แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ถอดบทเรียน การวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2545


รายงานวิจัย     :   เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ :

   โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตำบลบ้านหวด อำเภองาว  จังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย             :  พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

 ปีงบประมาณ   :    2545

แหล่งทุนวิจัยสำนักงานเลาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 
 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
                    รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ :
 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตำบลบ้านหวด อำเภองาว  จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททั่วไป สภาพการจัดการศึกษา สภาพการเผยแผ่ศาสนธรรม สภาพการบริหารการศึกษา และรูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแพร่ศาสนธรรม  โดยมุ่งข้อเท็จจริง  และสาระสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่ผ่านมา  

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ได้พบเห็นและสามารถสรุป ประเด็นที่โดดเด่นของการจัดการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ของวัดจองคำ ตำบลบ้านหวด  อำเภองาว  จังหวัดลำปาง ด้านรูปแบบของการจัดการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน เพื่อเป็นทิฏฐานุคติให้วัดอื่นๆที่มีภารกิจจัดการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรมที่คล้ายกันนี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้ อันอาจจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมในภาพรวม เป็นการขยายผลแห่งความสำเร็จให้แพร่หลายไปทั่วทุกแห่ง ประการสำคัญ ก็ถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันสงฆ์ และบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องทางวัดและโรงเรียนจำต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้วให้เพิ่มคุณภาพการปฏิบัติงานในระดับที่ตนประสงค์ได้ 

สาระสำคัญที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยมีดังต่อไปนี้
1.        ด้านบริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียนวัดจองคำ
                วัดจองคำ แม้จะตั้งอยู่ห่างจากชุมชนเมือง แต่ทางวัดก็ได้พัฒนาเพื่อความเจริญพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย สาธารณูปโภคสะดวกสบายพอสมควร เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้นเคย แสภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์การคมนาคมสะดวกสบาย   สภาพทางเศรษฐกิจของวัดก็มีคณะศรัทธาให้การอุปถัมภ์ไม่ลำบากด้วยปัจจัย 4  ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ไม่เป็นปัญหาเพราะชุมชนถือว่าเป็นภาระหน้าที่จะต้องอุปถัมภ์และแสดงถึงความเป็นฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง  จึงภูมิใจ สภาพการเป็นอยู่ของพระภิกษุสามเณรก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่พำนักก็เป็นสัปปายะเหมาะแก่สมณวิสัย  ในส่วนของโรงเรียนก็มีอาคารเรียนที่เอื้อต่อการขยายการศึกษาสามารถรองรับจำนวนผู้เรียนที่จะเข้าศึกษาในอนาคตได้
                   2. ด้านการจัดการศึกษา
          ในด้านการจัดการศึกษา วัดจองคำ มิได้เพียงจัดการศึกษาตามกรอบที่กลุ่มคณะวางแผนการวิจัยโครงการนำร่องได้กำหนดเป็นความโดดเด่นเอาไว้ แม้จะได้รับความนิยมว่า ทางวัดสามารถบริหารจัดการศึกด้านปริยัติธรรม นักธรรม มีผู้เข้าเรียนเข้าสอบได้ปีละจำนวนเป็นร้อยๆ เท่านั้น ยังได้จัดการศึกษาอื่นๆเสริมหลักสูตรอีกด้วย   และทางวัดยังได้จัดการศึกษาเพื่อการอบรมเยาชนเป็นงานรับผิดชอบด้วย เช่นมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในวัด
          การศึกษาในสถาบันสงฆ์ จะเป็นการขาดไปอีกครึ่งหนึ่งถ้าหากว่า ไม่ติดตามด้วยการปฏิบัติ ทางวัดบางวัดจองคำก็มีระยะเวลาที่เปิดอบรมการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อฝึกจิตของตน โดยมีการแบ่งฝ่ายงานด้านการเผยแผ่และด้านวิปัสสนา ตามตามรางการบริหารวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา วัดจองคำก็ได้มีโครงการรักษาศีลในวันอุโบสถและนอนวัดค้างเพื่อฝึกกรรมฐาน เป็นระยะๆ อุโบสถละ 2 วัน ตลอดพรรษาก็จะได้จำนวนวันมิน้อยสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความตั้งใจจริง

