แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

The Heritage of Lanna Manuscript Literature and the Indian Support for their Preservation

 The Heritage of Lanna Manuscript Literature and 

the Indian Support for their Preservation

Phisit Kotsupho,Ph.D.

Director of Graduate School. CM. MCU, Thailand

phisittha@hotmail.com

Presented at Guru Ghasidas Central University, Bilaspur Chattisgarh India

(มหาวิทยาลัย คุรุ ฆาสิทาส เมืองพิลาสปูร์ รัฐฉัตติสคารห์  อินเดีย)

Febyuary 11,2023  

Abstract

All Southeast Asia Countries in the past times, had received the cultural heritage, namely the religious beliefs, Traditional customs, languages and literature, especially the Lanna Kingdom, the Northern part of Thailand inherited civilization from India since those times for example, the Doctrine of Brahmanism - Hinduism and Buddhism through literary teachings such as Jataka Tales, Folk Tales including the principles of governance and Ethical traditions.

The mentioned literary works, in ancient times, were inscribed or written in palm leaves or local papers. They were preserved in religious places such as temples or personal possessions having inherited from generations to generations. Particularly, the land of Lanna, there are many manuscripts related to Religious Doctrines, Cultures, Traditions and Literature are kept throughout Lanna Kingdom.  Around 1972 onwards, The Northern or Lanna Institutions had surveyed ancient Manuscripts in the Upper Northern and Lower Central Regions covered at least 17 provinces having found and preserved Manuscripts as the Collective Data of Ancient Lanna Manuscripts. There were not lesser than 6,000 Items, in counting as more than 20,000 bindings, and by pages are more than 700,000 pages.

Especially, these literatures have been categorized into 11 categories, such as Buddhism, Folk Tales, Traditional/Primitive Laws, Astrology, Ritual Cultures, and etc. In the literary section, which is an extension of religious Doctrine, there will be a type of Jataka Stories, Folk tales. These literatures have been handed down from generations to generations through proverbs, teachings or tales, from which these concepts were based on the main principles, influenced or inherited from Countries whose civilizations  are more prosperous than Countries in the South East Asia. That is to say, Thailand, especially, was influenced by Hindu teachings. Before the invasion of Buddhism, there will be at least the literary stories about Ramayana or Proverbs, such as the Vetala Tales, Hitopadesha and so on.

In addition, when Buddhism was accepted, literary works would be transmitted through Jataka stories, the past lives of the Buddha, his disciples, or ethical tales. Those came from India, such as the story of Phra Nala, the story of the Ratha and Meri, etc. The most influential and closest literary examples to Thai people are the Astrology, Prophecy. Lanna is even though as the resource of a large collection of Manuscripts like this, but it still not thoroughly be explored and organized systematically. If the time passes by, these documents will be damaged and lost. Therefore, in 2021 AD. the Indira Gandhi National Center for the Arts (IGNCA), has signed  the  Memorandum of Understanding(MOU) between Chiang Mai Mahachulalongkornrajavidyalaya University and National Mission for Manuscripts, Indira Gandhi National Center for the Arts, New Delhi, India led by Dr. Sacchidananda Joshi, Director of IGNCA and Staffs.

By the coordination of Prof.Dr. Amajiva Lochan, and supported by Sir Suresh Soni, the Advisor of Mistry of Culture, Indian Government  has provided  the most modernized Equipment Tools for  Digital Photocopying to MCU and installed at CM. MCU, Thailand.

Furthermore, in July 2022, the experts from NMM of IGNCA headed by Dr.Jha. were sent to train  the necessary techniques of conservation systemize the  data  of the Manuscripts to  the staff of the CM. MCU about  2 weeks, until the staffs of the CM. MCU can  hand over to continue of the conservative works respectively following the objectives of  two Agencies successfully.

 

สาระจากคัมภีร์ โวหารอภิธัมมมาติกา สำนวนล้านนา

 

สาระจากคัมภีร์ โวหารอภิธัมมมาติกา สำนวนล้านนา

เรียบเรียงโดย อ.ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

ผู้อำนวนการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่

23 มีนาคม 2566

1. ลักษณะคัมภีร์

          อภิธัมมมาติกา เป็นคัมภีร์ใบลาน  จารด้วยอักษรไท-ยวน หรือ อักษรล้านนา ที่ขึ้นต้นด้วยคำ ภาษาบาลี ทำนองยกเป็นอุทเทสบท หรือ บทตั้ง แล้วอธิบาย ขยายความหมายจากคำอุทเทสนั้นๆ ด้วยพลความเป็นภาษาล้านนา เพื่อเทศนาให้ผู้ฟังเข้าใจหลักธรรมนั้นๆ กระจ่าง จึงมีการยกอุทาหรณ์ เรื่องราวประกอบสาระที่กำลังกล่าวโดยพิสดาร การแต่งคัมภีร์ธัมม์ลักษณะนี้ ปราชญ์ล้านนาเรียกว่า “คัมภีร์โวหาร” ซึ่งจะแตกต่างจากวิธีจารึกธัมม์ ที่แปลจากคำภาษาบาลีชนิดคำต่อคำ คือการแปลโดยพยัญชนะ ซึ่งวิธีเรียบเรียงคัมภีร์ลักษณะนี้ เรียกว่า “คัมภีร์นิสสัย” ดังนั้น คัมภีร์นี้จึงมีนามว่า “โวหารอภิธัมมมาติกา” แปลว่า การอธิบายหัวข้อธรรมในพระอภิธรรม โดยเฉพาะ คัมภีร์ธัมมสังคณี ที่จำแนกข้อธรรมเป็นชุด ๆ 2 รูปแบบ ดังนี้  รูปแบบที่ 1. รวมธรรมะชุดละ 3 หัวข้อเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ติกมาติกา” ซึ่งมีจำนวน 22 ชุด นับรายข้อได้ 66 หัวข้อ  แบบที่ 2 รวมธรรมชุดละ 2 หัวข้อเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ทุกมาติกา” ซึ่งมีจำนวน 142 ชุด นับรายข้อได้ 284 หัวข้อ สรุปในธัมมสัคณี มี 164 ชุดธรรมจำนวน 350 มาติกา หรือ หัวข้อธรรม  

