพระพุทธเจ้า
27.หิริโอตฺตปฺปญาณปวรปงฺสุกุลปฏิจฺฉาทนจีวรํ หิริและโอตตัปปะ(ละอายชั่วกลัวบาป)
เป็นผ้าปังสุกุลจีวร อันป้องกันบรรเทาความร้อนและหนาว ของพระพุทธเจ้า
28.
อฏฺฐงฺคิกมคฺคญาณปวรอนฺตรวาสกํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้อัฏฐังคิกมัคค์
8 ประการ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด เป็นอันตรวาสก ผ้านุ่งอันประเสริฐ
ของพระพุทธเจ้า
29.
จตุสติปฏฺฐานญาณปวรกายพนฺธนํ พระปัญญาญาณอันหยั่งรู้สติปัฏฐาน 4 เป็นผ้ากายพันธนะ(ประคตเอว)กัมพลเส้นประเสริฐ ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า
ทรงตรัสรู้สัจธัมม์ 4 ประการ ย่อมรุ่งเรืองงามยิ่งนักกว่ามนุษย์แลเทวดาทั้งหลายพระธรรมกายอันประเสริฐเหล่านี้
เป็นคุณลักขณะของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กุลบุตรผู้ประกอบด้วยความเพียร
มีปัญญาคมกล้า เมื่อปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูพุทธ ในอนาคต ควรระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านี้
ให้ขึ้นใจอยู่เสมอ เจริญสาธยาย ไหว้กราบ เคารพพระพุทธ พระธรรม ทุกวันอย่าได้ขาด เพื่อให้เป็นปัจจัยรักษาตน
ทั้งในภพนี้และภพหน้า ก็จักบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ตามบุญสมภารที่ตนได้บำเพ็ญมา
จบส่วนที่ว่าด้วยกายธรรมของพระพุทธเจ้า
เมื่อผู้ใดมีความประสงค์จะสร้างพุทธรูป
และ พระเจดีย์ ดังที่กล่าวมา ก็ควรสร้าง
ธรรมกาย ของพระพุทธเจ้า จารลงในแผ่นเงิน แผ่นทองคำ แผ่นทองเหลือ เหียก(แผ่นตะกั่ว
/ ดีบุก) และสตุ หรือ วัสดุตามแต่จะหาได้ แล้วบรรจุลง ใส่ตามองค์อวัยวะน้อยใหญ่ ของพระพุทธรูปที่สร้างนั้น
ว่าด้วยการทำพิธีวุฒาภิเสกก้อนอิฐ
เพื่อก่อพระพุทธรูป /
เสกวัสดุที่เตรียมสร้างพระพุทธรูปให้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ก้อนอิฐ/ดินจี่ จำนวน
109 ก้อน ดังนี้
ชุดที่
1 อิฐจำนวน 30 ก้อน แทน บารมี 30 ทัศ ที่ว่า “ทาสิเนปวิขสอเมอุ (ทาน
สีล เมกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา บารมี 10 ทัศ)
พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์สร้างโพธิสมภารมานานนับได้ 4 อสงไขย แสนมหากัปจึงได้ปัญญา
และบารมีครบ 30 ทัศ บริบูรณ์ แล้วจิ่งได้เถิงสัพพัญญูเป็นพระเจ้าแล ควรปั้นอิฐเพทื่อก่อ
30 ก้อนไว้”
ชุดที่
2 อิฐจำนวน 7 ก้อน แทน วันทั้ง 7 ในสัปดาห์ ที่เกิดเหตุการณ์กับพระพุทธเจ้า
คือ 1. โอกนฺเต ครุวารสฺมึ (เสด็จจากสวรรค์ลงสู่พระครรภ์พระนางสริมหามายา
วันพฤหับดี) 2. สุกฺกวารมฺหิ คพฺเภ(ประสูติออกจากพระครรภ์พระมารดา วันศุกร์) 3.
นิกฺขมนฺเต จนฺทวารสฺมึ (เสด็จออกผนวช วันจันทร์) 4. สมฺมาสมฺพุทฺโธ พุทฺธ(วุธ)วารเก(ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
วันพุธ) 5. โสรีวารํ ธมฺมจกฺกํ(แสดงพระธรรมจักร
วันเสาร์) 6. องฺคาเร(ภุมฺมวาเร) ปรินิพฺพุตฺตึ(เสด็จปรินิพพาน วันอังคาร) รวิวาเร อคฺคิเตโช(เตโชธาตุ/ ธาตุไฟลุกไหม้ติดขึ้นเองในวันถวายพระเพลิงพระบรมสรีระ
วันอาทิตย์ ควรปั้นอิฐเพื่อก่อ 7 ก้อนไว้
ชุดที่
3 อิฐจำนวน 7 ก้อน แทน ที่ประทับเวยวิมุตติสุขหลังการตรัสรู้ 7 แห่ง(สัตตมหาสถาน) แห่งละ 1 สัปดาห์ รวมเป็น 7 สัปดาห์ ดังนี้ 1.
ปฐมํ โพธิปลฺลงฺกํ(สัปดาห์ที่ 1 ประทับที่ โพธิบัลลังก์) 2. ทุติยํ อนิมิสฺสกํ(สัปดาห์ที่ 2
เสด็จยืนมองต้นโพธิ์ อนิมิสสเจดีย์) 3. ตติยํ จงฺกมญฺเจว (สัปดาห์ที่ 3 ที่เสด็จจงกรม) 4. จตุตฺถํ รตนฆรํ (สัปดาห์ที่ 4
ประทับที่รัตนฆร /เรือนแก้ว) 5. ปญฺจมํ
มุจฺจลินฺทํ (สัปดาห์ที่ 5 ประทับนั่ง ฝนตกตลอดสัปดาห์
นาคมุจจลินท์แผ่พังพานกั้นฝน) 6. ฉฏฺฐํ อชปาลญฺจ ( สัปดาห์ที่ 6
ประทับที่ใต้ร่มไม้อชปาลนิโครธ / ต้นไทรที่คนเลี้ยงแกะ) 7. สตฺตมํ ราชายตนํ (สัปดาห์ที่
7 ประทับที่ ใต้ร่มไม้ราชายตนะ(ต้นเกตุ) ควรปั้นอิฐจำนวน 7 ก้อนไว้
ชุดที่
4 อิฐจำนวน 4 ก้อน แทน อิทธิบาทธรรมทั้ง 4 ประการ
ชุดที่
5 อิฐจำนวน 8 ก้อน แทน มัคค์ 4 และผล 4 เป็น 8
ชุดที่
6 อิฐจำนวน 37 ก้อน แทน โพธิปักขิยธัมม์ 37 ประการ
ชุดที่
7 อิฐจำนวน 9/10 ก้อน แทน โลกุตตรธัมม์ 9 / ปริยัติธัมม์ รวมเป็น 10 ประการ
ชุดที่
8 อิฐจำนวน 7 ก้อน แทน โพชฌงค์ 7 ประการ
รวมอิฐทั้งหมด
109 ก้อน (นับตามที่กล่าวมาในคัมภีร์ ได้ 110 ก้อน แต่บอกว่า มี 109 ก้อน
และเพื่อให้ได้ จำนวน 109 พอดี ชุดที่ 7 จึงไม่นับปริยัติธรรม)
เมื่อได้อิฐ/ดินจี่มาครบ
109 ก้อนแล้ว พระสงฆ์ ควรทำวุฒาภิเสก
ด้วยการสวดพระปริตรมงคล และสระสรงด้วยน้ำอบน้ำหอมให้บริสุทธิ์หมดจดวิเศษเสียก่อน
จึงนำมาใช้ก่อพุทธรูป
ขั้นตอนและพิธีในการก่อพระพุทธรูป
เมื่อถึงวัน(ฤกษ์)ดี
ที่จะลงมือก่อสร้างพระพุทธรูป ควรประกอบพิธี ดังนี้
1.
ขึ้นท้าวทั้ง 4 และ เชนบ้านเชนเมือง(ล้านนา ออกสำเนียง “เชน” ว่า “เจน” ดังนั้น
เจนบ้าน เจนเมือง)[2] คือ
ทำพิธีบูชา ท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 และ เทวดา อารักษ์ ผีบ้าน ผีเมือง ให้เสร็จ
2.
ควร(นำน้ำอบน้ำหอม) สระสรง “หัวใจพระเจ้า” มี ตับ ท้อง(ลำไส้) หัวใจ แผ่นที่จารึกธรรมกาย และเสาอินทขีล(เสาแกนกลาง /เสาหลักที่จะตั้งเป็นโครงยึดก่อองค์พระ)
ให้บริสุทธิ์เป็นมงคล
3.
อัญเชิญ หัวใจพระเจ้า แผ่นจารึกธรรมกาย และเสาอินทขีล แห่ทำประทักษิณเวียนรอบ พระวิหาร
3 รอบ นำไปวางไว้ บนกองอิฐที่ทำพิธีวุฒาภิเศกแล้ว
4.
พระสงฆ์ ควรสวดถอนมลทิน(สิ่งที่ไม่สะอาด สิ่งที่เป็นโทษ) ออกเสียจากอาวาส ก่อนจะลงมือปักเสาแกนหลัก(เสาอินทขีล)
5.
พระสงฆ์สวด พุทธมนต์บท “พุทฺโธ มงฺคลสมฺภูโต...สพฺพโรคา ปมุญฺจเร” 3 รอบแล้ว ให้ยกเสาอินทขีลขึ้นตั้งตรงฐานที่จะสร้างก่อพระพพุทธรูป
6.
