----------
บุคคลที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชาวโลก
ที่สามารถเปลี่ยนแปลง ทางด้านการเมือง การปกครอง
เศรษฐกิจ สังคม สร้างสันติสุขแก่ประชาคมโลก นับแต่อดีตมาจนปัจจุบัน
มีอยู่หลายท่าน แต่ในจำนวนที่ว่ามีหลายท่านนั้น กลับมี บุคลผู้หนึ่งที่โดดเด่น
เหนือล้ำกว่าทุกคน วิธีคิด หลักปฏิบัติ และวีถีการดำรงชีวิตของท่าน
กลับมีอิทธิพลต่อชาวโลกสืบมาไม่น้อยกว่า 2,600 ปี
เนื่องเพราะอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงโลกของท่านมิได้สร้างความทุกข์เดือดร้อนแก่ผู้ใด
ไม่มีหยาดน้ำตาของผู้แพ้ที่หลั่งเพราะความคับแค้นใจ ไม่มีการสูญเสียชีวิต
ทรัพย์สิน ดินแดนและอำนาจที่เคยครอบครอง มิได้กดขี่ให้ผู้แพ้ต้องกลายไปเป็นทาส แต่ผู้ชนะกลับได้รับการย่องสรรเสริญว่า “ท่านเป็นยอดของคนที่เอาชนะผู้อื่นโดยปราศจากอาวุธและกองกำลังหนุนหลัง”
การชนะของท่านย่อมแตกต่างจากการพิชิตโลกของอเล็กซานเดอร์มหาราช ของนโปเลียนมหาราช ต่างจากจอมจักรพรรดิแจงกีสข่าน
และยิ่งต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการแผ่อิทธิพลทางการปกครองกับการประกาศศาสนาของจักพรรดิอ๊อตโตมัน
เตอร์ก ที่กองทัพกรีฑาไปในทิศทางใด มีแต่คราบเลือดและรอยน้ำตาของผู้ปราชัย
ยิ่งในฐานะผู้นำสำคัญทางจิตวิญญาณ
ผู้ประกาศหลักคำสอนทางศาสนา บรรดาพระศาสดาทั้งหลายในโลก นับแต่ท่านโมเสส(ยูดาห์)
พระมหาวีระ(เชน) พระเยซูคริสต์(คริสต์) ท่านนะบีมุฮัมหมัด(อิสลาม) เล่าจื๊อ(เต๋า)
และท่านขงจื๊อ รวมถึงท่านบาฮาอุลลาห์(บาไฮ) ท่านกลับได้รับการยกย่องให้เกียรติอย่างสูงยิ่งจากประชาคมโลก
โดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันเกิด/วันตรัสรู้ของท่าน(วันวิสาขบูขา)
เป็นสำคัญสากลนานาชาติ(International Day) ที่ทุกประเทศในโลก
ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด จะมีระบอบการปกครองบ้านเมืองเป็นอย่างไร
ต้องจัดให้มีพิธีรำลึกถึงวันเกิด หรือวันตรัสรู้ความจริงของมหาบุรุษท่านนี้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา[2]
ด้วยเหตุผลที่น่าจับใจความว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่งของโลก
ที่ได้หล่อหลอมจิตวิญญาณของมนุษยชาติมานาน ควรที่จะยกย่องกันทั่วโลก”
มหาบุรุษรัตน์
ท่านที่กล่าวมา จะเป็นใครไปมิได้นอกจาก “พระพุทธเจ้า” พระนามเดิม “สิทธัตถะ”
อดีตเจ้าชายจากศากยตระกูล ออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกษธรรม บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
จนได้พระเนมิตกนามว่า “พระสัมพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า”
ผู้ประกาศหลักพระพุทธศาสนาที่คนทั่วโลกย่องและนับถือว่า ไม่มีสงครามเลือดเพราะการเผยแผ่ของพระพุทธศาสนา
ไม่มีซากปรักหักพังเพราะการกรีฑาย่ำยีโดยกองทัพธรรมของพระองค์ วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม(ตรงกับวันเกิด)
“ธรรมาภิสมัย” คือวันชนะชองพระพุทธเจ้า
นี่ต่างหากหละ
“พุทธชยันตี” ตรงตามหลักการ แม่นด้วยหลักปฏิบัติ สาระ คุณค่า และความหมาย
ที่แท้จริงเปิดเผยตัวตน และแก่นแกนหลัก ฝังรากลึกซ่อนพลังศักย์เอาไว้อยู่ตรงนี้
ลองมาถอดรหัส “พุทธชยันตี” หรือ
การชนะแบบพระพุทธเจ้าออกมาดูสิ ว่าเราจะพบสาระ คุณค่า และความหมายที่ยิ่งใหญ่อะไร
ต่อชาวโลกที่ร้อนเพราะ ระบบการเมืองมัวเมากับการแก่งแย่งอำนาจ
หวงแหนผลประโยชน์ของตนและกลุ่มตน แบบไม่มองถึงหายนะของสังคมที่ตนอยู่อาศัย
ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขันและการกีดกันแต่อ้างว่าเป็นระบบ “การค้าเสรี(Free Trade)” กลับเอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ใครจะล่มจมก็ช่าง เราไม่เกี่ยว
ขอให้เรารอดเป็นพอ
ระบบการศึกษาที่มองลูกศิษย์เป็นลูกค้า(Customer) ก็เลยจัดการศึกษาออกมาตามใจลูกค้า(Student –Center) เป็นการศึกษาเชิงพาณิชย์