2. ผู้แต่ง(ผู้จาร) ปีที่จาร  จำนวนผูก และลักษณะการเรียบเรียง

          คัมภีร์โวหารอภิธัมมมาติกา สำนวนล้านนา ชุดนี้ มีจำนวน 8 ผูก รวมทั้งหมด  481 หน้าลาน  จำแนกเป็น ผูกที่ 1 จำนวน 65 หน้าลาน ผูกที่ 2 จำนวน 66 หน้าลาน ผูกที่ 3 จำนวน 61 หน้าลาน ผูกที่ 4 จำนวน 62 หน้าลาน ผูกที่ 5 จำนวน 68 หน้าลาน ผูกที่ 6 จำนวน 52 หน้าลาน ผูกที่ 7 จำนวน 54 หน้าลาน และผูกที่ 8 จำนวน 53 หน้าลาน

ผู้จาร หรือ แต่ง อุเทนภิกขุ นครลำปาง มีเจ้าภาพศรัทธาหลัก คือ หมื่นสุทธา และญาติพี่น้อง สร้างถวายไว้ในพระศาสนา 

แต่งในปี จุลศักราช 1143 (พ.ศ. 2324) เดือน 10 ตั้งแต่ แรม 11 ค่ำ เสร็จสิ้น ประมาณ เดือน 12

วัตถุประสงค์การแต่ง ตั้งความปรารถนาขอให้เกิดและบรรลุพระนิพพาน ในยุคศาสนาพระศรีอริยเมตไตย์

ลักษณะการแต่ง เป็นการบรรยายเนื้อหาในคัมภีร์ธัมมสังคณีปกรณ์ ซึ่งเป็นปกรณ์แรกในอภิธรรมปิฎก ทำนองเทสนาโวหาร ผูกที่ 1 เริ่มจาก กุสลติก ติกมาติกา ชุดที่ 1 ต่อเนื่องไปจนถึง ผูกที่ 8 สุตตันติกทุกมาติกา ชุดที่ 42 ขเยญาณทุกะ ซึ่งผู้เรียบเรียงได้เขียนบรรยายธรรมต่อเนื่องกันไปตามหัวข้อมาติกาที่กล่าวค้างไว้ในผูกก่อนๆ โดยมิได้กำหนดเป็นชุดหมวดธรรมนั้นๆให้จบลงในแต่ละผูก  

3. สาระสำคัญในคัมภีร์โวหารอภิธัมมมาติกาแต่ละผูก   

ผูกที่ 1 มีจำนวน 65 หน้าลาน สาระสำคัญ เล่าถึงต้นกำเนิดอภิธรรมว่า เกิดจากเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ ๗ หลังแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบเดียรถีย์ ที่นครสาวัตถี พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับที่แท่นปัณฑุกัมพล ใต้โคนไม้ปาริฉัตร เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา ผู้ทิวงคตหลังประสูติพระกุมารสิทธัตถะได้ ๗ วัน ไปอุบัติเป็นเทพบุตร ชื่อ สันดุสิตเทพบุตร ในสวรรค์ชั้นดุสิต ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธัมม์ โปรดเทวบริษัท มีพระอินทร์และเทพบุตรอดีตพุทธมารดาเป็นประธาน  ตลอดพรรษากาล ในผูกนี้ เริ่มแสดงตั้งแต่กุสลติกมาติกา มีกุสลา ธมฺมา เป็นต้น แล้วอธิบายองค์ธรรมว่าในบท     กุสลา ธัมมา นั้น องค์ธรรมได้แก่ กุศลจิต ๒๑ ดวง คือ กามาวจรกุศล ๘ รูปาวจรกุศล ๕ อรูปาวจรกุศล ๔ โลกุตตรกุศล ๔ เจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง บทว่า อกุสลา นั้นได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ ดวง คือ โลภมูละ ๒ โทสะมูละ ๒ โมหมูละ ๒ และเจตสิกประกอบ ๒๗ ดวง ในบทว่า อพฺยากตา นั้น ได้แก่ วิปากจิต ๓๖ ดวง กริยาจิต ๒๐ ดวง รูป ๒๘ นิพพาน ๑ เจตสิกประกอบในจิต ๓๘ ดวง   พร้อมคำอธิบายยกตัวอย่าง กุศลจิตดวงที่ ๑ ที่เป็นจิตเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเอง ผู้ที่ทำความดีด้วยจิตดวงนี้ จะได้อานิสงส์ สูงสุด คือ สุขอันเป็น โลกุตตระ...๒. เวทนาติกะ ๓. วิปากติกะ ๔. อุปาทินนติกะ ๕. สังกิลิฏฐติกะ ๖. วิตักกติกะ๗. ปีติติกะ  ๘. ทัสสนติกะ ๙. ทัสสนเหตุติกะ ๑๐. อาจยคามิติกะ ๑๑. เสกขติกะ จบผูกลงที่  ปริตตติกะ ติกมาติกาที่ 12 ปริตตติกะ  ปริตฺตา ธมฺมา  สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ (กามาวจร) มหคฺคตา ธมฺมา สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ (รูปาวจรและอรูปาวจร) อปฺปมาณา ธมฺมา  สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ (โลกุตตระ) ที่เล่าถึงค้างคาว 500 ตัว ได้ฟังเสียงพระภิกษุสาธยายอภิธรรมสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ในชาตินี้ก็เกิดเป็นภิกษุ 500  ผู้ชำนาญในอภิธรรม   