ช่างลงมือก่อพระพุทธรูป นับแต่ฐานขึ้นไป เมื่อก่อถึง องคาพยพส่วนใด หรือ
ส่วนประกอบอันใด ที่กล่าวว่าเป็นที่สถิตของพระธรรมกาย ก็ให้บรรจุแผ่นพระธรรมกาย ลงไปตามฐานะที่ควรบรรจุ
เรื่อยไป จนก่อหุ่นสำเร็จเป็นองค์พระสมบูรณ์
7.
เมื่อองค์พระสมบูรณ์แล้ว จะบรรจุดวงพระเนตร ใส่พระพุทธรูป ในวันใด(เลือกวันมงคล
ฤกษ์ดี) ให้ฟังธัมม์พุทธาภิเสก(สวดพุทธาภิเสก) ในวันนั้น ถ้าไม่มีพิธีสวดพุทธาภิเสก
ก็ให้สวด “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”(ปฐมเทศนา) แทน
ด้วยลำดับพิธีดังกล่าวมา
ก็เป็นอันก่อสร้างพระพุทธรูปถูกต้องตามแบบเบ้าพิธีโบราณ
ทั้งนี้
ขอให้ช่างค่อยแปลง ค่อยสร้างไป ให้ถูกต้องตามลักขณะแท้ๆ จึงจะดี อย่าได้ก่อแปลงเอาตามวิสัยใจตัว(ไม่มีพิธีรีตอง
ทำตามความคิดของตน) โบราณว่า ไม่ดีแล
พิธีกรรมสูตรถอนก่อนจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา
บุคคลใดมีใจศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์ โรงเรือน
พระวิหาร อาราม พระบาท พระธาตุ หรือ พระพุทธรูป
ที่เก่าทรุดโซมให้ใหม่ขึ้นมาก็ดี หรือมีศรัทธาจะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ก็ดี
ควรทำพิธีสูตรถอนเอามลทินออกเสียก่อน จึ่งก่อสร้าง
เครื่องประกอบพิธี(ขันตั้ง)
ในการสูตรถอน มีดังนี้ เบี้ย 1,300 หมาก
1,300 ผ้าขาว ผ้าแดง ยาว 1 วา ข้าวตอกดอกไม้
เทียน 4 คู่ เทียนหนัก 1 บาท 1 คู่ หนักเฟื้อง 1 คู่
ถ้าจะสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ให้มี เบี้ยหมื่น(10,000) หมากหมื่น(10,000)
เทียนน้อย 8 คู่ เงิน 306 บาท กล้วย1 เครือ
มะพร้าว 1 ทะลาย แต่งเครื่องพิธีตามความพอเหมาะ เมื่อสูตรถอนแล้ว
ก็ค่อยลงมือก่อสร้างต่อไป
คำสูตรถอน
“อตฺถรเก วิหารสเจน มูลกโทสํ ภินฺทาตพฺพํ
สุณาตุ
เม ภนฺเต สงฺโฆ ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ วิหารสฺส ปริกโทสํ อุทฺธเรยฺย เอสา ญตฺติ
สุณาตุ
เม ภนฺเต สงฺโฆ วิหารพุทฺธรูปโทสํ อุทฺธรติ ยสฺสายสฺมโต ขมติ วิหารพุทฺธรูปโทสสฺส อุพฺภโร โส ตุณฺหสฺส ยสฺส นกฺขมติ โสภาเสยฺย
อุพฺภตํ
สงฺเฆน วิหารพุทฺธรูปมูลกโทสํ ขมติ สงฺฆสฺส ตสฺมา ตุณฺหิ เอวตํ ธารยามิ”
สูตรแล้ว เป่าสะทวง(กระทง) 3 หน 7 หน
แล้วขุดเอาดินจาก 4 มุม และดินตรงกลางที่ นำมาใส่สะทวง แล้วเอาไปส่งเสีย ทั้งนี้
ให้ให้ทำสะทวง 4 ใบ ใส่เครื่องบัดพลีอย่างละ 4 คือ แกงส้มแกงหวาน 4 อย่าง ช่อ 4 ช่อ เทียน 4 เล่ม หมากพลู 4 ชุด ข้าว 4
ถ้วย
เมื่อนำสะทวงไปส่งแล้ว พระสังฆ์ สูตรมังคละรอม
เมื่อจบพุทธมังคละ ให้ยกเอาเสาแกนหลักหรือ เสาอินทขีลขึ้นตั้งเป็นโครง เมื่อก่อสร้างถึงที่ใด(ขา
หน้าตัก เป็นต้น) ที่ควรบรรลุธรรมกาย ก็ให้บรรจุแผ่นธรรมกายไว้ที่นั้น
การสร้างหัวใจพระเจ้า
(ขนาดของหัวใจ ตับ ม้าม และปอด)
ถ้าต้องการสร้างพระพุทธรูปสำหรับกราบไหว้ให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรือง(ไปนานจนสิ้นอายุพระศาสนา) ท่านให้สร้างหัวใจพระพุทธรูป(คำเมืองว่า
“หัวใจพระเจ้า”) ก่อน ขนาดใหญ่ หรือ เล็กไม่ถือเป็นประมาณนัก
ถ้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีขนาดหน้าตักกว้าง
ตั้งแต่ 1 ศอก 2 ศอก 3 ศอก หรือ 4 ศอก ขึ้นไป ให้เอาความกว้างระหว่างหัวเข่าทั้ง 2 มาแบ่ง เป็น
3 ส่วน แล้วเอาส่วน 1 นั้น มาแบ่งย่อยลงไปให้เป็น 16 ส่วน และ เอา 1 ในส่วน 16 นั้น มาแบ่งย่อยลงไปอีก 3 ส่วน และนำความยาวของส่วนสุดท้ายนี้ นำมากำหนดเป็น
ขนาดหัวใจพระเจ้า(นั่นคือ จากความยาวระหว่างเขา นำมาแบ่งเป็น 3 ส่วน จาก 1/3
มา 16, จาก 1/16 มา 3, สุดท้าย 1/3 เป็นขนาดหัวใจ : พิสิฏฐ์)[3]
ต่อมา
ให้นำความยาวของขนาดหน้าตัก(หว่างหัวเข่า) มาแบ่งเป็น 3 ส่วน เอาส่วนหนึ่งมาแบ่งลงเป็น
8 ส่วน ส่วน 1 ใน 8 มาแบ่งย่อยลงอีกเป็น 3
ส่วน ส่วน 1 ใน 3 ส่วน นั้นเป็น ขนาดของตับ
แล้วนำขนาด
1 ส่วน(เท่าตับ) มาแบ่งลงไปอีก 3 ส่วน 1
ใน 3 ส่วนนั้น เป็นขนาดของม้าม ปอด และ พังผืด
ขนาดความยาวเท่ากับหัวใจ (นั่นคือ จากความยาวระหว่างเขา นำมาแบ่งเป็น 3 ส่วน
จาก 1/3 มา 8, จาก1/8 มา 3, จาก 1/3 เป็นขนาดของตับ และเอา 1/3 มาแบ่งอีก 3 ส่วน,
สุดท้าย ขนาด 1 ใน 3 ของขนาด เป็นขนาดของม้าม ปอด
และ พังผืด ท่านว่ามีขนาดความยาวเท่ากับหัวใจ : พิสิฏฐ์)[4]
คำกล่าวถวายน้ำอบน้ำหอม เมื่อจะสระสรงพระพุทธรูปที่สร้าง
กล่าวคำถวาย(เวน)น้ำอบน้ำหอม ช่อน้อยทุงไชย(ธงชัย)
เมื่อสร้างพระพุทธรูปว่า
“นมามิ สุคนฺโธทกํ จนฺทนุทกํ หริตธชคฺคปฏากํ
สปฺปุปฺผาลาชาทิปจฺจุปกรณํ มยฺหํ ทานํ ธมฺมกายหทยวตฺถุอฏฺฐิกายํ พุทฺธสฺส สกฺกจฺจํ
เทม” 3 หน (คำบาลีเดิม ไม่ถูกตามหลักไวยากรณ์ ดูความเทียบในฉบับปริวรรต)
พิธีกรรมยกยอดฉัตรพระมหาธาตุ
ให้เลือกหาวันดีดิถีงามที่สุด ควรเลือกเอาดิถีเดือนเพ็ญ
วันพระจันทร์เต็มดวง ก่อนถึงวันพระที่จะประกอบพิธีกรรม 1 วัน
ให้ประชุมสงฆ์ทั้งหมดในอาราม ให้ความเห็นชอบร่วมกัน ประธานสงฆ์ครองไตรจีวร และควรให้สละผ้า
3 ผืนแก่ สามเณร รอสักครู่หนึ่ง ก็ให้สามเณรน้อมผ้า 3 ผืนนั้นมาถวายแต่ประธานสงฆ์ เมื่อรับถวายแล้ว นำผ้า 3
ผืนวางไว้ตรงด้านหน้าพระประธาน กราบลง 3 ครั้ง กล่าว นโม 3 หน ก้มลง เอามือเบื้องขวาลูบผ้า 3 ผืน กล่าวคำอธิษฐาน
“อิมานิ คหปติทานจีวรานิ สมาธิยามิ 3 หน ให้พิจารณา
“ปฏิสงฺขา ..โย..จีวรํ.. ยถา..จีวรํ”[5]
แล้วครองผ้า 3 ผืนนั้น ตลอดชีวิตจะเป็นการดี
กล่าวคำปลงปลงผ้า “อิมานิ คหปติทานจีวรานิ
