แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อาสาฬหบูชา วันเปิดดวงตาส่องสัจธรรมแก่ชาวโลก

อาสาฬหบูชา วันเปิดดวงตาส่องสัจธรรมแก่ชาวโลก
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
อนุกรรมการส่งเสริมศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23/11/2560

ความนำ
            เมื่อก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพียง 2 เดือน(ตรัสรู้ ในวันเพ็ญเดือน 6 (วิสาขะ)  เหตุการณ์สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งได้บังเกิดขึ้น ในวันเพ็ญเดือน 8 ทางจันทรคติ ในภาษาบาลีเรียกว่า “อาสาฬหะ”  ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน(สารนาถ)  เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ในประเทศอินเดีย นั่นก็คือ เป็นวันแห่งการเกิดขึ้นของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก  ทำให้ “พระรัตนตรัย” ภาษาทั่วไปเรียกว่า “แก้ว 3 ประการ” ซึ่งเป็นหลักเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนครบ 3 องค์  คือ   พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และ พระสังฆรัตนะ  การที่ “โกณฑัญญะ” หัวหน้ากลุ่มนักบวช “เบญจวัคคีย์” เมื่อได้สดับ “ธรรมจักกัปปวัตนสูตร” พระปฐมธรรมเทศนา และได้ดวงตาเห็นสัจธรรม สำเร็จเป็นพระอริยสาวกท่านแรก  นับเป็นการยืนยันความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “โพเธสิ ปโพเธยฺยํ โอตาเรสิ โอตเรยฺยํ” แปลว่า “เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ก็สามารถสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้สัจธรรมตามได้ เมื่อพระองค์ข้ามพ้นสังสารวัฏฏะ(การเวียนว่ายตายเกิด) ได้ ก็สามารถช่วยผู้อื่นให้ข้ามพ้นไปได้” (ถ้าตนเองตรัสรู้ แต่สั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่ได้ ก็เป็นเพียงระดับพระปัจเจกพุทธเจ้า มิใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)  เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์แห่งการเกิดของพระอริยสาวกครั้งแรก ชาวพุทธจึงเรียก วันเพ็ญเดือน 8 นี้ว่า “วันอาสาฬหบูชา” จัดเข้ากลุ่มวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ครบ 3 วัน   คือ มาฆบูชา วันพระธรรมรัตนะ, วิสาขบูชา วันพระพุทธรัตนะ, และอาสาฬหบูชา วันพระสังฆรัตนะ (เรียงตามเดือนในรอบปี มิได้เรียงตามเหตุการณ์)   

สาระสำคัญเนื่องใน วันอาสาฬหบูชา
            โดยทั่วไป เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ชาวพุทธก็จะประกอบพิธีกรรมตามประเพณี คือ การทำบุญตักบาตรในเวลาเช้า จะเป็นการไปร่วมทำบุญกันทำที่วัด หรือ ร่วมทำบุญในสถานที่ที่จัดพิธีขึ้นเป็นพิเศษ ในภาคค่ำก็จะมีการสดับพระธรรมเทศนา และทำประทักษิณเวียนเทียนรอบพระสถูป  พระเจดีย์ หรือ พระธาตุ ที่ศาสนสถาน   บางคนจะถือศีลปฏิบัติธรรมนอนที่วัด ที่กล่าวมานี้ เป็นจารีตประเพณีที่ชาวพุทธต่างได้รับรู้และปฏิบัติตามสืบๆกันมาเป็นวิถีชีวิต แต่คงมีน้อยคนที่จะลงมือศึกษา ถอดแก่นความรู้ที่ทำให้เกิด วันอาสาฬหบูชาอย่างจริงจัง ค้นหาว่า หลักการสำคัญอะไร ที่ทำให้คนธรรมดาสามัญอย่างพวกเรา เกิดการหยั่งรู้สภาวธรรม เกิดดวงตาธรรม สามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพของตนจากความเป็นปุถุชน เป็นพระอริยสาวกได้    
เพื่อให้ผู้อ่านได้คิดตาม เกิดเห็นภาพเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ จะขอแบ่งประเด็นหลักและลำดับสาระสำคัญ จากการที่นักบวชเบญจวัคคีย์ ผู้มีดวงตาถูกปิดด้วยอวิชชา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด ช่วยเปิดดวงตาให้สว่าง แสดงหลักการคิดและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง จนเกิด “ธรรมจักษุ” หยั่งเห็นสัจธรรมของชีวิต เป็นอิสระข้ามพ้นจากสังสารวัฎฎ์ ดังต่อไปนี้
1. กับดักหลักคิดและทฤษฎี ทางตันแห่งความหลุดพ้นของนักบวชอินเดียสมัยพุทธกาล
ในสมัยพุทธกาล นักบวชอินเดียจำแนกเป็นหลายกลุ่ม  รวมทั้งวิธีการปฏิบัติก็แตกต่างกันไป แยกเป็นกลุ่ม เป็นประเภท เช่น   อาชีวกะ อเจลกะ นิครนถ์  ฤาษี มุนี  สายนักบวชเหล่านี้ เรียกรวมว่า “สายสมณะ”  อันที่จริง พวกพราหมณ์ เป็นวรรณะนักบวช(ผู้มีหน้าที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา) โดยกำเนิด พวกพราหมณ์วางเป้าหมายชีวิตไว้ 4 ขั้น(อาศรม 4) แต่เมื่อผ่านวัยไป หลังจากครองเรือนระยะหนึ่ง บางกลุ่ม ถือ การอยู่ป่า (วานปรัสถ์) บางกลุ่มถือเพศเป็นนักบวช(สันยาสี)   เป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่นักบวชต้องเข้าถึง คือ  “โมกษะ” แปลว่า  “ความหลุดพ้น” ความเป็นอิสระจากความทุกข์เพราะการวนเวียนในการเกิด แก่ ตาย และกลับมาวนซ้ำ เกิด แก่ ตาย ถือว่าเป็นความทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด หากจะนับกลุ่มหลักในสายความคิดและการปฏิบัติ สมัยนั้นเรียกว่า ลัทธิครูทั้ง 6 จัดกลุ่มความคิด ได้ 3 สาย คือ สายจารวาก หรือ กลุ่มวัตถุนิยม ไม่สนใจศีลธรรมความดีความงามอะไร ใช้ชีวิตตามความคิดและต้องการของตนในปัจจุบัน เพราะชีวิตสิ้นสุดเพียงแค่ตายลงเป็นอันสิ้นสุด อีกกลุ่มหนึ่ง ถือคำสอนในคัมภีร์พระเวทเป็นหลัก เรียกว่า “สายอาสติกะ” หมายถึงผู้เชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทที่ฤาษีได้รับโองการมาจากพรหมัน ชะตาชีวิตขึ้นอยู่กับบุรพกรรม และความการกำหนดโดยพรหมันผู้มีอำนาจชี้ขาด กลุ่มสุดท้าย ไม่ยอมรับว่า พระเวทมีความศักดิ์สิทธิ์ชี้ตายชี้เป็นและกำหนดชะตาชีวิตมนุษย์ แต่เชื่อการกระทำ(กรรม)และความพยายามของตน ที่เป็นตัวกำหนดจุดหมาย พึ่งตนเอง ไม่ต้องพึ่งอำนาจมหาเทพ เรียกว่า “สายนาสติกะ”
สายจารวาก ที่ไม่ยอบรับระบบศีลธรรม และกฎแห่งการกระทำดีหรือชั่วขอยกไว้ แต่สองสายที่เหลือ คือ สายคิดแบบอาสติกะ และ สายนาสติกะ  ต่างล้วนเชื่อมั่นในระบบศีลธรรมและระบบกฎแห่งกรรม  เชื่อในการเวียนเกิดเวียนตาย ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีความไม่รู้ “อวิชชา” เป็นหลัก และยังมีกิเลสอื่นๆ เป็นตัวเสริมทำให้ต้องตกในวงโคจร เวียนวน กิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรม กรรมส่งวิบากผลให้เวียนว่ายตายเกิด เพราะเมื่อยังมีอวิชชา เกิดมาก็ยังหลงทำกรรมใหม่ลงไปอีก กรรมนั้นก็จะส่งผลให้เกิดซ้ำซากต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด  อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ก็มีอยู่  และเชื่อว่ามีวิธีการทำให้สังสารวัฏฏ์สิ้นสุดลงได้ ก็คือ ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ทำให้กิเลสหมดไป หรือ ล้างกิเลสออกจากใจ เมื่อใจบริสุทธิ์ ก็จะบรรลุความหลุดพ้น แต่วิธีการชำระล้างกิเลสให้หมดไปจากใจจะทำอย่างไร
สมัยนั้น ครูอาจารย์สอนกันมาว่า ในการทำกิเลสให้หมดไปจากใจ มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติ อยู่ 2 ประการ คือ
แบบกามสุขัลลิกานุโยค(อย่างหย่อน) และแบบอัตตกิลมถานุโยค(อย่างตึง)
      1) แนวปฏิบัติแบบแรก  เอาใจตนเองเข้าวัดว่า อะไรก็ตามที่เรารักเราชอบ เช่น ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ฉลองมันเสียให้อิ่ม ปรนเปรอมันให้หนำใจ อะไรที่เรามี เราจมอยู่กับมันซ้ำๆ สุดท้ายจะถึงความเบื่อหน่ายไปเอง นี้เป็นกับดักที่ 1 พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “ไม่มีความอิ่มในการเสพบริโภคสิ่งที่ทำให้สนุกสนานแบบโลก” เพราะมันเป็นเหมือนหลุมทรายดูด ยิ่งดิ้นก็ยิ่งจมลง
      2) แนวปฏิบัติแบบที่ 2 คือ การปฏิบัติบำเพ็ญตบะ ที่เคร่งครัดเกินไป ทรมานร่างกายของตนอย่างหนัก เช่น การอดอาหาร   ด้วยคิดว่า เมื่อร่างกายไม่มีแรงเอื้อสนองให้ทำการใดๆได้แล้ว กิเลสก็จะหมดไปเอง การทรมานร่างกาย บำเพ็ญมหาพรตอย่างหนัก จึงเป็นกับดักที่ 2 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เป็นทุกข์เปล่า ทำไปก็ไม่เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่ไม่ประเสริฐ” เพราะกิเลสไม่เกี่ยวกับร่างกายอย่างเดียว มันอยู่ที่ใจ
 การที่พระพุทธองค์แสดงหลักปฏิบัติ 2 ทางตันที่ขวางทางหลุดพ้น  แก่เบญจวัคคีย์ให้เห็นได้อย่างประจักษ์ชัดว่า เป็นกับดักความคิดและแนวปฏิบัติที่ผิดพลาด  เป็นหล่มที่ลึกที่เมื่อจมลงไปแล้ว ถอนตนขึ้นได้ยากเช่นนี้ได้ ก็เพราะพระองค์ผ่านความทุกข์ยากมาพร้อมกับเบญจวัคคีย์ ที่ซึมซับทุกขั้นตอนของการบำเพ็ญทุกรกิริยา แต่เมื่อพระองค์เลิกละวิธีการทรมานร่างกาย หันมาแสวงหาทางปฏิบัติใหม่ เริ่มรับประทานอาหารเพื่อฟื้นฟูพระกำลัง เหล่านักบวชเบญจวัคคีย์ ต่างรู้สึกผิดหวัง เพราะคิดว่า พระองค์ไม่มีทางบรรลุความหลุดพ้นได้ ทั้งนี้ เบญจวัคคีย์ได้ติดหล่มกับดักทางความคิด ของครูโบราณอินเดียอย่างถอนไม่ขึ้นนั่นเอง จึงได้พากันหลบหนีจากพระองค์ไป
2. มรรควิธีออกจากกับดักทางตัน
เมื่อพระพุทธเจ้าค้นพบทางออกจากทางตัน กับดักทางความคิดและหล่มการปฏิบัติที่ดูดกลืนความพยายามให้เหลือเป็นศูนย์ได้แล้ว พระองค์จึงเสด็จมาโปรดนักบวชเบญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิมฤคทายวัน ประกาศว่า พระองค์ตรัสรู้แล้ว ในครั้งแรก เบญจวัคคีย์ปฏิเสธที่จะรับฟังแบบหัวชนฝา  ครั้นพระองค์แสดงความเป็นผู้ที่ตรัสแต่ความจริง อันเป็นคุณสมบัติของพระองค์ ว่า ครั้งก่อนๆ พระองค์เคยยืนยัน ว่าบรรลุอะไรไหม เบญจวัคคีย์ก็บอกว่า พระองค์ไม่เคยกล่าวอะไรที่ไม่จริงสักครั้ง จึงจำใจจำนนต่อความจริง แล้วพระพุทธเจ้าทรงหลักปฏิบัติทางสายกลาง “มัชฌิมาปฏิปทา” ปรับทัศนะคติเบญจวัคคีย์ใหม่ ให้เห็นเป็นอีกทางเลือก และเป็นทางที่พระองค์ค้นพบ จนเกิดปัญญา
ด้วยหลักปฏิบัติแนวนี้ จึงพาให้บรรลุถึงความสงบ ความรู้แจ้ง พระนิพพาน  ซึ่งทางสายกลางนี้ มีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ความคิดที่ถูกต้อง การพูด การทำการงาน การดำรงเลี้ยงชีพ อย่างถูกต้อง ความเพียร การดำรงสติ และการมีความสงบอย่างถูกต้อง ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ จัดลงเป็นกลุ่มสำหรับฝึกฝนตน เรียกว่า ไตรสิกขา คือ สองข้อแรก เป็นการฝึกปฏิบัติให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้อง อีกสามข้อถัดมา เป็นการฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดความเป็นผู้มีศีล และสามข้อสุดท้ายเป็นองค์ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิ 
จะเห็นได้ว่า แนวปฏิบัติตามหลักทางสายกลางนี้ ไม่มีส่วนใดที่บอกว่า ให้ปฏิบัติข้องแวะสิ่งที่น่ารักน่าใครอย่างสุดหัวจิตหัวใจ แล้วจะเบื่อหน่ายเอง หรือ แม้แต่การฝึกหัดขัดเกลาในเรื่องศีล ก็ไม่ได้บอกว่า ต้องเคร่งเข้มเอาจริงเอาจังแบบสีลัพพตปรามาส ต้องว่าไปตามกรอบเส้นที่ขีดให้เดิน  และต้องเดินตามกรอบเท่านั้น ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ หากปฏิบัติออกนอกกรอบจะถือว่า ล้มเหลว
ตามกรอบความคิดและแนวปฏิบัติใหม่ พระพุทธเจ้าให้รู้จักใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล ชั่งผลดีผลเสีย ประเมินคุณค่าอย่างถูกต้อง ตั้งเป็นธงนำไว้ก่อน เมื่อใดก็ตาม ถ้าเราตั้งกรอบความคิดให้ถูกต้อง  การแสดงออกทางกาย วาจา แม้กระทั่งความรู้สึกทางอารมณ์ก็จะเบนไปสู่สิ่งที่ถูกต้องได้ พูดง่ายๆ ก็คือ กระบวนการจัดเรียงโมเลกุลทางร่างกายให้เป็นระเบียบ วางความคิดให้เป็นระบบ รวมกายและใจเป็นหนึ่ง การปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดการรวมพลังที่เข้มแข็ง  เมื่อมีพลังที่เข้มแข็ง ก็จะสามารถใช้ประโยชน์การชำระความเศร้าหมอง(กิเลส)ในจิตใจได้ เป็นมรรควิธีการชำระกิเลสอย่างเป็นระบบ เมื่อปัญญา ความรู้แท้เกิดขึ้นมา อวิชชาตัวการหลักที่ทำให้หลงเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ ก็เป็นอันถูกชำระให้หมดออกจากใจได้ 
3. สัจธรรมอันประเสริฐ ผู้หยั่งรู้สัจธรรม กลายเป็นผู้ประเสริฐ
ประเด็นต่อมาก็คือ ทำอย่างไร การบวนการใช้ปัญญาในหลักมรรคมีองค์8 จึงจะนับว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง พระพุทธองค์ทรงวางกรอบการใช้ปัญญาญาณ ในการพิจารณาสัจธรรมเอาไว้ถึง 3 ระดับ ที่เรียกว่า “ญาณ 3” คือ
     1) ระดับต้น เรียกว่า “สัจจญาณ” คือ การกำหนดรู้สัจธรรม ว่า สิ่งนี้ เป็นความจริงแท้ๆ คือต้องเป็นจริงทั้งตามปรากฏการณ์และเป็นจริงตามสภาวะ
     2) ระดับที่สอง “กิจจญาณ” คือ การกำหนดรู้หน้าที่ว่า ในเรื่องนั้นๆ ควรทำหน้าที่อะไร ไม่มีการผิดฝาผิดตัว และ
     3) ระดับสุดท้าย “กตญาณ” คือ การกำหนดตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติของการใช้ปัญญาว่า ในแต่ละเรื่อง แต่ละหน้าที่ ได้ลงมือทำสำเร็จเสร็จสิ้นบริบูรณ์หรือไม่
คำถามว่า จะใช้ปัญญาญาณ 3 ระดับนี้ กำหนดพิจารณาอะไร คำตอบ คือ พิจารณา สัจจะ หรือ ความจริง 4 ประการ รวมทั้งหมด เป็นการทบทวนพิจารณา 12 รอบ คือ
     1) ความจริงข้อแรก ทุกข์เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ทุกคนเห็นประจักษ์ อย่างหยาบ คือ เห็นการเกิด แก่ ตาย เป็นความทุกข์ อย่างละเอียด คือ สภาวะความทุกข์ประจำสังขารที่เปลี่ยนแปลง ถูกบีบคั้น และไม่มีแก่สารสาระที่ควรยึดมั่นถือมั่น ในระดับ สัจจญาณ ต้องให้ได้ความรู้จริงแท้ๆว่า นี้คือทุกข์จริงๆ ไม่ใช่คิดเอา ในระดับ กิจจญาณ  ต้องกำหนดหน้าที่ควรทำกับเรื่องความทุกข์ว่า ทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หน้าที่คือต้องตีโจทปัญหาให้แตก ในระดับ กตญาณ ต้องประเมินผลการทำหน้ากับทุกข์ ตรวจสอบว่า ปัญญาญาณได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วหรือไม่   
    2) ความจริงข้อที่ 2 สาเหตุแห่งความทุกข์ หรือ ทุกขสมุทัย ในชั้น สัจจญาณ ต้องกำหนดรู้ให้เห็นแก่นแท้เบื้องหลังแห่งความทุกข์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ในที่สุดก็ค้นพบว่า ตัณหา(ความอยาก)  ที่มุ่งให้ร่าเริงยินดีในการมีการเป็น เมื่อยังมีความอยากมีอยากเป็น ความทุกข์ก็ต้องมี เป็นเป็นความจริงแท้ๆ ตามนั้น ในชั้น กิจจญาณ ต้องทำหน้าที่ คือ ต้องทำลายต้นตอแห่งความทุกข์เสีย ดับภัยที่ต้นเหตุ คือละตัณหาเสีย ในชั้น กตญาณ ก็ตรวจสอบว่า ดวงปัญญาได้ละตัณหาเรียบร้อยหรือยัง
   3)  ความจริงข้อที่ 3 การดับความทุกข์(ทุกขนิโรธ) ก็เป็นความจริง ในชั้น สัจจญาณ ก็ต้องกำหนดรู้ว่า นี้เป็นความดับความทุกข์จริง ได้แก่ ความเบื่อหน่ายในตัณหา สละ สลัด ตัณหาให้หมด หลุดพ้นจากตัณหาไปโดยไม่มีส่วนเหลือ  ในชั้นกิจจญาณ หน้าที่ของญาณ ก็คือ การทำให้เกิด หรือ การบรรลุถึงให้ได้ หรือ การทำได้จริง ในชั้น กตญาณ คือ ตรวจสอบหน้าที่ว่า บรรลุถึง นิโรธ ความดับทุกจริงหรือยัง
   4) ความจริงข้อที่ 4 ทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับความทุกข์ ในชั้น สัจจญาณ ก็ต้องกำหนดรู้ว่า นี้เป็นทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความดับทุกข์ได้จริงๆ ซึ่งก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา(ทางปฏิบัติสายกลาง) มีองค์ประกอบ 8 ประการมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นมีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด (ที่กล่าวมาแล้ว) ในชั้น กิจจญาณ หน้าที่ของญาณนี้ ก็คือ ทำหน้าที่ให้มรรคองค์ 8 เจริญขึ้น แกร่งขึ้น มีพลังกล้าแข็งขึ้น เฉียบคมมากขึ้น จนในที่สุดก็สามารถ ถอนรากถอนโคนตัณหาออกไปได้หมด ในชั้น กตญาณ ก็เป็นการตรวจสอบว่า มรรคมีองค์ 8 ประการนี้ ได้ถูกเร่งพลังงาน สร้างความแกร่งแห่งพลังถึงขีดสุดตัดกิเลสตัณหาได้เสร็จสิ้นหรือยัง
ด้วยกระบวนการใช้ปัญญาญาณ กำหนดรู้ ทำหน้าที่ และตรวจประเมินผลการทำหน้าที่ ในสัจจะ 4 ประการ ครบทั้ง 3 รอบ ทำให้พระพุทธเจ้ากล้ายืนยันว่า  พระองค์ได้บรรลุความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ จากสัจจะที่ทุกคนรู้แบบตาเนื้อ แต่เมื่อเกิดกระบวนการรับรู้ด้วยตาใน หรือ ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) ก็กลายเป็นอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐ ทำให้ผู้รู้อริยสัจ กลายเป็นพระอริยบุคคล ผู้เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีใครมาบอกว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เมื่อท่านโกณฑัญญะ ได้รับฟังคำอธิบายกระบวนการพิจารณาสัจจะ 4 ประการ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ โดยไม่ปิดบัง   ท่านก็ใช้ปัญญากำหนดพิจารณารู้ไปตามพระธรรมเทศนา ในที่สุดท่านก็เกิดปัญญาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงว่า “สิ่งใดก็ตาม เมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ย่อมถึงความดับไปเป็นธรรมดา”  นั้นคือ ท่านได้เกิดดวงตาเห็นสัจธรรม ว่า สรรพสิ่งล้วนมี สภาะการเกิดและการดับ ท่านโกณฑัญญะ เป็นพระอริยะสาวกรูปแรกที่รู้ตามและปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้อง สามารถรื้อถอนตนออกจากกับดักแห่งสังสารวัฏฏ์ได้จริงๆ   นับได้ว่า ท่านโกณฑัญญะ เป็นพระสงฆ์สาวก คือ พระอริยสงฆ์รูปแรก เป็นพยานแห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนั้น การเกิดขึ้นของพระอริยสาวกรูปแรกขึ้นมาในวันเพ็ญเดือน8 นอกจากตัวท่านโกณฑัญญะเองจะได้เข้าสู่กระแสแห่งความหลุดพ้น (พระนิพพาน)ได้จริงแล้ว   ยังเป็นข้อยืนยันความเป็นจริงอีก 2 ประการ คือ มัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้จริง และ พระพุทธเจ้าเป็นพระองค์แรกที่นำหลักปฏิบัติแนวทางสายกลางนี้มีแสดงแก่พระสาวก อย่างได้ผลจริง 