ผูกที่ 2 มีจำนวน 66 หน้าลาน ในผูกที่ 2 ผู้จารก็เริ่มสาระสำคัญด้วยมาติกาที่ 13 คือ ปริตตารัมมณติกะ เช่น ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายอันมีปริตตาธัมมา(กามาวรจร) เป็นอารมณ์  มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ (รูปาวจรอรูปาวจร) เป็นอารมณ์  อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ (โลกุตตระ)เป็นอารมณ์ พร้อมกับคำอธิบายธรรมมาติกากลุ่มนี้ ว่า เมื่อใด บุคคลไม่ว่า หญิง หรือ ชายขวนขวายให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาสม่ำเสมอ  เมื่อนั้น มีกามาวจระเป็นอารมณ์  เมื่อใด บุคคลทั้งคฤหัสถ์ หรือนักบวชเจริญกัมมัฏฐาน พร้อมกับรักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรมไม่ได้ขาด ก็ได้บรรลุสมาบัติ ๘ เมื่อนั้นได้ชื่อว่า มีมหัคคตเป็นอารมณ์ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเจริญภาวนาไปไม่หยุด ได้บรรลุโลกุตตรมรรค ๔  ได้ชื่อว่ามี อัปปมาณะเป็นอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้มีปัญญาแก่กล้า ควรบำเพ็ญกุศลด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาสดับธรรมเทสนา สม่ำเสมอ เพื่อให้บรรลุ โลกุตตรธัมม์  ๙ ประการ มีนิพพานเป็นที่สุด... ติกมาติกาที่ ๑๔. หีนติกะ ๑๕. มิจฉัตตติกะ ๑๖. มัคคารัมมณติกะ ๑๗. อุปปันนติกะ ๑๘. อตีตติกะ ๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๒๐. อัชฌัตตติกะ ๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ  ตอนกลางผูก  อธิบาย ติกมาติกาที่ ๒๒ สนิทัสสนติกะ เป็นอันจบ ติกมาติกา 66 หัวข้อธรรม และก็เริ่ม ทุกมาติกา ที่ 1 คือ ๑ เหตุโคจฉกะ กลุ่มที่ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุ 6 ชุด คือ  1 เหตุทุกะ ชุดที่ ๑ เหตู ธมฺมา.  สภาวธรรมที่เป็นเหตุ  น เหตู ธมฺมา.  สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ  ชุดที่ 2  สเหตุกทุกะ  สเหตุกา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่มีเหตุ   อเหตุกา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ ชุดที่ ๓. เหตุสัมปยุตตทุเหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ  เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ ชุดที่ 4. เหตุสเหตุกทุกะ เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู. สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ชุดที่ 5 เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ เหตู เจว ธมฺมา เหตุสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ   เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา น จ เหตู. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ และชุดที่ 6. นเหตุสเหตุกทุกะ  น เหตู โข ปน ธมฺมา สเหตุกาปิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ  (น เหตู โข ปน ธมฺมา) อเหตุกาปิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ ติดตามด้วย มาติกาอีก 4 กลุ่มใหญ่ กลุ่มละ 6 ชุด คือ ๒. จูฬันตรทุกะ ๓. อาสวโคจฉกะ ๔. สัญโญชนโคจฉกะ ๕. คันถโคจฉกะ ในแต่ละชุด ก็ได้ยกนิทานประกอบเพื่ออธิบายประกอบ ท้ายผูกที่ 2 จบลงด้วยนิทาน พ่อค้าขี้โลภ กับพ่อค้าสุจริตผู้เป็นหน่อพุทธางกูร ได้แลกสินค้ากับถาดทองคำของย่ากับหลานสาวผู้ไม่ทราบว่าที่แท้ถาดของตนเป็นทองคำ

ผูกที่ 3 มีจำนวน 61 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 2 ว่า  พ่อค้าเอาถาดทองคำลูกนั้นมาขีดด้วยเข็ม ก็รู้ว่าเป็นทองคำแท้มีค่ามาก แต่แกล้งตีราคากดให้ต่ำว่า มค่าเท่ากับครึ่งเมล็ดถั่ว หรือเท่ากับ กากณิก หนึ่ง แล้วทำท่าไม่อยากได้ โยนออกไปที่พื้นดิน ด้วยคิดว่า เดียวจะกลับมานำเอาใหม่   เมื่อนั้นหน่อพุทธังกูรโพธิสัตว์ ก็เข้าไปขายของทางตรอกนั้น ไปถึงบ้านย่าหลาน  กุมารีหลานน้อยยังอยากได้เครื่องประดับอยู่ ก็เรียกโพธิสัตว์มา แล้วนำาถาดใบนั้นออกมาให้ตีราคา โพธิสัตว์ดูก็รู้ว่าเป็นทองคำอันมีค่ายิ่งนัก  ก็กล่าวตามคลองอันชอบธัมม์ด้วยสัจจะว่า ถาดทองคำนี้มีค่ามาก สินค้าที่นำมาทั้งหมดยังไม่พอค่าถาดทองใบนี้เลย  ย่าหลานมีใจยินดีมากนัก จึงบอกว่า  พ่อค้าที่มาคนแรก ดูแล้วบอกว่าไม่มีราคาเลย จะอดใจให้ราคา กากณิกหนึ่งเท่านั้น ถ้าไม่ลดราคาให้ก็ไม่เอา ว่าแล้วเขาก็โยนถาดลงพื้นแล้วหนีไป บัดนี้ถาดลูกนี้เกิดเป็นทองคำมีค่าแพงเป็นแต่บุญของท่านแท้ๆ ก็มอบให้แก่โพธิสัตว์ เมื่อนั้นสินค้าของโพธิสัตต์ทั้งหมดมีค่าประมาณ ๕ ร้อยเงินปอน โพธิสัตต์เจ้าก็หื้อแก่ ย่าหลานทั้งหมด เหลือไว้เพียงถุงกับ เงิน ๘ กหาปณ เท่านั้น ห่อเอาถาดถือไปขึ้นเรื่อที่ท่าออกไป ฝ่ายพ่อค้าขี้โลภเมื่อกลับมาจะเอาถาด ก็ถูกตีกลับว่า เจ้าขี้โกง พ่อค้าอีกคน เอาสินค้าทั้งหมดแลกเอาถาดทองคำไปแล้ว   พ่อค่านั้นเสียใจลีดาย จึงวิ่งตามไปที่ท่าเรือ แต่ไม่ทันเรือแล่นออกจากท่าไป จึงผูกอาฆาต กับพุทธางกูรโพธิสัตว์ นี่คือ นิทาน อดีตชาติการผูกเวร ระหว่างเทวทัตต์กับพระพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์ ...จากนั้น  ๖. โอฆโคจฉกะ ๗. โยคโคจฉกะ ๘. นีวรณโคจฉกะ ๙. ปรามาสโคจฉกะ