นิขิปฺปามิ” 3 หน
เมื่อถึงปฐมยามในคืนนั้น
พระสงฆทั้งมวล ให้สวด มหามังคละ(เต็มสูตร)
ในวันรุ่งขึ้น(วันประกอบพิธี)
ให้แต่งขัน(พานเครื่องบูชา) ถวายแก่พระภิกษุผู้เป็นเจ้าพิธี และควรบูชาท้าวทั้ง 4 เทวดาอารักษ์
ผีบ้านผีเมืองทุกประการ เมื่อทุกอย่างพร้อม ให้อัญเชิญฉัตรและเครื่องสักการะเข้าขบวนแห่เวียน
ประทักษิณพระมหาธาตุ 3 รอบ แล้วนำมาวางไว้ที่ใกล้ค้างที่เตรียมไว้สำหรับชักฉัตรขึ้น
ให้พระภิกษุผู้ที่ฉลาดสามารถกล่าวเผดียงสงฆ์
เสร็จแล้ว พระภิกษุ 4 รูปขึ้นไปนั่งบน(แท่น)ข้างยอดพระธาตุ แบ่งข้างละ 2 รูป ถือหนังสือ(คัมภีร์ใบลานคำสวด)
ให้ครบทุกรูป หรือเพียง 2 เล่ม ให้ฝ่ายละเล่มก็ได้ เมื่อได้เวลา ให้ชักฉัตรขึ้นมาตั้งที่ด้านหางลาน
(หมายถึง ด้านท้ายคัมภีร์ใบลาน ที่แบ่งเป็น หัวลาน(ด้ายซ้ายเมื่อถือคัมภีร์)
กลางลาน และหางลาน(ด้านขวาสุดเมื่อถือคัมภีร์)
เมื่อชักฉัตรใบแรกขึ้นถึงที่แล้ว
อย่าเพิ่งปลดออก ให้ภิกษุ 2 รูป ผู้ที่อยู่หางลานนั้น มือข้างหนึ่งถือเอาใบฉัตร
มืออีกข้างหนึ่งถือหนังสือ สวด(คำสวด มีต่อท้าย) โดยฉัตรใบแรกให้สวด 3 รอบแล้วจึงปลดลง
นำมาสุบ(สวม)ที่แกนฉัตร(แกนยอดพระมหาธาตุ) แล้วชักฉัตรใบที่ 2 และใบที่ 3 ขึ้นมา
ประกอบพิธีเหมือนฉัตรใบแรก แต่ ให้สวดเพียงรอบเดียว ขณะที่พระสงฆ์สวดอยู่นั้น
ต้องช่วยกันจับให้มั่นคง ไม่ต้องนั่งจรดหัตถบาส ถ้าจะมีพระภิกษุ หรือ ฆราวาสขึ้นไปช่วยถือก็ได้
นับเป็นการดีมาก
คำสวดพิธียกยอดฉัตรพระมหาธาตุ
ในการสวด
ให้นั่งพับเพรียบ เงยหน้าขึ้นหน่อยหนึ่ง พนมมือไหว้
เปล่ง “นโม...” 3 จบ แล้วเริ่มสวด ดังนี้
“นโม พุทฺธสฺส นโม ธมฺมสฺส นโม
สงฺฆสฺส
นโม พุทฺธาย นโม ธมฺมาย นโม
สงฺฆาย
พุทฺโธ
อุปฺปนฺโน โลเก
ธมฺโม
อุปฺปนฺโน โลเก
สงฺโฆ
อุปฺปนฺโน โลเก
พุทฺโธ
มงฺคลสมฺภูโต สมฺพุทฺโธ ทีปทุตฺตโม
พุทฺธมงฺคลมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจนฺตุ
ธมฺโม มงฺคลสมฺภูโต คมฺภีโร ทุทฺทโส อณํ(อะณุง)
ธมฺมมงฺคลมาคมฺม
สพฺพภยา ปมุญฺจนฺตุ
สงฺโฆ
มงฺคลสมฺภูโต วรทกฺขิเณยฺโย
อนุตฺตโร
สงฺฆมงฺคลมาคมฺม
สพฺพโรคา ปมุญฺจนฺตุ
เย
จ พุทฺธา อตีตา จ เย จ พุทฺธา
อนาคตา
ปจฺจุปนฺนา
จ เย พุทฺธา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา
เย
จ ธมฺมา อตีตา จ เย จ ธมฺมา
อนาคตา
ปจฺจุปนฺนา
จ เย ธมฺมา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา
เย
จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา
อนาคตา
ปจฺจุปนฺนา
จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา
อปฺปมาโณ พุทฺโธ อปฺปมาโณ ธมฺโม อปฺปมาโณ
สงฺโฆ พุทฺโธ เม นาโถ ธมฺโม เม นาโถ สงฺโฆ เม นาโถ อิติปิ โส ภควา อรหํ
สมฺมาสมพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก
เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ
สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคฺคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย
อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ สงฺฆํ
สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
สพฺเพ พุทฺธา พลปตฺตา สพฺเพ ธมฺมา พลปตฺตา
สพฺเพ สงฺฆา พลปตฺตา ปจฺเจกานญฺจ ยมฺพลํ
อรหนฺตานญฺจ เตเชน รกฺขํ วนฺทามิ สพฺพโส
เมื่อสวมฉัตร
ทั้ง 3 ชั้น ที่แกนแล้ว ต่อไปให้ทำการสวมสิ่งต่อไปนี้ คือ 1. หมากชมพู 2.
แก้วแสงเดือน และ 3. แก้วก่ำ(โกเมน) เข้าที่แกนยอดฉัตร ให้พระสงฆ์สวด
ตั้งเริ่มต้นอีก คือ
“นโม พุทฺธสฺส นโม ธมฺมสฺส นโม สงฺฆสฺส จน ถึง
รกฺขํ วนฺทามิ สพฺพโส” แล้ว
สวดต่อด้วย
มหาการุณิโก นาโถ หิตาย สพฺพปาณินํ
ปุเรตฺวา ปารมี สพฺพา ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน โหนฺตุ โน เชยฺยมงฺคลํ
ชยนฺโต โพธิยา มูเล สกฺยานํ นนฺทิวฑฺฒโน
เอวเมว ชโย โหตุ[6]
ชยสฺสุ ชยมงฺคเล
อปราชิตปลฺลงฺเก สีเส ปฐวิโปกฺขเร
อภิเสเก สพฺพพุทฺธานํ อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ
สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ สุปภาสํ สุหุฏฺฐิตํ
สุขโณ สุมุหุตฺโต จ สุยิฏฺฐํ พฺรหฺมจารีสุ
ปทกฺขิณํ กายกมฺมํ วาจากมฺมํ ปทกฺขิณํ
ปทกฺขิณํ มโนกมฺมํ ปณิธิเต ปทกฺขิณา
ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ลภนฺตตฺเถ ปทกฺขิเณ
เต อตฺถลทฺธา สุขิตา วิรุฬฺหา
พุทฺธสาสเน อโรคา สุขิตา โหนฺตุ
แล้วสวดต่อ
รตนํ ปุรโต อาสิ ทกฺขิเณ
เมตฺตสุตฺตกํ
ธชคฺคํ ปจฺฉโต อาสิ วาเม องฺคุลิมาลกํ
ขนฺธโมรปริตฺตญฺจ อาฏานาฏิยสุตฺตกํ
อากาเส ฉทนํ อาสิ เสสา
ปาการสณฺฐิตา
ชินา นานาวรสํยุตฺตา สตฺตปฺปาการลงฺกตา
วาตปิตฺตาทิสญฺชาตา พาหิรชฺฌตฺตุปทฺทวา
อเสสา วินยํ ยนฺตุ อนนฺตชินเตชสา
วสโต เม สกจฺเจน สทา
สมฺพุทธปญฺชเร
ชินปญฺชรมชฺฌมฺหิ วิหรนฺตํ มหีตเล
สทา ปาเลนฺตุ มํ สพฺเพ เต มหาปุริสาสภา
อิจฺเจวมนฺโต
สุคุตฺโต สุรกฺโข
พุทฺธานุภาเวน
ชิตุปทฺทโว
ธมฺมานุภาเวน
ชิตาริสงฺโฆ
สงฺฆานุภาเวน
ชิตนฺตราโย
จรามิ
ธมฺมานุภาเวน ปาลิโตติ
ชยปญฺชรปณฺณรสกถา
นิฏฺฐิตา
ยาวเทว ฆเร มหาฆร รกฺขนฺตุ (สุรกฺขนฺตุ)
ยาวเทว นคเร มหานคเร รกฺขนฺตุ
สุรกฺขนฺตุ
ยาวเทว ปเถ มหาปเถ รกฺขนฺตุ
สุรกฺขนฺตุ
ยาวเทว วเน มหาวเน รกฺขนฺตุ
สุรกฺขนฺตุ
ยาวเทว สมนฺตา สฏฺฐิโยชนสตสหสฺสานิ[7]
ธมฺมชาลปริกฺเขตฺเต รกฺขนฺตุ สุรกฺขนฺตุ
ยาวเทว
สมนฺตา สฏฺฐิโยชนสตสหสฺสานิ สงฺฆชาลปริกฺเขตฺเต รกฺขนฺตุ สุรกฺขนฺตุ สพฺพทิสมงฺคลปริตฺตํ