สรุป

            วันอาสาฬหบูชา หรือ การบูชาเนื่องวันเพ็ญเดือน 8 ทางจันทรคติ หากชาวพุทธเพียงแต่ทำตามจารีต ประเพณี  ปฏิบัติสืบต่อตามๆกันมา โดยไม่ทราบแก่นสาระที่ไปที่มาของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 8 เมื่อครั้งพุทธกาล  การรักษาจารีตประเพณีเอาไว้แบบที่ว่ามานี้ คงป่วยการ เป็นเพียงแค่รักษาเปลือก กระพี้พิธีกรรมในพระศาสนา แต่ถ้าหากจะใส่ใจศึกษาแกนหลักของการที่มารำลึกถึงการเกิดขึ้นของพระอริยสาวกรูปแรก เพราะได้สดับพระปฐมเทศนา ธรรมกัปปวัตนสูตร ที่เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา น้อมนำมาปฏิบัติ รู้จักหลีกเว้นกับดักความคิดและอุดมการณ์ อันเป็นทางตัน ปิดกั้นความหลุดพ้นจากความทุกข์ ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ที่ให้รู้จักการผ่อนหนักผ่อนเบา ไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอย่างพินิจพิจารณา มองขาดว่า สรรพสิ่งมีเกิดมีดับ รู้จักการปล่อยวางในสิ่งที่ควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นในสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน  ก็จะดำรงตนอยู่ในโลกอย่างผู้ไม่มีทุกข์ ถึงแม้มีความทุกข์เข้ามาเยือนบ้าง ก็สามารถทำใจปล่อยวางได้ว่า เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาได้ ความทุกข์ก็ดับไปได้..   

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานพระเจ้านั่งดิน และ เมื่อชาง : เซียมซีล้านนา

ตำนานพระเจ้านั่งดิน และ เมื่อชาง : เซียมซีล้านนา 

ความนำ
 ในส่วนนี้ ผู้เรียบเรียงจะได้นำเสนอ ประวัติศาสตร์ของชุมชนในท้องถิ่น ที่เล่าขานสืบทอด จากรุ่นสู่รุ่น เก็บรักษาเป็นมรดก ตกทอดของท้องถิ่นอำเภอเชียงคำ แต่ก่อนเรียกว่า เมืองซะลาว หรือ เมืองพุทธรัสสะ ผ่าน “ตำนานพระเจ้านั่งดิน”   และอีกเรื่องหนึ่ง ผู้เรียบเรียงถือว่า เป็นการค้นพบแม้จะเป็นคัมภีร์เล็กๆ แต่ทว่ามีความสำคัญไม่น้อย อยู่คัมภีร์หนึ่ง ก็คือ “เมื่อชาง” เซียมซีล้านนาฉบับใบลาน   ที่ค้นพบจากพบที่ วัดไชยพรหม ตำบลเวียง อำภอเชียงคำ เป็นการค้นหาคำพยากรณ์ด้วยวิธีเสี่ยงทายโชคชะตาด้วยตนเอง ทำนองการเสี่ยงเซียมซี  แต่วิธีเสี่ยงทายหาคำทำนายแตกต่างออกไป โดยใช้เศษไม้แบนยาว ขนาดเล็ก ผูกติดกับสายสยอง ของคัมภีร์  ใช้เสียบลงไปบนปึกใบลานที่เรียงซ้อนกันอยู่ เป็นการ ชางคือ สุ่มเลือกคำพยากรณ์  แถมซ้ำใบคำพยากรณ์ ก็เป็นใบลานแผ่นเล็ก ๆ  ซึ่งมีทั้งหมด   แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่น คือ คำทำนายพยากรณ์ เหตุการณ์ดี หรือ ร้าย  อาศัยเหตุการณ์ ฉากสำคัญ ที่ดีหรือร้าย  จากนิทานชาดกต่างเรื่องในพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจเหตุการณ์ในท้องเรื่องได้ดี “เมื่อชาง” ขอยกให้ “เป็นเรื่องโท”แห่งเมืองพะเยา จะได้เสนอตามลำดับดังนี้

1.  ตำนานพระเจ้านั่งดินฉบับวัดล้า ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
หมายเลขสำรวจของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  รหัสสำเนาภาพ ดิจิตัล
16- 0012-01L-0052-01
1.1 ความย่อของเรื่อง
               ธัมม์ตำนานพระเจ้านั่งดิน หรือ พระพุทธรูปปางประทับนั่งบนพื้นดินนี้ เป็นคัมภีร์ธัมม์ใบลาน ที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเอาไว้ โดยหน้าลานใบแรกและใบสุดท้ายบอกชื่อว่า “ตำนานพระเจ้านั่งดิน ธัมม์วัดล้า เมืองเชียงฅำ”เขียน(คัดลอก)โดย หนานอริยะ เสร็จเมื่อวันพฤหัสที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2494  ขึ้น 6 ฅ่ำเดือน 11 เมือง ปีเถาะ  เวลาประมาณ 10 นาฬิกา หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จ และปรารถนาสุข 3 ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด นิจฺจํ วต   นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
          1.2 ภาคถอดความ
    ตำนานเริ่มจาก การแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า และเล่าว่า ในปี จุลศักราช 1213(พ.ศ.2024) ปลีร้วงไค้ เดือน 6 เหนือ แรม 3 ฅ่ำ วันเม็ง เป็นวันจันทร์(วัน 2) ขุนกง มาจากเมืองอยุธยา มารักษาเมืองเชียงคำ แต่ก่อนชท่อว่า พุทธรัสส หรือ เมืองซะลาว
              ในกาลก่อนนี้ มีพญาตนหนึ่งนามว่า “พญาสิงคุตร” อยู่ในเมือง นครไชยยสสิทธังรณีเทพพนครไชยยุทธเดช ในทิศทั้ง 4 มีพญา(ขุนหลวง) 4 ตน ดังนี้ ทางทิศใต้ “พญาพุทธสร”  ทางทิศตะวันตก “พญาอนุโลก” ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ “พญาสุริยวงสา” และทางทิศเหนือ “พญาสุริยนนตรี” ในการปกปักรักษาเมือง มี เทวดา 4 ตน ฤาษี 2 ตน พระอินท์ และพญานาค
              พญาสิงคุตรมีนางสนมเป็นบริวารหนึ่งหมื่นนาง มีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองอื่นมากมาย เพื่อการสร้างกำแพงรอบเมืองพุทธรัสส พญาสิงคุตร จึงมีใบบอกไปยังขุนหลวงอนุโลกคิชฌการ ให้จัดรี้พล จำนวน 180,000 คน มาช่วยกันสร้างกำแพงเวียงพุทธรัสสะ
              ปางเมื่อสมัยที่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จเลียบโลก มาถึงเวียงพุทธรัสสะ มาประทับที่ดอยสิงคุตระ  พระองค์เล็งญาณเห็น ชายทุคคตะคนหนึ่ง ชื่อว่า “ฅำแดง” จะเป็นผู้มีบุญสมภารมากในอนาคตจะได้เป็นผู้มียศศักดิ์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า จึงสั่งสอนให้สร้าง รูปเหมือนพระองค์ไว้ในเมือง”สิทธังรณี”   หรือ “เทพพมหานคร” ในการหาวัสดุสร้าง พระญาสิงคุตระ ใช้พญาอินท์  พญานาค   พระฤาษี 2 ตน และอาราธนาพระอรหันต์ 4 ตน ไปนำดินแต่ลังกาทวีปมาสร้างรูปพระพุทธเจ้า ใช้ก่อสร้างเวลา 1 เดือน 7 วัน เมื่อพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดโลกทั่วแล้ว พระองค์เสด็จกลับมาสู่เมืองสิทธังรณีเทพพมหานคร ที่เขาสร้างพุทธรูปนั้น
              เมื่อองค์พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ได้เห็นว่า พระสารูปที่สร้างนั้น มีขนาดเล็กกว่าพระองค์จริง จึงให้นำดินมาพอกจนมีขนาดเท่าตัวจริง พระสารูปนี้จึงจะมีฤทธิและมีรัศมีงามรุ่งเรือง
           เมื่อทุกอย่างทำตามที่พระองค์รับสั่งแล้ว พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจึงแผลงฤทธิ์ แสดงปาฏิหาริย์แผ่รัสมีไปรอบจักรวาล ทันใดนั้น พระสารูปเหมือนที่สร้างไว้ ก็ลุกจากแท่นแก้ว ลงมาไหว้พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์จึงรับสั่งพุทธรูปว่า “ขอให้ท่านรักษาศาสนาของตถาคตะ ให้สิ้น 5,000 พระวัสสา” และเทศนาแก่ท้าวพญาและเสนาอามาตย์ทั้งหลายว่า “ในสถานที่ใด เหมาะสมจะรักษาศาสนาและเป็นที่ชุมนุมแห่งท้าวพญาทั้งหลาย และเหมาะสมที่จะเป็นแผ่นดินที่เมื่อพระพุทธรูปไปอยู่ จักรุ่งเรืองไปภายหน้า  ก็ให้นำพระพุทธรูปไปไว้ในสถานที่นั้นเถิด”
เมื่อพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จจากไปแล้ว ท้าวพญา เสนาอามาตย์จึงพร้อมกันอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในเมืองพุทธรัสสะ  และถวายเมืองพุทธรัสสะแก่พระพุทธรูป
ต่อจากนั้น ท้าวพญาเสนาอามาตย์ทั้งหลาย ก็พร้อมกันอุสสาภิเสกชายทุคคตะขึ้นเป็นพญาฅำแดง
เมื่อยกเมืองถวายพระพุทธรูป พญาทั้งหลายก็พากันออกไปอยู่เวียงชั้นนอก ไม่ควรอยู่ในเมืองพุทธรัสสะ  นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียงพุทธรัสสะ ก็ไม่ควรที่ท้าวพญา เสนาอามาตย์ เจ้านายผู้ใหญ่ จักอยู่อาศัย ทำให้ไม่เกิดความเจริญทั้งกายและใจ เพราะเป็นเขตแดนของพระพุทธรูปนั้นเอง
ต่อมา พญาคำแดงมีธิดานางหนึ่ง ชื่อ อินทสวรรค์ มีผิวพรรณผุดผ่องเหมือนพระจันทร์เพ็ญ เปล่งประกายใสงาม ความงามของนางก็ลือชาไปทั่ว มีพญา 4 ตน อยู่มีทิศทั้ง 4 คือ พญาริทธี อยู่ทิศเหนือ  พญาเตชะอานุภาพ อยู่ทิศใต้ พญาสุริยวงสาราชกุมาร อยู่ทิศตะวันตก  ยังมีพญาอีกตนหนึ่ง อยู่ทิศตะวันออก ส่งบรรณาการมาขอนางอินทสวรรค์ ไปเป็นมเหสี พญาคำแดงไม่ปลงใจให้ใคร
พญาทั้ง 4 ตน โกรธก็เลยยกรี้พลมารบพุ่งเข้าตีเมืองสิทธังรณีเทพพมหานคร ลูกชายพญาฅำแดง ก็ออกไปรบกับพญาทั้ง 4 ตน และสังหารพญาทั้ง 4 ด้วยหลาวเหล็ก จนสิ้นพระชนม์ เมื่อพญาคำแดงเห็นพญาทั้ง 4 สิ้นชีวิตไปหมดก็เกิดความสะดุ้งตกใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จึงหนีออกจากเวียงไป จนถึงพระสัพพัญญูพุทธเจ้า แล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ว่านี้คือสาเหตุที่ตนกินไม่ได้นอนไม่หลับ จะทำอย่างไรกับพญาทั้ง 4 ที่ตายไป
         พระพุทธเจ้าจึงแสดงว่า จงกลับไปนำสังขารของพญาทั้ง 4 กระทำให้เป็นกระจวร แล้วเอามาปั้นเป็นรูปสิงห์ 4 ตัว แล้วเอาไปไว้ในอุโมงค์ฅำ ในดอยสิงคุตระ  พร้อมกับมอบพระเกสาให้พญาตำแดงอีกเส้นหนึ่งนำไปบรรจุไว้ในอุโมงค์และพยากรณ์ว่า เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้ว พระอรหันต์จักนำเอาธาตุนิ้วก้อยมือด้ายขวามาบรรจุไว้ที่นี้ด้วย ในกาลภายหน้าเมืองนี้ ก็จะร้าง และก็จักกลับมารุ่งเรืองเป็นบ้านเมืองอีก แต่บ้านเมืองเวลานั้นไม่เจริญ เพราะเป็นเมืองเอกเมืองใหญ่ แต่ราชาละเลย ไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีที่เคยทำมา
พญาฅำแดงก็กลับคืนสู่เมืองของ แล้วเรียกประชุมท้าวพญาเสนาอามาตย์ให้มาพร้อมกัน จัดการสร้างหุ่นสิงห์ 4 ตัว ด้วยซากพญาทัง 4 ตน แล้วนำไปลงไว้ในพื้นดินที่อุโมงค์ฅำ ในดอยสิงคุตตระตามที่พระพุทธเจ้าบอก ภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอรหันต์ก็ไปอัญเชิญพระธาตุนิ้วก้อยข้าวขวามาใส่ไว้ในสะเภา และวางไว้บนหลังหลังสิงห์ทัง 4 ตัว แล้วก่อพระเจดีย์ไว้เหนือดอยสิงคุตตระนั้น
          หนึ่งในพญาทั้ง 4 ตน(ขุนหลวง เดิมที่อยู่ในทิศทั้ง 4 ของเมือง เมื่อรบกับพญา 4 ตนที่มาขอนางอินทสวรรค์ ที่สิทธังรณี) คือ พญาสุริยวงสาราชกุมาร (ผู้อยู่ในทิศตะวันตก) เมื่อบ้านเมืองสงบราบคาบก็กลับมาฅืนมาสู่เมืองดังเก่า พญาฅำแดงก็น้อมบ้านเวนเมืองให้พญาสุริยวงสาเสวยเมือง และกลับไปเมืองสิทธังรณี พญาฅำแดงก็ออกไปบวชเป็นดาบสฤาษี เจริญพรหมวิหาร 4 เสมอจนสิ้นชีวิตครั้งจุติลงก็ไปเกิดใน เทวโลก
                เมื่อพญาสุริยวงสาได้ฅืนมาเสวยเมืองสิทธังรณี แล้วก็สั่งสอนบริษัททั้งหลายให้กระทำบุญ ด้วยการให้ทาน รักษาสีล อย่างได้ขาด เมื่อตายลงพวกเขาได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วรพญาสิริยวงสาทรงอยู่จำศีล เจริญเมตตา ภาวนาทิพพมนต์คาถาว่า “พุทฺธํ  ธมฺมํ สงฺฆํ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม สมฺมาสมฺพุทฺโธ โลกนาโถ อนาคเต    นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ปรมํ สุขํ โหตุ โน”  ทุกวันไม้ได้ขาด ก็เจริญด้วยสมบัติต่างๆ มียศสมบัติ บริวารสมบัติ ครั้นพระองค์ทิวงคต ก็ไปอุบัติเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวสดึงส์
                ตั้งแต่นี้ไปภายหน้า พญาตนใดมาเสวยเมืองสิทธังรณีนี้ เมื่อถึงเทศกาลเชฎฐะ คือ เดือน 8 เพง(วันเพ็ญเดือนแปดเหนือ) ให้ป่าวประกาศราษฎร์ ไปสระสรงพระธาตุที่ดอยสิงคุตตระแล้ว ให้มาสรงพระพุทธรูปนั่งดิน ให้นำเครื่องสักการะ มี มธุบุปผาดวงดอก เข้าตอก ดอกไม้ ลำเทียน ขอโอกาสอนุญาตขอเอาโอชารส พีชะ ข้าวกล้า ถั่ว งา และสัพพะสิ่งของ     อัญญมณีอันมีในน้ำและแผ่นดินทั้งมวล ก็จะสำเร็จ เจริญสวัสดีทุกประการ
เรื่อง พุทฺธรูปมฺหิ เจติยสิงฺคุตฺตรปญฺตฺติปฏิสณฺานํ  นิฏฺฐิตํ ก็จบลง
ปริวรรต และ เรียบเรียง: เกริก อัครชิโนเรศ  (มีนาคม 2560)
ตรวจแก้ชำระและถอดความ : พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ (กรกฏาคม 2560)


