มูลกัมมัฏฐาน ผูกที่ 4
เรียบเรียงโดย พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
มูลกัมมัฏฐานผูกที่ 4 นี้ มี
จำนวน 48 หน้าลาน, เนื้อความจะไม่ต่อกับผูกที่ 1 ถึงผูกที่ 3
และคนจารคัดลอกก็เป็นอีกท่านหนึ่งในท้ายผูก 4
ก็ไม่บอกนามผู้จาร มีปรากฏแสดงไว้ ท้ายผูกที่ 5 ชื่อ “สุนันทภิกขุ” และข้อความของเรื่อง
จากผูกที่ 4
และผูกที่ 5 ก็ต่อกันไปเป็นเรื่องเดียวกัน
จากผูกที่ 4 จึงยืนยันได้ว่า “สุนันทภิกขุ” เป็นผู้แต่งทั้ง 2 ผูก
วิธีการอธิบายกัมมัฏฐาน ก็เป็นการนำเสนอวิธีปฏิบัติ เริ่มจากสมถภาวนา และ ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา นับตั้งแต่ การเริ่มพิธีกรรมในเบื้องแรกทั้งหมด ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง มีพลความคล้ายกับผูก ที่ 1-3
ผู้เรียบเรียงจะขอนำเสนอแบบย่อ ไม่พิสดารนัก ส่วนใดที่มีข้อความซ้ำกัน ก็จะขอละไว้ ไม่เก็บความทั้งหมด ส่วนใดเห็นว่า แปลกกว่าที่เคยเรียบเรียงมา ก็จะนำเสนอเอาไว้ พอเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ตามคำสอนของพระโบราณาจารย์ล้านนา มีสาระดังต่อไปนี้
1. ภาวนาอนุสสติกัมมัฏฐาน 3 (พุทธา ธัมมา และสังฆานุสสติ)
วิธีการอธิบายกัมมัฏฐาน ก็เป็นการนำเสนอวิธีปฏิบัติ เริ่มจากสมถภาวนา และ ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา นับตั้งแต่ การเริ่มพิธีกรรมในเบื้องแรกทั้งหมด ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง มีพลความคล้ายกับผูก ที่ 1-3
ผู้เรียบเรียงจะขอนำเสนอแบบย่อ ไม่พิสดารนัก ส่วนใดที่มีข้อความซ้ำกัน ก็จะขอละไว้ ไม่เก็บความทั้งหมด ส่วนใดเห็นว่า แปลกกว่าที่เคยเรียบเรียงมา ก็จะนำเสนอเอาไว้ พอเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ตามคำสอนของพระโบราณาจารย์ล้านนา มีสาระดังต่อไปนี้
1. ภาวนาอนุสสติกัมมัฏฐาน 3 (พุทธา ธัมมา และสังฆานุสสติ)
โยคาวจรผู้จะทำกัมมัฏฐาน นับแต่พุทธคุณ(พุทธานุสสติ) เป็นต้น นั้น ในเบื้องต้นควรชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน
โดยพระภิกษุ ควรชำระปาริสุทธิศีล 4 สามเณรควรชำระศีล
10 อุบาสกอุบาสิกา ควรชำระศีล 5 หรือ
ศีล 8 ตามระดับของตน
ให้จัดเตรียมเครื่องสักการบูชามีข้าวตอกดอกไม้ แบ่งเป็น 5
โกฐาก(ส่วน) ไว้ต่อหน้าพระพุทธเจ้า(พระพุทธรูป) เพื่อแสดงความเคารพ นั่งขัดสมาธิ
เอาปลายเท้าซ้าย ซุกเข้าข้างแข้งน่องข้างขวา
ให้ส้นเท้าข้าขวาชนหน้าแข้งข้างซ้าย
ให้หัวเข่าทั้ง 2 ติดอาสนะ ตั้งลำตัวให้ตรง เอามือขวาทับมือซ้าย
วางซ้อนกันบนหน้าตัก หลับตา ระลึกถึงพระพุทธคุณในใจว่า
“พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระธัมมเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า
พระสังฆเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า อาจารย์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า
กัมมัฏฐานของพระพุทธเจ้าทั้งมวล เป็นที่พึ่งแก่ข้า ข้าจักภาวนาพุทธคุณเจ้า
ให้ได้สมาธิ ในอิริยาบถอันข้านั่ง
ผิไม่ได้สมาธิ แม้ชิ้นบก(เหี่ยวแห้งไป) เลือดข้าแห้ง เท่ายังเหลือ
เอ็นคาดหนังอยู่ก็ดี ข้าก็จักภาวนาพุทธคุณเจ้าให้ได้ปีติสมาธิ
ขอจงให้สำเร็จแก่ข้า”
หลังจากนั้น ก็สาธยาย พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ (อิติปิ โส ภควา ....
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม....สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ...อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ
โลกสฺสาติ) ว่าตามลำดับ หรือจะว่า พุทธคุณ
9 ห้อง เช่น
“อิติปิ โส ภควา อรหํ, อิติปิ โส ภควา สมฺมาสมฺพุทฺโธ, อิติปิ โส ภควา
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, อิติปิ โส ภควา สุคโต, อิติปิ โส ภควา โลกวิทู, อิติปิ โส ภควา
อนุตฺตโร, อิติปิ โส ภควา ปุริสทมฺมสารถิ, อิติปิ โส ภควา สตฺถา เทวมนุสฺสานํ,
อิติปิ โส ภควา พุทฺโธ, อิติปิ โส ภควา ภควา” ก็ได้ ถ้าแปลได้ก็ว่าคำแปลด้วย
(การถอดคำแปล ในสาระจากเอกสารนี้ จะเป็นการยืดยาวเกินไป
ผู้ประสงค์จะรู้ความหมาย โปรดอ่าน รายละเอียดจากฉบับปริวรรตที่แนบท้ายนี้เถิด :
ผู้เรียบเรียง)
1.1 บทภาวนาพุทธานุสสติ และอารมณ์กัมมัฏฐาน
หลังจากภาวนาพุทธคุณ “อิติปิ โส พุทฺโธ ภควาติ”จบแล้ว จะภาวนาเป็นบท
ๆ ไปนั้น มีวิธีภาวนาและอารมณ์ ดังนี้
เมื่อภาวนาบทว่า “อรหํ” ให้น้อมเอาอรหัตตมัคค อรหัตตผล
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า
“อรหํ ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “สมฺมาสมฺพุทฺโธ” ให้น้อมเอาสัพพัญญูตัญญาณเป็นอารมณ์
เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “สมฺมาสมฺพุทฺโธ ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ให้น้อมนำวิชชา /ปัญญา /
ญาณ 8 ประการ มี วิปัสสนาญาณ,
(สัมมสนญาณ อุทยวยญาณ มุญจิตุกัมยตา ปฏิสังขารญาณ
สังขารุเปกขญาณ) อนุโลมญาณ, มโนมยิทธิญาณ, อิทธิวิธีญาณ, ทิพพโสตญาณ,
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ,
ปรจิตตวิชานนญาณ, อาสวักขยญาณ,
และจรณะ 15 มี สีลสังวร,
อินทรียสังวร, โภชเน มัตตัญญุตา, ชาคริยานุโยค, สัทธา,
หิริ, โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, วิริยะ, สติ,
