แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

พุทธนวัตศิลป์ : ปก จิตรกรรมจากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก

 


 

พุทธนวัตศิลป์ : จิตรกรรมจากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก


มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

เนื่องในพิธีการเทศน์มหาชาติ “ตั้งธัมม์หลวง”

ฉลองครบรอบการสถาปนา ๔๐ ปี  มจร วิทยาเขตเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๖๗

เอกสารวิชาการ ๔๐ ปี ลำดับที่ ๒

พุทธนวัตศิลป์ : จิตรกรรมจากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ :

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์.  พุทธนวัตศิลป์ : จิตรกรรมจากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก. เชียงใหม่  85 หน้า.

I พุทธนวัตศิลป์-จิตรกรรมจากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก II ชื่อเรื่อง

ISBN : 978-616-618-059-6

ผู้จัดพิมพ์และเจ้าของ :

            มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้เรียบเรียง :

               ดร. พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

บรรณาธิการ :

               ดร. พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

ที่ปรึกษา :

      พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ.ดร.         พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ.ดร.           พระครูธีรสุตพจน์, ดร.                  

      พระครูพิสุทธิ์ชยานุศาสก์                     พระครูสิริปริยัติยานุศาสก์, ดร.               พระครูใบฏีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท, ดร.

      พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ, ผศ.ดร.               รศ.ดร.อภิรมย์ สีดาคำ                           รศ.ดร.วิโรจน์ อินทนนท์                                                                          รศ.ดร. ฉลองเดช  คูภานุมาต                  รศ.ลิปิกร มาแก้ว      ผศ.ดร. สุรสิทธิ์ เสาว์คง

กองบรรณาธิการ :

               ฝ่ายวิชาการ :

      ดร.พิสิฏฐ์  โคตรสุโพธิ์        รศ.ดร.พูนชัย ปันธิยะ              รศ.ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง              พระวุฒิชัย   มหาสทฺโท 

      พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ  ผศ.ดร.เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์      พระนคร ปญฺญาวชิโร, ดร.                 ผศ.ดร.ปฏิเวธ เสาว์คง 

      ผศ.ดร.ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ ดร.วิโรจน์ วิชัย ดร.ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี                   ดร.สุชัย สิริรวีกูล     

      ดร.บุญช่วย ดูใจ                 นายภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม              นายบุญมี แก้วตา                              นายอำนาจ ใจยาว

ฝ่ายสร้างสรรค์จิตรกรรม :

       พระอธิวัฒน์ รตวณฺโณ, ดร.   อาจารย์ธีรพงษ์ จาตุมา           อาจารย์สุวิน มักได้  

      คณะนิสิตสาขาพุทธศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

รูปเล่ม  :

               จตุพร  แก้วนิ่ม

พิมพ์ท่ี :

โรงพิมพ์  บริษัทนันทพันธ์พรินติ้ง จำกัด ๓๓/๔-๕ หมู่ ๖ ถนนเชียงใหม่-หางดง ต.แม่เหียะ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐

โทร ๐๕๓ ๘๐๔ ๙๐๘ม ๐๕๓ ๘๐๔ ๙๐๙

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๗

จำนวน   ๑๐๐๐ เล่ม

 


 

 

คำนำ

ประเพณี “เทศน์มหาชาติ” หรือ   “ตั้งธัมม์หลวง” เป็นประเพณีล้านนาที่สำคัญและมีคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวล้านนา ซึ่งมีการถ่ายทอดมายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี การแสดงเทศนามีเนื้อหาครอบคลุม เรื่องราวอดีตชาติสุดท้าย ของพระสิทธัตถะพุทธเจ้า ครั้งเสวยชาติเป็นกษัตริย์ พระนามว่า เวสสันดร โพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญทานบารมี ชนิดที่หาคนเทียบได้ยาก นอกจากจะบริจาควัตถุสิ่งของให้เป็นทานแล้ว ยังได้บริจาคพระโอรส-ธิดา แก่พราหมณ์ชูชก สุดท้ายแม้แต่พระนางมัทรี พระมเหสี ก็ประทานแก่พราหมณ์อินทร์แปลงที่แกล้งมาขอ น้ำใจของพระเวสสันดรกว้างอย่างหาผู้จับได้ยาก ท่านไม่เคยปฏิเสธอิดเอื้อน ถ้ามียาจกมาขอ ก็เพื่อบำเพ็ญบารมีจะให้ได้ตรัสรู้บรรลุสัพพัญญุตญาณ