2.  “เมื่อชางล้านนา : เซียมซีฉบับใบลาน”
2.1 สถานที่พบคัมภีร์ใบลาน
     เมื่อชาง : เซียมซีฉบับใบลาน พบที่ วัดไชยพรหม ตำบลเวียง อำภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา   วัดไชยพรม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2473 ตั้งอยู่เลขที่ 215 หมู่ที่ 5 บ้านไชยพรม ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา   ลักษณะของคัมภีร์  เป็นคำพยากรณ์ ที่จารลงในใบลาน ขนาดเล็กมาก ความกว้างไม่เกิน 4 เซนติเมตร และ ความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร จำนวนคำทำนาย 47 แผ่น  จารไว้เพียงด้านเดียว หรือ หน้าเดียว ของใบลานแต่ละแผ่น  มีไม้ประกับเรียบร้อยทั้ง 2 ด้าน มีเศษไม้แบนยาวขนาดเล็ก ผูกติดกับสายสยองเพื่อใช้เสียบลงไปบนปึกใบลานที่เรียงซ้อนกันอยู่ เป็นการ ชาง” คือ “สุ่มเลือกคำพยากรณ์  จากใบลานแต่ละใบ”
2.2 สาระสำคัญของคัมภีร์
              คำว่า เมื่อหมายถึง การพยากรณ์ฤกษ์ยาม และคำว่า ชาง” (ออกเสียงว่า จาง”) หมายถึง การเลือกออก, คัดออก ดังนั้น เมื่อชางหมายถึง การพยากรณ์ ด้วยการสุ่มเลือกคำพยากรณ์ คล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี หรือ แทงศาสตราของชาวไทยในภาคใต้ เมื่อชางเป็นคำพยากรณ์ ที่จารลงในใบลานขนาดเล็กมาก คือ มีขนาดไม่เกิน 4 x 10 ซ.ม. มีไม้ประกับเรียบร้อยทั้ง 2 ด้าน มีไม้แบนยาวขนาดเล็ก ผูกติดอยู่กับสายสยอง เพื่อใช้เสียบลงไปในปึกใบลานที่เรียงซ้อนกันอยู่ เป็นการ ชางคือ “สุ่มเลือก” คำพยากรณ์  ที่เขียนไว้บนใบลานเพียงด้านเดียวแต่ละใบ
    คำพยากรณ์มีทั้งดีและร้าย จะบรรยายเป็นคำอุปมา โดยใช้เนื้อหานิทานตอนเหตุการณ์สำคัญ ที่เป็นจุดเปลี่ยนชะตาชีวิตขึ้นหรือลง ของตัวละคร จากนิทานธัมม์ชาดก อันเป็นที่รู้จักกันดีในล้านนา  เช่น  พระสุธน ในสุธนชาดก มหาเวสสันตรชาดก  มโหสถชาดก กปิลชาดก สีวิไชยชาดก เวฬุกชาดก
ฯลฯ และ เหตุการณ์บางตอนของพระพุทธเจ้า จากปฐมสมโพธิ/พุทธประวัติ มาเป็นคำพยากรณ์ว่า ผู้ชาง จะได้ใบลาน ใบใด ดีหรือร้ายก็อ่านจากคำทำนาย   เช่น คำทำนายว่า  “.บุญญ์นี้ ได้เมื่อ นางอมิตตาไพท่าน้ำ นางพราหมณีทังหลายรุมด่า บ่ดีแล.”  หมายความว่า “ผู้สุ่มได้ลานใบนี้ จะประสบความเดือดร้อน ถูกคนก่นด่ารุมประณามโดยที่ตนไม่มีความผิด” ซึ่งจะได้ถอดความหมายเป็นภาษาปัจจุบัน โดยให้อ่านคำทำนายที่ปริวรรตด้วยภาษาล้านนาไว้ด้านบน  ดังต่อไปนี้
2.3 ภาคถอดความ
    เมื่อชาง ฉบับวัดไชยพรหม เวียงเชียคำ พระยาว มีคำทำนาย ทั้งหมด 47 ใบลาน ได้แก่
             ใบที่ 1. บุญญ์นิ ได้เมื่อเทวทัตเป็นรสี  เอางูเห่าดำมาเป็นลูก งูตอดเจ้ารสีตาย บ่ดี (เวฬุกชาดก) 
     ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะประสบภัยถึงชีวิต เหมือนพระเทวทัตต์ เมื่อชาติเป็นฤาษีเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นลูก ภายหลังถูกงูเห่าฉกตาย(เวฬุกชาดก) 
  ใบที่ 2. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์ไพค้าสะเพา มีหมู่สะเพา 500 เหล้ม ไพหลงยังเมืองยักข์ ยักข์จักกินเขาบ่ได้   โพธิสัตต์เจ้าเทศนาให้ยักข์ฟัง ยักข์ให้กองแก้วเงินฅำมากนัก มีนักกว่าเก่า  ดีแก่เลิย
    ความหมาย  “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดีมาก จะได้ลาภก้อนใหญ่ เหมือนพระโพธิสัตว์ไปค้าสำเภากับพ่อค้าเรือสำเภา 500 ลำ หลงทางตกไปเมืองยักษ์ แต่พระโพธิสัตว์ ได้สั่งสอนยักษ์ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ นอกจากยักษ์จะไม่จับกินเป็นอาหารแล้ว ยังมอบแก้วแหวนเงินทองให้มากมาย”  
  ใบที่ 3. บุญญ์นิ ได้เมื่อเทวทัตเป็นพ่อค้า เกวียน 500 เหล้ม ยักข์ร้ายกินตายเสี้ยง บ่ดีแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะประสบภัยถึงชีวิต เหมือนพระเทวทัตต์ เมื่อเป็นพ่อค้าเกวียน 500 เล่ม หลงทางในทะเลทรายหลงไปเมืองยักษ์ ถูกยักษ์หลอกจับกินเป็นอาหารพร้อมกองเกวียนทั้งหมด”
  ใบที่ 4. บุญญ์นิ ได้เมื่อชูชกะพราหมณ์เอากัณหาชาลีมารอดปู่ย่าตน ดีนักแล (มหาเวสสันตรชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีนักหนา จะรอดพ้นจากภัยอันตราย เหมือนพราหมณ์ชูชก นำกัณหา ชาลีมาถึงปู่ย่า / เจ้ากรุงสัญชัย และนางผุสดี  (มหาเวสสันตรชาดก)
ใบที่ 5.บุญญ์นิ ได้เมื่อนางผู้นึ่งเอาลูกไพอาบน้ำ ผีเสื้อน้ำเอาลูกมันไพกิน บ่ดีแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะสูญเสียของรักไป เหมือนหญิงพาลูกไปอาบน้ำที่ท่าน้ำถูกนางยักษ์แย่งเอาลูกนางไปกินเสีย”
ใบที่ 6.บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาเวสสันตระ มาเมืองเก่า ดีนักแก่ (มหาเวสสันตรชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก จะได้พบกับความสุขในชีวิต เหมือพระเวสสันดร ได้รับเชิญให้กลับมาเสวยความสุข เป็นราชาเหมือนเดิม”
ใบที่ 7.บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้านั่งสระ ตกต่าเหว แล่นออกมานั่งอยู่ในสวนอุทธิยาน พญาเมืองเขาตาย เขาราธนากินเมือง ดีนักแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก จะได้รับยศใหญ่ เหมือนครั้งพระโพธิสัตว์ ตกเหวแล้วปีนขึ้นมาหลบพักที่อุทยาหลวง เมื่อพระราชาที่ไม่มีพระโอรสสวรรคตลง ชาวเมืองต้องเสียงทายหาผู้มีบุญมาครองเมือง ราชรถก็มาเกยที่พระโพธิสัตว์ ชาวเมืองจึงเชิญเข้าไปเป็นพญาครองเมือง”
ใบที่ 8. บุญญ์นิ ได้เมื่อพระโพธิสัตต์เจ้ากับโจรคั้นกัน นางหันไคว(ฅวย) โจรเติบ นาง(ยื่น) ดํ้า (ด้าม) แก่โจร ข้าโพธิสัตต์ตาย บํ่ดี (จันทโครพ)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะถูกคนที่รักข้างกายทรยศทำให้เสียชีวิต เหมือนเมื่อจันทโครพ ต่อสู้กับโจรปลุกปล้ำกันอยู่  กำลังจะได้ทีขอดาบจากนางโมรา แต่นางโมรา เอาใจออกห่างทรยศ กลับยื่นด้ามดาบให้โจร ในที่สุดโจรก็สังหารจันทโครพตาย”
ใบที่ 9. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เป็นแลนเทวทัตเป็นรสี ไล่ตีโพธิสัตต์เจ้ากิน  บ่ดี (โคธชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะถูกคนที่ไว้ใจปองทำร้ายหมายชีวิต เหมือน ฤาษีทุศีลแก้งทำเป็นใจดี มีเมตตา เมื่อได้ทีก็จ้องทำร้ายพญาเหี้ย(โคธา) หวังจะฆ่าให้ตายมาปรุงเป็นอาหาร”
ใบที่ 10. บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาสีวิไชยพลัดพรากนางสีไวยยกา ส้างสาลาแต้มไว้ยังรูปพลัดพรากกัน แต่งข้ายิงไว้ว่าผู้ใดมาที่นิไห้แล้วหัว (ให้) มึงบอกคู มันไพบอกนางมาจวบพญาสีวิไชยผัวเก่า ดีนัก (สีวิไชยชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดีมากจะได้พบกันคนที่พลัดพรากจากกันไปนาน เหมือนนางสีไวยยกา ซึ่งพลัดพรากจากพญาศรีวิไชย ประสบความทุกข์มาก นางจึงให้สร้างศาลาที่พักแก่คนเดินทางและเขียนภาพเหตุการณ์ที่ทั้งสองเคยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข แต่แล้วต้องมาพลัดพรากจากกัน มีความทุกข์มาก ให้นางสนมคอยสังเกตแขกที่มาพักศาลา หากมีใครแสดงอาการหะวเราะแล้วร้องไห้ จงไปแจ้งแก่นาง ในที่มสุด พญาศรีวิไชย ก็เสด็จมาที่ศาลา เห็นภาพความหลังก็รู้สึกมีทั้งความทุกข์และความสุข แยกไม่ออก  ก็เลยทั้งร้องไหและหัวเราะ เหมือนคนบ้า นางสนมก็ไปบอกนางสีไวยยกา ในที่สุดทั้งสองก็พบกันที่ศาลานั่นเอง”
ใบที่ 11. บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาธนัญไชยโกรัพยะ เหล้นหมากสกากับปุณณกยักข์ ขันเสียเจ้าวิธุร บ่ดีสังเลิย  (วิธุรบัณฑิตชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะสูญเสียข้าวของเงินทองมากมาย รวมทั้งคนที่ตนรักที่สุด เหมือนพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ เล่นสกาแพ้ปุณณยักษ์ ต้องเสียอำนาจ และเสียวิธูรบัณฑิต คนดีของเมืองแก่ยักษ์”
ใบที่ 12. บุญญ์นิ ได้เมื่อแผ่นดินแตกสูบกินพญาสูปปพุทธะ บ่ดี (โคณบุตต์ชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะประสบภยันตรายถึงสิ้นชีวิต เหมือนเจ้าสุปปพุทธะถูกธรณีสูบเสียชีวิต”
ใบที่ 13.บุญญ์นิ ได้เมื่อเจ้าสุธนไพหานางมโนราห์ ได้เป็นเมียตนดังเก่า ดีนักแล (สุธนชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดี จะได้พบของที่หาย จะได้ทรัพย์สมบัติคืน เหมือพระสุธนตามไปจนได้นางมโนราห์คืนมาครองคู่มัความสุขเหมือนเดิม”
ใบที่ 14. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นปู เทวทัตเป็นนกยางไพล่ายเอาปลามากินเสี้ยงแล้ว เอาโพธิสัตต์เจ้ามากิน โพธิสัตต์เจ้าคีบฅอนกยาง บ่ดี  (พกชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะถูกคนโกงหลอกลวง จนสิ้นเนื้อประดาตัว แทบเอาชีวิตไม่รอด เหมือเมื่อพระโพธิสัตว์เกิดเป็นปูอาศัยในหนองน้ำกับฝูงปลาทั้งหลาย  เมื่อเกิดภัยแล้งสัตว์ทั้งหลายก็จะต้องแห้งตาย มียกยางป่า แสร้งทำเป็นมีใจเมตตามาหลอกว่า จะช่วยนำไปอยู่ที่หนองน้ำใหญ่อีกแห่ง ปลาหลงชื้อ นกยางก็คาบไปกินทุกวันจนหมด เหลือแต่ปู ก็คาบปูไปหวังจะกิน แต่ปูรู้ทันก็เอาก้ามคีบคอนกยางจนตาย”
ใบที่ 15. บุญญ์นิ ได้เมื่อเจ้าสิทธาตถ์ออกบวช ได้เป็นพระ ดีแก่เลิย  (สิทธาตถ์ออกบวช/ พุทธประวัติ)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก จะได้ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในชีวิต เหมือพระสิทธัตถะออกผนวช และในที่สุดก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งแก่โลก”
ใบที่ 16. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นพญาวอกเผือก มีหมู่ 5 ร้อยตัว อยู่สวัสสดีมากนัก ดีแก่  (กปิลชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก  จะมีความสุขท่ามกลางบริวาร ดุจพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นพญาลิง ปกครองฝูงลิงบริวารถึง 500 ตัว ในป่าใหญ่
ใบที่ 17. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นช้าง เทวทัตเป็นปู โพธิสัตต์เจ้าจักลงกินนํ้า ปูคีบตีนช้างไว้ บ่ดีแล   (สุวัณณกักกฏกชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะเกิดอุปสรรคขัดขวางในการดำรงชีพ ดุจพญาช้างโพธิสัตว์ลงไปกินน้ำ แต่ถูกปู(เทวทัตต์)หนีบเอาเท้าช้างไว้”
ใบที่ 18. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นราชหงส์ฅำ เป็นพญาแก่หงส์ทังหลาย 5 ร้อยตัว อยู่ถ้ำมูลปัพภา   อยู่สัวสสดี ดีแก่เลิย
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก  จะมีความสุขท่ามกลางบริวาร ดุจพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นพญาหงส์ทอง ปกครองฝูงหงส์บริวารถึง 500 ตัว ในถ้ำมูลปัพภา
ใบที่ 19. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์บวชเป็นรสี เทวทัตเป็นพญา ไพสวนอุทธิยาน เทสนาให้นางฟัง ให้เจ้ารสีเสีย บ่ดี
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะถูกคนชั่วปองร้าย และทำลายให้เกิดความทุกข์ยากลำบากขนาดต้องสิ้นชีวิต เหมือนขันติวาทีดาบส ถูก พญาเทวทัตต์อิจฉาที่ไปพบว่า ฤาษีกำลังเทศนาสั่งสอนนางสนม ไม่เหลือใครเฝ้า พญาโกรธก็สั่งให้ทำร้ายเอาจนสียชีวิต”