ปัญญา, และ รูปฌาน 4 (ตามจตุกกนัย)
มาเป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “สุคโต” ให้น้อมเอามัคคญาณทั้ง 4 หรือ
สัพพัญญูตัญญาณเป็นอารมณ์แล ให้เจริญภาวนาว่า “สุคโต ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “โลกวิทู” ให้น้อมนำทศพลญาณมาเป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ
ให้เจริญภาวนาว่า “โลกวิทู ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “อนุตฺตโร” ให้น้อมเอาพุทธคุณทั้งหมด
เป็นต้นว่าอรหัตตมัคคญาณ สัพพัญญูตัญญาณเป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “อนุตฺตโร ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “ปุริสทมฺมสารถิ” ให้น้อมเอา อสาธารณญาณ 6 ประการ
มี มหากรุณาสมาบัติญาณ ยมกปฏิหาริยญาณ
อินทรียปโรปริยัติญาณ อาสยานุสสติญาณ อนาวรณญาณ สัพพัญญูตัญญาณ เป็นอารมณ์
เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า
“ปุริสทมฺมสารถิ ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ” ให้น้อมเอา อิทธิวิธีญาณ เทสนาญาณ อสาธารณญาณ 3
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “พุทฺโธ”
ให้นำเอามัคคญาณ และ สัพพัญญูตัญญาณ เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ
ให้เจริญภาวนาว่า “พุทฺโธ ๆ”
เมื่อภาวนาบทว่า “ภควา”
ให้นำเอา บารมี 30 ทัศ อรหัตตผละ สัพพัญญูตัญญาณ เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจให้
เจริญภาวนาว่า “ภควา ๆ”
1.2 บทภาวนาธัมมานุสสติ และอารมณ์กัมมัฏฐาน
หลังจากภาวนาธรรมคุณ 6 ประการ
ว่า “สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ”จบแล้ว จะเจริญเป็นบท ๆ ให้นำคำว่า “ธมฺโม”
มาต่อท้ายธรรมคุณทุกบท
มีวิธีภาวนาและอารมณ์ ดังนี้
เมื่อภาวนาบทว่า “สฺวากฺขาโต ภคตา ธมฺโม” ให้น้อมเอา โลกุตรธรรม 9
(มัคค์ 4 ผล 4 และนิพพาน
1) และปริยัติธรรมอีก 1 รวมเป็น 10
อย่าง เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “สฺวากฺขาโต ภคตา
ธมฺโม ๆ ”
เมื่อภาวนาบทว่า “สนฺทิฏฺฐิโก
ธมฺโม” ให้น้อมเอา โลกุตรธรรม 9
(มัคค์ 4 ผล 4 และนิพพาน
1) เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า
“สนฺทิฏฺฐิโก ธมฺโม ๆ ”
เมื่อภาวนาบทว่า “อกาลิโก
ธมฺโม” ให้น้อมเอา มัคคญาณ 4
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “อกาลิโก ธมฺโม ๆ ”
เมื่อภาวนาบทว่า “เอหิ ปสฺสิโก
ธมฺโม” ให้น้อมเอา โลกุตรธรรม 9
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “เอหิ ปสฺสิโก ธมฺโม ๆ ”
เมื่อภาวนาบทว่า “โอปนยิโก
ธมฺโม” ให้น้อมเอา โลกุตรธรรม 9
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจให้ เจริญภาวนาว่า “โอปนยิโก ธมฺโม ๆ ”
เมื่อภาวนาบทว่า “ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ ธมฺโม วิญฺญูหิ ” ให้น้อมเอา โลกุตรธรรม 9
เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ ธมฺโม วิญญูหิ ๆ ”
1.3 บทภาวนาสังฆานุสสติ และอารมณ์กัมมัฏฐาน
เมื่อภาวนาสังฆคุณ 9 ประการ ว่า “สุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส
ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ
ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ” จบแล้ว จะเจริญเป็นบท ๆ มีวิธีภาวนาและอารมณ์ ดังนี้
ในเจริญสังฆานุสสติ ทั้ง 9 บท เมื่อภาวนาบทใดบทหนึ่ง
เช่น “สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” ให้น้อมเอา มัคค์ 4 และ
ผล 4 เป็นอารมณ์ เข้ามาไว้ในใจ ให้เจริญภาวนาว่า “สุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ ๆ” เป็นต้น และสังฆคุณอีก 8 บทที่เหลือ
ให้น้อมเอา มัคค์ 4 และ ผล 4 เป็นอารมณ์
เหมือนกันหมด ต่างแต่คำภาวนา
ผู้เขียนมูลกัมมัฏฐาน แต่งคำแปลสังฆคุณไว้
จะขอนำมาพอเป็นตัวอย่างดังนี้
1)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือ
หมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนพระพุทธเจ้าปฏิบัติดีนัก อันควรแก่โลกุตตรธรรมดีหลี
2)
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือ
หมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนพระพุทธเจ้าปฏิบัติซื่อนัก
เหตุสังฆะปฏิบัติเพื่อให้ละเสียยังอันคดด้วยตน(กาย) ด้วยปาก(วาจา) ด้วยใจแล
3)
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือ
หมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้า ปฏิบัติเพื่อผะโยชนะนิพพานสิ่งเดียว
4)
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือ หมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้า
ปฏิบัติควรครบควรยำยิ่งนัก(ควรเคารพยำเกรง)
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อันว่าคุณแห่งปุริสะ 4 อันฝูงใดชา คือ
ผู้ตั้งอยู่ใน โสตาปัตติมัคคะ ในโสตาปัตติผละ เป็นคู่หนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในสกิทาคามิมัคคะ ในสกิทาคามิผละ เป็นคู่หนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมัคคะ
ในอนาคามิผละ เป็นคู่หนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมัคคะ
ในอรหัตตผละเป็นคู่หนึ่งแล ยทิทํ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