           3. การบริหารการศึกษา
          วัดจองคำ มีระบบการบริหารการศึกษาและมีกระบวนการจัดการศึกษาที่เป็นระบบอย่างชัดเจน เจ้าอาวาสมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีการแบ่งภาระมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน รับผิดชอบตามความถนัด ความสามารถ เหมาะกับทักษะ ความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการบริหารแบบกระจายอำนาจรับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ เห็นได้จากแผนผังการบริหารโรงเรียนของวัดจองคำ เพราะมีการวางแผนสร้างตัวตายตัวแทนอย่างเป็นระบบ ทางวัดจึงไม่มีปัญหาด้านความสืบเนื่องของบุคลากรด้านการศึกษา
4.   ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา
          การจัดการศึกษาของแต่ละวัดแม้จะมีหลักสูตรกลางที่ออกมาจากส่วนกลาง แต่ทางวัดเองก็มีเทคนิควิธีที่จะบริหารให้หลักสูตรนั้นๆเป็นที่สนในและตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะศึกษาซึ่งโดดเด่นแตกต่างกันออกไป  มีกฎระเบียบปฏิบัติ มีปฏิทินการศึกษา มีการประเมินผลเพื่อการแก้ปัญหาทุกเดือน มีการสอบสนามวัด และการอบรมเข้มก่อนการสอบอย่างเป็นระบบ นักเรียนไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย 4 จึงมีเวลาใส่ใจการศึกษาอย่างเพียงพอ
                    5.  สาเหตุที่ทำให้วัดประสบผลสำเร็จ
                   การที่สามเณรในวัดจองคำ ในปีการศึกษา 2545 สามารถสอบประโยค ป..9 และเป็นรุ่นแรกของวัดจองคำได้จำนวนถึง 7 รูปนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกและพิเศษอะไร ถ้าได้ศึกษาการทำงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ วางแผน การปฏิบัติการจริง การตรวจสอบติดตามประเมินผล และนำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงแก้ไข ตามกรอบ PDCA แล้ว จะพบว่า พระภิกษุสามเณรทุกรูปที่อยู่ในวัดจองคำต้องปฏิบัติตามกรอบและระเบียบของสำนักฯ อย่างเคร่งครัด   การบริหารการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของวัด  เจ้าอาวาสและคณาจารย์ต้องขยันและอดทนมาก  วิธีที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจัดการปกครองนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง  เน้นการรับผิดชอบสูงทั้งของครูและนักเรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนแทบจะไม่มีการหยุดหรือขาด (ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ) และสุดท้ายใช้เวลาในการอบรมพิเศษก่อนสอบบาลีสนามหลวงที่ยาวนานกว่าที่อื่นๆ  และมีกรณีพิเศษอยู่บ้าง  คือ นักเรียนดู (แปล) หนังสือได้หลายรอบ  นักเรียนแต่งไทย  หรือแต่งฉันท์ได้หลายรอบ   นักเรียนเขียน หรือทำแบบฝึกหัดเกือบทุกวัน  (การเขียนบ่อย ๆ ทำให้แม่นยำ)
                   การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนประสบความสำเร็จได้นั้น  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  เช่น
          1. เจ้าสำนักเรียน  ต้องมีเจตนาและศรัทธาต่อการให้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างแรงกล้า  มีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีและมองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธวจนะ (พระธรรมวินัย) ที่ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาบาลีในพระไตรปิฎก  ต้องเสียสละกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์  และกำลังสติปัญญา  ในการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีนี้   โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก  นอกจากนี้เจ้าสำนักต้องสรรหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทุกชนิดที่จะอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  สอดส่องดูแลเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของอาจารย์และนักเรียนอย่างใกล้ชิด  และสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน  ตลอดจนสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วยเมตตาจิต
          2.  คณาจารย์ก็ต้องมีเจตนาและศรัทธาในการสอนอย่างแท้จริง  มีความรับผิดชอบในหน้าที่การสอน  หมั่นศึกษาค้นคว้าตำราวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านภาษาบาลีอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีความรับผิดชอบในด้านการบริหารและการปกครองดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน  ให้การอบรมสั่งสอนด้วยหวังความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
                        3. นักเรียนต้องมีความตั้งใจพากเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสำนักฯ  เช่น  ห่มดองรัดอกให้เรียบร้อย เข้าเรียนให้ตรงเวลา  ให้ความเคารพ
                       4. อาจารย์ผู้สอน  ตลอดจนเอาใจใส่กิจวัตรทุกอย่างของสำนักฯ  เช่น  ทำวัตรสวดมนต์  การรับฟังโอวาทของเจ้าสำนักฯ  ฯลฯ  โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
           5. ทุนสำหรับการบริหารการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนี้  มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อการบริหารการศึกษา  แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  ไม่ใช่สิ่งที่น่าเป็นห่วง  สิ่งสำคัญอยู่ที่เจ้าสำนักฯ มีเจตนาและศรัทธาอย่างจริงจังที่จะทำงาน  ถ้าเจ้าสำนักฯ ทำอย่างจริงจัง  ศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมจะสละทุนทรัพย์มาช่วยอย่างแน่นอน 
          ดังนั้น  การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  ดังที่ได้ค้นพบดังกล่าวมา