ใบที่ 20. บุญญ์นิ ได้เมื่อชูชกะพราหมณ์ตาย เอาไพเสีย แร้งกาชิงกันกินมัน บ่ดี  (มหาเวสสันตรชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี แม้ได้ลาภก็จะเสื่อมจากลาภ เหมือนพราหมณ์ชูชก ได้ค่าไถ่ตัวชาลีกัณหาจากพระเจ้าสัญชัย แต่ก็ไม่ได้เสวยสุข ตายลงไปก็ไม่มีญาติมารับมรดก เขาจึงนำไปทิ้งในป่าช้า ปล่อยให้เป็นเยื่อแร้งการุมทึ้งร่าง น่าอนาถนัก”
ใบที่ 21.บุญญ์นิ ได้เมื่อขา 2 ฅนผัวเมียไพไถนา พระปัจเจกมาบิณฑิบาต ขาเอาเข้าใส่บาตพระปัจเจกก้อนขี้ไถ เป็นฅำ เสี้ยงทังนา ขาเป็นดีมากนักแก่เลิย  (ปวัตติ์สาวิกา – นางอุตตรานันทมารดา)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดีมาก จะได้ลาภก้อนโต เหมือนคู่สามีภริยาชาวนา ไปไถนา และได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยอานิสงส์นั่น ก้อนดินในที่นาที่เขาไถทั้งหมดกลายเป็นทองคำ ทำให้พวกเขาเป็นมหาเศรษฐีทันตาเห็น”
ใบที่ 22. บุญญ์นิ ได้เมื่อเขาผิดกัน พราบกันฟันตาย บ่ดีสังสักอันแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดีมาก จะเกิดการทะเลาะวิวาท ชนวนสงคราม ล้างผลาญห้ำหั่นกันจนพินาสทั้งสองฝ่าย เหมือนคนที่เป็นศรัตรูจ้องทำลายผลาญชีวิตกัน”
ใบที่ 23. บุญญ์นิ ได้เมื่อฅวายทุรพีชิงพ่อตนตาย บ่ดีเลิย   (พรหมจักก์)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะถูกคนข้างตัวทรยศ หรือทำร้าย เหมือนทรพา ถูกทรพี ควายตัวลูกมาเนรคุณขวิดจนตาย”
ใบที่ 24. บุญญ์นิ ได้เมื่อ 2 ขาได้ไหฅำ  เป็นดีมากนักแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก จะได้โชคลาภก้อนโตโดยไม่คาดคิด เหมือน สองสามีภรรยาได้พบ ไหบรรจุเต็มด้วยทองคำ ก็พ้นจากความยากจน”
ใบที่ 25. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เป็นราชสีห์ เป็นพญาแก่เนื้อทังหลาย ดีนักแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดีมาก จะได้รับการยกย่อง ให้มียศศักดิ์ตำแหน่งสูง เหมือพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นราชสีห์ เป็นใหญ่กว่าฝูงสัตว์ในป่า”
ใบที่ 26. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นนกกะทา ช้าง วอก นกยูง ไว้โพธิสัตต์เจ้าให้เป็นเอกแก่เขา  ดี
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดี จะได้รับการยกย่อง ให้มียศศักดิ์ตำแหน่งสูง เหมือนนกกะทา ได้เป็นใหญ่กว่า ฝูงสัตว์ 3 ชนิด คือ ช้าง ลิง และนกยูง”
ใบที่ 27. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นหมู เสือมาจับหมู หมูทังหลายบอกโพธิสัตต์เจ้าจาหมูทังหลายบุ่นเป็น องมงค์ดินอยู่ เสือไล่มาแล่นหนี เขารุมขบเสือตาย ไว้โพธิสัตต์เจ้าเป็นพญาแก่หมูทังหลาย ดีนัก  (ตัจฉกสูกรชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก จะเอาชนะข้าศึกศัตรูที่มีกำลังมากกว่าตน เหมือนฝูงหมูป่าได้คำแนะนำจากพญาหมูป่า ให้ทำอุบายด้วยการขุดอุโมงค์ป้องกันตัวในพื้นดิน เมื่อเสือตกมาในท่ามกลางหมูป่า พวกเขาก็รุมขย้ำเสือจนตาย”
ใบที่ 28. บุญญ์นิ ได้เมื่อนกไส้ตอดตาช้างตาย อย่านา บ่ดี (ลฏุกิกชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะมีอุบัติภัยแก่ชีวิตตน เหมือนช้างป่าถูกนกไส้จิกจนตาบอด และช้างก็เดินหลงป่าจนตกเหวตาย”
ใบที่ 29. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นรสี อยู่เมตตาภาวนายังสาลา ดี
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดี จะอยู่สุขสบาย เหมือนพระโพธิสัตว์บวชแป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่อาศรมอย่างมีความสุข”
ใบที่ 30. บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาให้เอาหมอโหราทวายว่า เสาโรงปกจักเป็นฅำ บ่เป็น พญาให้พวกข้าฅนให้เอา หมอโหราไพข้าเสีย เมื่อพายลูนเอาต้นกล้วยฅำมาถวาย  พญากินแหนงเมื่อลูน  บ่ดี (เฉลียวฉลาด)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี เพราะจะสูญเสียของที่มีค่าโดยที่ตนลุอำนาจแก่โทสะขาดการไตร่ตรองที่ดี ดังพญาด่วนพิโรธโหรทำนายว่าจะเกิดสิ่งที่ดี แต่ยังไม่เห็นผลก็รับสั่งให้ประหารโหร ภายหลัง คำทำนายของโหรเป็นความจริง แต่คนก็ตายไปแล้ว ได้แต่เสียใจภายหลัง”
ใบที่ 31. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เป็นพญาจักก์ ชื่อว่า สุทัสสนจักก์ ดีนัก
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้
ใบที่ 32. บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาทัง 4 ตน พญาอินท์ ตน1 พญานาค ตน 1 พญาครุฑ ตน 1 พญาพาราณสี  ตน 1  พญา 4 ตนเถียงกันต่างตนว่าประเสิฏมากนัก หาเจ้าวิธุรบัณฑิตนั้นมา ตัดว่าฉันนิ มหาราชะ  ประเสิฏ  ดีนัก (วิธุรบัณฑิต)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดี จะได้พบผู้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งแข่งดีระหว่างกันและกัน เหมือน วิธูรบัณฑิต ช่วยไกล่เกลี่ยการแข่งดีของราชาทั้ง 4 ให้เกิดความสามัคคีปรองดองเกิอดขึ้นระหว่าง พระอินทร์ พญานาค พญาครุฑ และเจ้าเมืองพาราณสี และทั้ง 4 ก็เป็นสหายรักกัน”
ใบที่ 33. บุญญ์นิ ได้เมื่อเจ้าชนกไพค้าสะเพา สะเพาแตก ฅนมากนักตายเสี้ยง บ่ดี (มหาชนกะ)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ไม่ดี จะประสบภัยอันตรายในการประกอบอาชีพต่างถิ่น เหมือนพระมหาชนกออกไปค้า เรือสำเภาถูกพายุจนล่ม ลูกเรือเสียชีวิตหมด เหลือแต่พระมหาชนกต้องลำบากลอยคอในมหาสมุทรถึง 7 วัน 7 คืน แทบเอาชีวิตไม่รอด” 
ใบที่ 34.บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นช้างเป็นพญาแก่ช้าง 5 ร้อยตัว ดีนักแล
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้ ดีมาก  จะมีความสุขท่ามกลางบริวาร ดุจพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นพญาช้าง ปกครองโขลงช้างบริวารถึง 500 ตัว ในป่า
ใบที่ 35. บุญญ์นิ ได้เมื่อเจ้าสุธนไพหานางมโนราห์ จวบยักข์  บ่ดี (สุธนชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ค่อยดี จะประสบอุปสรรค ขวากหนามขวางกั้น เหมือนตอนที่พระสุธนไปตามหานางมโนราห์ และได้พบกับยักษ์ขาวงทางไป”
ใบที่ 36. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นกวางฅำ เป็นพญาแก่กวาง 5 ร้อยตัว ดีแก่เลิย
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดีมาก  จะมีความสุขท่ามกลางบริวาร ดุจพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นกวางทอง ได้เป็นราชา ปกครองฝูงกวางถึง 500 ตัว ในป่า” 
ใบที่ 37. บุญญ์นิ ได้เมื่อพญาสมภมิตต์ให้เอาลูกตนไพไต่ดู แจ้งให้เอาไพข้าเสีย บ่ดี (สมภมิตตชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะประสบชะตาถึงฆาต เหมือนที่พระเจ้าสมภมิตต์ ให้นำโอรสมาไต่สวนโทษ และสั่งเพชฌฆาตให้ประหารโอรสเสียเมื่อฟ้าแจ้งขึ้นมา”
ใบที่ 38. บุญญ์นิ ได้เมื่อนกเค้ากับกาเถียงกัน เป็นดั่งหินเหนือสิลาบาต ยังปล่าหิมพานต์ บ่ดี (อุลูกชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท มีปากเสียง ทุ่มเถียงกัน เหมือนกากับนกเค้า คู่เวรไล่จิกตีกันส่งสียงดังก้องไปทั้งป่า เหมือนก้อนหินกระทบกันในป่าหิมพานต์” 
ใบที่ 39. บุญญ์นิ ได้เมื่อเทวทัตบวชเป็นรสี เอาช้างมาเลี้ยงเป็นลูก เมื่อลุนข้าเจ้ารสีเสีย บํ่ดี (อินทสมานโคตชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะเกิดเภทภัยใหญ่ถึงสูญเสียชีวิต เหมือ เมื่อครั้งอดีต พระเทวทัตต์เป็นฤาษี นำช้างป่ามาเลี้ยงเป็นลูก ภายหลังก็ถูกช้างฆ่าตาย”
        ใบที่ 40.บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นพ่อค้าเกวียน 5 ร้อยเหล้ม ไพเมืองพาราณสี บ่เป็นอนทรายสักอัน ดีนัก
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดี จะเดินทางไปไหนมาไหนก็ไม่เป็นอันตราย เหมือนพระโพธิสัตว์เมื่อเป็นพ่อค้าเกวียน พาฝูงเกวียน 500 เล่มไปค้าขายที่นครพาราณสีอย่างปลอดภัยไร้อันตราย”
ใบที่ 41. บุญญ์นิ ได้เมื่อมหาอานันทะเป็นแลนฅำ พาโพธิสัตต์ออกจากเหวแล้วได้เป็นพญา ดีนัก
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดี จะได้รับความช่วยเหลือให้พ้นเคราะห์และประสบโชคลาภ เหมือน พระโพธิสัตว์เป็นแลนทอง(ตะกวด) ได้รับความช่วยเหลือจากแลน(อานันท์) ให้ขึ้นพ้นจากเหวอย่างปลอดภัย  ต่อมา ได้เป็นใหญ่ในฝูงแลน”
ใบที่ 42. บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเป็นช้างฉัททันต์ พรานเลิยเอางา แล้วตายไพ บ่ดี  (ฉัททันตชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ไม่ดี จะสูญเสียทรัพย์สมบัติ หรือ แม้กระทั้งเป็นภัยถึงชีวิต ดัง ช้างฉัททันต์พระสัตว์ ถูกพราน(เทวทัตต์) เนรคุณ กลับมาตัดเอางา จนล้มลง”
ใบที่ 43. บุญญ์นิ ได้เมื่อชูชกะพราหมณ์เอาเจ้ากัณหาชาลีผูกแล้วตีไพ เป็นทุกข์ บ่ดี (มหาเวสสันตรชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  จะประสบกับความทุกข์ยาก ถูกบีบคั้นให้ได้ความลำบากทั้งร่างกายและจิตใจ เหมือน ชาลี กัณหา สองกุมาร ที่พระเวสสันดรให้เป็นทานแก่ชูชก และถูกพราหมณ์ชูชกผูกมัดมือลากจูงเฆี่ยนตีไปตามทางได้รับความลำบากน่าเวทนา”
ใบที่ 44.บุญญ์นิ ได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าตกเหว แล่นเอาออกแล้ว ไพนั่งอยู่อุทธิยาน พญาเมืองเขาตาย ราธนานิมนต์ โพธิสัตต์เจ้าเมือเป็นพญาแก่เขา  ดีนัก
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดี จะพ้นเคราะห์และประสบภาลใหญ่ เหมือนพระโพธิสัตว์ ตกลงเหว พาตัวเองออกพ้นมาได้ ไปนั่งที่อุทยานหลวง พระราชาผู้ครองนครนั้นสิ้นพระชนม์มาหลายวัน ไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดา ไม่มีผู้สืบราชสมบัติ ชาวเมืองจึงใช้ราชรถเสี่ยงทายหาผู้มีบุญมาครองเมือง ได้มาเชิญพระโพธิสัตว์ให้เป็นราชาครองเมือง ถึงอุทยานหลวง”
ใบที่ 45. บุญญ์นิ ได้เมื่อสัพพัญญูพระเจ้าเราอธิษฐานลอยไตร ในแม่น้ำเนรัญชรา ลอยตามไตร พระเจ้าทังหลายดีนักแล (ปฐมสัมโพธิ)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดี ทำการสิ่งใดจะประสบความสำเร็จ เหมือตอนที่พระสิทธัตถะ อธิษฐานลอยถาดว่าถ้าจะบรรลุพระโพธิญาณ ให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำ และถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำ ไปจมซ้อนทับกับถาดของอดีตพระพุทธเจ้าอีก 4 พระองค์ ที่บาดาล”
ใบที่ 46. บุญญ์นิ ได้เมื่อพรานเอานางมโนราห์มาให้เจ้าสุธน ดีนัก  (สุธนชาดก)
ความหมาย “ผู้เสี่ยงได้ใบนี้  ดี จะได้ลาภ หรือไม้คู่ครอง เหมือนพระสุธนได้รับถวายนางมโนราห์ จากพรานป่า”
ใบที่ 47 บุญญ์นี้ ได้เมื่อ นางอมิตตาไพท่าน้ำ นางพราหมณีทังหลายรุมด่า บ่ดีแล.
ความหมาย ผู้ได้ใบนี้ “จะประสบความเดือดร้อน ถูกคนก่นด่ารุมประณาม โดยที่ตนไม่มีความผิด เหมือนนางอมิตตาถูกพวกภรรยาของพราหมณ์รุมด่าที่ท่าน้ำ”
ปริวรรต / เรียบเรียง: เกริก อัครชิโนเรศ  (มีนาคม 2560)
ตรวจแก้ / ถอดความ  : พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ (กรกฏาคม 2560)
         