ผลิตบัณฑิตตามอำนาจเงินตราต่อรายหัว มิคำนึงถึงหลักวิชาการ
เนื้อหาสาระที่จะเติมเต็มสมองอันเยาว์ของผู้เรียน
สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบชั่วดีต่อสังคม เลยมีบัณฑิตที่ถูกผลิตออกมาไม่สมบูรณ์ แบบสุกเอาเผากิน
สร้างศิลปะลามกอนาจาร ออกมาทางสื่อสาธารณะ โดยมิได้กระเทือนต่อมจริยธรรมสักนิด กรรมการชาย
2 ท่านก็บอกให้ผ่าน ขณะที่สุภาพสตรีที่เป็นกรรมการ บอกว่า รับไม่ได้ ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีเหตุผลเลย
ก็เพียงแค่ใจกล้า เปลือยกายควักอวัยวะเลี้ยงลูก(นม) ออกมาโชว์ลวดลายแทนพู่กัน
ละเลงสีบนผืนผ้าใบก็ให้ผ่านแล้ว ผมของยกนิ้วให้กรรมการผู้หญิงท่านนี้จริงๆว่า
มีมาตรฐานทางศีลธรรมและสมบัติผู้ดีมากกว่า กรรมการชายทั้ง 2 ท่าน รวมไปถึงเจ้าของรายการโทรทัศน์มากโข
โอ..กรรมการเป็นเช่นไร
ก็ย่อมเลือกคนร่วมรายการฉันนั้น อนาถนัก หากเมืองไทยและสังคมไทยยังตกอยู่ในอำนาจของกลุ่มที่หิริโอตตัปปะอยู่เลยก้นบ่อน้ำมันที่ตะวันออกกลาง
ประการที่ 1 การชนะตนเอง พระพุทธเจ้า
ชนะกิเลสในจิตใจของพระองค์(อรหัง) ความเศร้าหมองทางจิตใจ ท่านเรียกว่ากิเลส คนเราถ้าเศร้ามอง(กิเลส)มาก
ก็ทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ผ่องใสยาก โดยเฉพาะกิเลส 3 ตัว คือ โลภะ ความอยากได้ ความโลภ
แสดงตัวออกเป็นตัณหา ราคะ เราทราบว่า พระสิทธัตถะ สละราชสมบัติและพระมเหสี
พระโอรสแรกประสูติออกผนวช ใช้ชีวิตแบบนักบวช เรียบง่าย สมถะ ไม่สะสม ทรัพย์สมบัติ
เพราะพระองค์เอาชนะ โลภะ ด้วยเห็นว่า สรรพสิ่งมันเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง)
ไม่จีรังยั่งยืน โลภไปทำไม ของที่เรามีทุกวันนี้ เป็นยืมโลกมาใช้
แม้แต่ร่างกายเราก็ยืมโลก(ธาตุ 4)มาใช้ชั่วคราว หมดลมเมื่อไร
ร่างกายก็กลับคืนสู่ดิน น้ำ ไฟ ลม กิเลสตัวที่
2 ที่พระพุทธเจ้าทรงชนะก็คือ โทสะ ความเดือดดาล ความเกรียวกราด
แสดงตัวออกมาเป็นความโกรธเคือง ความเร้าร้อนใจ ความขัดเคืองใจ(ปฏิฆะ)
ความแผดเผาคุกกรุ่น เร้าร้อน อาฆาตพยาบาท จองเวร พระพุทธเจ้าทรงมีพระขันติธรรมสูง
อดทน อดกลั้นไม่ว่า จุถูกยั่วยุด้วยอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็ตาม
ทรงประคับประครองพระทัยนิ่งไม่หวั่นไหวเอนเอียงเพราะอคติ(ชอบ ชัง กลัว และหลง)
จิตของพระองค์เป็นกลาง สมดุล ไม่เหวี่ยงเพราะรักหรือชัง ดังพระอุบาลียอคุณพระองค์ว่า
“พระพุทธะนั้นย่อมข้ามโลกพร้อมทั้งเทวโลกได้เพราะขันติ
อวิหิงสา และเพราะมีจิตเมตตา ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ใครๆ ให้พิโรธไม่ได้
เพราะพระพุทธเจ้า ทั้งหลายเช่นกับแผ่นดินไม่ข้องอยู่ในลาภและความเสื่อมลาภ
ในความสรรเสริญและดูหมิ่น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ใครๆ ให้พิโรธไม่ได้
พระมุนีมีจิตเสมอในสรรพสัตว์ คือ ในพระเทวทัตต์ นายขมังธนู องคุลิมาลโจร
พระราหุล และในช้างธนบาล พระพุทธเจ้าเหล่านี้ย่อม ไม่มีความโกรธ ไม่มีความกำหนัด
พระพุทธเจ้ามีจิตเสมอในชนทั้งปวง” [3]
กิเลส ตัวสุดท้าย คือ โมหะ ความลุ่มหลง เพราะไม่รู้ของจริง
เรียกว่า อวิชชา ถ้าไม่รู้จักของจริงว่า
มันเป็นทุกข์ มันเปลี่ยนแปลง มันไม่มีแก่นสารสาระที่เราควรยึดมั่นถือมั่น
เราก็ไม่มัวเมาหลงใหลยึดถือว่า ตัวกู ของกู เมื่อมันพลัดพราก เราก็จะได้ไม่ทุกข์
เกิดสภาพปล่อยวาง เพราะเล็งเห็นอนัตตา ความไม่มีแก่นสารสาระ
ที่เรามัวไปหลงยึดถือว่า เป็นตัวตนของเรา เป็นเรา เป็นของของเรา
พระพุ?เจ้าทรงหักอวิชชาที่เป็นต้นตอความหลงทุกอย่างได้ พระองค์จึงไม่ติดในโลกดังพุทธภาษิตว่า
“สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”[4]
การเอาชนะตนเอง เป็นสุดยอดของชัยชนะ ดังพุทธภาษิตว่า อัตตา หะเว
ชิตัง เสยโย แปลว่า ชนะตนนั่นแลดีกว่า การชนะตนเอง หมายถึง