ข้อค้นพบในงานวิจัย

                     การวิจัยเพื่อให้เห็นเอกลักษณ์ กระบวนการทำงาน การบริหารจนประสบเชื่อเสียงและความสำเร็จด้านจัดการศึกษา  จนได้รับการยกย่องอ้างอิงว่า ถ้าการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีสมัยใหม่นี้ ต้องจัดการบริหารหลักสูตรในรูปแบบของสำนักเรียนวัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการมาตามขั้นตอน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ได้พบเห็นและสามารถสรุป ประเด็นที่โดดเด่นของการจัดการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ด้านรูปแบบของการจัดการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน เพื่อเป็นทิฏฐานุคติให้วัดอื่นๆที่มีภารกิจจัดการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรมทำนองนี้ หรือคล้ายกันนี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้ อันอาจจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมในภาพรวม เป็นการขยายผลแห่งความสำเสร็จให้แพร่กระจายไปทั่วทุกแห่ง ประการสำคัญ ก็ถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันสงฆ์ และบุคลากรคือพระสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องทางวัดและโรงเรียนจำต้องปฏิบัติหน้าอยู่แล้วให้เพิ่มคุณภาพในระดับที่ตนประสงค์ได้  ดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป

          ผู้วิจัยได้ตั้งคำถามหลักเพื่อการค้นคว้าเอาไว้ 5 ประการ คือ
1.1 บริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียน  เป็นอย่างไร 1.2.  การจัดการศึกษา เป็นอย่างไร  1.3 การบริหารการศึกษา เป็นอย่างไร 1.4 รูปแบบการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร 1.5 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ ด้วยการตั้งคำถามเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ทางไปหาข้อมูล ค้นคว้าและทำการวิจัย ผู้วิจัยจึงได้ตำตอบมาจากตำหรับตาราหรือข้อมูลที่ทางวัดมีอยู่ และอีกหลายส่วนจากการออกแบบสอบถาม การออกไปสังเกต การสัมภาษณ์ พอจะประมวลได้ดังนี้
                  1.1  ด้านบริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียน ของวัดจองคำ
               วัดจองคำ แม้จะตั้งอยู่ห่างจากชุมชนเมือง แต่ทางวัดก็ได้พัฒนาเพื่อความเจริญพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย สาธารณูปโภคสะดวกสบายพอสมควร เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้นเคย แสภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์การคมนาคมสะดวกสบาย   สภาพทางเศรษฐกิจของวัดก็มีคณะศรัทธาให้การอุปถัมภ์ไม่ลำบากด้วยปัจจัย 4  ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ไม่เป็นปัญหาเพราะชุมชนถือว่าเป็นภาระหน้าที่จะต้องอุปถัมภ์และแสดงถึงความเป็นฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง  จึงภูมิใจ สภาพการเป็นอยู่ของพระภิกษุสามเณรก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่พำนักก็สัปปายะเหมาะแก่สมณวิสัย  ในส่วนของโรงเรียนก็มีอาคารเรียนที่เอื้อต่อการขยายการศึกษาสามารถรองรับจำนวนผู้เรียนที่จะเข้าศึกษาในอนาคตได้
         