บุคคล 8 จำพวกฝูงใดชา คือ บุคคลอันตั้งอยู่ในมัคคะ 4 อันตั้งอยู่ในผละ 4
5)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือหมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนพระพุทธเจ้าอันเป็นคู่
4 อัน อันเป็นบุคคล 8 จำพวกนั้น
“อาหุเนยฺโย” อันควรรับเอาทานอันคนแลเทวดานำมาแต่ไกลแลให้
6)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
สังฆะคือหมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าอันเป็นคู่ 4 อัน อันเป็น บุคคล 8
จำพวกนั้น “ปาหุเนยฺโย”
อันควรรับเอาทานอันคนทั้งหลายแต่งไว้แก่คนฝูงมาเป็นแขก
7)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
สังฆะคือหมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าอันเป็นคู่ 4 อัน อันเป็นบุคคล 8
จำพวกนั้น “ทกฺขิเณยฺโย”
อันควรรับเอาทานแห่งคนแลเทวดาอันเชื่อปรโลกภายหน้าแล้วแลให้
8)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะ คือ
หมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าอันเป็นคู่ 4 อัน อันเป็นบุคคล 8 จำพวกนั้น
“อญฺชลีกรณีโย” อันควรเซิ่งกัมม์อันคนแลเทวดายอมือไว้ทั้ง 2
ตั้งไว้ในหัวแล้วแลไหว้นบครบยำ
9)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ สังฆะคือหมู่แห่งสาวกอันฟังคำสอนพระพุทธเจ้าอันคู่
4 อัน อันเป็นบุคคล 8 จำพวกนั้น
“อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส” อันเป็นที่เกิดแห่งบุญเป็นดังนาเป็นที่เกิดแห่งข้าวกล้า
อันอุตตมะดีนักแก่โลกทั้งมวล
สรุปคุณแห่งสังฆะ มี 9 บท คือ 1)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 2) อุชุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ 3) ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 4) สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 5) อาหุเนยโย สงฺโฆ 6) ปาหุเนยโย สงฺโฆ 7) ทักขิเณยโย สงฺโฆ 8) อัญชลีกรณีโย สงฺโฆ 9) อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
2. การเจริญภาวนาเมตตา พรหมวิหารธรรม
โยคาวจรผู้จะเจริญเมตตา ให้ทำพิธีเหมือนที่กล่าวมา ตั้งจิตภาวนาแผ่เมตตา
ในตนก่อนแล้ว จึงแผ่แมตตาในสรรพสัตว์ แผ่เมตตาสำหรับตนให้ว่า “อหํ สุขิโต โหมิ
นิทฺทุกฺโข” 3 หน ว่า “อหํ สุขํ(สุโข)” ไปเรื่อย ๆ แผ่เมตตาแก่สัตว์ “สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ”
3 หน “สตฺตา สุขี” 3 หน ภาวนาว่า
“สัตว์สุข สัตว์สุข” ไปตลอดเวลาที่ปฏิบัติเถิด
3. การเจริญวิสุทธิ 7
และวิปัสสนาญาณกัมมัฏฐาน (ถึงญาณที่ 1 อุทยัพยญาณ)
3.1 พิธีขึ้นกัมมัฏฐาน เริ่มจากสถมภาวน ได้อุปจารสมาธิแล้ว ปลงสมถกัมมัฏฐาน ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนา ตามลำดับ
3.1 พิธีขึ้นกัมมัฏฐาน เริ่มจากสถมภาวน ได้อุปจารสมาธิแล้ว ปลงสมถกัมมัฏฐาน ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนา ตามลำดับ
ในเบื้องต้น พระภิกษุผู้จะปฏิบัติ
ประกอบพิธีกรรมในเบื้องต้นตามที่กล่าวมาในการเจริญภาวนา จัดท่านั่งให้เป็นสัปปายะแล้ว
ภาวนาสมถกัมมัฏฐาน คือ พุทธานุสสติกัมมัฏฐาน หรือ เมตตากัมมัฏฐานไปก่อน
พอให้เกิดอุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิแล้ว ให้ปลงสมถกัมมัฏฐานเอาไว้
ประครองอัญชุลีขึ้นเหนือศีรษะ รำลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่งว่า “อปฺปมาโณ พุทฺโธ
อปฺปมาโณ ธมฺโม อปฺปมาโณ สงฺโฆ
ต่อด้วย พุทฺโธ เม นาโถ ฯลฯ
กมฺมฏฺฐานทายกาจริโย เม นาโถ” แล้วอธิษฐาน
“ขอให้ ขอให้ทิฏฐิวิสุทธิญาณ กังขาวิตรณ วิสุทธิญาณ
และวิปัสสนาญาณ จงเกิดเป็นไปในกายและจิตแห่งข้า ในอิริยาบถที่ปฏิบัตินี้”
จบการอธิษฐานแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพิจารณา ร่างกายที่ปฏิกูลด้วยอาการ
32 ไม่มีสัตว์และบุคคล จำแนกส่วนประกอบ
เป็นขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 สรุปแล้ว
ได้แก่นามรูป นามรูป 2 ประการ จัดเป็นเพียงกองสังขารกองเดียว
(อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน เหมือนกับที่กล่าวผูกก่อนหน้านี้ เข้าใจว่า ผูกที่ 4 นี้ คนเขียน เพื่อสรุปหลักปฏิบัติกัมมัฏฐาน เนื้อหาจึงไม่ต่อเนื่องจากผูกก่อน และวิธีการปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติไม่แตกต่างในหลักการมากนัก จะขอนำเสนอเฉพาะส่วนที่เห็นว่า แตกต่างจากผูกก่อนหน้านี้ ดังต่อไปนี้)
3.2 อุทยัพพยญาณ/อุทยวยญาณ(ปัญญากำหนดทันการเกิดและการดับของรูปนาม)
(อารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน เหมือนกับที่กล่าวผูกก่อนหน้านี้ เข้าใจว่า ผูกที่ 4 นี้ คนเขียน เพื่อสรุปหลักปฏิบัติกัมมัฏฐาน เนื้อหาจึงไม่ต่อเนื่องจากผูกก่อน และวิธีการปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติไม่แตกต่างในหลักการมากนัก จะขอนำเสนอเฉพาะส่วนที่เห็นว่า แตกต่างจากผูกก่อนหน้านี้ ดังต่อไปนี้)
3.2 อุทยัพพยญาณ/อุทยวยญาณ(ปัญญากำหนดทันการเกิดและการดับของรูปนาม)
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณารูปนาม ตามกรอบของไตรลักษณะ (อนินจัง ทุกขัง
อนัตตา) จนเห็นการเกิดและการดับของรูปนามชัดเจน เรียกว่า เกิดวิปัสสนาญาณที่ 1 ชื่อ อุทยัพยญาณ พิจาณาต่อเนื่องไปก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในกองสังขาร
เรียกว่า เกิดนิพพิทาญาณ ที่เป็นกำลังแก่วิปัสสนา
พิจารณารูปและนามเป็นอารมณ์ต่อไป ก็จะเกิด สันติปทญาณ [1]
3.3 ตรุณวิปัสสนาญาณ(วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน(อุทยวยญาณ ดวงแรก) เมื่อเกิดแล้วจะได้ประสบกับอุปกิเลสของวิปัสสนา 10 ประการ
เมื่อโยคาวจร พิจารณารูปและนามเป็นอารมณ์ต่อไป พร้อมกันนั้น ก็จะเกิด สันติปทญาณ [1] และจักได้เห็นอัศจรรย์ 10 จำพวก คือว่า อุปกิเลส 10 ตัว อันเกิดขึ้นมา และ(รู้สึก)สุขสำราญบานใจ
3.3 ตรุณวิปัสสนาญาณ(วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน(อุทยวยญาณ ดวงแรก) เมื่อเกิดแล้วจะได้ประสบกับอุปกิเลสของวิปัสสนา 10 ประการ
เมื่อโยคาวจร พิจารณารูปและนามเป็นอารมณ์ต่อไป พร้อมกันนั้น ก็จะเกิด สันติปทญาณ [1] และจักได้เห็นอัศจรรย์ 10 จำพวก คือว่า อุปกิเลส 10 ตัว อันเกิดขึ้นมา และ(รู้สึก)สุขสำราญบานใจ
ลักษณะของอุปกิเลส 10 ตัว ภาษาบาลีว่า “โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกฺโข
ปคฺคโห สุขํ ญาณํ อุปฏฺฐานํ อุเปกฺขา จ นิกฺกนฺติ จ”
คำอธิบายโดยย่อของอุปกิเลสแต่ละอย่าง มีดังนี้
คำอธิบายโดยย่อของอุปกิเลสแต่ละอย่าง มีดังนี้
1) โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง คือ รัสมีอันปรากฏแจ้งรุ่งเรืองต่าง ๆ
เกิดแต่วิปัสสนาจิตตุบาท เห็นแจ้งในญาณ บางทีลืมตาอยู่ก็ยังเห็นได้
2) ปีติ ความอิ่มใจ มี 5 ประการ ดังบาลีว่า
“ขุทฺทกา โลมหํสญฺจ ขณิกา
วิชฺชุลตา ตถา
โอกฺกนฺติกา อุมฺมเวโค ว อุพฺเพงฺคา
กายลงฺฆกา
ผรณา ปริปุปฺปาเจว ปญฺจธา
ปีติโย มตา ฯ
(1) ขุททกาปีติ โลมหํสญฺจ เกิดขนสยอง เส้นขนลุกเยือก ๆ
(2) ขณิกาปีติ เกิดพอมีความยินดีแว้บเดียวแล้วหายไป ดังสายฟ้าแลบ
(3) โอกฺกนฺติกาปีติ ยินดีพอซาบทั่วตนทั้งมวล ยินดีชื่นบานใจมากนัก
เป็นดังระลอกคลื่นมหาสมุทรที่สาดซัดฝั่งเป็นระยะ
(4) อุพฺเพงฺคาปีติ ความยินดีมีกำลังขึ้นมากนัก
พอให้ตนลอยไปในอากาสได้ทีเดียว
(5) ผรณาปีติ ความยินดีซาบทั่วตนทุกแห่ง
เกิดความสุขสำราญบานใจหาที่อันจักเปรียบเทียมได้
3) ปสฺสทฺธิ ความสงบ 2
ประการ คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
และธัมมยุคคละอีก 5 คือ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายอุชุกตา จิตตอุชุกตา
ก็เกิดขึ้นมาพร้อมกัน (โปรดดูคำอธิบายชุดธรรมคู่ที่กล่าวมาในผูกก่อน ๆ)
4) อธิโมกฺโข คือ สัทธาปสาทอันมีกำลังมากกว่าทุกวัน
5) ปคฺคโห คือ
ความเพียรอันเสมอดีนัก ในวันนั้นพอใจในกัมมัฏฐานมากกว่าทุกวัน
6) สุขํ คือ
ความสุขอันประณีต ที่ไม่เคยได้พบมาก่อน
7) ญาณํ คือ วิปัสสนาญาณ
ยามนั้นหากกล้า หากมีผลมากนัก พิจารณาสังขารธรรมลักขณะก็ปรากฏ
เห็นแจ้งไตรลักษณ์ประจักษ์ชัดกว่าทุกวัน
8) อุปฏฺฐานํ คือ
สติอันกล้าคมนัก อาจระลึกรู้กิจที่ทำแล้วสิ้นกาลนานเป็นอเนกชาติก็ได้
9) อุเปกขา คือ การตั้งอยู่ด้วยอาการไม่ยินดียินร้ายไม่รักไม่ชังในสัตว์และสังขารธรรมทั้งภายในและภายนอก
10) นิกฺกนฺติ คือ ตัณหาอันละเอียดนัก
อันเกิดเป็นด้วยความรักยินดีในกัมมัฏฐานมากในวันนั้น มีความสุขสำราญบานใจนัก
จะให้นั่งภาวนาตลอดคืนยันรุ่ง ตลอดวันยันค่ำก็ได้
ไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายต่อกัมมัฏฐาน
โยคาวจรหากได้พบสุขอันสำราญบานใจมากนักแทบจะหาที่เทียมไม่ได้เช่นนี้
ก็จะเข้าใจว่า ตนได้บรรลุมัคคผละธรรม หยุดเสีย ไม่ภาวนาต่อไป ธรรม 10 ตัว จึงชื่อว่าวิปัสสนูปกิเลส
เหตุเข้ามาเป็นอารมณ์แก่คาหะ(การถือมั่น 3
ตัว ได้แก่ ตัณหาคาหะ มานคาหะ และ
ทิฏฐิคาหะ ถ้ายังไม่หน่ายธรรม 10 ตัวนี้ ก็จะนิ่งติดคาอยู่ที่นั้น ไม่เจริญต่อไปได้
จงอธิษฐานให้หน่ายต่ออุปกิเลส 10 ดังที่อธิบายในผูกก่อนหน้านี้แล้ว
ในตอนท้ายมูลกัมมัฏฐานผูกที่ 4 นี้ จึงได้บอกว่า ทั้งหมดที่เขียนไว้
เป็นขั้นตอนปฏิบัติวิปัสสนาญาณที่ 1 อุทยวยญาณอุปกิเลส (จบเนื้อหาผูกที่ 4)
มูลกัมมัฏฐาน ผูกที่ 5
มูลกัมมัฏฐานผูกที่ 5 นี้ มีจำนวน 40
หน้าลาน จะอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนาญาณ ต่อจากผูกที่ 4 ซึ่งจบลงที่วิปัสสนูปกิเลสในช่วงหลังจากได้ผ่านวิปัสสนาญาณที่
1 คือ เกิด อุทยัพพยญาณ ท้าวความถึงตอนอธิษฐานให้หน่ายจากวิปัสสนูปกิเลส จะได้เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับ ดังต่อไปนี้
1. ภาวนาให้เกิดอุทยวยญาณ ดวงที่ 2 ระดับที่ญาณแก่กล้ากว่าลำดับแรก เพื่อข้ามพ้นวิปัสสนูปกิเลส
โยคาวจรผู้จะภาวนาญาณต่อไป แต่อุปกิเลสยังอยู่ อาจเป็นเพราะสมภาร(บารมี) และอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า จึงวางอุปกิเลสไม่ตก อินทรีย์ยังอยู่เสวยอุทยวยญาณดวงต้น
ไม่ข้ามไปเสวยอุทยวยญาณระดับที่สูงขึ้นไป
วิสุทธิญาณ 2 ดวง ก็ไม่อาจเกิดได้ ญาณ 9 ดวง ก็จะไม่เกิดขึ้นได้
ผู้ปฏิบัติจงหมั่นภาวนา อบรมให้อินทรีย์แก่กล้า แล้วอุปกิเลส 10 ตัว ก็จะระงับดับหายไป เมื่อนั้น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ 2 ดวง ก็จะเกิดได้ เมื่อวิสุทธิญาณ 2
ดวงเกิดแล้ว วิปัสสนาญาณ 9 ดวง ก็จะเกิดขึ้นตามดับ(และส่งให้ถึง มัคคญาณ
ที่ตัดกิเลสได้เด็ดขาด) ดังนี้
1) อุทยวยญาณ คือ ปัญญาพิจารณาเห็นการเกิดและดับแห่งนามรูปอย่างชัดแจ้ง(ดวงที่ 2)
2) ภังคญาณ คือ ปัญญาพิจารณาเห็นความดับของรูปนาม (ในต้นฉบับจารผิดเป็น