ทั้ง 2 เรื่องที่นำเสนอมานี้ พอเป็นการจุดประกายใช้ชุมชนอื่นๆ ในเวียงพะเยาได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาของตน และหันมารื้อฟื้น ศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นรากเหง้า ที่ไปที่มาของตน จะได้ไปหลงไปตามกระแสมากจนเกินไป สิ่งใดที่ยังเป็นประโยชน์ โปรดรักษาและสืบต่อ สิ่งใดที่เห็นว่าด้อยค่า แต่ก็ไม่ควรทำลาย ในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์เปลี่ยน สิ่งที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่สามารถหวนคืนฟื้นชีพมาให้พวกอนุชนได้ศึกษาอีกต่อไป.

3. ภาคปริวรรต
3.1ตำนานพระเจ้านั่งดิน
ฉบับวัดล้า ตำบลเวียง อำเภอเชียงฅำ จังหวัดพะเยา
หมายเลขสำรวจของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
16- 0012-01L-0052-01
ขออภัย มีปัญหาเรื่อง fonts ครับ เป็น LN Tilok จะอ่านได้
ตำนาฯนฯพรฯเจั้านั่งฯดินฯ
นเมา ตสฺสตถฯฯุ จตุจุฬาณี จุลลฯสกรฯาราชได้ 1213 ต฿วฯ ปีลฯร้วฯงใค้ เดิอฯร ๖ เหารา ล฿งฯ ๓ ฅ่ำ เมงฯวันฯ ๒ ยังฯมีขุรพรฯอ฿งคฯ์นึ่งฯ ชื่วฯาก฿งฯ ลุกแต่เมิอฯงอเยาธิยาพุ้รมาเมตตฯาในเมิอฯงพุทธฯรัสสฯ คื่วฯาเมิอฯงซลาวฯที่นิ ใน อถล่วฯงแลฯวฯแลฯ
ในกาลฯฯเมิ่อฯก่อฯรยังฯมีพรฯญาต฿นฯ๑ ชื่วฯา พรฯญาสํฯิคุตตฯรนคอฯร อยฯู่ฯในวยฯงนคอฯรไชยฯย฿สฯฯสิทํฯธฯรณี      เทพพฯฯนคอฯรไชยฯยุทธฯเดชฯ  ยังฯมีพรฯญา ๔ ต฿นฯ ต฿นฯ๑ ชื่วฯา พุทธฯสอฯร อยฯู่ฯทิสห฿นฯใต้  ต฿นฯ๑ ชื่วฯา อนุโล฿กฯ อยฯู่ฯทิสห฿นฯ วันฯต฿กฯ ต฿นฯ๑ ชื่วฯาสุริยว฿งสฯฯา อยฯู่ฯทิสห฿นฯวันฯออฯกแจ่งฯใต้ ต฿นฯ๑ชื่วฯาสุริยน฿ระฯนีตฯ อยฯู่ฯทิสห฿นฯเหนฯิอแลฯ
ตำนานพระเจ้านั่งดิน
นโมตสฺสตฺถุ ฯ จตุจุฬาณี จุลลสกราชะได้ ๑๒๑๓ ตัวปลีร้วงใค้ เดือน ๖ โหรา  ลง ๓ ฅ่ำ เมงวัน ๒        ยังมีขุนพระองค์นึ่ง ชื่อว่ากง ลุกแต่เมืองอโยธิยาพุ้นมาเมตตาในเมืองพุทธรัสสะ คือว่าเมืองซะลาวที่นิ     ใน อถ ล่วงแล้วแล
ในกาลเมื่อก่อนยังมีพระญาตน ๑ ชื่อว่า พระญาสิงคุตรนคอร อยู่ในเวียงนคอรไชยยสสิทธังรณี   เทพพนคอรไชยยุทธเดช  ยังมีพระญา ๔ ตน ตน๑ ชื่อว่า พุทธสอรอยู่ทิสะหนใต้  ตน ๑ ชื่อว่าอนุโลก อยู่      ทิสะหน วันตก ตน ๑ ชื่อว่าสุริยวงสา อยู่ทิสะหนวันออกแจ่งใต้ ตน ๑ ชื่อว่าสุริยนนตรี อยู่ทิสะหนเหนือแล
ยังฯมีเทวดา ๔ ต฿นฯ เจั้ารสี ๒ ต฿นฯ พรฯญาพงฯนทฯาต฿นฯ ๑ พรฯญานาฯคฯ ต฿นฯ๑ นาฯงฯนาฯฏฯส฿นฯๆมพรฯญฯาต฿นฯนั้นฯ มี หมฯื่ฯร ๑ คีดฯ ราชการฯกับฯฯด้วฯยฯกันฯได้พันฯ ๑ เมิอฯงเทพพฯฯมหานคอฯรซหมฯยฯง ๔ แจ่งฯ ออฯกภาสินฯเถิงฯขุรสักดฯิราชการฯ ซหมฯยฯง ๔ แจ่งฯ ออฯกไพเถิงฯขุฯรหลฯวฯงอนุโล฿กฯคิชฌฯการฯ จิ่งฯจัดฯริพ฿ลฯฯได้ยฯแสนฯ ๘ หมฯื่ฯร อยฯู่ฯมาเถิงฯปลฯีมเสงฯ เดิอฯร ๘ ล฿งฯ ๑๑ ฅ่ำ  จิ่งฯจัดฯแจงฯฅ฿นฯให้ ซรฯาบฯฯ แจ้งฯ ชุ่มนุมด้วฯยฯกันฯส้างฯกำแพงฯวยฯงพุทธฯรัสสฯแลฯวฯ ปางฯเมิ่อฯอสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าสรฯเด็ฌฯลยฯบโล฿กฯมาเถิงฯวยฯงพุทธฯรัสสฯมาเถิงฯสถิตฯอยฯู่ฯในดอฯยฯสํฯิคุตตฯรแลฯวฯ พรฯคํ่มฯาเลงฯหันฯยังฯชายฯทุคคฯตผู้ ๑ ชื่วฯา ฅำแดงฯ นั้นฯมีบุญญฯ์ส฿มพฯฯารฯมากฯนักฯ

ยังมีเทวดา ๔ ตน เจ้ารสี ๒ ตน พระญาอินทาตน ๑ พระญานาค ตน ๑ นางนาฏสนมพระญาตนนั้นมี หมื่น ๑ ค็ดี ราชการกับด้วยกันได้พัน ๑ เมืองเทพพมหานคอรซะเหมียง ๔ แจ่ง ออกภาสินเถิงขุนสักดิราชการ ซะเหมียง ๔ แจ่ง ออกไพเถิงขุนหลวงอนุโลกคิชฌการ จิ่งจัดริพลได้ยแสน ๘ หมื่น อยู่มาเถิงปลีมะเส็ง เดือน ๘ ลง ๑๑ ฅ่ำ  จิ่งจัดแจงฅนให้ทราบ (ซราบ) แจ้ง ชุ่มนุมด้วยกันส้างกำแพงเวียงพุทธรัสสะแล้ว ปางเมื่อสัพพัญญูเจ้าสรเด็ฌเลียบโลกมาเถิงเวียงพุทธรัสสะ มาเถิงสถิตอยู่ในดอยสิงคุตตระแล้ว พระค็มาเลงหันยังชายทุคคตะผู้ ๑ ชื่อว่า ฅำแดง นั้นมีบุญญ์สมพารมากนัก
จักฯได้ยฯเถิงฯฐานันตฯรพายฯหนฯ้า สัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าจิ่งฯเทสนาฯว่าฯ หื้ได้ยฯส้างฯสารูปฯคูพรฯตถาคตไว้ยฯในเมิอฯงสิทธฯํฯรณี  คื่วฯาเทพพฯฯมหานคอฯร  จิ่งฯใช้พรฯญฯาพงฯนทฯ์ต฿นฯ๑ พรฯญฯานาฯคฯ ต฿นฯ ๑ พรฯรสี ๒ ต฿นฯ อรหันตฯาเจั้า ๔ ต฿นฯ ไพอูาดินฯแต่เมิอฯงลํฯกาทวฯีบมาส้างฯรูปฯพุทธฯรูปฯเจั้านาฯนฯได้ยฯ เดิอฯรปลฯายฯ  ๗ วันฯจิ่งฯแลฯวฯ เมิ่อฯอนั้นฯสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าสรฯเด็ฌฯ ไพโปรฯ฿ดฯโล฿กฯผับฯฯไฅวฯ่แลฯวฯ จิ่งฯสรฯเด็ฌฯเขั้ามาสู่เมิอฯงสิทธฯํฯรณีเทพพฯฯมหานคอฯร ที่ส้างฯพุทธฯรูปฯหั้นฯ ยามฯนั้นฯอ฿งคฯ์สัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าจิ่งฯเลงฯหันฯสารูปฯอันฯนั้นฯว่าฯน้อฯยฯเสยฯอ฿งคฯ์คูพรฯตถาคต จิ่งฯจักฯหื้พอฯกออฯกแถมฯหื้ใหยฯ่เทั่าอ฿งคฯ์สัพพฯฯัญญฯูฯนิเทิอฯะ

จักได้ยเถิงฐานันตระพายหน้า สัพพัญญูเจ้าจิ่งเทสนาว่า หื้อได้ยส้างสารูปคูพระตถาคตะไว้ในเมืองสิทธังรณี  คือว่าเทพพมหานคอร  จิ่งใช้พระญาอินท์ตน ๑ พระญานาค ตน ๑ พระรสี ๒ ตน อรหันตาเจ้า ๔ ตน ไพเอาดินแต่เมืองลังกาทวีปมาส้างรูปพุทธรูปเจ้านานได้ย เดือนปลาย  ๗ วันจิ่งแล้ว เมื่อนั้นสัพพัญญูเจ้าสรเด็ฌ ไพโปรดโลกผับไฅว่แล้ว จิ่งสรเด็ฌเข้ามาสู่เมืองสิทธังรณีเทพพมหานคอร ที่ส้างพุทธรูปหั้น ยามนั้นองค์สัพพัญญูเจ้า จิ่งเลงหันสารูปอันนั้นว่าน้อยเสียองค์คูพระตถาคตะ จิ่งจักหื้อพอกออกแถมหื้อใหญ่เท่าองค์สัพพัญญูนิเทิอะ

จิ่งฯจักฯมีริทธฯี รัสสฯมฯีรุ่งเริอฯงงามฯชลฯฯ  ยามฯนั้นฯสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าคํ่เบ่งฯริทธฯีกทฯำบาฯฏิหาริยฯ์ ออฯกกรฯอฯบ  จักรฯวาฯฬฯ ยามฯนั้นฯพรฯสารูปฯเจั้า คํ่ฅ้ายฯล฿งฯจากฯที่แท่นฯแก้วฯ แลฯวฯคํ่ล฿งฯไพไหวฯ้ พรฯพุทธฯเจั้าหั้นฯแลฯ เมิ่อฯอนั้นฯสัพพฯฯัญญฯูฯ จิ่งฯเทสนาฯเซิ่งฯพุทธฯรูปฯเจั้าว่าฯ ให้ท่าฯนฯรักษฯฯาสาสนาฯคูพรฯตถาคต หื้สยฯ้ง ๕๐๐๐ พรฯวัสสฯาเทิอฯะ หากฯเปนฯขอฯงแห่งฯเรัาแลฯ จิ่งฯเทสนาฯแกลฯ่ท้าวฯพรฯยฯาแลฯเสนาฯอามาตยฯ์ทํฯลฯฯายฯว่าฯ ที่ใดยังฯจักฯส฿มฯควฯรรักษฯฯาสาสนาฯแลฯเปนฯที่ชุมนุมแห่งฯท้าวฯพรฯยฯาทํฯลฯฯายฯ เปนฯที่แผ่นฯดินฯแห่งฯพรฯพุทธฯรูปฯเจั้ายังฯจักฯรุ่งเริอฯงไพๆายฯหนฯ้า ดั่งฯอั้นฯ จุ่งอูาพรฯพุทธฯรูปฯเจั้าไพไว้ยฯในที่นั้นฯเทิอฯะ

จิ่งจักมีริทธี รัสสมีรุ่งเรืองงามชะแล  ยามนั้นสัพพัญญูเจ้าค็เบ่งริทธีกะทำปาฏิหารย์ออกกรอบจักรวาฬ  ยามนั้นพระสารูปเจ้า ค็ฅ้ายลงจากที่แท่นแก้ว แลวค็ลงไพไหว้ พระพุทธเจ้าหั้นแล  เมื่อนั้นสัพพัญญูจิ่งเทสนาเซิ่งพุทธรูปเจ้าว่า ให้ท่านรักษาสาสนาคูพระตถาคตะ หื้อเสี้ยง ๕๐๐๐ พระวัสสาเทิอะ หากเปนของแห่งเราแล จิ่งเทสนาแกล่ท้าวพระญาและเสนาอามาตย์ทังหลายว่า ที่ใดยังจักสมควรรักษาสาสนาและเปนที่ชุมนุมแห่งท้าวพระญาทังหลาย เปนที่แผ่นดินแห่งพระพุทธรูปเจ้ายังจักรุ่งเรืองไพพายหน้า ดั่งอั้น จุ่งเอาพระพุทธรูปเจ้าไพไว้ยในที่นั้นเทิอะ

เมิ่อฯอนั้นฯสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้า สรฯเด็ฌฯไพแลฯวฯ ท้าวฯพรฯยฯาเสนาฯอามาตยฯ์จิ่งฯพรฯ้อฯมกันฯย฿กฯอูาพุทธฯรูปฯ เจั้าไพไว้ยฯในวยฯงพุทธฯรัสสฯที่นั้นฯแลฯวฯ ท้าวฯพรฯญาเสนาฯอามาตยฯ์ จิ่งฯย฿กฯอูาวยฯงพุทธฯรัสสฯที่นั้นฯเวนฯเคนฯหื้แกลฯ่พรฯพุทธฯรูปฯเจั้าหั้นฯแลฯ  ที่นั้นฯหมฯายฯมีท้าวฯพรฯยฯาเสนาฯอามาตยฯ์ทํฯลฯฯายฯจิ่งฯจักฯพรฯ้อฯมกันฯอุฯสสฯาภิเสกฯยังฯชายฯทุคคฯตผู้นั้นฯหื้ได้ยฯเถิงฯฐานันตฯรเปนฯพรฯยฯาฅำแดงฯหั้นฯแลฯ จิ่งฯย฿กฯออฯกจากฯวยฯงพุทธฯรัสสฯที่นั้นฯไพตั้งฯวยฯงชั้นฯนอฯกอยฯู่ฯหั้นฯแลฯ จำนยฯรแต่นั้นฯไพพายฯหนฯ้าวยฯงพุทธฯรัสสฯที่นั้นฯ บํ่ควฯรท้าวฯพรฯยฯาเสนาฯอามาตยฯ์เจั้านาฯยฯผู้ใหยฯ่ จักฯอยฯู่ฯแลฯ บํ่วุฑิฒฯฯจำเรินฯใจ
เมื่อนั้นสัพพัญญูเจ้า สรเด็ฌไพแล้ว ท้าวพระญาเสนาอามาตย์จิ่งพร้อมกันยกเอาพุทธรูป เจ้าไพไว้ยในเวียงพุทธรัสสะที่นั้นแล้ว ท้าวพระญาเสนาอามาตย์ จิ่งยกเอาเวียงพุทธรัสสะที่นั้นเวนเคนหื้อแกล่พระพุทธรูปเจ้าหั้นแล  ที่นั้นหมายมีท้าวพระญาเสนาอามาตย์ทังหลายจิ่งจักพร้อมกันอุสสาภิเสกยังชายทุคคตะผู้นั้นหื้อได้เถิงฐานันตระเปนพระญาฅำแดงหั้นแล จิ่งยกออกจากเวียงพุทธรัสสะที่นั้นไพตั้งเวียงชั้นนอกอย่หั้นแลจำเนียรแต่นั้นไพพายหน้า เวียงพุทธรัสสะที่นั้น บ่ควรท้าวพระญาเสนาอามาตย์เจ้านายผู้ใหญ่ จักอยู่แล บ่วุฑฒิจำเรินใจ
ย้อฯรเปนฯเขตตฯ์แดนฯแห่งฯพรฯพุทธฯรูปฯเจั้าแลฯ  แดนฯแต่นั้นฯไพๆายฯหนฯ้าหั้นฯ ยังฯมีนาฯงฯผู้๑ ชื่วฯานาฯงฯพงฯนทฯสวฯัๆรคฯ์    เปนฯลูกสาวฯพรฯยฯาฅำแดงฯ มีรัสสฯมฯีผิวฯพรฯัณณฯ์วัณณฯเปนฯดั่งฯแสงฯพรฯจันทฯ์เพงฯ ดูรุ่งไรใสงามฯ คํ่รฤชาปรฯาฯก฿ฏฯ    ไพเถิงฯพรฯยฯาต฿นฯ ๑ ชื่วฯาริทธฯีอยฯู่ฯทิสห฿นฯเหนฯิอฯฯอ จิ่งฯมีบัณณฯาการฯเขั้ามาขอฯํอูานาฯงฯพงฯนทฯสวฯัๆรคฯ์ เซิ่งฯพรฯยฯาฅำแดงฯดั่งฯอั้นฯ พรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่บฯหื้อนุญาตฯ คํ่กลฯับหนฯีฅืนฯเมิอฯอสู่เมิอฯงดังฯเกั่าหั้นฯแลฯ ถัดฯนั้นฯยังฯมีพรฯยฯาต฿นฯ ๑ ชื่วฯาเตชอานุภาพฯ อยฯู่ฯทิสห฿นฯใต้ เขั้ามาขอฯํอูาแถมฯเลั้า พรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่บฯหื้อนุญาตฯ คํ่กลฯับฅืนฯเมิอฯอสู่เมิอฯงต฿นฯ หั้นฯแลฯ ลูรนั้นฯยังฯมีพรฯยฯาต฿นฯ ๑ ชื่วฯาสุริยว฿งสฯฯาราชกุมารฯ