1.2  ด้านการจัดการศึกษา
                         ในด้านการจัดการศึกษา วัดจองคำ มิได้เพียงจัดการศึกษาตามกรอบที่กลุ่มคณะวางแผนการวิจัยโครงการนำร่องได้กำหนดเป็นความโดดเด่นเอาไว้ แม้จะได้รับความนิยมว่า ทางวัดสามารถบริหารจัดการศึกด้านปริยัติธรรม นักธรรม มีผู้เข้าเรียนเข้าสอบได้ปีละจำนวนเป็นร้อยๆ เท่านั้น ยังได้จัดการศึกษาอื่นๆเสริมหลักสูตรอีกด้วย   และทางวัดยังได้จัดการศึกษาเพื่อการอบรมเยาชนเป็นงานรับผิดชอบด้วย เช่นมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในวัด
          การศึกษาในสถาบันสงฆ์ จะเป็นการขาดไปอีกครึ่งหนึ่งถ้าหากว่า ไม่ติดตามด้วยการปฏิบัติ ทางวัดบางวัดจองคำก็มีระยะเวลาที่เปิดอบรมการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อฝึกจิตของตน โดยมีการแบ่งฝ่ายงานด้านการเผยแผ่และด้านวิปัสสนา ตามตามรางการบริหารวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา วัดจองคำก็ได้มีโครงการรักษาศีลในวันอุโบสถและนอนวัดค้างเพื่อฝึกกรรมฐาน เป็นระยะๆ อุโบสถละ 2 วัน ตลอดพรรษาก็จะได้จำนวนวันมิน้อยสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความตั้งใจจริง
         
1.3  ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม
                         พระสงฆ์นอกจากจะฝึกหัดอบรมตนเองเพื่อควบคุมสมดุลกายและจิตของตนแล้ว หน้าที่หลักในฐานะพุทธบุตร คือการเผยแผ่พระศาสนา พระบรมศาสดาฝากศาสนาไว้ที่ศาสนทายาทของพระองค์ พระสงฆ์จึงถือเป็นหน้าที่ต้องเผยแผ่ศาสนธรรม อบรมจริยธรรม ศีลธรรมเพื่อสร้างความสงบสันติ ความสุขทั้งกายและใจแก่พหูชนตามคำสั่งพระบรมศาสดาที่ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช
          เป็นที่ยินดีที่วัดจองคำแม้จะเน้นการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นหลัก แต่ทางวัดมิได้ทอดธุระภารกิจการเผยแผ่ศาสนธรรม มีโครงการอบรมต่างๆมากมาย แทบทุกเดีอน โดยเฉพาะโครงการพระสงฆ์ช่วยสอนพระพุทธศาสนา หรือเป็นวิทยากรอบรมในโรงเรียน มิได้ขาด วิทยากรได้ถูกรับเชิญไปบรรยายและอบรมอยู่เสมอ   
1.4  การบริหารการศึกษา
                         วัดจองคำ มีระบบการบริหารการศึกษาและมีกระบวนการจัดการศึกษาที่เป็นระบบอย่างชัดเจน เจ้าอาวาสมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีการแบ่งภาระมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน รับผิดชอบตามความถนัด ความสามารถ เหมาะกับทักษะ ความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการบริหารแบบกระจายอำนาจรับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ เห็นได้จากแผนผังการบริหารโรงเรียนของวัดจองคำ เพราะมีการวางแผนสร้างตัวตายตัวแทนอย่างเป็นระบบ ทางวัดจึงไม่มีปัญหาด้านความสืบเนื่องของบุคลากรด้านการศึกษา

1.5  ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา
             การจัดการศึกษาของแต่ละวัดแม้จะมีหลักสูตรกลางที่ออกมาจากส่วนกลาง แต่ทางวัดเองก็มีเทคนิควิธีที่จะบริหารให้หลักสูตรนั้นๆเป็นที่สนในและตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะศึกษาซึ่งโดดเด่นแตกต่างกันออกไป  มีกฎระเบียบปฏิบัติ มีปฏิทินการศึกษา มีการประเมินผลเพื่อการแก้ปัญหาทุกเดือน มีการสอบสนามวัด และการอบรมเข้มก่อนการสอบอย่างเป็นระบบ นักเรียนไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย 4 จึงมีเวลาใส่ใจการศึกษาอย่างเพียงพอ

2. ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถาม
                    ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามตอนที่ 2 ส่วนที่เกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการจัดการศึกษา  กำหนดไว้ฝ่ายละ 5 ด้านและค้นพบข้อสรุปแต่ละด้าน ของวัดจองคำดังนี้