และผูกที่ 3 จบลงเพียง ทุกมาติกากลุ่มที่ ๑๐ มหันตรทุกะ ชุดที่ ๑ สารัมมณทุกะ สารมฺมณา ธมฺมา  สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อนารมฺมณา ธมฺมา.  สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ชุดที่  ๒ จิตตทุกะ จิตฺตา ธมฺมา สภาวธรรมที่เป็นจิต โน จิตฺตา ธมฺมา สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต  ชุดที่ 3 เจตสิกทุกะ  เจตสิกา ธมฺมา สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก อเจตสิกา ธมฺมา  สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก

ผูกที่ 4 มีจำนวน 62 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 3  กลุ่มที่ ๑๐. มหันตรทุกะ ชุดที่ ๔ จิตตสัมปยุตตทุกะ จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา  สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต   จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา  สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต  เรื่อยไปถึง  ทุกมาติกา ชุดแรก กลุ่มที่ 13 ปิฏฐิทุกะ ทุกมาติกาชุดที่ 18 สรณทุกะ  สรณา ธมฺมา  สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้  อรณา ธมฺมา  สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้... ตามด้วย ทุกมาติกาที่  ๑๑. อุปาทานโคจฉกะ ๑๒. กิเลสโคจฉกะ ๑๓. ปิฏฐิทุกะ

  ก่อนจะจบผูกที่ 4 ได้ แสดง สุตตันติกทุกมาติกา (๔๒ ทุกะ) ชุดที่ ๑ วิชชาภาคีทุกะ  วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา  ธรรมที่มีส่วนแห่งวิชชา  อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา  ธรรมที่มีส่วนแห่งอวิชชา ท้ายผูก เล่าเรื่อง สังฆรักขิตภิกขุ ผู้หลาน พัดวีพระอุปัชฌาย์เพลินนึกอยากสึก จินตนาการว่าตนได้สึกไป มีภรรยา ได้บุตรน้อย แล้วจะพาภรรยาและบุตรมากราบพระอุปัชฌาย์ จึงขับเกวียนมา ในระหว่างทาง ตนอยากอุ้มบุตรน้อยบ้าง จึงแย่งกันอุ้ม ยื้อกันไปยื้อกันมา ในที่ทสุด บังเอิญให้บุตรน้อยหลุดพลัดมือ ตกลงไปที่พื้นแล้วถูกล้อเกวียนทับเอา  เขาโกรธภรรยามาก จึงเอาปฏักตีภรรยาอย่างแรง แต่ความเป็นจริง เขาได้เอาพัดที่กำลังโบกลมนั้น ฟาดลงที่กลางศีรษะพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดว่า ตีเราทำไม เราไม่ได้ทำอะไรผิด เธอฟาดตีภรรยาเธอ แต่ทำไมมาฟาดลงที่ศีรษะเราแทน สังฆรักขิตภิกษุ ก็เลยรู้ว่า พระอุปัชฌาย์สามารถอ่านรู้วาระจิตของตน ละอายมากจึงขอลาสึก และไปกราบลาพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าสอนให้รักษาจิตของตน คุมจิตของตน ในที่สุดท่านก็ไม่ลาสึก เรื่องสุดท้าย เกี่ยวกับพระมหากัสสปะ ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วตั้งใจไปโปรดหญิงชาวนาผู้ยากจน เรื่องก็มาจบลงในท้ายผูกที่ 4 นี้