แล้วสวดปิดท้ายด้วย
“สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท เถิง (พุทฺโธ)
ตปฺปติ เตชสา” เถิดไม่ผิดแล
เมื่อสวดพุทธชยมงคละ การยกฉัตร และ ส่วนประกอบขึ้นสวมแกนยอดทุกอย่างเสร็จลง
ให้ผู้ที่ขึ้นไปร่วมช่วยเหลือการฉัตรลงมาข้างล่าง เหลือไว้เฉพาะพระสงฆ์ที่ขึ้นไปทำพิธีเพียง
4 รูป ให้รูปที่เป็นเจ้าพิธีเสกน้ำส้มป่อย 7 คาบ ท่านว่า “ข่มหลังหมูลง” เป็นการดีนัก
ตอนที่ว่าด้วยการสละผ้า
3 ผืนที่กล่าวมาตอนต้นนั้น เพื่อให้พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธี มีศีลบริสุทธิ์ พ้นจากอาบัตินิสสัคคีย์(เพราะการอยู่ปราศจากไตรจีวร
หรือ ติจีวราวิปปวาส) ต้องสละผ้าทั้ง 3 ผืน แก่พระภิกษุ สามเณร เด็กวัด(สิกข์โยม)
หรือ อุบาสก เสียก่อน เพราะผ้านั้นเป็นของต้องสละเสีย ภิกษุขืนใช้ผ้านั้นโดยไม่สละให้ผู้อื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์(เกิดศีลวิบัติ)
กล่าวคำเสียสละ(ภาษาล้านนา)
ว่า “ผ้านุ่งนี้ ก็ไม่บัวริสุทธิ์ เป็นอาบัตินิสัคคีย์ บัดนี้เราสละให้แก่ท่าน ท่านจุ่งรับเอาเถิด”
ผู้รับเมื่อรับเอาไปแล้ว
ให้รอผ่านเวลาไปสักครู่หนึ่ง แล้วนำผ้านั้นกลับมาถวายคืน ด้วยคำกล่าวว่า “ผ้าเหล่านี้ทั้งมวล
เป็นผ้าที่บัวริสุทธิ์ดี ไม่เป็นอาบัตินิสัคคีย์ปาจิตตีย์แล้ว ขอท่านจงรับเอาเถิด”
เมื่อรับผ้มาแล้ว
จงอธิษฐานให้เป็น “คหปติจีวร” ทำให้ถูกต้องตามพระวินัย หากไม่ปฏิบัติดังนี้ ถือว่าเป็นการไม่สมควร
คำยอคุณและขอขมาพระธาตุ/พระพุทธรูป เมื่อสร้างใหม่
เมื่อจะสร้างพระมหาธาตุ
สร้างพระพุทธรูป ให้เตรียมพานข้าวตอก ดอกไม้
เทียน แล้วกล่าวคำยกยอคุณ(สรรเสริญ)พระพุทธเจ้าและพระธาตุ[8]
(ขอรักษาภาษาเดิมเอาไว้ มีความไพเราะตามลักษณะร่าย) ว่า
“บัดนี้ผู้ข้าทั้งหลาย
ทั้งภายในแลภายนอก ภายบน ภายลุ่ม ผู้ข้าทั้งหลาย ก็น้อมนำมายังปรมามิสสปูชาแล้ว ลวดขอสมมายังสรีรธาตุแห่งสัพพัญญูพระมุนีเจ้า
อันตั้งอยู่เหนือแผ่นพระสุธาชมพูทวีปอันเป็นที่ตั้งศาสนา ข้าขอสมมาทั้งสรีรธาตุ
อรหันตาโกณฑัญญะ ขีณา[9]อุปาลีเถรเจ้า
หมู่สาวกโมคคัลลาน์ กัจจายนาจารย์องค์เถรเจ้า หมู่ทรงธัมม์ ทั้งธาตุองค์คำ
สารีปุตตเจ้า รุ่งเรืองงาม จ ควัมปติขีณาองค์ธาตุเจ้า วัณณะบ่เส้าเผียบผิวคำ อานันฺทังองค์น้องเจ้าธาตุบ่เส้าบ่ทอง
องค์อัคคปุตตาราหุลรองลูกรักราชแห่งองค์คำ ผู้ข้าขอสมมาปัณณากัมม์กับพระธาตุเจ้าชุองค์องค์
บัดนี้สถูปพระธาตุเจ้าชราลงหลุคร่ำเถ้าอยาดพังเพง หินทรายเทยแตกอ้าลวดเสียศรี
บัดนี้
ผู้ข้าทั้งหลายมีใจใฝ่มักใคร่สร้างก่อปกแปลงยังสถูปพระธาตุเจ้าให้สมควร จิ่งปกเตินชักเชินชวนฝูงแก่ตานาย
พากันขงขวายตกแต่งแนบน้อมนำมายังปุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกพร้อมทั้งเทียน
มาจำเนียรไว้กลางคลองส่องหน้าแห่งพระธาตุเจ้าชุองค์อวน ขอพระธาตุควรขุณณาโทษ
โผดอโหสิ นัตถิวิปาก แก่ผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งภายในแลภายนอก ชุตนชุองค์ ชุผู้ชุคน ชุน้อยใหญ่
ชาย ญิงเที่ยงแท้ดีหลี ผู้ข้าทั้งหลาย ได้กระทำวุฑฒาปจายนะ[10]สันนี้แล้ว
ขอให้สมดั่งแก้วหัทยาแห่งผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งภายในแลภายนอก อันมักใคร่สร้างปูชาบุญ
คือว่า ปฏิสังขรณ์ ก่อสร้างฮ้างแปลงยังวรชินธาตุเจ้าอันเถิงยังชราแล้ว หยาดภัวะตกดิน
ธาตุพระมุนีให้แหน้นหนา ทัฬหาหมั้นแก่นแท้ดีหลี ด้วยดั่งบาลีว่า “สาธุ
มยมฺภนฺเต อิมานิ สุคนฺโธทกาปุปฺผาลาชาปูชิตํ[11]
กายกมฺมํ วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ อตีตโทสํ อนาคตโทสํ ปจฺจุปนฺนโทสํ ขมนฺตุ โน”
เมื่อจะซ่อมแซมพระพุทธรูป พระธาตุที่ผุพัง
ให้สมมาเสียก่อนจึงรื้อออกได้
“ผู้ข้า
ขอนิมันตนาเอายังสรีรธาตุเจ้าอันจักตั้งอยู่เหนือหน้าแผ่นพระสุธา นหุตตาโลกธาตุ[12]
ข้าขออังคาสชุองค์ธาตุทั้งมวล มีสิบสองตื้อ พระไว้ให้โผดโลกา
บัดนี้ผู้ข้าก็มีปุปผาลาชา ข้าวตอกดอกไม้ ไหว้นบนิมนต์มา “ทนฺตา”
ทั้งดูกด้ำมีด ยังบ่รีดอยู่สันดี ขอมาสถิตตั้งอยู่เจดีย์แห่งผู้ข้าแต่งทำทาน
ผู้ข้า ยอมือสาน คู้เข่าไหว้ ชุวันวัน “มุคฺคมตฺตา มชฺฌิมา ตณฺฑุลา”
องค์ธาตุเจ้าขาวบ่เส้าเพชรยางพอน[13]
ตณฺฑุลา ข้าวสารหักทรงวิตักเพชรยังองค์ ข้าขอนิมนต์จุ่งมาตั้งอยู่ภายใน ขอให้เป็นที่ไหว้ที่สักการ
รับเอาทานแห่งนราปฏิสังขา ผู้ข้าทั้งหลาย ชักชวนกันแต่งตั้งปกก่อตั้งแต่งทำดี
ยังสถูปพระมุนีองค์ธาตุเจ้า ข้าขออันเชิญเข้ามาอยู่ภายใน “ติฏฐนฺตุ”
ขอจุ่งตั้งอยู่เหิงนาน 5,000 พระวัสสากาล ตราบเมี้ยนสถูปแก้วส่องเมืองอินท์
เทวมนุษย์สิ้น คนแลผี แลเทพไท้ ให้เขาได้มาไหว้แล้วพ้นจากสงสาร[14]
ให้เขาได้เถิงเนรพานเมืองมิ่ง ดับทุกข์สิ่งโสกา ขอมาโผดสัตตาคณาน้อยใหญ่ ผู้ข้าทั้งหลายพากันก่อสร้างสถูปเจ้า
ธาตุเจ้าเจดีย์ ไว้ให้เป็นที่สถิตแห่งสาวาสพระธาตุเจ้า แลธาตุอรหันตาตัณฑุลาธาตุข้าว
ให้บ้านเมืองชุ่มเท่าด้วยปัจจัย ขออันเชิญทั้งธาตุอรหันตาองค์ได้แสนหมู่ธาตุเจ้า ใหญ่น้อยคู่ลิงลานพันธุ์ผักกาดแลเม็ดข้าวสารหัก
สังขยาจักอ่านเล่าสิบสองตื้อ พระไว้ให้โผดโลกา
ข้าขอเชิญมาตั้งอยู่เจดีย์กู่คำขาท้องเพ็กฐาเรือใหญ่เป็นสำเภาไต่ข้ามโอฆสงสาร
ผู้ข้าขอราธนามาชุองค์น้อยใหญ่ ขอพระมหาธาตุเจ้าใฝ่ขุณณา มุทุตาสัตตโลก ขอให้ผู้ข้าพ้นจากโทสสงสารเที่ยงแท้ดีหลีเทอะ”
ถ้าจะสร้างพระธาตุขนาดใหญ่
เครื่องพิธีให้สร้างปราสาทหลัง 1 ใส่เครื่องอามิสบูชานานาชนิด(เป็นเครื่องบูชาพระอุปคุต)