                             2.1.1 การบริหารงานทั่วไป
                             ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ จังหวัดลำปาง โดยเห็นด้วยมากในเรื่องที่ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายคุณภาพของสถานศึกษาอย่างชัดเจน  (X= 3.90) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่องผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการปฏิบัติงานด้านศึกษาแก่ครู  (X = 3.86)  และผู้บริหารกำกับติดตามด้วยการสอบถามการประชุมและการให้รายงานผลเป็นระบบ (X= 3.79)  ตามลำดับ

          2.1.2 รูปแบบการจัดการศึกษา(หลักสูตร)
           ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ เห็นด้วยมากในเรื่องมีการแสวงหาครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาปฏิบัติการในแต่ละหลักสูตร (ถ้าขาดแคลน) (X= 4.42) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่องมีการประชุมปฏิบัติการทำกำหนดการสอนและแผนการสอน  (X= 4.37)  และมีการประชุมครูเพื่อการวิเคราะห์ ประเมิน    หลักสูตรและการบริหารหลักสูตรก่อนและหลังการจัดการศึกษา  (X= 4.17)  ตามลำดับ

2.1.3   รูปแบบการจัดการศึกษา(นักเรียน)

           ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ  เห็นด้วยมากในเรื่อง มีการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนทั้งในระหว่างการเรียนและประสบความสำเร็จในการเรียนอย่างทั่วถึง  (X= 4.58) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีการกำกับดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง ( X= 4.56)  และ  มีการติดตามพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างทั่วถึงและแก้ปัญหาหารายบุคคลเมื่อมีปัญหา  (X= 4.42)  ตามลำดับ

2.1.4   อาคารสถานที่
          ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ  เห็นด้วยมากในเรื่องการวางแผนการใช้อาคารและห้องเรียนอย่างเป็นระบบ   (X = 4.25) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีอาคารสถานที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา (X= 4.21)  และ มีห้องประชุม ห้องปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุมหรือปฏิบัติการ  (X= 4.10)  ตามลำดับ

2.1.5   การประชาสัมพันธ์และการระดมทรัพยากร
          ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ เห็นด้วยมากในเรื่องมีการระดมทรัพยากร ด้านบุคลากร  ด้านงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ   (X= 3.94) รองมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (X= 3.75)  และมีการแสวงหาแหล่งทุนเพื่อจัดการการเรียนรู้  (X= 3.73)  ตามลำดับ

3. ปัญหาอุสรรคและวิธีแก้ปัญหา
                    ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหา/อุปสรรคและความสำเร็จที่มีต่อการจัดการศึกษา
       3.1 ด้านการจัดการศึกษา
                 สภาพปัญหา
1.  ในท้องถิ่นไม่ค่อยมีครูผู้สอนประจำ  ต้องหาครูจากกรุงเทพมาสอน
2.  ต้องใช้เงินจำนวนมากในการจัดหาครูมาสอน
3.  จำนวนนักเรียนที่มาเรียนค่อนข้างน้อย 
4. ขาดความต่อเนื่องของการบริหารงาน
5. ขาดการติดตาม และประเมินผลจากผู้ปกครองที่มีอำนาจในการบริหารการศึกษา
6. นักเรียนไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบเท่าที่ควร
7. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ในการเรียนเท่าที่ควร
8. นักเรียนสนใจในการศึกษาในด้านปริยัติสามัญ มากกว่าการศึกษาพระปริยัติธรรม
9. นักเรียนมีพื้นฐานทางภาษาไทยไม่ดีพอ  
 3.2 ทางแก้
            1.  วางแผนการผลิตครูที่สำเร็จจากสำนักให้รับผิดชอบการเรียนการสอน
                             2.  วางแผนการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุอย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติได้
                             3. จัดการศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้แต่ละปี โดยมีผู้รับผิดชอบชัดเชน
                             4. มีการประเมิลผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ พบปัญหาต้องระดมสมองช่วยกันแก้ไขปัญหา
                             5. ผู้นำมีความเสียสละ รักและเอาใจใสสอดส่องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
                             6. การปกครองมีระเบียบวินัยเข้มงวด