การเอาชนะกิเลสของตนเองให้ได้ การชนะแบบนี้เท่านั้นนำมาซึ่งสันติภาพ เมื่อชนะใจตนเองแล้วการชนะใจผู้อื่นจะยิ่งนำมาซึ่งสันติภาพของโลก
การที่พระพุทธเจ้าจะสามารถเอาชนะกิเลสในจิตใจพระองค์ได้
ก็เพราะอาศัยความรู้จริง ความรู้ชอบ ที่เรียกว่า สัมมาสัมพุทโธ ผู้รู้จริงย่อมไม่มีความหลง
ไม่ติดเปลือกกระพี้ ไม่ติดสมมติบัญญัติ รู้ทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด
รู้การดับทุกข์ และรู้วิถีทางปฏิบัติเพื่อการดับความทุกข์ ด้วยพระองค์เอง
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มิได้เกิดเพราะอำนาจดลบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า
หรือมหาเทพเทวาท่านใดสั่งการ โองการประทานลงมา
แต่เป็นเพราะการใช้สติปัญญาแบบมนุษย์ของพระองค์แท้ๆ การตรัสรู้เป็นการค้นพบสัจธรรมที่ทำให้ผู้ค้นพบเป็นอิสระ
เป็นผู้ชนะโลกที่แท้จริง เพราะเมื่อหยั่งรู้สภาวะของโลกตามเป็นจริง
จิตใจย่อมอยู่เหนือโลก ไม่เป็นไปตามกระแสโลกธรรม เป็นการประกาศอิสรภาพของมนุษย์
เหนือเทพเจ้าอย่างแท้จริง เมื่อมนุษย์เป็นอิสระ ก็เท่าได้ชัยชนะนั่นเอง
ประการที่ 2 การเอาชนะผู้อื่น (ภควา)
สองคุณสมบัติแห่งการเอาชนะกิเลสกับความโง่ของพระพุทธเข้า ที่ผ่านมา อรหัง
เป็นพระบริสุทธิคุณ สัมมาสัมพุทโธ เป็นพระปัญญาคุณ เราลองมาพิจารณาดูว่า
หากมีคนดี(บริสุทธิ์) กับคนเก่ง(ปัญญา) แต่ขาดจิตอาสา(กรุณา) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
จำแนกแจกจ่าย แบ่งปัน ความเก่ง
และความดีของตนแก่ผู้อื่นแล้ว การเป็นคนดี และคนแก่ง จะเกิดประโยชน์อะไรแก่โลก
พระพุทธองค์ทรงชนะผู้อื่นด้วยการแบ่งปันอมฤตธรรมที่พระองค์บรรลุ
พระองค์เองทรงรู้แจ้ง(พุทธะ) และสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม(อนุพุทธะ)ไปด้วย นี่คือ
พระมหากรุณาคุณ
หลักการเอาชนะผู้อื่น
เมื่อชนะแล้วจะเป็นชัยชนะที่ยั่งยืนไม่กลับมาพ่ายแพ้อีก พระพุทธองค์ตรัสว่า
“พึงชำนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่
ด้วยการให้ปัน พึงชนะคนพูดพล่อยๆ ด้วยคำจริง” [5]
(ก) จัดการตามความจริงเมื่อถูกติเตียนหรือถูกชมเชย
พระพุทธเจ้าทรงให้แนวทางว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต
ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจ
ในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้หรือ ?”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง
เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง นั่นไม่แท้ คำนั่นก็ไม่มี และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย
แม้คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจ
ในคำชมนั้น ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจ
ในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเป็นแน่ ถ้าคนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ ชมพระสงฆ์
ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง นั่นแท้ แม้คำนั้นก็มี และคำนั้น
จะหาได้ในเราทั้งหลาย”[6]
(ข) เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี(คิดในเชิงบวก)
มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อเวรัญชะมาด่าพระพุทธเจ้าด้วยอักโกสวัตถุ(ชุดคำด่า)[7]
ว่า “ข้าพเจ้าทราบมาว่า ท่านไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่
ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ก็เป็นเช่นนั้นจริง
การที่ท่านไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ ล่วงกาล
ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควร ลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ถ้าเราพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญ บุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควร ลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ถ้าเราพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญ บุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป”