ญาณเห็นภัยภวะในสงสาร) อย่างชัดแจ้ง
3) ภยญาณ คือ ปัญญาพิจารณาเห็นและสดุดตกใจกลัวแต่ภัยในสงสารอย่างชัดแจ้ง
4) อาทีนวญาณ คือ ปัญญาดวงพิจารณาเห็นนามรูปว่า เป็นโทษมากนัก
5) นิพพิทาญาณ คือ ปัญญาที่หน่ายในนามรูปและภัยในสงสารทั้งมวลอยู่ตลอดเวลา
6) มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญาพิจารณาเห็นว่า นามรูปอันนี้เป็นโทษมาก อยากจะพ้นจากนามรูปอันนี้อยู่ตลอดเวลา
7) ปฏิสังขาญาณ คือ
ปัญญาพิจารณาเห็นอุบายที่จะทำให้พ้นจากสงสารอย่างชัดแจ้งแท้
8) สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญาพิจารณาวางเฉย ไม่รัก ไม่ชัง
ไม่ยินร้ายไม่ยินดีในสังขารธรรมภายนอกภายในสักอัน
9) อนุโลมญาณ คือ ปัญญาพิจารณานามรูปที่คล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ
(ต้นฉบับไม่ได้แปลไว้ แต่บอกว่า
ปัญญาพิจารณาเห็นมีอภาวะมาก มีกำลังมากนัก ซึ่งไม่สื่อความอะไร)
เมื่อวิปัสสนาญาณ
9
ดวงเกิดครบแล้ว ต่อไป โคตรภูญาณ คือ
ปัญญาที่ละนามรูปแต่น้อมนิพพานมาเป็นอารมณ์(ภาษาปากว่า ญาณที่เกิดในระหว่าง
จะข้ามพ้นจากความเป็นปุถุชน สู่ความเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ระดับ โสดา ถึง
อรหันต์ หรือ ญาณตัดโคตร ปุถุชุน) และ โสตา(ปัตติ)มัคคญาณ ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
ตัดกิเลส 3 ตัวเบื้องต่ำ[2]ได้เด็ดขาด
ก็เกิดในลำดับต่อมา
ข้อสังเกต
โยคาวจรผู้ใด ภาวนาเอาปัญญา ชื่อว่า อุทยวยญาณลูกปลาย(ระดับกล้า) ถ้าไม่พบอุปกิเลส
10 ตัว โยคาวจรผู้นั้น ได้ชื่อว่า
อารัทธวิปัสสโก(ผู้มุ่งปฏิบัติวิปัสสนา)
ครั้นยังไม่บรรลุมัคคผละในชาตินี้ ก็จักเป็น “ขิปปาภิญญา”
(ผู้เกิดญาญรู้เร็ว) ในศาสนาของพระสัพพัญญูองค์ภายหน้าแน่นอน
ขอจงอย่าถอยความเพียรเสีย
2. ภังคญาณ และ การภาวนา
โยคาวจรผู้จะภาวนาเอาปัญญาภังคญาณ
ให้พิจารณา(นามรูปตามไตรลักษณ์ นับแต่ อนิจจา ความไม่เที่ยง ถึง อนัตตา
ความไม่มีตัวตน” ดังเช่น คำภาวนา ในข้อ
“อนิจจัง” ว่า
“นามรูปํ
อนิจฺจํ ขยตฺเถน สาธุ นิจฺจํ วต นิพฺพานํ ฯลฯ สาธุ สารํ วต นิพฺพานํ” 3 หน แล้วบริกรรม “นามรูปํ อนิจฺจํ” ไปเรื่อย 40 หน
50 หน
พิจารณาโวหาร(คำอธิบาย)ว่า
“นามรูปํ” นามรูปแห่งกูอันกว้างศอกยาววาหนาคืบมือหนึ่งนี้
อันเท่ารู้ตาย(มีความตายเป็นธรรมดา) ด้วยภัยยะทั้งหลาย คือ หอก ดาบ ก้องนาด(ปืน)
หากฆ่าให้ตาย อนิจฺจํ มันไม่หมั้นไม่เที่ยงแก่กูแท้แล อันหมั้นอันเที่ยงแท้นั้น
เท่ามีนิพพานเจ้าสิ่งเดียวแล “สาธุ นิจฺจํ วต นิพฺพานํ”
อันว่านิพพานเจ้าอันไม่รู้เฒ่าไม่รู้ตายนั้น หมั้นเที่ยงแท้สิ่งเดียวแล
นามรูปแห่งกูอันเท่ารู้ตายด้วยภัยยะทั้งหลาย คือ สัตว์ต้องตายนี้
ไม่หมั้นไม่เที่ยงสักอันแก่กูแท้แล” (หมายเหตุ
โวหารอธิบายนามรูปตามไตรลักษณะจะไม่แตกต่างกันในเบื้อ้งต้น เพียงแต่ต่างกันที่
ข้อธรรมพิจารณา) ในลักษณะที่ เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา จะละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
โยคาวจรผู้ภาวนาภังคญาณ
“ทุกขัง” ให้พิจารณาว่า “นามรูปํ ทุกฺขํ ไป 40 หน 50 หน ...
นามรูปแห่งกูอันเท่ารู้ตาย(มีความตายเป็นธรรมดา) ด้วยภัยยะทั้งหลาย หากฆ่าให้ตาย
เท่าเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ทั้งมวล ไม่ใช่สุขสักอันแก่กูแท้แล”
โยคาวจรผู้ภาวนาภังคญาณ
“อนัตตา” ให้พิจารณาว่า “นามรูปํ อนตฺตา
ไปเรื่อยๆ 40 หน 50 หน ...
อันว่านามรูปแห่งกู... ไม่ใช่แก่นไม่ใช่สาร ไม่ใช่ตนไม่ใช่ใจแก่กู”
3. วิปัสสนาญาณที่เหลือ (อาทีนวญาณ -สังขารุเปกขาญาณ) และการภาวนา
3. วิปัสสนาญาณที่เหลือ (อาทีนวญาณ -สังขารุเปกขาญาณ) และการภาวนา
โยคาวจรผู้ภาวนา
ญาณที่เหลือ มี อาทีนวญาณ, นิพพิทาญาณ,
มุญจิตุกัมยตาญาณ, ปฏิสังขาญาณ, สังขารุเปกขาญาณ, ให้พิจารณาครบอาการของไตรลักษณ์
ให้เห็น โทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากจะให้หลุดพ้นไป และแสวงหาทางเพื่อความหลุดพ้น
เมื่อไม่พ้นก็ถึงญาณที่วางใจเป็นกลางในนามรูป ไม่ยินดียินร้าย
อาจจะทำให้ไม่อยากทำกัมมัฏฐานต่อ พระอาจารย์กัมมัฏฐาน แนะนำให้กระทำเพียรเคร่งเข้าไปอีก
ก็จะไม่ยินดีความสุขในภพทั้ง 3 และไม่ยินร้ายความทุกข์ในอบายภูมิเลย
แต่จิตใจกลับยินดีในนิพพาน อันเป็นสุขยิ่งกว่าสุขทั้งมวล เมื่อสภาวะญาณเกิดขึ้งมาอย่างนี้สม่ำเสมอแล้ว
จงรู้ตนเองเถิดว่า ปัญญาแก่กล้าแล้ว มองในด้านสมาธิ
ก็เกิดแต่พื้นเท้าจรดศีรษะ ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ตรงนี้ โยคาวจร
ควรใส่ใจในกัมมัฏฐาน พิจารณาดูสังขารให้เห็นแจ้ง ปรับ(อินทรีย์)ให้ศรัทธาและ ปัญญา
เกิดเสมอกัน
อย่าให้ศรัทธาเอานิพพานเป็นอารมณ์แรงเกินไป สมาธิก็จะแปรเป็น
“อุปสมานุสสติสมถสมาธิ”ไป จงค่อย ๆ น้อมเอานิพพานเป็นอารมณ์บ้าง
แต่ต้องพิจารณาสังขารให้เห็นสภาวธรรมแจ่มแจ้ง ให้ปัญญาแก่กล้าขึ้นมา
ครั้นสังขารุเปกขาญาณเกิดในสันดานของโยคาวจรใด
ก็จะเป็นปัจจัยแก่ อนุโลมญาณ
4. อนุโลมญาณ (หรือ สัจจานุโลมิกญาณ) คือ เมือวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณ แล่นมุงตรงนิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมจะเกิด,พระธรรมปิฎกม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม(2540) 296.