4. สาเหตุที่ทำให้วัดประสบผลสำเร็จ
                   การที่สามเณรในวัดจองคำ ในปีการศึกษา 2545 สามารถสอบประโยค ป..9 และเป็นรุ่นแรกของวัดจองคำได้จำนวนถึง 7 รูปนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกและพิเศษอะไร ถ้าได้ศึกษาการทำงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ วางแผน การปฏิบัติการจริง การตรวจสอบติดตามประเมินผล และนำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงแก้ไข ตามกรอบ PDCA แล้ว จะพบว่า พระภิกษุสามเณรทุกรูปที่อยู่ในวัดจองคำต้องปฏิบัติตามกรอบและระเบียบของสำนักฯ อย่างเคร่งครัด   การบริหารการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของวัด  เจ้าอาวาสและคณาจารย์ต้องขยันและอดทนมาก  วิธีที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจัดการปกครองนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง  เน้นการรับผิดชอบสูงทั้งของครูและนักเรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนแทบจะไม่มีการหยุดหรือขาด (ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ) และสุดท้ายใช้เวลาในการอบรมพิเศษก่อนสอบบาลีสนามหลวงที่ยาวนานกว่าที่อื่นๆ  และมีกรณีพิเศษอยู่บ้าง  คือ นักเรียนดู (แปล) หนังสือได้หลายรอบ  นักเรียนแต่งไทย  หรือแต่งฉันท์ได้หลายรอบ   นักเรียนเขียน หรือทำแบบฝึกหัดเกือบทุกวัน  (การเขียนบ่อย ๆ ทำให้แม่นยำ)
                   การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนประสบความสำเร็จได้นั้น  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  เช่น
          1. เจ้าสำนักเรียน  ต้องมีเจตนาและศรัทธาต่อการให้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างแรงกล้า  มีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีและมองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธวจนะ (พระธรรมวินัย) ที่ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาบาลีในพระไตรปิฎก  ต้องเสียสละกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์  และกำลังสติปัญญา  ในการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีนี้   โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก  นอกจากนี้เจ้าสำนักต้องสรรหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทุกชนิดที่จะอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  สอดส่องดูแลเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของอาจารย์และนักเรียนอย่างใกล้ชิด  และสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน  ตลอดจนสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วยเมตตาจิต
          2คณาจารย์ก็ต้องมีเจตนาและศรัทธาในการสอนอย่างแท้จริง  มีความรับผิดชอบในหน้าที่การสอน  หมั่นศึกษาค้นคว้าตำราวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านภาษาบาลีอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีความรับผิดชอบในด้านการบริหารและการปกครองดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน  ให้การอบรมสั่งสอนด้วยหวังความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
                     3นักเรียนต้องมีความตั้งใจพากเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสำนักฯ  เช่น  ห่มดองรัดอกให้เรียบร้อย เข้าเรียนให้ตรงเวลา  ให้ความเคารพ
                  4. อาจารย์ผู้สอน  ตลอดจนเอาใจใส่กิจวัตรทุกอย่างของสำนักฯ  เช่น  ทำวัตรสวดมนต์  การรับฟังโอวาทของเจ้าสำนักฯ  ฯลฯ  โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
          5ทุนสำหรับการบริหารการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนี้  มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อการบริหารการศึกษา  แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  ไม่ใช่สิ่งที่น่าเป็นห่วง  สิ่งสำคัญอยู่ที่เจ้าสำนักฯ มีเจตนาและศรัทธาอย่างจริงจังที่จะทำงาน  ถ้าเจ้าสำนักฯ ทำอย่างจริงจัง  ศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมจะสละทุนทรัพย์มาช่วยอย่างแน่นอน 
          ดังนั้น  การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  ดังที่ได้ค้นพบดังกล่าวมา