เวรัญชพราหมณ์ด่าว่า
“ท่านเป็นคนไม่ไยดี”
พระพุทธเจ้า
“ถูกแล้ว เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไป
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์
“ท่านเป็นคนไม่มีสมบัติ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไป แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนกล่าวการไม่ทำ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการ ไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนกล่าวความขาดสูญ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความ ขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างรังเกียจ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่ง สภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างกำจัด”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพ ที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างเผาผลาญ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนไม่ผุดเกิด”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่เกิดอีกต่อไป แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไป แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนกล่าวการไม่ทำ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการ ไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนกล่าวความขาดสูญ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความ ขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างรังเกียจ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่ง สภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างกำจัด”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพ ที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนช่างเผาผลาญ”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
เวรัญชพราหมณ์ “ท่านเป็นคนไม่ผุดเกิด”
พระพุทธเจ้า “ถูกแล้ว เพราะ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่เกิดอีกต่อไป แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว”
สุดท้าย
เวรัญชพราหมณ์ ยอมแพ้และนิมนต์พระพุทธเจ้าไปจำพรรษาที่เมืองเวรัญชา
(ค) แม้ถูกด่าก็ไม่รับคำด่า
เหตุการณ์เกิดขึ้นในคราวที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
กรุงราชคฤห์ [8] อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้ทราบว่ามีพราหมณ์ภารทวาชโคตรออกบวช ในสำนักของพระพุทธเจ้าก็โกรธ
ขัดใจ เข้าไปด่า บริภาษพระพุทธเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคายอย่างยิ่ง
เมื่อพราหมณ์ด่าเป็นชุดจบลงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ถามว่า “พราหมณ์ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน เคยมาที่บ้านท่านบ้างไหม?”
เมื่อพราหมณ์ด่าเป็นชุดจบลงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ถามว่า “พราหมณ์ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน เคยมาที่บ้านท่านบ้างไหม?”
พราหมณ์ตอบว่า “มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพเจ้าเคยมาบ้าน”
พระพุทธเจ้าถามว่า
“ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่
?”
พราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้าจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว”
พระพุทธเจ้า “ก็ถ้าว่ามิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต
ผู้เป็นแขกไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร ?”