4. อนุโลมญาณ (หรือ สัจจานุโลมิกญาณ) คือ เมือวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณ แล่นมุงตรงนิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมจะเกิด,พระธรรมปิฎกม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม(2540) 296.
เมื่ออนุโลมญาณเกิดขึ้น
ก็จะเป็นปัจจัยแก่โคตรภูญาณ
ถัดจากโคตรภูญาณเกิดแล้ว
มัคคญาณก็เกิดขึ้น สภาวธรรมขั้นโลกุตระนี้ ไม่กลับกลายแปรเปลี่ยน
เสื่อมถอย ตราบต่อเท่าเข้าไปสู่ขันธะปรินิพพาน
5. โคตรภูญาณ
5. โคตรภูญาณ
เงื่อนไขที่โคตรภูญาณ และ
มัคคญาณไม่เกิดแก่โยคาวจรบางคน
เมื่อพิจารณานามรูป ตามลักษณะทั้ง 3 คือ อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ
อนัตตลักขณะ ได้วิปัสสนาญาณตามลำดับถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว
สมถสมาธิที่เกิดมาตั้งแต่ภาวนาพุทธคุณ เมตตาภาวนานั้น
ครั้นภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
วิปัสสนาสมาธิก็เกิดขึ้นมา ทั้งสมถและวิปัสสนาสมาธิทั้ง 2 นี้
เป็นโลกิยสมาธิ เมื่อมีสมาธิมากก็จะติดสมาธิ จิตจะนิ่งสงบ ไม่อาจยกจิตขึ้นภาวนาบริกรรมว่า
“นามรูปํ อนิจฺจํ นามรูปํ ทุกฺขํ นามรูปํ อนตฺตา” ต่อเนื่องไป
เมื่อจิตตกสู่สมาธิ ก็จะภาวนาไม่ได้
ขาดความต่อเนื่องสิ้นเวลาประมาณเคี้ยวหมากแดงคำหนึ่งแล้ว จึงหายใจได้แล้ว
เกิดความรู้ตัว ติดเอานิพพานเป็นอารมณ์
ยินดีในนิพพานอยู่ ก็เลยไม่อยากภาวนาต่อ
ก็จะละวางกัมมัฏฐานเสียเพราะสมาธิเกิดแรงมาก โยคาวจรก็ไม่สมารถปรับความเสมอกันของคู่อินทรีย์ (สมาธิ ต้องเสมอกับ วิริยะ และ ปัญญา
ต้องเสมอกับ ศรัทธา) เป็นเหตุไม่ให้ โคตรภูญาณ และมัคคญาณเกิด
แต่ก็จะเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุโลกุตรธรรม ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ที่จะมาตรัสรู้ต่อไปภายหน้า
ในช่วงกลางของเอกสาร
ดูเหมือนจะกลับมากล่าวถึงลำดับการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ย้อนขั้นตอน
และเสริมด้วยบทสวดบริกรรมยาวๆ
และมาสิ้นสุดถึงตอนอธิบายปีติ 5 ประการ
ผู้เรียบเรียงเห็นว่า เยิ้นเย้อเกินไป จึงไม่นำมากล่าวซ้ำอีก
6. ลักษณะของที่จงกรม และการเดินจงกรม มี 2 ประเภท
วิธีการเดินจงกรมน้อย
ทางสำหรับเดินจงกรมขนาดเล็ก
มีความยาว 15 วา หรือมากกว่านั้นก็ดี ความกว้าง 1 คืบ 8 นิ้วมือขวาง ก่อนจะเดินจงกรม อาบน้ำชำระตนให้สะอาดเสียก่อน เมื่อจะเริ่มเดินจงกรม
จงปูชาพระแก้วเจ้าทั้ง 5 จำพวก ด้วยเครื่องสักการะมีข้าวตอกดอกไม้ 5 โกฐาก และขอขมา กราบ 3 หน ตั้ง นโม 3 จบ (ไตร)สรณคมน์ 3 จบ แล้วว่า
“พุทฺธํ
ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ” 3 หน ทั้ง 3 บั้น (ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ
สรณํ คจฺฉามิ, สงฺฆํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ
สรณํ คจฺฉามิ)
แล้วว่า
“นมามิ พุทฺธํ คุณสาครนฺตํ
นมามิ
ธมฺมํ มุนิราชเทสิตํ
นมามิ
สงฺฆํ มุนิราช สาวกํ
นมามิ
กมฺมฏฺฐานํ นิยฺยานิกํ
นมามิ
กมฺมฏฺฐานทายกาจริยํ คุณาติเรกํ”
ว่า
“อิติปิ โส...(พุทธคุณ) สฺวากฺขาโต...(ธรรมคุณ) สุปฏิปนฺโน...(สังฆคุณ) ...
อเนกชาติ สํสารํ ... ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาติ (พุทธอุทานคาถา)” 3 หน
ปูชาที่จงกรม 3 แห่ง คือ ที่ ด้านหัว ด้านกลาง และด้านท้าย
อธิษฐานดิน(ที่จงกรม)ว่า
“อิมํ ปถวียํ อทิฏฺฐามิ” 3 หน
อธิษฐาน(การปฏิบัติ)จงกรมว่า
“อิมํ จงฺกมํ อทิฏฺฐามิ” 3 หน
แล้วลุกเดินไป
พร้อมกับบริกรรมว่า “ม อ อุ สิวํ ภุมฺมํ ม
ทุกฺขํ อ อนิจฺจํ อุ อนตฺตา พุทฺโธ จงฺกมํ เสฏฺฐํ ธมฺโม ปาปํ วินาสนฺตุ รูปขนฺโธ
เวทนาขนฺโธ สญฺญาขนฺโธ สงฺขารขนฺโธ วิญฺญาณขนฺโธ อนิจฺโจ นิจฺจํ (นิพฺพานํ) ทุกฺโข
สุขํ นิพฺพานํ, นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
อิติปิ อรหํ เตรส สงฺฆาทิเสสา
ธมฺมา เทฺว อนิยตา ธมฺมา ตึส นิสฺสคฺคียา ปาจิตฺตียา ธมฺมา ทฺวานวุตฺติ ปาจิตฺตียา
ธมฺมา จตฺตาโร ปาฏิเทสนิยา ธมฺมา ปญฺจสตฺตติ เสขิยา ธมฺมา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา
สงฺขารวูปสโม ปรโม ชีวิตํ อธุวํ มรณํ ธุวํ รูปพุทฺโธ ธาตุ พุทฺโธ นิมิตฺตพุทฺโธ
สุญฺโญ พุทฺโธ นิพฺพานปจฺจโย โหตุ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” 3 หน 7 หน 20 หน 100 หน