ผูกที่ 5 มีจำนวน 68 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 4  ได้แก่   เมื่อพระมหากัสสปะ ออกจานิโรธสมาบัติ ไปโปรดหญิงชาวนายากจน นางได้ถวายข้าวคั่ว ปรารถนาว่า ขอให้ได้เห็นธรรมที่ท่านบรรลุพระเถระ ให้พร เอวํ โหตุ แต่เกิดเหตุที่นานางมีงูเห่าออกมาฉกนาง ก่อนสิ้นใจนางระลึกถึงบุญที่ถวายข้าวคั่วแก่พระมหากัสสปะ ก็สิ้นใจ ไปอุบัติเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ ลงมาปรนนิบัติปัดกวาดเสนาสนะให้ท่าน แต่พระเถระไล่ให้หนีไป เธอเสียใจร้องไห้ เสียงได้ยินด้วยโสตทิพย์ พระพุทธเจ้าจึงทรงมาโปรดเทพธิดาให้มีใจยินดี  ประเด็นต่อจากนั้น แสดงมาติกา ข้อ วิชชูปมทุกะ วิชฺชูปมา ธมฺมา ธรรมที่เปรียบเหมือนสายฟ้า  วชิรูปมา ธมฺมา  ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า ..จากนั้น อธิบาย ชุดที่ ๒. วิชชูปมทุกะ ๓. พาลทุกะ ๔. กัณหทุกะ ๕. ตปนียทุกะ ๖. อธิวจนทุกะ ๗. นิรุตติทุกะ ๘. ปัญญัตติทุกะ ๙. นามรูปทุกะ ๑๐. อวิชชาทุกะ ๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ ๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ ๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ  ๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ ๑๕. อหิริกทุกะ  ๑๖. หิรีทุกะ จนถึง มาติกา กลุ่ม ๑๗ โทวจัสสตาทุกะ  โทวจสฺสตา จ  ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตฺตตา จ  ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว   โดยที่ ความเป็นผู้ว่ายาก ได้ยกตัวอย่าง พระฉันนะ ดื้อดึงไม่ฟังใครบอกใครเตือน เพราะถือว่าตนเป็นผู้พาพระพุทธเจ้าออกบวช เมื่อพระพุทธองค์จะปรินิพพาน ทรงสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ เมื่อท่านฉันนะ ถูกสงฆ์ประกาศลง พรหมทัณฑ์ จึงเสียใจมากถึงสลบลงไป  ในที่สุดท่านฉันนะได้กลับตัวกลับใจมาเป็นคนว่านอนสอนง่าย ในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนเรื่องการคบคนชั่ว ก็ยกเรื่องนางสุนทรี ที่ฟังคำเดียรถีย์รับจ้างมาใส่ความพระพุทธเจ้าว่า ตนมานอนกับพระพุทธเจ้าที่พระเชตวัน ทำอุบาย เย็นผ่านหน้าวัด ใครถามก็ว่า มานอนวัดเชตวัน แต่แอบไปนอนที่อื่น ตอนเช้ามืด ก็ทำทีออกจากประตูพระเชตะวัน เมื่อใครถามก็ว่านอนที่วัดนี้ ทำอย่างนี้จนแน่ใจว่า คนได้เห็นว่า ตนไปมาเข้าออกวัดนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ผู้คนสังเกตรู้แล้วว่าไปไหน อยู่ไหน และแล้ว วันหนึ่ง นางสุนทรีถูกเดียรถีย์จ้างพวกนักเลงสุรามาสังหารเธอหมกกองดอกไหม้หลังวิหารเชตวัน ฝ่ายเดียรถีย์ ทำทีว่า นางสุนทรีหายไป จึงไปแจ้งความว่าคงถูกพระสงฆ์ที่วัดพรเชตวันฆ่าปิดปากหมกหลังวัด เพราะต้องการปิดความชั่วของศาสดาของตน คือ พระพุทธเจ้า จึงพาทหารหลวงไปค้นหา พบศพแล้วก็แห่ประจานทั่วเมืองว่า พระพุทธเจ้าสั่งให้ฆ่าปิดความผิดของตน ในที่สุดพระราชาก็สืบความจริง ได้ทราบข้อมูลจากนักเลงสุราปากบอนขี้เหล้า เมื่อน้ำเมาเข้าปากก็โป้งว่า พวกตนรับค่าจ้างจากเดียรถีย์ให้สังหารนางสุนทรีเพื่อใส่ความพระพุทธเจ้าเอง หลังจากความจริงปรากฎ ลาภสักการะก็ยิ่งไหลมาที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกมากว่าแต่ก่อน แล้วก็สิ้นความลงในผูกที่ 5 เท่านี้