5. สรุปและเสนอแนะ
                   ผลการศึกษาวิจัย ได้รูปแบบการจัดการศึกษาที่ชัดเจนคือ มีการวางแผนเป็นระบบทั้งด้านบุคลากรการสอนและนักเรียน การบริหารที่มีการมอบหมายงานเป็นระบบตรวจสอบได้ มีกฎระเบียบของวัดด้านการปกครองที่เข้มแข็ง มีการส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดโดยให้ทุนการศึกษาและนิตยภัตรครู มีปัจจัย หรือทุนการทำงาน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ปรัชญาการทำงานของคณะผู้บริหาร ต้องมุ่งเสียสละเพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่วนผลพลอยได้อื่นๆเป็นสิ่งที่จะตามมาภายหลัง หากมีการทำงานอย่างเป็นระบบเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นสำนักศึกษาในชนบทก็ตาม สำนัก
ศาสนศึกษาวัดจองคำ จะสามารถดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืนด้วยการมีระบบการบริหารรองรับอย่างเป็นรูปธรรมและปฏิบัติการได้จริง เหล่านี้ คือรูปแบบที่โดเด่นน่าที่สำนักเรียนต่างๆควรจะมาศึกษาดูงาน หรือร่วมเครือข่ายเพื่อขยายการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมให้แพร่หลายออกไป พระปริยัติสุนทรให้หลักสำหรับสำนักที่จะเปิดเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนักธรรม ให้เตรียมความพร้อมในด้านต่อไปนี้
1.  เจ้าอาวาสมีความเสียสละสูง อย่ามีภาระอื่นมากเกินไป
2. บุคลากรครูอาจารย์และนักเรียนต้องพร้อม
3. มีสถานที่พอสมควรที่จะรองรับการขยายตัวได้
4. มีทุนทรัพย์หรือการตั้งกองทุนพอเพียงที่การดำเนินงานในระต้น
5. มีกฎระเบียบที่ถือปฏิบัติเพื่อควบคุมการปกครองอย่างเข้มแข็ง
                   6. ประการสำคัญ คือลงมือกระทำจริง วิธีดีก็ตามถ้าไม่ทำ ไม่บรรลุผล
                     ข้อคิดและแนวทางการปฏิบัติการเหล่านี้ น่าจะบังเกิดประโยชน์แก่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมทางศาสนาคงจะมีลมหายใจสืบไปอีกนานอย่างมิต้องสงสัย





บทสวดมนตฺ์สัมพุทเธ มีพระพุทธเจ้า 3,584,192 พระองค์


สัมพุทเธ
(บทนมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตที่ผ่านมาพร้อมด้วยพระธรรมและพระสงฆ์)
 สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ                     ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ
                    นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ                   อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                          หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ                        วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
 สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะ จะตุวีสะติ สะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ                     นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ                   อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                          หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ                        วินัสสันตุ อะเสสะโตฯ
  สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต               อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ
                      นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง  ธัมมัญจะ สังฆัญจะ                              อาทะเรนะ นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                                    หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ                                    วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
             (แปลโดยพิสิฏฐ์)  ข้าพเจ้า ขอน้อมเศียรนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ห้าแสน หนึ่งหมื่น สองพันยี่สิบแปดพระองค์(512,028) พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยความเอื้ออาทร ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม จงขขัดอุบาทว์ทั้งปวง ขออันตรายต่างๆจงพินาสไปอย่าได้มีส่วนเหลือ
              ข้าพเจ้า ขอน้อมเศียรนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งล้าน สองหมื่น สี่พัน ห้าสิบห้าพระองค์ (1,024,055)พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยความเอื้ออาทร ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม จงขขัดอุบาทว์ทั้งปวง ขออันตรายต่างๆจงพินาสไปอย่าได้มีส่วนเหลือ
              ข้าพเจ้า ขอน้อมเศียรนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สองล้านสี่หมื่น แปดพัน หนึ่งร้อยเก้าพระองค์ (2,048,109)พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยความเอื้ออาทร ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม จงขขัดอุบาทว์ทั้งปวง ขออันตรายต่างๆจงพินาสไปอย่าได้มีส่วนเหลือ
                                    1 พระพุทธเจ้า มีจำนวน                  512,028 พระองค์
                                    2  พระพุทธเจ้า มีจำนวน             1,024,055 พระองค์
3 พระพุทธเจ้า มีจำนวน               2,048,109 พระองค์
                          (รวมพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งสิ้นมี จำนวน     3,584,192 พระองค์)

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Maleyyadevattheravatthu in Lanna Manuscripts