1,000 หน ตามศรัทธา ให้พิจารณาในใจ
หลับตาปิดปากเดินไปมา
ถ้าจะปลงการจงกรม ให้ภาวนาว่า “อิมํ ปถวียํ นิกฺขิปามิ” 3 หน
“อิมํ จงฺกมํ นิกฺขิปามิ” 3 หน ไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเดินออกจากที่จงกรมไปเถิด
วิธีการเดินจงกรมใหญ่
ในที่จงกรมขนาดใหญ่
กิจที่ต้องบำเพ็ญในเบื้องต้น
ก็เป็นดังวิธีการเดินจงกรมน้อยทุกอย่าง
เมื่อจะลงมือเดินจงกรม
ให้สมาทานดิน(ที่จงกรม)ว่า
“อิมํ ปถวียํ อทิฏฺฐามิ” 3 หน
อธิษฐานจงกรมว่า
“อิมํ จงฺกมํ สมาทิยามิ” 3 หน
ครั้นเสร็จจากการอธิษฐานจงกรม
และจะลุกขึ้นไปเดินจงกรม ให้ภาวนาว่า
“พุทฺโธ
จงฺกมํ เสฏฺฐํ ธมฺโม ปาปํ วินาสนฺตุ อโห
สุขํ นิพฺพานํ อารมฺมณํ ภควา
รูปขนฺโธ
ทุกฺโข สุขํ นิพฺพานํ รูปขนฺโธ อนิจฺโจ นิจฺจํ นิพฺพานํ รูปขนฺโธ อนตฺตา
ปรมฏฺฐสุญฺญํ นิพฺพานํ
เวทนาขนฺโธ
ทุกฺโข สุขํ นิพฺพานํ เวทนาขนฺโธ อนิจฺโจ นิจฺจํ นิพฺพานํ เวทนาขนฺโธ อนตฺตา
ปรมฏฺฐสุญฺญํ นิพฺพานํ
สญฺญาขนฺโธ
ทุกฺโข สุขํ นิพฺพานํ สญฺญาขนฺโธ อนิจฺโจ นิจฺจํ นิพฺพานํ สญฺญาขนฺโธ อนตฺตา
ปรมฏฺฐสุญฺญํ นิพฺพานํ
สงฺขารขนฺโธ
ทุกฺโข สุขํ นิพฺพานํ สงฺขารขนฺโธ อนิจฺโจ นิจฺจํ นิพฺพานํ สงฺขารขนฺโธ อนตฺตา
ปรมฏฺฐสุญฺญํ นิพฺพานํ
วิญฺญาณขนฺโธ
ทุกฺโข สุขํ นิพฺพานํ วิญฺญาณขนฺโธ
อนิจฺโจ นิจฺจํ นิพฺพานํ วิญฺญาณ ขนฺโธ อนตฺตา ปรมฏฺฐสุญฺญํ นิพฺพานํ
โส
ภควา อิติปิ อรหํ นิพฺพานํ ภควา สุคโต” ให้ภาวนา 108 ครั้ง
เมื่อภาวนาแล้วให้ปลงว่า
“อทาทิ อิมํ ปทิสนฺติ ยสฺส ติคติ ปนฺทุเว สุขสนฺตํ
กโร เอโส นิพฺพานํ ปทํ ปจฺฉิสนฺติ” ว่า 3
หน
อีกนัยหนึ่ง
ว่า “ออาทิติ ปทํ ตานฺตํ ยสฺส ติฏฺฐติ ปณฺฑเร
ทุกฺขสนฺตํ กโร เอโส นิพฺพานํ
ปาปุณิสฺสนฺติ” 3 หน 7 หน
ที่จงกรมอันใหญ่
ขนาดยาว 15 วา ให้ภาวนา 15 วัน ๆ ละ 15 รอบ
ถ้าขนาดยาว 4 วา เดิน 8 วัน ๆ ละ 7 รอบ
7. คำอธิษฐานก่อนจะออกเดินไปบิณฑบาต
คำอธิษฐานจะไปเดินบิณฑบาตว่า “อยนฺทานิ โข สา สพฺพญฺญูพุทฺธปจฺเจกพุทฺธพุทฺธสาวเกหิ
ปฏิปนฺนา อิมํ เนกฺขมฺมปฏิปทํ ปูเรสึ ปูเรสฺสามิ อิมาย ปฏิปทาย
ชาติชราพฺยาธิมรณทุกฺขมฺหา ปริมุญฺจิสฺสามิ” ฯ 3 หน
เนื้อความของคำอธิษฐาน
ได้แก่ อยํ โข สา เนกฺขมฺมปฏิปทา อันว่าปฏิบัติออกจากตัณหา คือ
ปฏิบัติจะเดินหาอาหารบิณฑบาตนี้ สพฺพญฺญูพุทฺธปจฺเจกพุทฺธพุทฺธสาวเกหิ
อันสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระปัจเจกเจ้า และ
สาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปฏิปนฺนา
หากปฏิบัติแล้ว อิทานิ ในกาลบัดนี้ อหํ อันว่าข้า ปูเรสึ ก็บำเพ็ญปฏิบัติแล้ว
ปูเรสฺสามิ ก็จักบำเพ็ญ อิมํ ปทํ ยังข้อปฏิบัติออกจากตัณหา คือ ปฏิบัติจะเดินหารอาหารบิณฑบาตนี้ อหํ อันว่าข้า ปริมุญฺจิสฺสามิ ก็จักปล่อยพ้น
ชาติ ชรา พฺยาธิ มรณ ทุกฺขมฺหา จากชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ อิมาย
ปฏิปทาย ด้วยปฏิบัติอันนี้
8. คำภาวนาเบ็ดเตล็ด
ท้ายใบลาน
คำทักผ้าบังสุกุลว่า
“อิมํ เกน ปติตํ” เนื้อความของคำทักได้แก่
อิทํ อันว่าของ(ผ้า)อันนี้ เกน อันบุคคลผู้ใด ปติตํ หาก(ทำ)ตกหายเสีย
คำอธิษฐานเอาผ้าบังสุกุลว่า
“อสฺสามิกํ อิทํ ปํสุกุลจีวรํ ปรมเชคุจฺฉํ อิมํ ปฏิคณฺหามิ อิทํ จีวรํ จ อหํ จ
สงฺขารคตา อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา วิปริณามธมฺมา” 3 หน เนื้อความได้แก่ อิทํ จีวรํ อันว่าผ้าอันนี้ อสฺสามิกํ
หาเจ้าไม่ได้ ปํสุกุลจีวรํ เป็นผ้าบังสุกุล ปรมเชคุจฺฉํ อันควรรังเกียจมากนัก อหํ
อันว่าข้า ปฏิคณฺหามิ ก็จักถือเอา อิมํ ปํสุกุลจีวรํ ยังผ้าบังสุกุลอันนี้ อิทํ
จีวรํ อันว่าผ้าอันนี้ก็ดี อหํ จ อันว่ากูก็ดี สงฺขารคตา เป็นหมู่เป็นกองสังขารธรรม
อนิจฺจา ไม่หมั้นไม่เที่ยง ทุกฺขา เป็นทุกข์ อนตฺตา ไม่ใช่ของตน วิปริณามธมฺมา
มีสภาวะรู้ปลิ้นรู้แปรแท้แล(มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา) แล้วกระทำปัจจเวกขณะว่า
“ยถาปจฺจยํ ....ยทิทํ จีวรํ....ชายติ” 3 หน
9. คาถาหยาดน้ำบังสุกุลให้ผู้ตาย(กรวดน้ำอุทิศ)
ว่า
“ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว (ปา)เชนฺติโคจรํ
เอวํ
ชรา จ มจฺจุ จ อายุํ
ปาเชนฺติ ปาณินํ [3] 3 หน
ว่าดังนี้อีก
“เยเกจิ ปานภูตฏฺฐิ ฯลฯ สุขี สตฺตา สพฺเพปิ ปาณิโน ทุกฺขปฺปตฺตา..”