แล้วกล่าวคำอังคาส(ถวาย)ว่า “ภนฺเต เถรสถิตสมุทฺทํ อหํ ยาจามิ มหาอุปฺปคุตฺตเถร
สถิตทกฺขิณทิสโต อนุคฺคโห โลกสฺส อารกฺขํ ปญฺจสหสฺส อมฺหากํ อุทฺทิขตฺติโมทิตฺวา
สปฺปตฺติสิตฺวา ปฏิปตฺติปูชาย [15]
โอกาสะ
ข้าแด่พระมหาอุปคุตเถรเจ้าอันอยู่เฝ้าศาสนา อันผจญแพ้ปัญจมารา 5 สิ่ง บัดนี้ ท้าวตนยิ่งทรงเมืองที่นี้เป็นเคล้า
ก็มีใจมักใคร่สร้างแปลงยังวัตถุเยื่องนี้ ขอมหาเถรเจ้าจุ่งโผดมหากรุณามุทุตา
เอาใจใฝ่แก่ผู้ข้าทั้งหลายน้อยใหญ่ชายญิงอันมีใจสีลยินดีเซิ่งกองบุญอันใหญ่
มีใจมักใคร่สร้างปูชาบุญ ผู้ข้าทั้งหลายก็กลัวแต่มารปักข[16]
มาสุนเสียเท-รีด ขอเมตตาเถรเจ้าจะนีดแล้วกรุณา ขออย่าให้เป็นอุณหากาลอันร้อนเยือกย้าวขอนล้นใจแก่ผู้ข้าทั้งหลายแท้
ดีหลี
“ปญฺจมาเร ชิโน นาโถ ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ
จตุสจฺจํ ปกาเสสิ อหํ วนฺทามิ มหามุณี
เอเตน สจฺจวชฺเชน สพฺเพ มารา ภคฺคา โหนฺตุ
สพฺเพ อุปฺปทวา วินาสนฺตุ สพฺพทุกฺขา ปโมจนฺตุ[17]
สพฺพสมฺปตฺติปสทฺธิ ภวนฺตุ โน”
ให้ว่า 3 ที จักกระทำอย่างใด ก็หาอันตรายมิได้
เครื่องบูชาอโศกราชา
ถ้าจะปูชาอโศกราชา
เครื่องบูชาใช้อย่างละ 8 ชุด มี ช่อ ทุง ข้าวต้ม ข้าวหนม กล้วย อ้อย หมาก พลู สร้างปราสาทเสาเดียว ด้านทิศเหนือ กล่าวคำอังคาสว่า
ข้าแต่
อุปปัตติเทวารัชชัง อันเป็นเจ้าแก่ผู้ข้าทั้งหลาย อันเป็นนายก่อตั้งศาสนา บัดนี้ ผู้ข้าทั้งหลาย
หมายมี พระขุนเมืองเป็นเคล้า ก็มีใจมักใคร่แต่งแปลงยังวัตถุเยื่องนี้
เพื่อไว้โชตกยังวรพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองหมั้นคุงสืบไปภายหน้าว่าสันนี้ ดีหลี
ผู้ข้า
ขออันเชิญเทพดาอโสกราชเจ้าจุ่งเอาใจใสขุณณา[19]อนุโมทนากับด้วยผู้ข้าทั้งหลาย
อันได้สร้างแปลงยกยอทานที่นี้ ขอให้หายเสียสัพพะภะยัง เวรานุเวรัง เคราะห์ใหญ่กล้า
ขอให้หายเสีย ยังสัพพะเคราะห์ ไข้หวัดไอ ขอให้หายเสีย ยังจังไรแลอุบาทว์ ขอให้หายเสีย
สัพพะพยาธิขาดกังวล ขอให้หายเสีย สัพพะภัยในตนคนแลสัพพะสัตต์หลายเยื่อง(จุ่งอย่ามี)แก่ผู้ข้าแท้ดีหลี
ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ รกฺขนฺตุ สพฺพเทวตา สพฺพพุทฺธานุภาเวน สพฺพธมฺมานุภาเวน สพฺพสงฺฆานุภาเวน
ภวนฺตุ สพฺพทา สพฺพทุกฺขา สพฺพภยา สพฺพอนฺรายา วินาสนฺตุ สพฺพทา”
กล่าวถึงนิมิตลางร้ายจะทำให้เกิดอุบาทว์
แก่ชาวโลกและแก่พระศาสนา
ในพับก้อม
ชี้แจง นิมิต หรือ ลางอุบาทว์ที่จะทำให้ชาวโลก และพระศาสนาประสบกับความโศก โสกาดูร
ว่ามีลางร้ายต่าง ๆ ดังนี้
“ไก่เถื่อนเข้าบ้าน
หมู่กวางฟานวอกค่างนางนี กระต่ายแร้งกามาหลายแล่งจับหลังเรือน แร้งขึ้นเรือน นกยาง
นกสีทูดจับเรือน หันเลือดยังเรือน งูขึ้นเรือน สายฟ้าเกิดเป็นทุงสาย
รุ้งเกิดหว่ายฟ้าแต่วันตกไปวันออก แต่ใต้ไปเหนือ ฟ้ารวนร้องเป็นเสียงปืน (ลูก)ไพก็แตกกลางคืน
ได้ยินผีไห้ ผ้าตากไว้พ้อยเกี้ยวกัน” ได้ประสบกับเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ดี เห็นท้องฟ้าเป็นสีเหลืองก็ดี
สีแดงก็ดี มากุมแสงอาทิตย์ และจันทร์ไว้ 2 วัน หรือ 3 วัน [20]
ก็ดี” ควรทำพิธีปูชาส่งอุบาทว์เสีย
พิธีการแต่งแก้อุบาทว์
ให้ทำสะทวงใส่เครื่องบูชาอย่างละ
100 ชุด มี กระบอกน้ำร้อน ข้าว 100 ก้อน
แกงส้มหวาน 100 ชุด หมาก พลู ช้าง ม้า งัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา ปู ปลา เต่า
ดอกไม้ เทีย 100 เล่ม นำผืนผ้ามาตัดออกเป็น
3 ส่วน ส่วน 1 ให้ปูชาพระพุทธรูป ส่วน 1 ให้ปูชาไม้มหาโพธิ์
แล้วส่วน 1 ให้นำมาตัดเป็น 7 ส่วน ให้เอา
4 ส่วน ปูชาท้าวทั้ง 4 เอาส่วน 1 (3 ?) มาย้อมสีเหลือง ปูชาพระพุทธรูป
ขันตั้งตามตระกูล
หมาก 4 ขด เทียน 4 คู่ พลู 4 เงินบาท 1 ผ้าขาว(ผ้า)แดง
กถา[21]
ส่งเหตุเป่าสะทวงว่า “โอม จุลอุปาทา(จุลลอุปทฺวา) เทวตานุภาโว(เทวตานุภาวํ) อาเปตฺวา สหคเชน สหปริวาเรน อาคจฺฉนฺตุ
อิมํ ทิพฺพโภชนํ ทิพฺพอาหารํ ทิพฺพผลํ ภุญฺชนฺตุ ขิปฺปยนฺตุ หูลูหูลู สฺวาหาย”
7 ที
แล้วว่า
“โอม สพฺพมงฺคลํ รกฺขนฺตุ สพฺพเทวตา สพฺพพุทฺธานุภาเวน สทา สุขี ภวนฺตุ โน”
7 ที แล้วว่า
“ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ รกฺขนฺตุ สพฺพเทวตา สพฺพพุทฺธา สพฺพธมฺมา สพฺพสงฺฆานุภาเวน วินาสนฺตุโน” 3
ที
“โอม
ภเภยฺยเทวราชา พฺยาสากฺยมคฺคิตายสฺส โคณพฺพาหนายตฺถิเนพายทฺธา อาคจฺฉนฺตุ ภชนฺตุ สฺวาหาย” 7 ที
“โอม
กปฺปกุตฺตจิ จตุปาททิสฺสถเสนมมตฺตนาตโลเกสิตตุเมกฺขลาอากาสเมฆนฺติ ทถตํ วิลากาสมุกฺขเจวนาตจฺจกญฺเจว
จชิตฺวา ยาว ทตฺตํ สกฺอุตฺตรภตํ สสิตํ สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
อากาส อุปตตาย ขิปฺปยนฺตุ สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
ทฺวิมาจตุสาสาติ ตารสทิส สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
ทเนยฺยทิ สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
ภโภคสมฺปตฺติ สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
เชยฺย สฺวาหาย” 3 ที
“โอม
สพฺพสตฺรู สฺวาหาย” 3 ที
แล้วว่า “ยนฺทุนฺ กับ สกฺกตฺวา” (สวดสรุปปิดท้าย)
หยาดน้ำอุทิศถึงพญาอินทร์
พระพรหม นำสะทวงออกไปส่ง เหตุลางร้ายเกิดทางทิศใด
ให้เอาไปส่งทางทิศนั้น
อุปเทสที่จะนำความเจริญแก่บ้านเมือง
ในพับก้อมเล่าว่า
มีเมืองหนึ่ง
สมัยหนึ่งเกิดทุพภิกขภัยเบียดเบียน คนทั้งหลายเสียชีวิตเพราะการขาดอาหารเป็นอันมาก