ย้อนเปนเขตต์แดนแห่งพระพุทธรูปเจ้าแล  แดนแต่นั้นไพพายหน้าหั้น ยังมีนางผู้ ๑ ชื่อว่านางอินทสวัรค์ เปนลูกสาวพระญาฅำแดง มีรัสสมีผิวพรัณณ์วัณณะเปนดั่งแสงพระจันท์เพง ดูรุ่งไรใสงาม ค็ฤาชาปรากฎไพเถิงพระญาตน ๑ ชื่อว่า ริทธี อยู่ทิสะหนเหนือ จิ่งมีปัณณาการเข้ามาขอเอานางอินทสวัรค์เซิ่งพระญาฅำแดงดั่งอั้น พระญาฅำแดง ค็บ่หื้ออนุญาต ค็กลับหนีฅืนเมือสู่เมืองดังเก่าหั้นแล  ถัดนั้นยังมีพระญาตน ๑ ชื่อว่าเตชะอานุภาพ อยู่ทิสะหนใต้ เข้ามาขอเอาแถมเล้า พระญาฅำแดง ค็บ่หื้ออนุญาต ค็กลับฅืนเมือสู่เมืองตนหั้นแล  ลูนนั้นยังมีพระญาตน ๑ ชื่อว่าสุริยวงสาราชกุมาร
 อยฯู่ฯทิสห฿นฯวันฯต฿กฯ เขั้ามาขํอฯอูาแถมฯเลั้า พรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่บ่หื้อนุญาตฯ คํ่กลฯับฅืนฯเมิอฯอสู่เมิอฯงแห่งฯต฿นฯหั้นฯแลฯ  ลูรนั้นฯยังฯมีพรฯยฯาต฿นฯ ๑ อยฯู่ฯทิสห฿นฯวันฯออฯก มาขํอฯอูฯานาฯงฯจันทฯสวฯัๆรคฯ์(พงฯนทฯสวฯัๆรคฯ์ ?) เซิ่งฯพรฯยฯาฅำแดงฯ   ส่วฯรว่าฯพรฯยฯาฅำแดงฯ  คํ่บฯหื้อนุญาตฯ คํ่กลฯับฅืนฯเมิอฯอเมิอฯงแห่งฯต฿นฯหั้นฯแลฯ เมื่อฯนั้นฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ คํ่พรฯ้อฯมกันฯย฿กฯอูฯา ริพ฿ลฯฯเขั้าตีเมิอฯงสิทธฯํฯรณีเทพพฯฯมหานคอฯรหั้นฯแลฯ ยามฯนั้นฯพรฯยฯาเตชอานุภาพฯ ลูกชายฯพรฯยฯาฅำแดงฯคํ่ออฯกไพยุทธฯกัมมฯ์ กับฯฯด้วฯยฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ ด้วฯยฯหลฯาวฯเหลฯักฯก์ พรฯยฯาทังฯ ๔  คํ่กทฯำกาลฯฯอันฯตายฯไพสยฯ้งทังฯ ๔ ต฿นฯหั้นฯแลฯยามฯนั้นฯพรฯยฯาฅำแดงฯ  หันฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯกทฯำการฯอันฯตายฯไพสยฯ้งแลฯ
อยู่ทิสะหนวันตก เข้ามาขอเอาแถมเล้า พระญาฅำแดง ค็บ่หื้ออนุญาต ค็กลับฅืนเมือสู่เมืองแห่งตนหั้นแล  ลูนนั้นยังมีพระญาตน ๑ อยู่ทิสะหนวันออก มาขอเอานางจันทสวัรค์ (อินทสวัรค์ ?) เซิ่งพระญาฅำแดง  ส่วนว่าพระญาฅำแดง ค็บ่หื้ออนุญาต ค็กลับฅืนเมือเมืองแห่งตนหั้นแล  เมื่อนั้นพระญาทัง ๔ ตน ค็พร้อมกันยกเอาริพลเข้าตีเมืองสิทธังรณีเทพพมหานคอรหั้นแล ยามนั้นพระญาเตชะอานุภาพ ลูกชายพระญาฅำแดง ค็ออกไพยุทธกัมม์กับด้วยพระญาทัง ๔ ตน ด้วยหลาวเหล็ก พระญาทัง ๔  ค็กะทำกาลอันตายไพเสี้ยงทัง ๔ ตนหั้นแล  ยามนั้นพระญาฅำแดง หันพระญาทัง ๔ ตนกะทำการอันตายไพเสี้ยงแล
พรฯยฯาฅำแดงฯคมฯีคำฯสดุ้งต฿กฯใจอยฯู่ฯ กินฯบ่ได้ คํ่จิ่งฯหนฯีออฯกวยฯงไพเถิงฯสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าหั้นฯแลฯเมิ่อฯอนั้นฯพรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่ไหวฯ้สาสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าว่าฯ ภเนตฯ ภควาฯ  ข้าแด่สัพพฯฯัญญฯูฯพรฯพุทธฯเจั้า ยังฯมีพรฯยฯา ๔ ต฿นฯลุกแต่ทิสทังฯ ๔  มาขํอูฯาลูกสาวฯ ข้าพรฯเจั้า ผู้ชื่วฯา พงฯนทฯสวฯัๆรคฯ์  ข้าพรฯเจั้าคํ่บฯอนุญาตฯตฯหื้ ยามฯนั้นฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ คํ่ย฿กฯอูา   ริพ฿ลฯฯเขั้ามาตีเมิอฯงข้าพรฯเจั้า  ยามฯนั้นฯ ลูกชายฯข้าพรฯเจั้าคํ่ข้าพรฯยฯาทังฯ ๔ ด้วฯยฯหลฯาวฯเหลฯัก พรฯยฯาทังฯ ๔ คํ่กทฯำกาลฯฯอันฯตายฯไพสยฯ้งทังฯ ๔ ต฿นฯหั้นฯแลฯเหตฯุนั้นฯ ข้าพรฯเจั้าจักฯคึดฯอยฯู่ฯไหนฯบํ่ได้ จิ่งฯได้หนฯีออฯกมาไหวฯ้สัพพฯฯัญญฯูฯเจั้านิแลฯ สตถฯฯา สัพพฯฯัญญฯูฯเจั้า หนฯี้ฯแลฯ
พระญาฅำแดง ค็มีคำสะดุ้งตกใจอยู่ กินบ่ได้ ค็จิ่งหนีออกเวียงไพเถิงสัพพัญญูเจ้าหั้นแล  เมื่อนั้นพระญาฅำแดงค็ไหว้สาสัพพัญญูเจ้าว่า ภนฺเต ภควา  ข้าแด่สัพพัญญูพระพุทธเจ้า ยังมีพระญา ๔ ตนลุกแต่ทิสะทัง ๔  มาขอเอาลูกสาว ข้าพระเจ้า ผู้ชื่อว่า อินทสวัรค์ ข้าพระเจ้าค็บ่อนุญาตหื้อ ยามนั้นพระญาทัง ๔ ตน ค็ยกเอา    ริพลเข้ามาตีเมืองข้าพระเจ้า  ยามนั้น ลูกชายข้าพระเจ้าค็ข้าพระญาทัง ๔ ด้วยหลาวเหล็ก พระญาทัง ๔ ค็กะทำกาลอันตายไพเสี้ยงทัง ๔ ตนหั้นแล  เหตุนั้น ข้าพระเจ้าจักคึดอยู่ไหนบ่ได้ จิ่งได้หนีออกมาไหว้สัพพัญญูเจ้านิแล   สตฺถา สัพพัญญูเจ้า หนี้แล
ว่าฯอั้นฯแลฯวฯ พรฯพุทธฯเจั้าจิ่งฯเทสนาฯหื้พรฯยฯาฅำแดงฯว่าฯ มหาราช ดูกรฯามหาราช จุ่งฅืนฯเมิอฯอหาเมิอฯงต฿นฯดังฯเกั่าเทิอฯะ ดั่งฯสรีรซากฯพรฯยฯา ๔ ต฿นฯนั้นฯหื้มหาราชจุ่งอูฯากทฯำหื้เปนฯกรฯจวฯร แลฯวฯอูฯามากทฯำหื้เปนฯรูปฯสิงหฯ์ ๔ ต฿นฯ  แลฯวฯอูฯาไพไว้ยฯในอุโมงคฯ์ฅำในดอฯยฯสํฯิคุตตฯรหั้นฯเทิอฯะ  แลฯวฯสัพพฯฯัญญฯูฯเจั้าจิ่ลูบฯฯเกสาหื้พรฯยฯาเส้นฯ ๑ หื้อูฯาไพปรฯจุไว้ยฯ หั้นฯแลฯวฯเมิ่อฯอพายฯลูร ตถาคตบรินิพพฯฯานฯไพแลฯวฯ หื้อรหันตฯาเจั้า ไพอูฯาธาฯตฯุนิ้วฯก้อฯยฯมืกลฯ้ฯำขวฯาคูพรฯตถาคตมาฐบันนฯาปรฯจุไว้ยฯที่นั้นฯเทิอฯะ พายฯหนฯ้าเมิอฯงอันฯนิ คํ่จักฯเปั่ลฯาห่างฯเสยฯแลฯวฯ คํ่ยังฯจักฯฅืนฯมาเปนฯบ้านฯเมิอฯงแถมฯ ยามฯนั้นฯบ้านฯเมิอฯงคํ่บฯ วุฑฒฯฯิสุขสวฯัสสฯดฯี
ว่าอั้นแล้ว พระพุทธเจ้าจิ่งเทสนาหื้อพระญาฅำแดงว่า มหาราชะ ดูกรามหาราช จุ่งฅืนเมือหาเมืองตนดังเก่าเทิอะ ดั่งสรีระซากพระญา ๔ ตนนั้นหื้อมหาราชะจุ่งเอากะทำหื้อเปนกระจวร แล้วเอามากะทำหื้อเปนรูปสิงห์ ๔ ตน  แล้วเอาไพไว้ยในอุโมงค์ฅำในดอยสิงคุตตระหั้นเทิอะ  แล้วสัพพัญญูเจ้าจิ่ลูบเกสาหื้อพระญาเส้น ๑ หื้อเอาไพประจุไว้ยหั้นแล้ว  เมื่อพายลูน ตถาคตะปรินิพพานไพแล้ว หื้ออรหันตาเจ้า ไพเอาธาตุนิ้วก้อยมือกล้ำขวาคูพระตถาคตะมาฐปันนาประจุไว้ยที่นั้นเทิอะ พายหน้าเมืองอันนิ ค็จักเปล่าห่างเสียแล้ว ค็ยังจักฅืนมาเปนบ้านเมืองแถม ยามนั้นบ้านเมืองค็บ่ วุฑฒิ สุขสวัสสดี
เหตฯุท้าวฯต฿นฯเปนฯเชฏฐฯฯรัฏฐฯฯสวฯะบํ่ขับฯฯตามฯจารีตฯบาฯเวณีแห่งฯธัมมฯดาอันฯพุทธฯวจนนั้นฯแลฯ พรฯพุทธฯเจั้าคํ่กลฯ่าวฯเทั่านั้นฯแลฯวฯ พรฯยฯาฅำแดงฯคํ่พิลฯกพอฯกเมิอฯอสู่เมิอฯงต฿นฯดังฯเกั่าแลฯวฯ  พรฯยฯาฅำแดงฯคํ่ชุ่มนุมมายังฯท้าวฯพรฯยฯาเสนาฯอามาตยฯ์ทํฯลฯฯายฯมาพรฯ้อฯมกันฯไพเก็บฯฯอูฯาซากฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ มากทฯำหื้เปนฯกรฯจวฯรไพ แลฯมาส฿มฯหื้เปนฯซทาฯยฯเพ็กฯ  ส฿มฯสรีรพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ แลฯวฯอูฯามากทฯำหื้เปนฯรูปฯสิงหฯ์ ๔ ต฿วฯ  แลฯวฯล฿งฯไว้ยฯในพื้นฯดินฯที่อุฯโมงคฯ์ฅำ ในดอฯยฯสํฯิคุตตฯรหั้นฯก่อฯรแลฯวฯ เมิ่อฯอพายฯลูรพรฯพุทธฯเจั้าบรินิพพฯฯานฯไพแลฯวฯ อรหันตฯาเจั้าทํฯลฯฯายฯ คํ่ไพอูฯาธาฯตฯุนิ้วฯก้อฯยฯกลฯํ้ฯาขวฯาแห่งฯพรฯพุทธฯเจั้ามาใส่ไว้ยฯ
เหตุท้าวตนเปนเชฏฐรัฏฐะ สวะบ่ขับตาม จารีตปาเวณี แห่งธัมมดา อันพุทธวจนะนั้นและพระพุทธเจ้าค็กล่าวเท่านั้นแล้ว พระญาฅำแดงค็พลิกพอกเมือสู่เมืองตนดังเก่าแล้ว  พระญาฅำแดงค็ชุ่มนุมมายังท้าวพระญาเสนาอามาตย์ทังหลายมาพร้อมกันไพเก็บเอาซากพระญาทัง ๔ ตน มากะทำหื้อเปนกระจวนไพ และมาสมหื้อเปนซะทาย เพ็ก สมสรีะพระญาทัง ๔ ตน แล้วเอามากะทำหื้อเปนรูปสิงห์ ๔ ตัว  แล้วลงไว้ยในพื้นดินที่อุโมงค์ฅำ ในดอย สิงคุตตระหั้นก่อนแล้ว เมื่อพายลูนพระพุทธเจ้าปรินิพพานไพแล้ว อรหันตาเจ้าทังหลาย ค็ไพเอาธาตุนิ้วก้อยกล้ำขวาแห่งพระพุทธเจ้ามาใส่ไว้ย
ในสเพัาอูฯาล฿งฯไว้ยฯในหลฯังสิงหฯ์ทังฯ ๔ ต฿วฯนั้นฯแลฯวฯ  จิ่งฯกํ่อฯเปนฯเจติยไว้ยฯเหนฯิอฯฯอดอฯยฯสํฯิคุตตฯรมาตรฯาบฯฯเถิงฯกาลบัดฯนิแลฯ ที่นิจักฯจาด้วฯยฯพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯ เขั้ายุทธฯกัมมฯ์ในเมิอฯงสิทธฯํฯรณีที่นั้นฯแลฯวฯ ดั่งฯพรฯยฯาสุริยว฿งสฯฯาอันฯหนฯีออฯกจากฯวยฯงไพอยฯู่ฯ ไพเมิอฯงแก้วฯนั้นฯ รู้บวัตตฯิข่าวฯสารฯว่าฯบ้านฯเมิอฯงอยฯู่ฯเอยฯนฯเปนฯสุข์หาข้าเสิกฯะสัตรฯูฯสยฯ้รหนฯามฯ บํ่ได้ยฯแลฯวฯ คํ่จิ่งฯกลฯับฅืนฯมาสู่เมิอฯงต฿นฯดังฯเกั่าแลฯวฯ ดั่งฯพรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่น้อฯมบ้าฯนฯเวนฯเมิอฯงหื้พรฯยฯา      สุริยวงสฯฯาไว้ยฯเสวฯิๆยฯฯเมิอฯงดังฯเกั่าแลฯวฯ พรฯยฯาฅำแดงฯคํ่หนฯีออฯกไพสู่เมิอฯงเทพพฯฯสิงหฯ์ไชยฯ อันฯเปนฯที่อยฯู่ฯแห่งฯต฿นฯ ดังฯเกั่าแลฯวฯคํ่ฅืนฯมาเมิอฯงสิทธฯํฯรณี
ในสะเพาเอาลงไว้ยในหลังสิงห์ทัง ๔ ตัวนั้นแล้ว  จิ่งก่อเปนเจติยะไว้ยเหนือดอยสิงคุตตระมาตราบเถิงกาละบัดนิแล   ที่นิจักจาด้วยพระญาทัง ๔ ตน เข้ายุทธกัมม์ในเมืองสิทธังรณีที่นั้นแล้ว ดั่งพระญาสุริยวงสาอันหนีออกจากเวียงไพอยู่ ไพเมืองแก้วนั้น รู้ปวัตติข่าวสารว่าบ้านเมืองอยู่เอยนเปนสุขหาข้าเสิก็สัตรูเสี้ยนหนามบ่ได้ยแล้ว  ค็จิ่งกลับฅืนมาสู่เมืองตนดังเก่าแล้ว ดั่งพระญาฅำแดงค็น้อมบ้านเวนเมืองหื้อพระญาสุริยวงสาไว้ยเสวิยเมืองดังเก่าแล้ว พระญาฅำแดงค็หนีออกไพสู่เมืองเทพพสิงห์ไชย อันเปนที่อยู่แห่งตนดังเก่าแล้วค็ฅืนมาเมืองสิทธังรณี
แลฯวฯพรฯยฯาฅำแดงฯ คํ่หนฯีออฯกไพบวฯชเปนฯตาบัสสฯรสีแลฯวฯคํ่กทฯำพรฯ฿หมฯวิหารฯทังฯ๔ ใจ้ๆ ตรฯาบฯฯสยฯ้งอายุต฿นฯ จุตตฯิตายฯได้ยฯเมิอฯอเกิฏฯในสๆวฯัรคฯเทวโล฿กฯ คมฯีวันฯนั้นฯแลฯ ดั่งฯพรฯยฯาสุริยว฿งสฯฯาได้ยฯฅืนฯมาเสวฯิๆยฯเมิอฯงสิทธฯํฯรณีที่นั้นฯแลฯวฯคํ่สั่งฯสอฯรบริษัทฯทํฯลฯฯายฯหื้ได้ยฯกทฯำบุญญฯ์ หื้ทานฯรักษฯฯาสีลฯฯ กินฯทานฯไพใจ้ๆ บํ่ขาดฯ คันฯมยฯ้รชาตฯอันฯเปนฯฅ฿นฯคํ่ไพอูฯาต฿นฯเมิอฯอเกิฏฯในชั้นฯฟ้าเลิศฯศฯศฯฯตาวตํฯิสาชู่ฅ฿นฯหั้นฯแลฯ ส่วฯรรีพรฯยฯาเปนฯเคลฯ้า คํ่อยฯู่ฯจำสีลฯฯเมตตฯาภาวนาฯยังฯทิพพฯฯม฿นตฯ์คถฯฯาฯว่าฯ พุทธฯํ  ธมมฯํ สํฯฆํ  นิพพฯฯาน บจจฯเยา เหานตฯุ เม สมมฯา สมพฯฯุเทธฯาฯ เลากนาฯเถา อนาฯคเต นิพพฯฯาน บจจฯเยา เหาตุ