            ผูกที่ 6 มีจำนวน 52 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 5 โดย เริ่มต้น สุตตันติกทุกมาติกา ที่ ๑๘  โสวจัสสตาทุกะ คือ  โสวจสฺสตา จ  ความเป็นผู้ว่าง่าย   กลฺยาณมิตฺตตา จ  ความเป็นผู้มีมิตรดี ในข้อ กลฺยาณมิตฺตตา นี้ ได้ยกนิทานเรื่องเด็กน้อย 2 คน แข่งเล่นลูกข่างกัน คนที่ ๑ เป็นลูกตระกูลสัมมาทิฏฐิ อีกคน เป็นลูกตระกูลมิจฉาทิฏฐิ เพราะได้เพื่อนดี คบเพื่อนดี เด็กคนที่ 2 จึงรอดจากการถูกยักษ์จับกิน ดังความต่อไปนี้ “กลฺยาณมิตฺตตา จ อันว่าภาวะแห่งบุคคลอันผู้มีมิตรผู้ดีเป็นสหายนั้น ได้กุศละ ๒๑ สเหตุกกิริยา มี อโลภเหตุเป็นประธาน แก่บุคคล ผู้หน้อยผู้ใหญ่ หญิงชาย เสพกับด้วยบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรผู้ดี ย่อมให้ตนได้เถิงโลกุตตรสุขทุกเมื่อ เป็นดังเด็กน้อยคนหนึ่งเป็นลูกตระกูลมิจฉาทิฏฐิ ไม่ยินดีในศาสนาพระพุทธเจ้า แต่เลื่อมใสในศาสนาอัญญติตถีย์  ที่เขาสมมุติว่าเป็นอรหันตา  ส่วนอีกคน เป็นเด็กน้อยลูกของตระกูลสัมมาทิฏฐิ รู้จักคุณพระพุทธเจ้า เด็ก ๒ คนนั้น ก็มาเล่นหมากข่างแข่งกันไปมาเสมอ เด็ก ผู้เป็นลูกสัมมาทิฏฐิ เมื่อจะซัดลูกข่างไปทุกครั้ง ก็รำลึกพุทธานุสสติ กล่าวว่า นโม พุทฺธาย แล้วก็ซัดลูกข่างไป ส่วนเด็กผู้เป็นลูกมิจฉาทิฏฐิ ก็จะรำลึกถึงคุณแห่งอัญญติตถีย์กล่าวว่า นโม อรหนฺตานํ  แล้วซัดลูกข่างไป ลูกตระกูลมิจฉาทิฏฐิก็แพ้เด็กลูกตระกูลสัมมาทิฏฐิทุกครั้ง เด็กลูกมิจฉาทิฏฐิหันดังนั้น ก็คิดว่ามันผู้นี้กล่าวคำว่า นโม พุทธายะ แล้วจิ่งซัดลูกข่าง มันก็ชนะเราทุกครั้ง  เอาหละ เราก็จะทำเหมือนมันดู มันก็ทำ พุทธานุสสติเป็นปัจจัยสวาธิยายในใจหื้อชำนาญ ในที่สุด เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อ บิดาพาเด็กคนนี้ขีบเกวียนไปหาฟืนในป่า จอดเกวียนไว้ มัวหาฟืน วัวที่เทียมเกวียน 2 ตัว ตามวัวฝูงอื่นเข้าไปในเมือง พ่อเลยให้ลูกนอนรอที่ใต้เกวียน ตัวไปตามวัว ไปพบวัวในเมืองแต่นำออกเมืองไม่ทัน เพราะประตูเมืองปิดก่อน ทิ้งลูกนอนที่ป่าคนเดียว คืนนั้น มียักษ์มาพบจะกินเด็ก จึงไปลากเด็กออกมา เมื่อถูกดึง ด้วยความที่สวด นะโม พุทธายะ จนขึ้นใจ ก็ สวดดังๆว่า นะโม พุทธายะ  เท่านั้น ยักษ์ตกใจไม่ทำอันตรายเด็ก แถมยังทำการอารักษา ทำตัวเหมือนพ่อเอาอาหารจากวังมาให้กิน และอยู่เป็นเพื่อน ในที่สุด พระราชก็ตามหาว่าใครมาเอาถาดททองไปจากราชวัง ตามไปพบที่ป่า ข้างหัวนอนเด็ก จับเด็กมาสอบถาม แล้วเฉพาะพระราชาได้เห็นอักษรลายมือยักษ์เขียนว่า ยักษ์เอามาให้เด็กเอง เรื่องก็เลยไปถึงพระพุทธเจ้า สอบถามว่า แค่สวด นโม พุทธายะ มีพลังขนาดนี้หรือ  พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรมเทศนา และแล้วเด็กน้อยกับพ่อแลแม่ ก็ได้บรรลุโสตาปัตติผล ต่อมาครอบครัวนี้ทั้ง ๓ คนออกบวช พัฒนาตนจนได้บรรลุเป็นอรหัตตผล เพราะการคบเพื่อนดี... ตามด้วย ทุกะชุดที่  ๑๘ โสวจัสสตาทุกะ ๑๙ อาปัตติกุสลตาทุกะ ๒๐ สมาปัตติกุสลตาทุกะ ๒๑ ธาตุกุสลตาทุกะ ๒๒ อายตนกุสลตาทุกะ 
            ส่วนท้ายผู้ที่ 6 นี้ จบลงที่ ทุกะที่ 23 ๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ    ฐานกุสลตา จ  ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ  อฏฺฐานกุสลตา จ  ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ เสริมด้วยนิทาน พระอรหันต์ถูกคนฆ่าเนื้อ ใช้เชือกรัดขัดศีรษะทรมานคาดคั้นว่าท่านเป็นขโมย เพราะเข้าใจผิดว่าท่าน แอบซ่อนแก้วมณีของพระราชาที่ฝากมาให้เจาะรู มัวแต่หั่นเนื้อเอามือเปื้อนเลือดไปจับ แก้ว แล้ววางไว้ที่ภาชนะ แต่นำกระเรียนแอบมาคาบกลืนลงท้องเพราะคิดว่าเป็นอาหาร พระท่านเห็น แต่ไม่กล้าบอกเกรงว่านกจะถูกฆ่าตาย   เมื่อนายพรานเตะนกตาย ท่านก็บอกว่า ให้ผ่าท้องนกดู ในที่สุดก็พบลูกแก้วในกระเพาะนก ส่วนพระเถระทนยพิษบาดแผลไม่ไหวด็มรณภาพลง เป็นยอันจบเนื้อหาในผูกนี้ 

ผูกที่ 7 มีจำนวน 54 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 6 เริ่มทุกมาติกาที่ ๒๔ อาชชวทุกะ อาชฺชโว จ  ความซื่อตรง  มทฺทโว จ ความอ่อนโยน ดังคำว่า “อชฺชโว จ อันว่าสภาวะแห่งปุคคละอันซื่อ ได้โสภณสาธารณเจตสิกกายุชุคตา กระทำตนเป็นอันซื่อ จิตตุชุคตา กระทำใจเป็นอันซื่อ บ่บังคับลับเลี้ยว กุหก ด้วยใจเป็นดั่งโพธิสัตต์เจ้าไปค้าแก้วและเครื่องประดับจิ่ม ท่านเทวทัตต์ปางนั้น เจ้าก็แอ่วไปด้วยล่ำดับไปเถิงย่าหลานเอาไตลคำมาต่อแลกเครื่องประดับในที่นั้น มหาสัตต์เจ้ามีใจอันซื่อ บ่บังคับรับไว้ เจ้าก็หื้อขาย่าหลานนั้นว่า ไตลคำควรค่ามากนักแท้แล ของข้าบ่พอแถวค่าของเขือย่าหลานแลว่าอั้น ขาย่าหลานก็ครอบใจดีหลีแล้ว ก็หื้ออนุญาตว่า บ่พอเท่าใดก็แล้วเทอะ ว่าอั้น ก็หื้อไตลคำลูกนั้นแก่โพธิสัตต์เจ้าหั้นแล เหตุว่าโพธิสัตต์เจ้ามีใจอันซื่อนัก จิ่งได้ชื่อว่า อัชชโว จะ”  และอธิบายทุกมาติกา เรื่อยไป ทึกมาติกาที่ ๒๕ ขันติทุกะ   ๒๖ สาขัลยทุกะ   ๒๗ อินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ   ๒๘ อินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ ๒๙ มุฏฐสัจจทุกะ ๓๐ สติสัมปชัญญทุกะ ๓๑ ปฏิสังขานพลทุกะ   ๓๒ สมถวิปัสสนาทุกะ    ๓๓ สมถนิมิตตทุกะ ๓๔ ปัคคาหทุกะ   ๓๕ สีลวิปัตติทุกะ และ ทุกมาติกาที่ ๓๖ สีลสัมปทาทุกะ