ทั้ง บังเกิดพยาธิ และโรคต่าง ๆ แก่มนุษย์และสัตต์ ต่างเจ็บป่วยล้มตายเป็นอันมาก เพราะเหตุว่า มีผีเขน กวนบ้าน ควีเมือง (กวนบ้านกวนเมือง)
การแก้
ให้ชาวบ้านพร้อมใจกันก่อเจดีย์ทรายขึ้นมา 4 หลัง แต่ละหลังให้มีน้ำหนักหลังละ 3 หมื่น อย่าให้ขาด หรือ เหลือไปจะดีมาก สถานที่ ให้ก่อเจดีย์ทราย
ในบริเวณลานพระเจดีย์ หรือที่ลานไม้ศรีมหาโพธิ์ในอาราม อย่าก่อให้ไกลกันเว้นระยะประมาณ
1 ศอก
เครื่องปูชาประกอบด้วย
(เครื่อง 4) ช่อ ทุง ข้าวตอก ดอกไม้ และทำค้วกใส่ เจดีย์ ละ 4 ชุด
ผลไม้ มีของส้ม ของหวาน พร้าว ตาล กล้วย อ้อย หมาก พลู ข้าว น้ำ โภชนะอาหาร
อย่างละ 4 ชุด ทุกเจดีย์
ให้เขียนเส้นเจดีย์
4 หลัง ไว้กับช่อ 9 ผืน เป็น 9 ส่วน
โดย
4 ส่วน บูชาท้าวทั้ง 4 ตนละส่วน ให้เขียนชื่อปกเจดีย์
4 หลัง 4 ตน
พญาธตรฐ
เป็นเจ้าแก่คันธัพพะทั้งหลาย อยู่ทิศตะวันออก
พญาวิรุฬหะ
เป็นเจ้าแก่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย อยู่ทิศใต้
พญาวิรูปักขะ
เป็นเจ้าแก่นาคทั้งหลาย อยู่ทิศตะวันตก
พญากุเวร
เป็นเจ้าแก่ยักข์ทั้งหลาย อยู่ทิศเหนือ
พญาเวสสุวัณณ์
เป็นเจ้าแก่ผีเสื้อ ผีเขนทั้งหลาย อยู่ทิศวันออกเฉียงเหนือ
ปชุนเทวบุตร
เป็นเจ้าแก่รดู(ฤดู)ทั้ง 3 อยู่ อากาศ เบื้องบน
เจดีย์หลัง
1 อุทิศถึงอารักข์เมืองใหญ่
เจดีย์หลัง
1 อุทิศถึงผีทั้งหลายภายลุ่ม(ใต้)ภายบน
เจดีย์หลัง
1 อุทิศถึงสัตต์ทั้งหลายภายลุ่ม(ใต้)ภายบน
เจดีย์หลัง 1 อุทิศถึงผีเขนทั้งหลายที่อยู่ในเมือง
ในน้ำ ในบก อากาสกลางหาวเชิญทั้งผีและสัตต์
ให้เรียกร้องกันมารับเอาส่วนบุญในวันนี้
สร้างหอ 7 หอ เครื่องบูชา มีข้าวตอก ดอกไม้
เทียน 7 คู่ อาราธนาท้าวทั้ง 4 ปชุนเทวบุตรท้าวเวสสุวัณณ์
และอารักข์เมืองใหญ่เป็นที่สุด ให้มาอยู่หอ
อาราธนาสังฆะ
4 (ภิกษุ 4 รูป) ตนมาสวดมังคละ เอาด้ายสายสิญจน์ เกี้ยวแวดล้อมเจดีย์ทราย แล้วสวด กรณียเมตตสูตร
7 คาบ แล้วสวดปุรฏฺฐิมสฺมึ...จนจบ ปิดท้าย
สุดท้าย
ให้สังฆะอุทิศบุญเจดีย์ทราย 9 หลัง ภิกษุรูปที่ประจำที่เจดีย์ทรายหลังใดๆ ก็ตาม ให้อ่านชื่อในช่อแล้ว
ให้หยาดน้ำไปหา(เทวดา) ตนนั้นเป็นการเฉพาะ ไม่ควรกรวดน้ำอุทศรวมกัน ให้(พร)แก่ศรัทธาทั้งหลายภายนอก
ให้นักปราชญ์อาจารย์ อวยพรอันเป็นไชยมังคละตามสมควร ทำได้อย่างนี้ก็จักสำเร็จ
เกิดความชุ่มบ้านเย็นเมืองโดยแท้
กล่าวถึงปีที่มีผีเขนมากวนบ้านกวนเมือง
ผีเขนมากวนบ้านกวนเมือง
บันดลเข้าสิงหัวใจท้าวพญา เจ้านายเสนาอามาตย์ทั้งหลาย บ้านเมืองเกิดความแห้งแร้ง
เพราะฝนฟ้าไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล (ฟ้าบ่ลง ฝนบ่ตก) ดังบันทึกว่า
(ในปี)
สักกพัทธได้ 1222 ตัว(พ.ศ.2333) ปีกดสัน เดือน 1 ออก 8 ค่ำ วัน 4 หนไทยกดใจ้
เจ้านาย 12 ขุนเหนือสนาม พร้อมกันฟังธัมม์ 3 ผะหยานี้ เหตุว่ากาลกิณีตกเมืองละคร(ลำปาง)
ก็จิ่งได้ฟังธัมม์อันนี้ 3 วัน ก็พ้นจากภัยวันนั้นแล
เคราะห์บ้านเกณฑ์เมืองมี
จักควรเสียบ้านเมืองก็ดี จักให้หายเคราะห์ จักให้ข้าเสิ้กพ่ายหนี หื้อกระทำตามวิธีอันนี้
ตามคุรุปเทสแห่งมหาสวามีสีลวังโส อันกระทำปางเมื่อห้อ เอารี้พลมาล้านนา ปีดับเร้า
สักราชได้ 767 ตัวปี วันนั้น เจ้าพญาสามผะหยาจิ่งแต่งอามาตย์ เอาเครื่องปูชา
มาราธนามหาเถรเจ้า ก็มากระทำคุรุปเทสสันนี้แล
ให้สร้างหอ
5 หลัง ท่ามกลาง แควนใหญ่สูงงาม เป็นที่อยู่อินทาธิราช แล้ว 4 หลังนั้น ตั้ง 4
แจ่ง เป็นที่ท้าวทั้ง 4 แล้ว จิ่งแต่งมณฑปหลัง 1 อาสนา 4 อันก็ดี 8 อันก็ดี
ไว้ในมณฑปที่นั้น อาสนาแลเครื่องปูชาไว้หอทั้ง 5 หลัง พร้าว ตาล กล้วย อ้อย เบี้ยหมื่น
หมากหมื่น หม้อใหม่ สาดใหม่ น้ำต้น ขันหมาก ข้าวตอก ดอกไม้ปูชา ให้มีลำขาว ลำแดง กล้วย
อ้อย พร้าว ตาล อันละ 4 ข้าวเปลือก ข้าวสาร อันละ 4 (กระ)บุง แล้วแปลงขัวไม้(สะพาน)
ค้ำสรี(ค้ำต้นโพธิ์) บอกน้ำ บอกทราย ลวดเงิน ลวดคำ เบี้ย หมาก เทียนค่าคิงท้าวพญาชุตน
หินขาว 4 ลูก น้ำ ทราย น้ำส้มป่อย น้ำอบน้ำหอม ประทีส(ประทีป) พร้อมชุอัน เยียะกระทำฉัตรพญาสามล้าน
ไว้ในหอพญาอินทร์ อาสนะ หมอนไว้หั้นเทอะ ซ้ำหออัน 1 ราธนาพระเจ้าไม้จันทน์ 4
ไว้ในหอมณฑป ให้สังฆะ(สวด)ปริตรมังคละมหาสมัย ตั้งนาน 7 วัน 7 คืน ให้ทานปูชาแก้ว
3 ประการ หยาดน้ำอุทิศบุญให้อินทาแลท้าวทั้ง 4 เทวบุตรเทวดา อารักข์บ้านเมือง
สัตต์อันอยู่ในน้ำ ในบกชุแห่ง แต่งปูชาเมือง สรีเมือง มูล เตช อายุเมือง ด้วยมธุปายาสลูกเต้าลูกแตง
ตามอันหาได้เทอะ
เมื่อจักกระทำหัวที(ครั้งแรก) นั้น
อ่านกถาอันนี้เทอะ
“โอม
เหเห ภทนฺตา ทสทิสา เทวตา สห ปริวาราย อาคจฺฉนฺตุ ยทาอุทิสํ ปฏิคณฺหนฺตุ อิมํ
พลิกมฺมํ เอเต อมฺเห รกฺขนฺตุ สพฺพทา
สกฺโก
เทวราชา สห เสนาย อาคจฺฉตุ อิมํ พลิกมฺมํ ปฏิคณฺหตุ อมฺเห รกฺขตุ สพฺพทา
ธตรฏฺโฐราชา
สห เสนาย ปุพฺพาทิสฺสาย ติฏฐตุ ปฏิคณฺหตุ อิมํ พลิกมฺมํ อมฺเห รกฺขตุ สพฺพทา กมฺมานิ สิชฺฌตุ
ทกฺขิเณ
วิรุฬฺหโก ราชา สห เสนาย ติฏฺฐตุ ปฏิคณฺหตุ อิมํ พลิกมฺมํ อมฺเห รกฺขตุ สพฺพทา
สพฺพกมฺมานิ สิชฺฌตุ โน
ปจฺฉิเม
วิรูปกฺโขราชา สหาเสนาย ติฏฺฐนฺตุ ปฏิคณฺหนฺตุ อิมํ พลิกมฺมํ อมฺเห รกฺขนฺตุ
สพฺพทา สพฺพกมฺมานิ สิชฺฌนฺตุ โน
อุตฺตรกุเวโร
ราชา สหเสนาย ติฏฺฐตุ ปฏิคณฺหตุ อิมํ พลิกมฺมํ อมฺเห รกฺขตุ สพฺพทา กมฺมานิ สิชฺฌตุ
โน”
สวดสาธยายมนต์อันนี้ 3 หน ทุกบท
“โอม
นโม รตนตฺยาย นม สิริอวโลกิตฺเถตาย โอม กาเรปวปาลปาเลมาตํ กิสพฺพธมฺมมูนิมูนิ
พุทฺธม สพฺพสตฺรู สิการา”
อ่านกถาฝูงนี้เมื่อตั้ง
เมื่อแล้วหยาดน้ำให้ส่วนบุญแก่เทวดาอารักข์อินทาพรหมทั้งหลาย ขอให้รักษาบ้านเมืองอย่าให้เป็นอันตรายดีแล