แล้วพระญาฅำแดงค็หนีออกไพบวชเปนตาปัสสะรสี แล้วค็กะทำพรหมวิหาร ทัง ๔ ใจ้ๆ ตราบเสี้ยง    อายุตน จุตติตายได้ยเมือเกิฏในสวัรคเทวโลก ค็มีวันนั้นแล ดั่งพระญาสุริยวงสาได้ฅืนมาเสวิยเมืองสิทธังรณีที่นั้นแล้วค็สั่งสอนปริษัททังหลายหื้อได้ยกะทำบุญญ์ หื้อทานรักษาสีล กินทานไพใจ้ๆ บ่ขาด คันเมี้ยนชาตอันเปนฅนค็ไพเอาตนเมือเกิฏในชั้นฟ้าเลิศตาวตึสาชู่ฅนหั้นแล  ส่วนอันว่าพระญาเปนเคล้า ค็อยู่จำสีลเมตตาภาวนายังทิพพมนต์คาถาว่า พุทฺธํ  ธมฺมํ สงฺฆํ นิพฺพาน ปจฺจโย โหนฺตุ เม สมฺมา สมฺพุทฺโธ โลกนาโถ อนาคเต    นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ
บรมํ สุขํ เหานตฯุ เนาฯ พรฯยฯาต฿นฯนั้นฯคํ่จำเรินฯพรฯคถฯฯาฯบ฿ทฯนิไพชู่วันฯชู่ยามฯบํ่ขาดฯ หื้ยังฯเลากุตตฯรธัมมฯ์  แลฯเลากิยสัมบฯฯัตตฯิแลฯยสสัมบฯฯัตตฯิแลฯบริวาฯรสัมบฯฯัตตฯิ แลฯอายุวัณณฯไพชู่วันฯใจ้ๆ ตรฯาบฯฯอันฯมยฯ้รอายุแห่งฯต฿นฯ    จุเตตฯา คันฯจุติตฯายฯคํ่ได้ยฯไพเกิฏฯในชั้นฯฟ้าเลิศฯฯตาวตํฯิสาสวฯัๆรคฯ์คีมฯวันฯนั้นฯแลฯ ตั้งฯแต่นิไพๆายฯหนฯ้า พรฯยฯาต฿นฯใดมาเสๆวฯิยฯฯยังฯเมิอฯงสิทธฯํฯรณีที่นิ คันฯเถิงฯเทสกาลฯฯเชฏฐฯฯ คื่วฯา ฯเดิอฯร ๘ เพงฯนั้นฯ คํ่หื้ได้ยฯป฿กฯป่าวฯยังฯรัฏฐฯฯบัชชฯานราระฯษฎฯ์ทํฯลฯฯายฯ ไพสรฯสรฯ฿งฯพรฯธาฯตฯุเจั้าสํฯิคุตตฯรแลฯวฯหื้ได้ยฯมาสรฯสรฯ฿งฯพรฯพุทธฯรูปฯเจั้านั่งฯดินฯแลฯวฯ หื้มีมธุบุบผฯฯาดวฯงดอฯก
ปรมํ สุขํ โหนฺตุ โน พระญาตนนั้นค็จำเรินพระคาถาบทนิไพชู่วันชู่ยามบ่ขาด หื้อยังโลกุตตรธัมม์ และโลกิยสัมปัตติและยสะสัมปัตติและปริวาระสัมปัตติ และอายุวัณณะไพชู่วันใจ้ๆ ตราบอันเมี้ยนอายุแห่งตน จุตฺโต คันจุติตายค็ได้ยไพเกิฎในชั้นฟ้าเลิศตาวตึสาสวัรค์ค็มีวันนั้นแล ตั้งแต่นิไพพายหน้า พระญาตนใดมาเสวิยยังเมืองสิทธังรณีที่นิ คันเถิงเทสกาลเชฎฐะ คือว่าเดือน ๘ เพงนั้น ค็หื้อได้ยปกป่าวยังรัฏฐปัชชานราษฎร์ทังหลาย ไพสระสรงพระธาตุเจ้าสิงคุตตระแล้วหื้อได้มาสระสรงพระพุทธรูปเจ้านั่งดินแล้ว หื้อมีมธุบุปผาดวงดอก

เขั้าตอฯกดอฯกไม้ลำทยฯร ขํอฯโอกาสฯฯอนุญาตฯขํอฯอูฯาโอชาร฿สฯฯ พิชชฯ เขั้ากลฯ้าถ฿่วฯงา แลฯสัพพฯฯสิ่งฯขอฯงอัญญฯมณีอันฯมีในนาฯํ้ฯแลฯแผ่นฯดินฯทังฯมวฯร คํ่จิ่งฯบอฯํรมวฯณ วุฑฒฯฯิสัวฯสสฯดีชู่ปรฯการฯ บํ่อยฯ่าชลฯฯ กลฯ่าวฯห้อฯง พุทธฯรูบมหฯิ เจติย สํฯิคุตตฯร บญฺญตตฯิ บฏิสณฐฯฯานํ  นิิฏฐฯฯิตํ คํ่แลฯวฯเทั่านิก่อฯรแลฯ อูฯาสรฯเด็จฯแลฯวฯยามฯฉันฯงายฯ แลฯวฯ       10 นาฯฬิกาแกลฯ่ข้าก่อฯรแลฯ ต฿วฯน้อฯยฯเทั่าตาไกลฯ่ ต฿วฯใหยฯ่เทั่าตาฅวฯายฯ วันฯพฤหัสฯฯที่ ๖ กันยฯาย฿นฯ พ.ศ. ๒๔๙๔  ขึ้นฯ ๖ ฅ่ำเดิอฯร ๑๑ เมิอฯง ปลฯีโถํอฯะ ผู้ข้าได้ยฯขยฯรธัมมฯ์ตำนาฯนฯพรฯเจั้านั่งฯดินฯผูกนิ เกิฏฯมาภวชาตฯใด หื้ได้ยฯมีปรฯยฯาบัญญฯาอาจฯรู้ธัมมฯ์  ๘ หมฯ่ื่ฯร ๔ พันฯขันธฯ์ แกลฯ่ผู้ข้าแด่เทิอฯะ แกลฯ่ข้าแลฯหนฯานฯอริยขยฯรไว้ยฯค้ำชูสาสนาฯพรฯเจั้า หนฯานฯอริยขยฯรธัมมฯ์ตำนาฯนฯพรฯเจั้านั่งฯดินฯผูกนี้  ขํอฯบรฯาฯถนาฯอูฯาสุข์ ๓ บรฯการฯ มีนิพพฯฯานฯเจั้าเปนฯยอฯดแท้ดีลฯฯ นิจจฯํ วฏฏฯ นิพพฯฯานํ บรมํ สุขํ
หนฯ้าธับฯฯเคลฯั้ฯาตำนาฯนฯพรฯเจั้านั่งฯดินฯ
ธัมมฯ์วัดฯล้าแลฯ
หนฯ้ารับฯฯปลฯายฯ ตำนาฯนฯพรฯเจั้านั่งฯดินฯ เมิอฯงชยฯงฅำ ข้าแลฯ

เข้าตอกดอกไม้ลำเทียน ขอโอกาสอนุญาตขอเอาโอชารส พิชชะ เข้ากล้าถั่วงา และสัพพะสิ่งของ     อัญญมณีอันมีในน้ำและแผ่นดินทังมวล ค็จิ่งบอรมวณ วุฑฒิสัวสสดีชู่ประการ บ่อย่าชะแล กล่าวห้อง พุทฺธ  รูปมฺหิ เจติย สิงฺคุตฺตร ปญฺญตฺติ ปฏิสณฺฐานํ  นิฏฺฐิตํ ค็แล้วเท่านิก่อนแล เอาสรเด็จแล้วยามฉันงาย แล้ว ๑๐ นาฬิกาแกล่ข้าก่อนแล ตัวน้อยเท่าตาไกล่ ตัวใหญ่เท่าตาฅวาย วันพฤหัสที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๔  ขึ้น ๖ ฅ่ำเดือน ๑๑ เมือง ปลีเถาะ ผู้ข้าได้เขียนธัมม์ตำนานพระเจ้านั่งดินผูกนิ เกิฏมาภวชาติใด หื้อได้ยมีประหญาปัญญาอาจรู้ธัมม์ ๘ หมื่น ๔ พันขันธ์ แกล่ผู้ข้าแด่เทิอะ แกล่ข้าแลหนานอริยะ เขียนไว้ยค้ำชูสาสนาพระเจ้า หนานอริยะเขียนธัมม์ตำนานพระเจ้านั่งดินผูกนี้  ขอปราถนาเอาสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเปนยอดแท้ดีหลี นิจฺจํ วฏฺฏ   นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
หน้าธับเคล้าตำนานพระเจ้านั่งดิน
ธัมม์วัดล้าแล
หน้ารับปลาย ตำนานพระเจ้านั่งดิน เมืองเชียงฅำ ข้าแล