พราหมณ์ตอบว่า “ถ้าว่าแขกเหล่านั้นไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น
ก็เป็นของข้าพเจ้าอย่างเดิม”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่าน
การด่า ก็เป็นของท่านผู้เดียว ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ พวกเขาถือว่าย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดังนั้น การด่าย่อมเป็นของท่านผู้เดียว” (เพราะเราไม่รับคำด่าของท่าน)
ท้ายที่สุด อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ก็ยอมแพ้ต่อความมีขันติธรรมของพระพุทธเจ้า
ท้ายที่สุด อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ก็ยอมแพ้ต่อความมีขันติธรรมของพระพุทธเจ้า
(ง) ปรับกระบวนทัศน์ให้เปลี่ยนความคิด
1) ระบบวรรณะ (มนุษย์เกิดมาเท่ากัน)
ในวาเสฏฐสูตร
[9]
กล่าวถึงหมู่พราหมณ์ที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น จังกีพราหมณ์
ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์
โตเทยยพราหมณ์ เป็นต้น ต่างอาศัยอยู่ใน อิจฉานังคลคาม พราหมณ์กลุ่มนี้มีความหยิ่งเพราะชาติกำเนิด
ถือตัวว่า คนวรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด เป็นอุภโตสุชาต(กำเนิดบริสุทธิ์
มีบิดาและมารดาต่างเป็นคนในวรรณะพราหมณ์) สืบสายกันมาตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ จึงดูหมิ่นวรรณะอื่นๆ
ว่า มีศักดิ์ศรีไม่เท่าตน
มีพราหมณ์หนุ่ม
2
คน คือ วาเสฏฐะ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ
และภารทวาชะ ศิษย์ของพราหมณ์ตารุกขะ ได้โต้แย้งกันถึงเงื่อนไขของความเป็นพราหมณ์
โดยภารทวาชะ บอกว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด ขณะที่ วาเสฏฐะ แย้งว่าเป็นพราหมณ์เพราะศีลและพรต
หรือเพราะกรรมคือหน้าที่การงาน(อาชีพ) ทั้งสองคนต่างตกลงกันไม่ได้
จึงตัดสินใจไปถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายมีความแตกต่างกันโดยชาติ
เพราะชาติของสัตว์เหล่านั้น มีประการต่างๆ กัน เช่น หนอน ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์
4 เท้า ทั้งตัวเล็ก ตัวใหญ่ ปลาที่เกิดในน้ำเที่ยวไปในน้ำ
นกที่บินไปในเวหา สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน
พวกหญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้
ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ
เพราะชาติของมันต่างๆ กัน
สำหรับหมู่มนุษย์เรา
ไม่มีการแบ่งโดยชาติกำเนิด เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติกำเนิด
ของชาติสัตว์อื่นๆ ไม่ได้มีการกำหนดหมายว่า
ผม ศีรษะ หู นัยน์ตา ปากจมูก ริมฝีปาก คิ้ว
คอ บ่า ท้อง หลัง ตะโพก อก มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขา สีผิว หรือ เสียง แบบนี้
ว่าของพราหมณ์ แบบนี้ของกษัตริย์ ความต่างกันในมนุษย์
เขากล่าวไว้โดยสมัญญา(สมมติโวหารเพียงเป็นชื่อเรียกขานกัน)
ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเป็นชาวนา ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปะ ผู้นั้นเป็นศิลปิน ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น
ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ ผู้ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร
ผู้ใดอาศัยลูกศรและศาตราเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเป็นนักรบ ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยความเป็นปุโรหิต
ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา ผู้ใดปกครองบ้านและแว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชา
เราไม่ได้กล่าวว่า ผู้ที่เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดาว่าเป็นพราหมณ์”
เราเรียกบุคคลว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้ คือ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยกรรมอัน
ประเสริฐนี้ คือ ตบะพรหมจรรย์สัญญมะ และทมะ กรรม 4 อย่างนี้ เป็นกรรมอันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทำให้ผู้
ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา 3 ระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง
ทั้งหลาย อันชื่อคือนามและโคตรที่กำหนดตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลก เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กำหนดตั้งกันไว้ในกาล
นั้นๆ เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็พร่ำกล่าวว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด
‘บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ที่แท้ ชื่อว่า
เป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
สัตว์ทั้งหลายถูกผูกในกรรม เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไป”
2) การบูชายัญ (พิธีกรรมกับการพัฒนาตนเองและสังคม)
ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์
ถือว่า การบูชายัญ หรือ ทำมหายัญ จะได้รับมหาบุญ และได้รับการยกย่องจากชุมชน ในสมัยพุทธกาล
มี พราหมณ์ชื่อกูฏทันตะ[10] นายบ้านขานุมัตต์
มีประชาชนและหมู่สัตว์มาก อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ที่พระเจ้าพิมพิสาร