สีลสมฺปทา จ ดังความว่าอันว่าสภาวธัมม์บอรมวลแห่งสีลได้กุสละ ๒๑ กิริยา ๒๐ ผละ ๔ ไนยยะ ๑ ได้ โลกิยโลกุตตระแล อาการอันบอรมวลแห่งสีลได้เป็นดั่งมหากัจจายนเถรเจ้า เป็นต้น เป็นคณนายกะประกอบด้วยศีลแลอินทรียะอันระงับดีนัก มหากัจจายนเถรเจ้าอยู่อาวาสชื่อ อคันทิ นั้น ยังแควนยังไกลแต่บุพพาราม เถรเจ้าก็มาฟังธัมม์อันเลิก ยกยอธัมม์หัวทีก็ดี ทางไกลมาก็ยังนานรอด เหตุดั่งอั้น มหาเถรเจ้าทังหลายนั่งอยู่พร้อมแล้ว เท่าเว้นไว้แต่อาสนมหาเถรเจ้าอันเปล่า อันท่านแรกมานั่งนั้นไว้แล  อันว่าพญาอินทาธิราชตนเป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย ก็มากับด้วยนางฟ้าทั้งหลายแลเทวปุตต์หนุ่มทั้งหลายอันอยู่ชั้นฟ้าแล้ว ก็ปูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้คันธะของหอมอันเป็นทิพย์ แล้วยืนอยู่ บ่หันมหากัจจายนเถรเจ้า ก็คึดใจว่า อันว่ามหากัจจายนเถรเจ้าตนเป็นเจ้าแก่กูบ่ผากฏหันที่ใดเด ว่าอั้น วันนี้ ผิแลยังมาแห่งมหาเถรเจ้าตนนั้นเป็นอันดีนักแท้แล คระนิงใจดั่งนี้ ในขณะอันพญาอินท์คระนิงใจนั้น มหาเถรเจ้าก็มาสำแดงตนเป็นดั่งมานั่งอยู่ในอาสนะแห่งตนหั้นแล พญาอินท์ผ่อเล็งหามหาเเถรเจ้าหั้นแล้ว ก็เข้าไปถือเอาข้อแข้งมหาเถรเจ้าแล้ว ก็กล่าวว่า ตนเป็นเจ้าแห่งกูมาแท้แล ข้าก็มีคำปรารถนาหาเซิ่งเจ้ากูกี้แล ว่าแล้ว ก็นวดฟั้นคั้นตีนทั้ง ๒ แห่งมหาเถรเจ้าด้วยมือทั้ง ๒ แล้ว ก็ปูชาด้วยดอกไม้คันธะ

ของหอมเป็นต้นแล้ว ก็ไหว้นบครบยำแยงมากนักแล้ว ก็นั่งอยู่ที่อันควรแก่ตนก็มีแล” และไปจบลงที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า ภิกษุผู้ทรงศีล เช่น มหากัจจายนะ เป็นต้น ย่อมเป็นที่รัก เคารพ สักการะของเทวดาและมนุษย์