3.2 เมื่อชาง
A เมิ่อฯอชางฯ a
จบับฯ วัดฯไชยฯพรฯ฿หมฯ วยฯงชยฯงฅำ พรฯยาวฯ
เมื่อชาง
จบับ วัดไชยพรหม เวียงเชียงฅำ พระยาว
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเทวทัตฯเปนฯรสี อูางูเหั่าดำมาเปนฯลูก งูตอฯดเจั้ารสีตายฯ บํ่ดี (เวฬุกชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อเทวทัตเปนรสี  เอางูเห่าดำมาเปนลูก  งูตอดเจ้ารสีตาย  บ่ดี (เวฬุกชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯ ไพค้าฯสเพัา มีหมฯูฯ่สเพัา ๕ ร้อฯยฯเหลฯ้ม ไพห฿ลฯงยังฯเมิอฯงยัก์ขฯ ยัก์ขฯจักฯกินฯ เขัาบํ่ได้ เพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเทสนาฯหื้ยัก์ขฯฟังฯ  ยัก์ขฯหื้กอฯงแก้วฯเงินฯฅำมากฯนักฯมีนักฯกวฯ่าเกั่า ดีแก่เลิยฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์ไพค้าสะเพา มีหมู่สะเพา ๕๐๐ เหล้ม ไพหลงยังเมืองยักข์ ยักข์จักกินเขาบ่ได้   โพธิสัตต์เจ้าเทศนาหื้อยักข์ฟัง ยักข์หื้อกองแก้วเงินฅำมากนัก มีนักกว่าเก่า  ดีแก่เลิย
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเทวทัตฯเปนฯพํ่อฯค้ากวฯยฯร ๕๐๐ เหลฯ้ม ยักขฯ์ร้ายฯกินฯตายฯสยฯ้ง บํ่ดีแลฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อเทวทัตเปนพ่อค้า เกวียน ๕๐๐ เหล้ม ยักข์ร้ายกินตายเสี้ยง บ่ดีแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอชูชกพรฯาหมฯณ์ อูากัณหฯาชาลีมารอฯดปู่ย่าต฿นฯ ดีนักฯแลฯ (มหาเวสสฯันตฯรชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อชูชกะพราหมณ์เอากัณหาชาลีมารอดปู่ย่าตน ดีนักแล (มหาเวสสันตรชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอนาฯงฯผู้นึ่งฯอูาลูกไพอาบฯฯนาฯํ้ฯ ผีเสิอฯ้ฯอนาฯํ้ฯอูาลูกมันฯไพกินฯ บํ่ดีแลฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อนางผู้นึ่งเอาลูกไพอาบน้ำ ผีเสื้อน้ำเอาลูกมันไพกิน บ่ดีแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯญาเวสสฯันตฯร มาเมิอฯงเกั่า ดีนักฯแก่ (มหาเวสสฯันตฯรชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระญาเวสสันตระ มาเมืองเก่า ดีนักแก่ (มหาเวสสันตรชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้านั่งฯสรฯ ต฿กฯต่าเหวฯ แล่นฯออฯกมานั่งฯอยฯู่ฯในสวฯรอุฯทิธฯยานฯพรฯญาเมิอฯงเขัาตายฯ เขัาราธนาฯกินฯเมิอฯง ดีนักฯแลฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้านั่งสระ ตกต่าเหว แล่นออกมานั่งอยู่ในสวนอุทธิยาน พระญาเมืองเขาตายเขาราธนากินเมือง ดีนักแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัตตฯเจั้ากับฯฯ โจ฿รฯคั้นฯกันฯ  นาฯงฯหันฯไควฯ(ฅวฯยฯ)โจ฿รฯเติบฯฯ นาฯงฯ(ยื่นฯ) ด้ำ(ด้ามฯ) แก่โจ฿รฯข้า  เพิธฯาสัต์ตฯตายฯ บํ่ดี(จันทฯเคาฯร฿พฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระโพธิสัตต์เจ้ากับโจรคั้นกัน นางหันไคว(ฅวย) โจรเติบ นาง(ยื่น) ดํ้า (ด้าม) แก่โจร    ข้าโพธิสัตต์ตาย บํ่ดี (จันทโครพ)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯ เปนฯแลนฯเทวทัตฯเปนฯรสี  ไล่ตีเพิธฯาสัต์ตฯเจั้ากินฯ บํ่ดี (เคาฯธชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เปนแลนเทวทัตเปนรสีไล่ตีโพธิสัตต์เจ้ากิน บํ่ดี (โคธชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯยฯาสีวิไชยฯพลฯัดพรฯากฯนาฯงฯสีเวยยฯกา ส้างฯสาลาแต้มฯไว้ยังฯรูปฯพลฯัดพรฯากฯกันฯ  แต่งฯข้า   ยิงฯไว้ว่าฯ ผู้ใดมาที่นิไห้แลฯวฯห฿วฯ(หื้)มึงฯบอฯกคู มันฯไพบอฯกนาฯงฯมาจวฯบพรฯยฯาสีวิไชยฯผ฿วฯเกั่า ดีนักฯ (สีวิไชยฯชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระญาสีวิไชยพลัดพรากนางสีไวยยกา ส้างสาลาแต้มไว้ยังรูปพลัดพรากกัน แต่งข้ายิงไว้ว่า     ผู้ใดมาที่นิไห้แล้วหัว (หื้อ) มึงบอกคู มันไพบอกนางมาจวบพระญาสีวิไชยผัวเก่า ดีนัก (สีวิไชยชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯยฯาธนเญชฯยยฯเการัพพฯฯยเหลฯ้รหมฯากฯสกากับฯฯบุณณฯกยักขฯ์ ขันฯเสยฯเจั้าวิธูร  บํ่ดีสังฯเลิยฯ (วิธูรบัณฑฯิตชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระญาธนัญไชยโกรัพยะ เหล้นหมากสกากับปุณณกยักข์ ขันเสียเจ้าวิธุร บ่ดีสังเลิย      (วิธุรบัณฑิตชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอแผ่นฯดินฯแตกฯสูบฯฯกินฯพรฯยฯาสูบปฯพุทธฯ บํ่ดี(เคาฯณบุตตฯ์ชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อแผ่นดินแตกสูบกินพระญาสูปปพุทธะ บ่ดี (โคณบุตต์ชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเจั้าสุธ฿นฯไพหานาฯงฯมเนาฯรา์หฯ ได้เปนฯเมยฯต฿นฯดังฯเกั่า ดีนักฯแลฯ    (สุธ฿นฯชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อเจ้าสุธนไพหานางมโนราห์ ได้เปนเมียตนดังเก่า ดีนักแล (สุธนชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯปู เทวทัตฯเปนฯน฿กฯยางฯ  ไพล่ายฯอูาปลฯามากินฯส้ยฯง แลฯวฯอูาเพิธฯาสัต์ตฯ เจั้ามากินฯเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าคีบฯฯฅํอฯน฿กฯยางฯบํ่ดี (พกชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนปู เทวทัตเปนนกยางไพล่ายเอาปลามากินเสี้ยงแล้ว เอาโพธิสัตต์เจ้ามากิน    โพธิสัตต์เจ้าคีบฅอนกยาง บ่ดี  (พกชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเจั้าสิทธฯาฯตถฯฯ์ออฯกบวฯช ได้เปนฯพรฯ ดีแก่เลิยฯ(สิธตฯาฯตถฯฯ์ออฯกบวฯช)
 -   บุญญ์นิได้เมื่อเจ้าสิทธาตถ์ออกบวช ได้เปนพระ ดีแก่เลิย  (สิทธาตถ์ออกบวช/ พุทธประวัติ)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯพรฯยฯาวอฯกเผิอฯก มีหมฯฯูฯ่ 5 ร้อฯยฯต฿วฯ อยฯูฯ่สัวฯสสฯดีมากฯนักฯ ดีแก่(กบิลชาด฿กฯ ฯ)
-   บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนพระญาวอกเผือก มีหมู่ ๕ ร้อยตัว อยู่สวัสสดีมากนัก ดีแก่  (กปิลชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯช้างฯเทวทัตฯเปนฯปู เพิธฯาสัต์ตฯเจั้าจักฯล฿งฯกินฯนาฯํ้ฯปูคีบฯฯตีนฯช้างฯไว้ บํ่ดีแลฯ(สุวัณณฯกักกฯฏกชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนช้าง เทวทัตเปนปู โพธิสัตต์เจ้าจักลงกินนํ้า ปูคีบตีนช้างไว้ บ่ดีแล       (สุวัณณกักกฏกชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯราชห฿งสฯฯ์ฅํา เปนฯพรฯยฯาแก่ห฿งสฯฯ์ทํฯลฯฯายฯ 5 ร้อฯยฯต฿วฯอยฯูฯ่ถ้ำมูลบัพภฯา  อยฯูฯ่สัวฯสสฯดฯี ดีแก่เลิยฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนราชหงส์ฅำ เปนพระญาแก่หงส์ทังหลาย ๕ ร้อยตัว อยู่ถ้ำมูลปัพภา      อยู่สัวสสดี ดีแก่เลิย
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯบวฯชเปนฯรสี เทวทัตฯเปนฯพรฯยฯา ไพสวฯรอุฯทธฯญานฯ เทสนาฯหื้นาฯงฯฟังฯ  หื้เจั้ารสีเสยฯ บํ่ดี
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์บวชเปนรสี เทวทัตเปนพระญา ไพสวนอุทธญาน เทสนาหื้อนางฟัง หื้อเจ้ารสีเสีย      บ่ดี
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอชูชกพรฯาหมฯณ์ตายฯ อูาไพเสยฯ แร้งฯกาชิงฯกันฯกินฯมันฯ บํ่ดี (มหาเวสสฯันตฯรชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อชูชกะพราหมณ์ตาย เอาไพเสีย แร้งกาชิงกันกินมัน บ่ดี  (มหาเวสสันตรชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอขา ๒ ฅ฿นฯผ฿วฯเมยฯไพไถนาฯ พรฯบัเจจฯกมาบิณฑฯิบาฯตฯ ขาอูาเขั้าใส่บาฯตฯพรฯบัเจจฯก ก้อฯรขี้ไถเปนฯฅำสยฯ้งทังฯนาฯ ขาเปนฯดีมากฯนักฯแก่เลิยฯ (ฯบวัตตฯิ์สาวิกา นาฯงฯอุฯตตฯรานันทฯมารฯดา)
-    บุญญ์นิได้เมื่อขา ๒ ฅนผัวเมียไพไถนา พระปัจเจกมาบิณฑิบาต ขาเอาเข้าใส่บาตพระปัจเจกก้อนขี้ไถเปนฅำ เสี้ยงทังนา ขาเปนดีมากนักแก่เลิย  (ปวัตติ์สาวิกา – นางอุตตรานันทมารดา)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเขัาผิดฯกันฯพรฯาบฯฯกันฯฟันฯตายฯ บํ่ดีสังฯสักฯอันฯแลฯ
-     บุญญ์นิได้เมื่อเขาผิดกัน พราบกันฟันตาย บ่ดีสังสักอันแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอฅวฯายฯทุรพีชิงฯพํ่อฯต฿นฯตายฯ บํ่ดีเลิยฯ (พรฯ฿หมฯจักกฯ์ )
-     บุญญ์นิได้เมื่อฅวายทุรพีชิงพ่อตนตาย บ่ดีเลิย   (พรหมจักก์)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอ ๒ ขาได้ไหฅำ เปนฯดีมากฯนักฯแลฯ
-     บุญญ์นิได้เมื่อ ๒ ขาได้ไหฅำ  เปนดีมากนักแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯราชสีห์ เปนฯพรฯยฯาแก่เนิ้อฯอทํฯลฯฯายฯ ดีนักฯแลฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เปนราชสีห์ เปนพระญาแก่เนื้อทังหลาย ดีนักแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯน฿กฯพทาฯ ช้างฯ วอฯก น฿กฯยูง ไว้เพิธฯาสัต์ตฯเจั้าหื้เปนฯเอกฯแก่เขัา ดี
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนนกพะทา ช้าง วอก นกยูง ไว้โพธิสัตต์เจ้าหื้อเปนเอกแก่เขา  ดี

o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯหมฯฯูฯ เสิอฯอมาจับฯฯหมฯฯูฯ หมฯฯูฯทํฯลฯฯายฯบอฯกเพิธฯาสัตตฯ์เจั้าจาหมฯฯูฯทํฯลฯฯายฯบุ่รเปนฯ  อ฿งฯม฿ง์คฯดินฯอยฯู่ฯ เสิอฯอไล่มาแล่นฯหนฯี เขัารุมข฿บฯฯเสิอฯอตายฯ ไว้เพิธฯาสัตตฯ์เจั้าเปนฯพรฯยฯาแก่หมฯฯูฯทํฯลฯฯายฯ ดีนักฯ(ตัจฉฯกสูกรชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนหมู เสือมาจับหมู หมูทังหลายบอกโพธิสัตต์เจ้าจาหมูทังหลายบุ่นเปนองมงค์ดินอยู่ เสือไล่มาแล่นหนี เขารุมขบเสือตาย ไว้โพธิสัตต์เจ้าเปนพระญาแก่หมูทังหลาย ดีนัก   (ตัจฉกสูกรชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอน฿กฯไส้ตอฯดตาช้างฯตายฯ อยฯ่านาฯ บํ่ดี (ลฏุกิกชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อนกไส้ตอดตาช้างตาย อย่านา บ่ดี (ลฏุกิกชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯรสี อยฯูฯ่เมตตฯาภาวนาฯยังฯสาลา ดี
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนรสี อยู่เมตตาภาวนายังสาลา ดี
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯยฯาหื้อูาหํมฯอฯเหาราทวฯายฯว่าฯ เสัาโร฿งฯป฿กฯจักฯเปนฯฅำ บํ่เปนฯ พรฯยฯาหื้พวฯกข้าฅ฿นฯหื้อู หํมฯอฯเหาราไพข้าเสยฯ เมิ่อฯอพายฯลูรอูาต฿นฯกลฯ้วฯฯยฯฅำมาถวฯายฯ พรฯยฯากินฯแหนฯงเมิ่อฯอลูร  บํ่ดี(ฉลฯฯๆยฯวฉลฯฯๆาดฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระญาหื้อเอาหมอโหราทวายว่า เสาโรงปกจักเปนฅำ บ่เปน พระญาหื้อพวกข้าฅนหื้อเอา    หมอโหราไพข้าเสีย เมื่อพายลูนเอาต้นกล้วยฅำมาถวาย  พระญากินแหนงเมื่อลูน  บ่ดี (เฉลียวฉลาด)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯพรฯยฯาจัก์กฯ ชื่วฯาสุทัสสฯนจักกฯ์ ดีนักฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เปนพระญาจักก์ ชื่อว่าสุทัสสนจักก์ ดีนัก
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯยฯาทังฯ ๔ ต฿นฯพรฯญาอิฯนทฯ์ ต฿นฯ๑ พรฯยฯานาฯคฯ ต฿นฯ๑ พรฯยฯาครฯุฯฑ ต฿นฯ๑ พรฯยฯาพาราณสี ต฿นฯ๑  พรฯยฯา ๔ ต฿นฯถยฯงกันฯต่างฯต฿นฯว่าฯปรฯเสิฏฯมากฯนักฯ หาเจั้าวิธุรบัณฑฯิตนั้นฯมาตัดฯว่าฯฉันฯนิ มหาราชปรฯเสิฏฯ  ดีนักฯ(วิธุรบัณฑฯิต)
-   บุญญ์นิได้เมื่อพระญาทัง ๔ ตน พระญาอินท์ ตน๑ พระญานาค ตน๑ พระญาครุฑ ตน๑ พระญาพาราณสี  ตน ๑  พระญา ๔ ตนเถียงกันต่างตนว่าประเสิฏมากนัก หาเจ้าวิธุรบัณฑิตนั้นมา ตัดว่าฉันนิ มหาราชะ      ประเสิฏ  ดีนัก (วิธุรบัณฑิต)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเจั้าชน฿กฯไพค้าสเพัา สเพัาแตกฯฅ฿นฯมากฯนักฯตายฯสยฯ้ง บํ่ดี(มหาชน฿กฯ)
- บุญญ์นิได้เมื่อเจ้าชนกไพค้าสะเพา สะเพาแตก ฅนมากนักตายเสี้ยง บ่ดี (มหาชนกะ)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯช้างฯเปนฯพรฯยฯาแก่ช้างฯ 5 ร้อฯยฯต฿วฯดีนักฯแลฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนช้างเปนพระญาแก่ช้าง ๕ ร้อยตัว ดีนักแล
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเจั้าสุธ฿นฯ   ไพหานาฯงฯมเนาฯรา์หฯ จวฯบยัก์ขฯ บํ่ดี(สุธ฿นฯชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อเจ้าสุธนไพหานางมโนราห์ จวบยักข์  บ่ดี (สุธนชาดก)
O บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯกวฯางฯฅำ เปนฯพรฯยฯาแก่ กวฯางฯ5 ร้อฯยฯต฿วฯ ดีแก่เลิยฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนกวางฅำ เปนพระญาแก่กวาง ๕ ร้อยตัว ดีแก่เลิย
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯยฯาส฿มภฯมิต์ตฯ หื้อูาลูกต฿นฯไพไต่ดู แจ้งฯหื้อูาไพข้าเสยฯ บํ่ดี (ส฿มภฯมิตตฯชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพระญาสมภมิตต์หื้อเอาลูกตนไพไต่ดู แจ้งหื้อเอาไพข้าเสีย บ่ดี  (สมภมิตตชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอน฿กฯเคั้ากับฯฯกา ถยฯงกันฯเปนฯดั่งฯหินฯเหนฯิอสิลาบาตฯยังฯปลฯ่าหิมพฯฯาน์ตฯ บํ่ดี  (อุฯลูกชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อนกเค้ากับกาเถียงกัน เปนดั่งหินเหนือสิลาบาต ยังปล่าหิมพานต์ บ่ดี (อุลูกชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเทวทัตฯบวฯชเปนฯรสี อูาช้างฯมาลยฯ ้งเปนฯลูก เมิ่อฯอลุรข้าเจั้ารสีเสยฯ บํ่ดี  (พงฯนทฯสมานโค฿ตฯชาด฿กฯ)
-   บุญญ์นิได้เมื่อเทวทัตบวชเปนรสี เอาช้างมาเลี้ ยงเปนลูก เมื่อลุนข้าเจ้ารสีเสีย บํ่ดี (อินทสมานโคตชาดก)

o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯพํ่อฯค้ากวฯยฯร 5 ร้อฯยฯเหลฯ้ม ไพเมิอฯงพาราณสี บํ่เปนฯอ฿นทรฯายฯสักฯอันฯ ดีนักฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนพ่อค้าเกวียน ๕ ร้อยเหล้ม ไพเมืองพาราณสี บ่เปนอนทรายสักอัน ดีนัก
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอมหาอานันทฯเปนฯแลนฯฅำ พาเพิธฯาสัต์ตฯ ออฯกจากฯเหวฯแลฯวฯได้เปนฯพรฯยฯา ดีนักฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อมหาอานันทะเปนแลนฅำพาโพธิสัตต์ออกจากเหวแล้วได้เปนพระญา ดีนัก
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเปนฯช้างฯฉัททฯัน์ตฯ พรฯานฯเลิยฯอูางา แลฯวฯตายฯไพ บํ่ดี(ฉัททฯันตฯชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าเปนช้างฉัททันต์ พรานเลิยเอางา แล้วตายไพ บ่ดี  (ฉัททันตชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอชูชกพรฯาหมฯณ์ อูาเจั้ากัณหฯาชาลีผูกแลฯวฯตีไพเปนฯทุก์ขฯ บํ่ดี(มหาเวสสฯันตฯรชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อชูชกะพราหมณ์เอาเจ้ากัณหาชาลีผูกแล้วตีไพ เปนทุกข์ บ่ดี (มหาเวสสันตรชาดก)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอเพิธฯาสัต์ตฯเจั้าต฿กฯเหวฯแล่นฯอูาออฯกแลฯวฯ ไพนั่งฯอยฯู่ฯ อุฯทธฯญานฯ ฯพรฯยฯาเมิอฯงเขัาตายฯราทธฯนาฯ นิม฿นตฯ์ เพิธฯาสัต์ตฯเจั้าเมิอฯอเปนฯพรฯยฯาแก่เขัา ดีนักฯ
-    บุญญ์นิได้เมื่อโพธิสัตต์เจ้าตกเหว แล่นเอาออกแล้ว ไพนั่งอยู่อุทธญาน พระญาเมืองเขาตายราธนานิมนต์    โพธิสัตต์เจ้าเมือเปนพระญาแก่เขา  ดีนัก
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอสัพพฯฯัญญฯ ูฯพรฯเจั้าเรัาอธิฏฐฯฯานฯลอฯยฯไตรฯในแม่นาฯํ้ฯฯเนรัญชฯรา ลอฯยฯตามฯไตรฯพรฯเจั้าทํฯลฯฯายฯ ดีนักฯแลฯ (บฐมสัเมพฯฯาธิ)
-   บุญญ์นิได้เมื่อสัพพัญญูพระเจ้าเราอธิฏฐานลอยไตรในแม่น้ำเนรัญชรา ลอยตามไตรพระเจ้าทังหลายดีนักแล  (ปฐมสัมโพธิ)
o บุญญฯ์นิได้เมิ่อฯอพรฯานฯอูานาฯงฯมเนาฯรา์หฯ มาหื้เจั้าสุธ฿นฯ ดีนักฯ  (สุธนชาด฿กฯ)
-    บุญญ์นิได้เมื่อพรานเอานางมโนราห์มาหื้อเจ้าสุธน ดีนัก  (สุธนชาดก)