พระราชทานปูนบำเหน็จให้ ครั้งหนึ่ง พราหมณ์กูฏทันตะ
ได้เตรียมมหายัญโคผู้ 700 ตัว ลูกโคผู้ 700 ตัว ลูกโคเมีย 700 ตัวแพะ 700
ตัว และแกะ 700 ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ
ในครั้งนั้น
พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์
พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นพวกชาวบ้าน รวมกันเป็นหมู่ พากันเดินทางไปฟังธรรมพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า “เราได้สดับข่าวนี้มาว่า พระสมณ โคดมทรงทราบยัญสมบัติ 3
ประการซึ่งมีบริวาร 16 แต่เราไม่ทราบ
และเราก็ปรารถนาจะบูชามหายัญ เราควรเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลถามยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16” แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ได้กราบทูลโปรดแสดงยัญสมบัติ
3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 ดังที่กล่าวมา
พระพุทธเจ้าจึงเล่าเรื่องมหายัญของพระเจ้าวิชิตราชในอดีตว่า
มีทรัพย์สมบัติมากมาย ประสงค์จะทำมหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลแนะนำว่า บ้านเมืองขณะนั้นมีโจรผู้ร้ายมาก
มีการปล้นบ้าน ปล้นนิคม ปล้นเมืองหลวง ดักจี้ในทางเปลี่ยว
จึงไม่ควรฟื้นฟูพิธีพลีกรรมขึ้นมาในช่วงนั้น ควรปราบโจรผู้ร้ายให้หมดสิ้นไปก่อน แล้วกราบทูลวิธีปราบโจรแนวใหม่ในลักษณะปฏิวัติแนวความคิดเดิม
[11] คือ
ขั้นที่ 1 ให้ทรงปราบโจรผู้ร้ายแบบถอนรากถอนโคน เพื่อมิให้กลับมา เป็นเสี้ยนหนามเบียดเบียนราษฎร์ต่อไปอีก
โดยกราบทูลถวายวิธีการปราบโจร 3 วิธี คือ
1. ให้พระราชทานพันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันในการทำเกษตร
2. ให้พระราชทานต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันในการค้าขาย
3.ให้พระราชทานอาหารและเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ขยันทำงานในหน้าที่ราชการ
1. ให้พระราชทานพันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันในการทำเกษตร
2. ให้พระราชทานต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันในการค้าขาย
3.ให้พระราชทานอาหารและเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ขยันทำงานในหน้าที่ราชการ
เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงปฏิบัติตามคำแนะนำนี้โดยเคร่งครัด
ก็ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง คือพระราชทรัพย์เพิ่มพูนมากขึ้น ๆ บ้านเมืองไม่มีโจรผู้ร้าย
บ้านเรือนไม่ต้องปิดประตู อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า
ขั้นที่ 2 ให้มีรับสั่งถึงบุคคลในพระราชอาณาเขต 4 พวก คือ (1) พวกเจ้าผู้ครองเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับพระเจ้ามหาวิชิตราช (2) พวกอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ (3) พวกพราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์ผู้มีทรัพย์มาก) (4) พวกคหบดีมหาศาล (คหบดีผู้มีทรัพย์มาก) เพื่อขอให้บุคคลเหล่านั้นรับทราบการพระราชพิธีบูชามหายัญ และขอความเห็นชอบด้วย ซึ่งปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นได้ตอบรับรองด้วยดี คำรับรองนี้เรียกว่า อนุมัติ 4 (จากบุคคล 4 พวก) ถือเป็นองค์ประกอบ 4 ประการ ในองค์ประกอบทั้งหมด 16 ประการ
ขั้นที่ 3 ให้ทรงตรวจหาคุณสมบัติ 8 ประการของเจ้าของพิธีบูชามหายัญ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชเอง และคุณสมบัติ 4 ประการของผู้ทำพิธี คือพราหมณ์ปุโรหิต ปรากฏว่าทั้งพระเจ้ามหาวิชิตราชและพราหมณ์ปุโรหิตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรา
ขั้นที่ 2 ให้มีรับสั่งถึงบุคคลในพระราชอาณาเขต 4 พวก คือ (1) พวกเจ้าผู้ครองเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับพระเจ้ามหาวิชิตราช (2) พวกอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ (3) พวกพราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์ผู้มีทรัพย์มาก) (4) พวกคหบดีมหาศาล (คหบดีผู้มีทรัพย์มาก) เพื่อขอให้บุคคลเหล่านั้นรับทราบการพระราชพิธีบูชามหายัญ และขอความเห็นชอบด้วย ซึ่งปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นได้ตอบรับรองด้วยดี คำรับรองนี้เรียกว่า อนุมัติ 4 (จากบุคคล 4 พวก) ถือเป็นองค์ประกอบ 4 ประการ ในองค์ประกอบทั้งหมด 16 ประการ
ขั้นที่ 3 ให้ทรงตรวจหาคุณสมบัติ 8 ประการของเจ้าของพิธีบูชามหายัญ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชเอง และคุณสมบัติ 4 ประการของผู้ทำพิธี คือพราหมณ์ปุโรหิต ปรากฏว่าทั้งพระเจ้ามหาวิชิตราชและพราหมณ์ปุโรหิตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรา
ขั้นที่ 4 ให้ทรงวางพระทัยในการบูชามหายัญทั้ง 3 กาล คือ (1) ก่อนการบูชา ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราจักสิ้นเปลืองไป
(2) ขณะทำการบูชา ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเรากำลังสิ้นเปลืองไป
(3) หลังบูชาแล้ว ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราได้สิ้นเปลืองไปแล้ว