ท้าวพญาตนใดกระทำตามวิธีอันนี้ด้วยครบยำแท้
ก็จักมีเตชาอานุภาพแก่ข้าเสิ้กสัตรูทั้งมวล
ชุประการ ราชโมลีเชียงใหม่ ได้แต่ง(สืบ)มหาสวามีสีลวังโสเจ้า มาต่อเท่าบัดนี้แล
ในพับก้อมนี้
มีบันทึกลักษณะการสร้างพระพุทธรูปไว้อีกแบบหนึ่ง ดังนี้
ถ้าจะสร้างพุทธรูปให้ถูกลักษณะนั้น
ให้วัดความยาวระหว่างหัวเข่าทั้งสอง มาหัก(แบ่งออก) เป็น 4 ส่วนแต่ละส่วน ชื่อว่า “บาท(ปาทะ)” เอาไม้บาทมาวัด
ขนาด(ที่จะสร้างพระพุทธรูป) คือ
วัดจากแท่นขึ้นถึงพระนาภี 1 บาท (ยาวเท่าไม้บาทวัด)
วัดจากพระนาภีขึ้นถึงพระถัน 1
บาท
วัดจากพระถันขึ้นถึงปลายพระหนุ 1 บาท
ความกว้างระหว่างพระถันทั้ง 2 ข้าง 1
บาท
วัดจากพระถันทั้ง 2 ไปถึงบ่า 1 บาท
วัดจากจอมบ่า(จะงอยบ่า) ลงไปถึงศอก 1
บาท
วัดจากศอกไปหาข้อแข้ง 1 บาท
วัดจากข้อแข้งไปถึงปลายมือ 1 บาท
ใบพระกรรณยาว 1 บาท
วัดจากปลายพระนาสิกไปถึงพระกรรณ 1 บาท
เอาไม้บาท
มาหักครึ่งชื่อ “สัลลิงคะ” เอาไม้วัดสัลลิงคะ
มาหักครึ่งอีก ชื่อ “ไภยยะ” เอาไม้ไภยยะมาวัดสัดส่วนดังนี้
จากปลายพระหนุขึ้นถึงพระนาสิก 1 ไภยยะ
จากพระนาสิกถึงระหว่างคิ้ว 1 ไภยยะ
จากระหว่างคิ้วถึงตีนผม 1 ไภยยะ
ขนาดคิ้วยาว 1 ไภยยะ
ตายาว 1 ไภยยะ
นี้คือ ขนาดและสัดส่วนต่างๆ
ตามไม้วัด ในการสร้างพุทธรูปนั่งให้ถูกลักขณะ
ถ้าสร้างพุทธรูปยืน
ให้วัดขนาดและสัดส่วนดังนี้
วัดส่วนสูงจากเท้าขึ้นมาถึงหัวเข่า
ยาว 2 บาท
จากหัวเข่าถึงพระนาภี 2 บาท
จากพระนาภีถึงพระถัน 1 บาท
จากพระถันถึงปลายพระหนุ(จอมพระหนุ)
1 บาท
จากปลายพระหนุถึงตีนผม 1 บาท
จากตีนผมถึงนอระธืก[22] 1
บาท
จากนอระธืกถึงรังสี(พระรัสมี)
1 บาท
วิธีสร้างพระเจ้ายืนก็แล้วแล
มีวิธีการจำแนก
ลักษณะของพระพุทธรูป 3 แบบ ดังนี้
ให้กำหนด
ความยาวระหว่างหัวเข่า(หมายถึงขนาดหน้าตัก) ว่าจะยาวเท่าใด
นำความยาวมาหัก(แบ่งออก)เป็น 3 ส่วน(บาท) จากนั้นนำส่วนหนึ่งมาวัดความสูงขององค์พระดังนี้
วัดจากที่นั่งถึงพระนาภี 1 ส่วน
วัดจากพระนาภีถึงพระถัน 1 ส่วน
วัดจากพระถันถึงพระหนุแตะริมตีนผม นอระธืก
แปลงรังสี 1 ส่วน
ลักษณะนี้ชื่อ โคธ(นิโคฺรธ/โคณะ)ลักขณะ [หมายถึง ความกว้างของหน้าตัก ยาวเท่ากับส่วนสูงถึงตีนผมขององค์พระ (มีลักษณะลำองค์ต้อ)]
ถ้าส่วนที่ 3 นี้ วัดมาถึงตา ชื่อ คชลักขณะ[23]
ความสูงของลำองค์ขนาดกลาง
ถ้าส่วนที่ 3 วัดมาถึง ปลายพระนาสิก ชื่อ
สิงหลักษณะ (มีลักษณะลำองค์สูงโปร่ง)
ขนาดสัดส่วนของส่วนลำตัวพระ ดังนี้
ระหว่างพระถันสองข้างกว้าง 1 บาท จากพระถันถึงพระหนุยาว
1 บาท พระหนุถึงจอมหัวยาว 1 บาท ปล้องข้อศอกยาว 1 บาท ปล้องแขนขึ้นปล้องขา, 2 ฝ่าเท้า
ฝ่ามือ ยาวเท่ากัน คือ เสี้ยง บาท เอาไม้บาทมาหักอีก 3 ส่วน ฝ่าเท้ากว้าง 2 ส่วน นิ้วเท้าส่วน 1 ฝ่ามือ ผ้าสังฆาฏิ ตีนผมถึงระหว่างคิ้ว
ระหว่างคิ้วถึงปลายพระนาสิก จาก ปลายพระนาสิกถึงปลายพระหนุ ยาวเท่ากัน นิ้วมือยาวครึ่งบาท
จากปลายพระนาสิกไปพระกรรณเบื้องบนเพียงคิ้ว
ด้านล่างจรดปล้องคอปล้องกลาง ตีนกลางครึ่งบาท ยาว 1 บาท เอาความกว้างมาแบ่งครึ่ง เป็นติ่งพระกรรณด้านล่าง
เอาไม้บาทมาแบ่งเป็น 4 ส่วน เป็นความยาวของตา
นิ้วเท้า เอาส่วน 1 (จากที่แบ่งไม้บาทเป็น
4 ส่วน) มาแบ่งอีก 3 ส่วน ความกว้างของดวงตากว้างเท่า
1 ส่วนนั้น บ่ากว้างครึ่งบาท ลำคิ้วมีรูปเป็นดั่งกลีบกระเทียม รูปตาเป็นดังปากนก ปุ่มพระหนุเป็นดังหม้อต่อม
ตั้งหน้าแท่นสูง 1 บาท ถ้าจะสร้างพระพุทธรูปยืน
(นัย 1) ให้วัดไม้บาทต่อไปได้ 6 ส่วน โดยวัดตั้งแต่หน้าแท่น จรด ตีนผม นัย 1 วัดถึงพระหนุ ส่วนที่เหลือนอกนั้นเหมือนกัน
พระพุทธรูปทางใต้ ปางยืน
วัดให้ได้ความยาวของ 11 หน้าแท่น นั่นคือ ส่วนสูงจากหน้าแท่นถึง โมลียาว 11 ไม้บาท
ที่เหลือ ใช้สัดส่วนเหมือนกันทั้งหมดกับพระพุทธรูปางนั่ง
สร้างพระเจ้าชาตา หรือ
พระพุทธรูปประจำชะตา
จะสร้างพระพุทธรูปให้เจริญมั่นคง
ให้นำข้าวตอกดอกไม้เทียนไปปูชาเอาไม้มะเดื่อปล้อง ให้ขอจากเทวดาด้วยคำปรารถนาของตน
เอาไม้มะเดื่อมาตากจนแห้ง เมื่อจะปั้นพุทธรูป ให้เอาผลมะเดื่อปล้องรองนั่ง
3 ลูก ลงชาตาใส่แผ่นเงิน ใส่หัวใจพระเจ้าสรูปแล้ว
ลงล้อมรอบโขงชาตาว่า
“พุทฺโธ
โพเธยฺยํ มุตฺโต โมเจยฺยํ ติณฺโณ ตาเรยฺยํ”
แล้วลง
“พุทฺโธมงฺคล สมฺภูโต” รอบโขงชาตาแล้ว สรูปลงกถาผูกจิตให้หมั้นว่า
“สตฺตมิ
สตฺติมิ สตฺตนิมตฺตํ อนุพนฺธิตฺวา สติมา มติมา มนิมนํ ทฬฺหํ ยถมฺเภ ทฬฺหจิตฺตํ มม”[24]
สรูปแล้วเขียนล้อม 3 ชั้น ลองใจไม้ให้แผวแล้ว(แทงใจไม้ให้ทะลุตลอดลำ)
นำแผ่นเงินเข้าใส่ไว้ในกลางกลองตรงกับหัวอก ปิดให้แน่นด้วยยางรัก เอาไม้พญายอมาเป็นโมลี เอาไม้ขนุนทำเป็นแท่นลงชาตาใส่แผ่นเงิน
เขียนกถาพระเจ้า อยู่หนังจัมมัน ลงล้อมรอบว่าดังนี้
“สุขุมวาลุกํ
สมุฏฺฐาเหสํ สํกยํ วินย อิทฺธิวิธิสยา ปาฏิหาริยํ อิทํ จมฺมขณฺฑํ ปุณฺณภควโต อธิฏฺฐานเตเชน
สพฺเพ อนฺตฺรายา อเสสโต” เขียน “โย
สนฺนิสินฺโน” ลงล้อมรองที่นั่ง
ตัวเกิดวันใดให้ทำวันนั้น
สิทธิวุฒิแล(สำเร็จและรุ่งเรืองนัก)
พุทฺธรูปํ วิทฺธิ แล้วปูชาเอามาไว้กับเรือน เป็นพระเจ้าชาตา
กถา 7 ตัว หัวใจไชยเบ็งชร(ชินปัญชร)
“ปสฺวายํ
ปตฺตํ รตฺตนํ ปุรโต อาสิ จิปิเสคิ ปาอกามุสุวิชมาอุชุสีลํ สพฺพลคพฺโภ อหํ ภวนฺตา
โหม” คาถาอันนี้ องคุลีมาลภาวนา(ตั้งแต่อยู่)ในท้องแม่
“ทิสาหิ
เม ธมฺมกถํ สุณนฺตุ ทิสเมกุกุญฺชนฺตุ พุทฺธสาสเน ทิสาหิ เม เต มนุสฺเส ภาชนฺตุ เย