Maleyyadevattheravatthu (Malayyadevattheravatthu)
in Lanna Manuscripts
Introduction
Maleyyadevattheravatthu or Maleyyatheravatthu, in Lanna called Maleyyavohara is the extra Sutta apart fromTipitakas. It was written around 900 B.E. by a Sinhalese Elder. There is the other opinion assumed that, this story was written in the time of Sinhalese King Parakamabahu. Here  are the names of these Elders : Ven. Sumangala, Ven. Sangharakkhita, Ven. Buddhanaga, Ven. Medhankara or Ven. Vacissara, amongs them, one would be the composer of Maleyyavatthu. The time of  creation was fallen around the 18-19 Buddhist Centuries.
Someone has mentioned that Maleyyavatthu  was the Tiny Sutta having written in Burma during the ending of the 18 Buddhist Century. It was known as “Maleyyaka”. Since that time, it was handed down to South East Asia Countries  like ; Lan Na Kingdom, Sukhothai, Lan Xang, and Cambodia. It was believed that the Burmese Maleyyaka has  prominent influenced as the Prototype over the latter  Maleyyattheravatthu or the Maleyyasutta writing works. [1]

The Contents of Story
 The Maleyyatheravatthu mentions about the Maleyya Elder, the Holy One (Arahanta) in Buddhism who had the extra ordinary power travelled to the hell and the heaven. He asked the reason why they have to be born in the hell or in the heaven. Finally, it confirmed by the answers that;  the one who was born and  suffered in the hell, because of the bad deed having done in the past life, on the other hand, the good deed result has sent one who performed good action to live happily in the heaven.
In Lanna, there is the annually tradition or Ceremony of  the “Listening to Vessantarajataka”, the order of Ceremony is that, in the beginning, the    Maleyyavatthu has to prior preach, it is also  regarded as  the part of the  Vessantarajataka with the strongly belief that anyone who has  devoted the time to complete total a single  day in listening the whole Vassantarajataka, he, then, will surely meet the Sri Ariya Mettayya, the Next Coming Buddha.

The Lanna Maleyyavatthu Manuscript’s Contents
The contents of Maleyyatheravatthu in Lanna are mainly divided into 2 sections according to the tradition of Lanna composition. They are :
1) The first section known as “Pathamma Maleyya”, (the First Maleyya) begins with the salutation verses to the Triple gems, then, the story of the Elder Maleyya,  then, the story of one  Deity, in the past life he was born in Anuradhapura and made the Sandy Jetiya dedicating to the Buddha. By the resultant of the good action, he went to the heaven.
  2) The Second section known as the “Dutiya Maleyya”, (the Second Maleyya) mentions about the merit  and it’s resultant of the Fairy and Angel in heaven, Those merits  had performed  by them while being as  human beings lived in the last lives.  One day, the Elder Maleyya had paid a visit the heaven and discussed with them. Having been back to human world, the Elder Maleyya  told the stories of those Fairies and Angels to people. In another time, the Elder Maleyya had again paid a visit  to the hell, thereafter, he brought the news form the hell’s creatures  reported to their relations.
Finally, in the Maleyavatthu Sermon, it mentioned  about the refit of the very single day complete listening the Vessantarajataka  will certainly yield a rebirth in the time of Lord Sri Ariyamettayya, the Next Coming Buddha, whereby in his time,  it will be full of the most happiness.

The Different Lanna Maleyyavatthu Manuscripts

          The Maleyyavatthu  in Lanna has many names  as the followings:

  1. “Maleyyavohara” (The MahaJati Jataka Mahkesarapanyo BE. 2364 AD 1821) Wat Salaluang, Salaluang Sub-District, KorhKa  District, Lampang Province. It is of  2 bindings, containing  89 Palm leafs, manuscripted with Pali Lanna Inscription, the  Micro film copy number 81.062.01B.045.060. The Social Research Institute (SRI), Chiang Mai University.   

2. “Maleyyaphodlok”( the Elder Maleyya Instructs the people)

3. “ VoharaTikamalaya” or “Malayyavatthudipanee” 


Conclusion
All of these Lanna Maleyyavatthu versions have followed the core contents of the original text, “The Maleyyadevattheravathu”.  If there will be any differences, it is on the condition that ; the  Regional traditions and the suitable examples had been added in the story to further entertain the Listeners.
Phisit Kotsuphu
Chiang Mai,Thailand
        6/7/2018 



[1] Suphaphan Na Bangchang, The Evolution of the Suttantapitaka Litteraters written in Thailand. (Bangkok: Chulalongkorn University, 1990), pp.317-319.