ทั้ง 3 ประการนี้เรียกว่า ยัญสมบัติ คือคุณสมบัติของมหายัญ 3 ประการ
ขั้นที่ 5 ให้ทรงวางพระทัยในผู้มารับทาน ซึ่งจะมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน โดยให้ทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงเจาะจงให้แก่ผู้ที่งดเว้นจากอกุศลกรรมบถ 10 เท่านั้น
ขั้นที่ 6 ในการทำพิธีบูชายัญนั้น จะต้องไม่มีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด จะต้องไม่มีการตัดหญ้าคา พวกทาสกรรมกรของพระเจ้ามหา วิชิตราชก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ตนไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องใช้ในพิธีมีเพียงเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเท่านั้น
ขั้นที่ 5 ให้ทรงวางพระทัยในผู้มารับทาน ซึ่งจะมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน โดยให้ทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงเจาะจงให้แก่ผู้ที่งดเว้นจากอกุศลกรรมบถ 10 เท่านั้น
ขั้นที่ 6 ในการทำพิธีบูชายัญนั้น จะต้องไม่มีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด จะต้องไม่มีการตัดหญ้าคา พวกทาสกรรมกรของพระเจ้ามหา วิชิตราชก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ตนไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องใช้ในพิธีมีเพียงเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเท่านั้น
พราหมณ์กูฏทันตะ ชื่นชมว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้จริง
และถามต่อว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์ น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า
มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ
นี้
มีอยู่หรือ?” พระพุทธเจ้าตอบว่า มีอยู่
พระผู้มีพระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ มีอยู่ คืออะไร ก็ไล่นับแต่ทานมัย
บุญเกิดจากการให้ทาน เป็นต้น ขยับสูงขึ้นตามหลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ และ ปัญญาตามลำดับ
จนบรรลุอาสวักขยญาณ ตัดกิเลส จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็มีญาณว่าหลุดพ้น รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรพราหมณ์
นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า
มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ ก็ยัญสมบัติอื่นๆ ที่จะดียิ่งกว่า ประณีตยิ่งกว่า
ยัญสมบัตินี้ มิได้มี
พราหมณ์กูฏทันตะได้ชมเชยว่า
“ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป บัดนี้ ข้าพเจ้านี้ได้ปล่อยสัตว์สำหรับบูชายัญ
และได้ให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงได้กินหญ้าเขียวสด
จงได้ดื่มน้ำเย็น ขอลมที่เย็นจงพัดถูกสัตว์เหล่านั้น”
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเทศนา คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์กูฏทันตะ จนได้ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ณ ที่นั่งนั้นเอง
(3)
ทางสายกลาง (ไม่สุดโต่งเกินไป)
ชาวพุทธรู้ดีว่า พระพุทธศาสนาถือหลักทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)
ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป เป็นทางสายกลางที่มีองค์ประกอบ
8 ประการ(มรรคมีองค์ 8) ดัง ธรรมจักกัปวัตนสูตร [12]
ปฐมเทศนาที่แสดงโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสีว่า
“ภิกษุทั้งหลาย
ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ 1 การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ 2 การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ปฏิปทาสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ได้แก่
อริยมรรค มีองค์ 8
นี้แหละ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
(4)
สัจธรรม(ความจริงของสรรพสิ่ง)
ความจริงของสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ ราชบัณฑิตยสถาน 2542
(2546 : 484) อธิบายว่า ไตรลักษณ์ คือลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป 3 ประการ คือ ไม่เที่ยง
(เปลี่ยนแปลง) เป็นทุกข์(ทนในสภาพเดิมไม่ได้)
เป็นอนัตตา(ไม่มีแก่นสารสาระที่ควรถือว่าเป็นตัวตน) เมื่อเกิดอะไรขึ้นมา เราต้องเข้าใจว่า
สรรพสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎธรรมดาที่ทำงานตามธรรมชาติ พวกเราอยากฝืนธรรมชาติ
ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ไม่อยากทุกข์ ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเราเขา ปลงไม่ลง
เมื่อมันไม่เป็นไปตามความปรารถนาก็เลยเป็นทุกข์
พระธรรมปิฏก
ป.อ.ปยุตฺโต กล่าวในหนังสือพุทธธรรม ว่า “เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ
ให้ความหมายของไตรลักษณ์ โดยย่อ ดังนี้ 1. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่คงตัว
ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป 2. ทุกขตา
ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ภาวะที่กดดัน ฝืน
และขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไป
จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว
ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงใจเต็มที่ แก่ผู้อยากด้วยตัณหา
และก่อให้เกิดความทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน และ 3. อนัตตตา
ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน
ความไม่มีตัวตนแท้จริงที่จะบังคับให้เป็นอย่างไรๆได้”
อีกความเห็นหนึ่ง
พุทธทาสภิกขุอธิบายว่า “อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง มีความหมายว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประเภทที่เป็นสังขาร
คือมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งนั้นมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่มีความคงที่
ตายตัวยิ่งมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันอันกล่าวด้วยสภาพที่แท้จริง
ของสสารและกำลังงานด้วยแล้ว ยิ่งช่วยได้มาก คือช่วยให้เข้าใจได้ ช่วยให้เห็นชัดแจ้งได้
ว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจริงๆคำสอนข้อนี้เป็นคำสอนที่สอนกันอยู่
ก่อนพระพุทธเจ้า เป็นแต่ไม่ได้ขยายความของความไม่เที่ยงให้ลึกซึ้งเหมือนพระพุทธองค์เท่านั้น
ทุกขัง แปลว่าดูแล้วสังเวชใจ ก็เหมือนกัน มีการสอนมาแล้วแต่ก่อนพระพุทธเจ้า
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงที่สุด ไม่ประกอบด้วยเหตุ ด้วยสมุฎฐาน
และไม่ชี้วิธีดับที่สมบูรณ์จริงๆให้ได้ เพราะยังไม่รู้จักตัวความทุกข์อย่างเพียงพอ
เท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสั่งสอนเรื่องอนัตตา มีความหมายว่า
ไร้ตัวตน นั้น มีสอนแต่ในพุทธศาสนา คือจะสอนเรื่องอนัตตาแต่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่า
นั้น ข้อนี้เป็นเครื่องรับรองหรือเป็นเครื่องบ่งแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่รู้อะไรถึงที่สุดเท่านั้นที่จะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เหตุนั้นจึงมีสอนแต่โดยพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลที่รู้ว่าอะไร เป็นอะไร
ได้ถึงที่สุดเท่านั้น”
สรุป
สาระคุณค่าและนัยสำคัญต่อสังคมโลก
จากพุทธชยันตี หรือชัยชนะของพระพุทธเจ้า ประการสำคัญที่สุด อยู่ที่การเอาชนะตนเอง
การเอาชนะกิเลส การเป็นอิสระจากกิเลส หลุดพ้นจากการกองทุกข์
แต่เมื่อจำเป็นต้องอาศัยอยู่กับสังคมรอบตัว
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เอาชนะใจผู้อื่นด้วยหลักสัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ หรือ สังคหวัตถุ
คือ การแบ่งปันของที่มี พาทีเสนาะโสต บำเพ็ญประโยชน์ ดำรงตนมั่นคง การเปลี่ยนหรือเอาชนะคนอื่น จงเปลี่ยนเขาที่ความคิดและค่านิยมให้ถูกหลัก
คิดถูกต้อง(สัมมาทิฏฐ์)ก่อน หากปรับตั้งกระบวนทัศน์ให้ตรงกันแล้ว ย่อมไม่มีใครตั้งตัวเป็นศัตรูกับใคร ไม่มีใครตั้งตัวเป็นปฏิปักข์ฝักฝ่าย
เพราะมีแต่กัลยาณมิตร สังคมคงจะอบอวลด้วยกลิ่นไอแห่งน้ำมิตรไมตรี
นี่ต่างหากล่ะ
“พุทธชยันตื” สาระ คุณค่า นัยสำคัญต่อสังคมโลก.
ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
เขียนเมื่อ 2555 โพสต์ใหม่ 26 พฤษภาคม 2558
หนังสืออ้างอิง
พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์
ปฐมภาค.
พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1, ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 1 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, กูฏทันตสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ วาเสฏฐสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 7 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อักโกสกสูตรที่ 2.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 9 ทีฆนิกาย
สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 24 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 อุปาลีเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย
ธรรมบท, โลกวัคฺค ธัมฺมปท.
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม. 2544.
ราชบัณฑิตยสถาน.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2555.
อดิศักดิ์ ทองบุญ.
วิเคราะห์มหายัญในกูฏทันตสูตร,2547. และ http://www.mongkoltemple.com สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2555.
[2] องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก
โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174
International recognition of the Day of Visak.
[4] พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย ธรรมบท, โลกวัคฺค
ธัมฺมปท. ข้อ 38.
[8] พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 7 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, อักโกสกสูตรที่
2, ข้อ 631-633 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, วาเสฏฐสูตร, ข้อ 704-708.
[9] พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, วาเสฏฐสูตร, ข้อ
704-708.
[11] อดิศักดิ์
ทองบุญ, วิเคราะห์มหายัญในกูฏทันตสูตร, 2547. และ http://www.mongkoltemple.com
สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น