“อิมินา
ปุญฺญเตเชน สุขิตา โหนฺตุ
นิรุปทฺทวา
ราชาโน
อนุรกฺขนฺตุ ธมฺเมน สาสนํ ปชํ
มาตาปิตา
(จ) โว ภาตา มิตฺตา มจฺจา จ ญาตกา
อุปชฺฌายาจริยา
สพฺเพ จญฺเญ คุณสํยุตฺตา
อิมินา
ปุญฺญเตเชน สุขิตา โหนฺตุ
สพฺพทา”
(ว่าคำแปล)
“ราชาโน อันว่าท้าวพญาทั้งหลาย สุขิตา อันเป็นสุข นิรุปทฺทวา
อันหาอุปัททวะอันตรายไม่ได้ อิมินา ปุญฺญเตเชน ด้วยเตชบุญอันนี้ โหนฺตุ จงมี
อนุรกฺขนฺตุ จงรักสา สาสนํ ยังสาสนา ปชํ ยังหมู่สัตทั้งหลายเทอะ มาตาปิตา
อันว่าพ่อและแม่ก็ดี ภาตา อันว่าพี่น้องก็ดี มิตฺตา มจฺจา จ
อันว่ามิตรสหายและคนรักทั้งหลายก็ดี ญาตกา อันว่าญาติสัมพันธ์ก็ดี อุปชฺฌายาจริยา
อันว่าอุปัชฌาย์และอาจารก็ดี โว แห่งท่านทั้งหลาย เย ปุคฺคลา อันว่าบุคคลทั้งหลายฝูงใด
อญฺเญ ฝูงอื่น คุณสํยุตฺตา อันมีคุณ โว แก่สูท่านทั้งหลาย สพฺเพ ปุคฺคลา อันว่าบุคคลทั้งหลายมวลฝูงนั้นก็ดี
สุขิตา อันอยู่เป็นสุขหาทุกข์ไม่ได้ อิมินา ปุญฺญเตเชน ด้วยเตชบุญอันนี้ โหนฺตุ
จงมี สพฺพทา ในกาลทุกเมื่อเทอะ
อิมินา
ทายกา สุขิตา โหนฺตุ สงฺกปฺปา โว
สมิชฺฌนฺตุ ทายกา อันว่าทายกฝูงให้ทานนั้น สุขิตา
อันเป็นสุขหาทุกข์ไม่ได้ อิมินา ปุญฺญเตเชน ด้วยเตชทานอันนี้ โหนฺตุ จงมีเทอะ
สงฺกปฺปา อันว่าความปรารถนามัก โว แห่งสูท่านทั้งหลาย สมิชฺฌนฺตุ จงสมริทธิ(สำเร็จ)พลันนักเทอะ”
10 คำภาวนาเมื่อชักผ้าบังสุกุล
10 คำภาวนาเมื่อชักผ้าบังสุกุล
เมื่อจะชักผ้าบังสุกุลที่ซากผีตาย(ศพ)
ให้ภาวนาว่า “เอกาหมตํ วา ทฺวิหมตํ(ทฺวาหมตํ) วา อุทฺธมาตกํ วินีลกํ วิปุพฺพกํ
อยมฺปิ โข กาโย เอวํ ธมฺโม เอวํ ภาวิโตติ(อนติโต)” 3 หน 7 หน
อธิษฐาน
ชักผ้าด้วยบทว่า “อสฺสามิกํ อิทํ ฯลฯ นามธมฺมา” 3 หน แล้วให้ พิจารณาปัจจเวกขณะเช่นเดียวกัน
11. กถาวัตถุ(เรื่องที่ควรเจรากันของพระสงฆ์)มี
10 ประการได้แก่ อปฺปิจฺฉกถา สนฺตุฏฺฐิกถา สีลกถา ปวิเวกกถา อสงฺสคฺคกถา
วิริยารมฺภกถา สมาธิกถา ปญฺญากถา วิมุตฺติกถา วิมุตฺติญาณทสฺสนกถารวมเป็น 10
ประการ
12. ทานวัตถุ(ของที่ควรให้ทาน)
มี 10 ประการ ดังนี้ อนฺนํ(ข้าว) ปานํ(น้ำ) วตฺถํ(ผ้า) ยานํ(ยานพาหนะ) มาลา(เครื่องประดับกาย)
คนฺธํ(เครื่องหอม) วิเลปนํ(เครื่องทาลูบไล้) เสยฺยํ(เครื่องนอน)
อาวาสตฺถํ(ที่อยู่) ปทีปํ(ดวงประทีปให้แสงสว่าง)
มาในพระสุตตันตะ
ส่วนที่ว่า
ปัจจัย 4 มี จีวรํ(ผ้านุ่งผ้าห่ม) ปิณฺฑปาตํ(อาหาร เครื่องบริโภค) เสนาสนํ(ที่อยู่อาศัย)
คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ(เครื่องยาสำหรับรักษาอาการป่วย) มาในพระวินัย
ส่วนที่ว่า
อารมณ์เครื่องรับรู้ทางอายตนะ มี 6 ชนิด ได้แก่
รูปํ(สีแสง) สทฺทํ(เสียง) คนฺโธ(กลิ่น) รสํ(รส) โผฏฺฐพฺพา(สัมผัส)
ธมฺมา(เรื่องสำหรับให้นึกคิด) มาในพระอภิธัมมา
มูลกัมมัฏฐานผูกที่
5 โดยย่อ จารโดย สุนันทภิกขุ แต่งไว้ไว้ค้ำชูพระศาสนาให้ได้ 5,000 พระวรรษา นิพฺพานปจฺจโย โหตุ โน นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ ปางเมื่อข้าอยู่....( ไม่ปรากฏชัด)
ปริวรรตโดย
วิโรจน์ อินทนนท์, ยศพล เจริญมณี, และ ยี่ จันทร์ มกราคม 2559
ตรวจสอบและเรียบเรียงใหม่ โดย พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ พฤษภาคม 2559
[1] ลำดับวิปัสสนาญาณ
ที่เล่าในมูลกัมมัฏฐานผูกนี้ ไม่ตรงกับลำดับ วิปัสสนาญาณ 9 ในวิสุทธิ 7 (หรือญาณ
10 ที่เพิ่ม สัมมสนญาณ เข้ามาก่อน) ซึ่งมีลำดับดังนี้ 1. อุทยัพพยญาณ 2. ภังคญาณ 3. ภยญาณ 4. อาทีนวญาณ 5. นิพพิทาญาณ 6.
มุญจิตุกัมยตาญาณ 7. ปฏิสังขาญาณ 8. สังขารุเปกขาญาณ 9.(สัจจ)อนุโลมญาณ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และวิปัสสนูปกิเลส
เกิดขึ้นเมื่อได้วิปัสสนาญาณอ่อน(ตรุณวิปัสสนาญาณ) คือ ได้ญาณที่ 1 อุทยัพพยญาณ
[2] กิเลส 3 ตัว เบื้องต่ำ สักกายทิฏฐิ
ความเห็นว่ามีตัวตน(ถาวร) วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจ ในสัจจธรรม และ
สีลัพพตปรามาส การยึดติดในศีลและพรตบางอย่างไม่ปล่อยวาง
[3] ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ.
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ, อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
แปล นายโคบาล ย่อมต้อนฝูงโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้
ฉันใด ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุของสัตว์ไป ฉันนั้น(ขุ. ธ. 25/33/162)