ผูกที่ 8 มีจำนวน 53 หน้าลาน มีสาระสำคัญต่อจากผูกที่ 7 ทุกมาติกาที่ ๓๖ สีลสัมปทาทุกะ สีลสมฺปทา จ  ความสมบูรณ์แห่งศีล และ ทิฏฺฐิสมฺปทา จ  ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ ซึ่งศีลสัมปทา ได้กล่าวมาในผู้ที่ ๗ ต้นเรื่องผูกนี้ จึง เริ่มที่ ทิฏฐิสัมปทา ดังนี้   อันว่าสภาวะอันบอรมวลแห่งสัมมาทิฏฐิได้ ปัญญินทรียะ ไนยยะ ๑ ได้จตุภูมิกปัญญา แท้แล ปัญญินทรียเจตสิกเป็นในญาณสัมปยุตตกามาวจระ เป็นติเหตุกปฏิสันธิกาละแก่ เป็นดั่งวังคีสเถร ไป่ได้เป็นอรหันตาเทื่อนั้น ยังเป็นพราหมณ์ถือมิจฉาทิฏฐิ คือว่ารู้มนต์ใส่ใจว่าผะเสิฐยิ่งนักแล ดั่งได้ยินมานี้ ยังมีพราหมณ์ผู้ ๑ ชื่อว่า วังคีสะ อยู่ในเมืองราชคหนคร รู้มนต์อันต่อยหัวผีแห่งคนทังหลายอันตายไปนั้นว่า หัวอันนี้เป็นหัวคนผู้ตายไปเกิดในนรกแล อันนี้เป็นหัวแห่งอันตายได้ไปเกิดสัตว์เดรัจฉานแล อันนี้หัวผู้ตายไปเกิดเป็นเปตวิสัยแล หัวนี้ได้เกิดเป็นคนแล หัวนี้เกิดเป็นเทวดาแล ว่าอั้น ก็แม่นแท้แล ในกาลนั้นพราหมณ์ทังหลายฝูงอื่นคระนิงใจว่า เราทังหลายอาจจักได้สัมปัตติในโลกนี้ ด้วยเหตุอันอาศัยเซิ่งพราหมณ์ผู้นี้ดีแท้แล ว่าอั้น เขาทังหลายนั้นยังวังคีสพราหมณ์ผู้นั้น ก็หื้อนุ่งผ้าแดงสไบก็แดง ๒ ผืนแล้ว เขาก็เอาวังคีสพราหมณ์เดินเทสสันตรีไปสู่ชนบทบ้านใหญ่เมืองน้อยแล้วก็กล่าวเซิ่งคนทังหลายว่า ผู้นี้ชื่อว่าวังคีสพราหมณ์แล วังคีสพราหมณ์ผู้นี้ผาเสิฐนัก คันว่าต่อยหัวคนอันตายไปนั้นหื้อรู้ที่ไปเกิดนั้นแล ปุคคละผู้ใดใคร่รู้จักที่ไปเกิดแห่งญาติตนอันตายนั้น จุ่งมาถามดูเทอะ ว่าอั้น คนทังหลายรู้แล้วยังกิจจะอันนั้น ก็มาหื้อดูมากนักแล คนทังหลายก็หื้อกหาปณะตามกำลังอันมี พร่องก็หื้อร้อยกหาปณะ พร่องก็ ๒ ร้อย พร่องก็ ๓ ร้อยกหาปณะ  พร่องก็หื้อ ๑๐๐๐ กหาปณะก็มีแล พร่องก็หื้อตามอันมีแล หาบ่ได้เขาถามเซาะไซที่ไปเกิดแห่งญาติพี่น้องตนอันตายไปนั้นหั้นแล พราหมณ์ผู้นั้นก็ทวายไปด้วยล่ำดับ ไปเถิงเมืองสาวัตถีแล้ว เขาก็เอาพราหมณ์ผู้นั้นอยู่ที่บ่ไกลแต่ป่าเชตวนอารามเท่าใด”  ในที่สุด วังคีสะ ก็มาเรียนมนต์ เพราะเคาะหัวอรหันต์ไม่ทราบว่าไปเกิดที่ใด แต่ต้องบวชเรียน ในที่สุดท่านก็ บรรจุ เป็นพรอรหันต์

ในผูกที่ 8 นี้ ได้อธิบาย มาติกาทุกะ ที่เหลือ ได้แก่ ๓๘ ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน.  ความหมดจดแห่งทิฏฐิ  ยถาทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด  ๓๙ สังเวชนียัฏฐานทุกะ  สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ  ความสังเวชในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ  ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ ๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ  ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมที่เป็นกุศล  อปฺปฏิวานตา จ ปธานสฺมึ  ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ๔๑ วิชชาทุกะ  วิชฺชา จ  ความรู้แจ้ง วิมุตฺติ จ  ความหลุดพ้น แล้วสิ้นทุกะที่ ๔๒ ขเยญาณทุกะ   ขเย ญาณํ  ญาณในอริยมรรค  อนุปฺปาเท ญาณํ  ญาณในอริยผล อันสุดท้ายของ สุตตันติกทุกมาติกา จบลง ด้วยคำท้ายผูกที่ว่า

“อนุปาเท ญาณํ พระพุทธเจ้าก็เอาพระสุนทรทมุททะตนนั้นมาสำแดงหื้อแจ้งแก่ภิกขุทั้งหลายก็มีวันนั้นแล ในเมื่อแล้วพระธัมมเทสนา ปาณสัตต์ทั้งหลายก็ได้เถิงธัมมวิเสส มีโสตาปัตติผละก็มีวันนั้นแล ขียาอันสังวัณณนาแก้ไขยัง สุตตันตอภิธัมมาธัมมสังคิณีมาติกา ก็สังรวมมายังอตีตะ ปัจจุปันนะแต่ชาติก่อน บ่ห่อนละเสีย ได้ประมวลรวมเอาไปเทสนาตอบแทนคุณแม่เต็มแต่วัสสา ๓ เดือนจุจอดบ่ขาดสายไจ้ ๆ แก่เทวดาตนแม่ชื่อสรีมหามายา กับทั้งเทวดามวลมากในปราสาทตาวติงสา มีพญาอินท์มวลหมู่ มานั่งล้อมอยู่ฟังธัมม์ ตามบุญกัมม์มาไคว่แล้ว ก็นำตนแก้วเข้าสู่นิพพาน ดับทุกข์ในสงสารเสี้ยงแล้ว ตนแก้วก็สรเด็จลงมาเมตตาโผดโลก เป็นไม้ใต้ตามส่องไว้ หื้อโลกได้เถิงนิพพานเป็นที่แล้ว พระพุทธเจ้าก็เล้าโลมเอาเข้าสู่นาวาสะเภาเหล้มใหญ่ หื้อฝูงสัตต์ ไต่ข้ามพ้นสมุททสาคร หื้อเถิงยังฝั่งกล้ำหน้า คือเมืองฟ้าแลสุขในนิพพานนั้นแล สุตตันตอภิธัมมาสังคิณีมาติกา ผูกถ้วน ๘ ก็แล้วบัวรมวล ควรแก่กาล ธัมมเทสนาเท่านี้ก่อนแล สรเด็จ.”

ทั้งหมดนี้คือสาระสรุปความของอภิธัมมามาติกา ที่ขยายความเฉพาะ ธัมมสังคณีปกรณ์ อันเป็นคัมภีร์เล่มแรกในอภิธัมม์ 7 ปกรณ์ ที่รู้จักและจดจำด้วยอักษรย่อ 7 คำว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. ป.