ธมฺมเมวาทปญฺญติ สติสโต ทิสา เม ขนฺตีวาทานํ วิรุธปสํ สุณนฺตุ ธมฺมํ กาเลน ตญฺจ อนวิธยนุชาตโสหํ
มมํ หิํเสหยํ ปาณกิญฺจินํ ปปุญฺญปรมํ รกฺเขยฺย จ สตฺถาวเร” กถาอันนี้องคุลิมาลจำเรินป้องกันบาปภัยทั้งมวล
“อิมสฺมิํ
กาเย มิโลนิโล จตุทิสามหาโพธิกถมฺเภ สมฺปนฺโน จ อุปทฺโว อปฺเปหิ ปาปเวรา โทสทุกฺขา
มุญฺจนฺตุ ภทํ โภตุภสนฺตุ เม” คาถาบาลีนี้เขียนไม้ค้ำต้นโพธิ์ คือ ไม้อ้อยช้าง ค้ำยามสะขาทขึ้น
(เมื่อขึ้นศักราชใหม่) ทางทิศตะวันออก ปรารถนาเอาเถิด (ท่านว่า) เห็นผลทันตาเชื่อถือได้แท้
ปริวรรต : วันชัย พลเมืองดี และ ชนินทร์ เขียวสนุก (กรกฏาคม 2560)
ตรวจสอบชำระถอดความและเรียบเรียง : พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ (สิงหาคม 2560
ชื่อไม้ที่นำมาสร้างพระพุทธรูป
พระเจ้าชาตา, พระเจ้า 5
พระองค์ มีดังนี้
ไม้เดื่อป่อง (เดื่อป้อง) ไม้เทา (ซะเทา,เท้า? ตองเต๊า?) ไม้ทัน (พุทรา) ไม้หนุน
(ขนุน) ไม้สุ้มสุก (อโศก) ไม้แก้ว(พิกุล) ไม้สา (สา) ไม้มา (หมากมา) ไม้หมั้น
(ฝรั่ง) ไม้จันทน์ ไม้พิน (มะตูม) ไม้ซ้อ ไม้ม่วงพญายอ ไม้สรีรองเมือง (โพธิ์) ไม้เติ่ง
(ตึ่ง) ไม้บุญนาค ไม้จำปาเทศ
[2] คำว่า เชน บ้านเชนเมือง หรือ เจนบ้าน เจนเมือง ได้แก่ เจนบ้าน หมายถึง ผีบ้าน ผีเรือน อารักษ์เทวดา ส่วน
เจนเมือง หมายถึง ผีเมือง อารักษ์ประจำเมือง
ผู้ทำหน้าที่เป็นหลักในการรักษาบ้านเมือง (สัมภาษณ์ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มณี พยอมยงค์, 21 พฤษภาคม 2551) อ้างใน อาสา คำภา ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร Suranaree J. Soc. Sci. Vol. 6 No. 2; December 2012
(99-122).
[3] ตัวอย่างการคำนวณ
หาขนาดหัวใจพระเจ้า ถ้าหน้าตักมีขนาดยาว 2 ศอก(ศอก 1= 50 ซม.
2 x 50 = 100 ซม. (1) รอบแรก ให้แบ่ง 100 ซม. เป็น 3
ส่วน (100 หาร 3 = 33.33 ซม.) แต่ละส่วนยาว 33.33 ซม. (2).
รอบที่ 2 ให้แบ่ง 33.33 ซม เป็น 16 ส่วน(33.33 หาร 16 = 2.9 ซม.
(3). รอบที่ 3 ให้แบ่ง 2.9 ปัดเศษ เท่ากับ 3 แบ่งเป็น 3 ส่วน = เหลือ 1 เซนติเมตร
เป็นขนาดหัวใจพระเจ้า (ขนาดนี้ เล็กเกินไป ? น่าจะแบ่งเพียง
ขนาดรอบที่ 2 คือ 1/16 = 3 ซม.. ปัดเศษ ดูจะเหมาะสม)
[4] ตัวอย่างการคำนวณ หาขนาด ตับ ม้าม ปอด และพังผิด ในชุดหัวใจพระเจ้า
ถ้าหน้าตักมีขนาดยาว 2 ศอก(ศอก 1= 50 ซม. 2 x 50 =
100 ซม. (1). รอบแรก ให้แบ่ง 100 ซม. เป็น 3 ส่วน (100 หาร 3 = 33.33 ซม.) แต่ละส่วนยาว 33.33 ซม. (2) รอบที่ 2 ให้แบ่ง 33.33 ซม เป็น 8
ส่วน(33.33 หาร 8 = 4.16 ซม). เป็นขนาดของตับพระเจ้า (3) รอบที่ 3 ให้แบ่ง 4.16 หาร 3 = 1.
3 ซม. เป็นขนาดม้าม ปอด และพังผืด พระเจ้า ตำราว่า มีขนาด
ใกล้เคียงกับขนาดหัวใจพระเจ้า ซึ่งพิเคราะห์ดูตามอัตราส่วนของขนาดลำตัวของพระพุทธรูป
ที่มีหน้าตัก ขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนลำตัว จะมีขนาดกว้าง ประมาณ 33 ซม. ม้าม มีขนาด
1.3 ซม. เท่านี้ น่าจะเล็กเกินไป เมื่อรวมเช้าชุดหัวใจทั้งหมด จะมีขนาดไม่เกิน 2
-3 ซม. เท่านั้น น่าจะนำอัตราส่วน รอบที่ 2
ซึ่งมีปริมาตร ชุดหัวใจไม่เกิน 5-7 ซม. จะเหมาะสมกับช่องบรรจุหัวใจ (ขนาด 1
ใน 8 ส่วน ของลำตัวพระพุทธรูป)
[5] ให้พิจารณา ตังขณิกปัจจเวกขณะ(ปฏิสงฺขา โยนิโส..จีวรํ) และ ธาตุกูลปัจจเวกขณะ(ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ)
[6] ในพระบาลีชยปริตฺรเดิม เป็น เอวํ ตฺวํ ชโย โหหิ
[7] คำบาลี ควรเป็น “สฏฺฐิโยชนสตสหสฺสานิ” หมายถึง จำนวน 6 ล้านโยชน์ โดยรอบ ของเดิม “สฏฺฐิโยชนสตฺตสหสฺสสานิ” เท่ากับ 7,060 โยชน์ ดูท่าจะไม่ถูก
[8] จะไม่ถอดความของภาษาล้านนา เพียงแต่ตรวจแก้ คำสะกด เพราะเป็น “คำร่าย
หรือค่าว” มีคำส่งสัมผัสตลอด
[9] ขีณาสวะ(พระขีณาสพ)
[10] การน้อมน้อมต่อผู้เจริญ
[11] คำบาลีท่อนนี้ ความไม่สมบูรณ์
เมื่อ ประธานประโยคเป็น “มยํ” กริยาควจะเป็น “สุคนฺโธทกปุปฺผาลาชานิ ปูเชม”
[12] หมายถึง หมื่นโลกธาตุ
[13] สีขาวหม่น เหมือนขนนกยางขาว
[14] สงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด
[15] คำบาลีท่อนนี้ ความไม่สมบูรณ์ ยังไม่มีเวลาตรวจสอบจากแหล่งอื่น
[16] มารปักข์ หมายถึง ฝ่ายมาร
[17] สพฺพทุกฺขา โต ปโทมติ และคำถัดมา เป็น สพฺพสมฺปฏิสิทธิ
[18] ความบาลีท่อนนี้ เป็นบาลี จำจากรุ่นสู่รุ่น
ขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์ตามหลักบาลีไวยากรณ์ แต่พอเข้าใจความว่าจะพูดอะไร
[19] ขุณณา หมายถึง กรุณา
[20] ธูมเกตุ
[21] คาถาเหล่านี้ เป็นการคัดลอกกัน ปากสู่ปาก จากรุ่น สู่รุ่น
ภาษาบาลีผสมคำเมือง ไม่ทราบว่า มีเขียนผิดพลาด ตกหล่นคำใดไปบ้าง จึงคงไว้
ตามต้นฉบับไปพลางก่อน
[22] นอระธืกถึง ดูจากสัดส่วน ควรเป็น ยอดพระเมาลี
[23] ต้นฉบับเป็น สัพภะลักขณะ ไม่เข้าชุดกัน
[24] ภาษาบาลี ที่เป็น มนตร์คาถา นับแต่นี้ไปจนจบ เป็นคำเฉพาะ ไม่สามารถแปล
หรือ ปรับใหม่ให้ถูกไวยากรณ์ เพราะสืบปรัมปรามาแต่โบราณ ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์
ต้องว่าตามนี้
เอาไว้มีเวลามากกว่านี้ จะถอดสะเกลอัตราส่วนพระพุทธรูปให้
ตอบลบเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ ไม่ทราบว่าได้ตีพิมพ์ ลงวารสารทางวิชาการบ้างไหมครับ สนใจจะนำมาอ้างอิง
ตอบลบพิมพ์เป็นเล่มหนังสือเเล้วครับ
ตอบลบนายแล้ว หาได้ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทมยาลัยเชียงใหม่ครับ
ตอบลบ