เนื่องในวโรกาสที่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่  สถาปนามาได้ครบ ๔๐ ปี ในปี ๒๕๖๗ นี้ จึงได้จัดการเฉลิมฉลองเป็นกาลพิเศษ ดังในวันที่ ๒๓-๒๔  สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ ๔ ในประเด็น “ภูมิพลังสร้างสรรค์ และพุทธนวัตกรรมในสังคมร่วมสมัย” ซึ่งก็ผ่านมาด้วยดี และครั้งนี้ วันที่ ๑๙, ๒๐ และ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ก็ได้จัดกิจกรรมฉลอง ๓ วัน  โดยเฉพาะ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ จัดกิจกรรมสืบสานประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง” ด้วยการฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันตระชาดก ที่คัดมาเฉพาะกัณฑ์เด่น ๆ คือ ชูชก, กุมาร, มัทรี และนครกัณฑ์ ตลอดวัน

ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรม และเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับประเพณีฟังเทศน์มหาชาติ หรือ “ตั้งธัมม์หลวง” โดยสรุปสาระของพิธีกรรม และความย่อของมหาเวสสันตระชาดก ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ทั้งจะได้เป็นสุนทรียทัศน์ประกอบเนื้อหาแต่ละกัณฑ์ จึงได้มอบภาระให้คณาจารย์และนิสิตสาขาพุทธศิลปกรรม ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ได้สร้างสรรค์จิตรกรรม เป็นพุทธนวัตศิลป์ วาดภาพประกอบเรื่องราวมหาเวสสันตระชาดกให้ครบทุกกัณฑ์  รวมทั้งภาพจิตรกรรมพระมาลัยโปรดนรก-สววรรค์ จัดตีพิมพ์ในเล่มหนังสือ และ แสดงนิทรรศการภาพพระบฎ ประกอบพิธีเทศน์มหาชาติ ตั้งธัมม์หลวงในงานนี้ด้วย  

ขออำนาจและเดชานุภาพแห่งพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงในสากลโลก จงอำนวยพรให้ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสืบสานประเพณี ฟังเทศน์มหาชาติเวสสันตระชาดก “ตั้งธัมม์หลวง”ครั้งนี้ ประสบแต่จตุรพิธพรชัย เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลทุกเมื่อ

          พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ ผศ.ดร.

รองอธิการบดี วิทยาเขตเชียงใหม่

กิตติกรรมประกาศ

เนื่องในวโรกาสที่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่  สถาปนามาได้ครบ ๔๐ ปี ในปี ๒๕๖๗ นี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคคลากร ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน รวมทั้งผู้สนับสนุนกิจกรรมการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้มีน้ำใจเป็นเอกีภาพ ร่วมกันจัดการเฉลิมฉลองเป็นกาลพิเศษ วันที่ ๑๙, ๒๐ และ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นเวลา ๓ วัน  โดยเฉพาะ  วันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันแรก จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีโบราณทางพระพุทธศาสนาของชาวล้านนา คือ ประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง” ด้วยการฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันตระชาดก ที่คัดมาเฉพาะกัณฑ์เด่น ๆ คือ ชูชก กุมาร มัทรี และนครกัณฑ์ ตลอดวัน

นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามจารีตประเพณีแล้ว ยังได้จัดพิมพ์หนังสือ พุทธนวัตศิลป์ : จิตรกรรม จากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก” เพื่อเป็นการบริการองค์ความรู้ทางวิชาการ และแสดงภาพจิตรกรรม ที่เหล่าศิลปินทั้งหลาย ประกอบด้วยคณาจารย์และมวลนิสิต สาขาพุทธศิลปกรรม ทุกระดับ ปริญญาตรี-โท-เอก  มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ข่วยกันสร้างสรรค์ ผ่านการตีความคติธรรมทางพระพุทธศาสนา จากวรรณกรรม มหาเวสสัตระชาดก ประกอบการเทศน์ และเป็นธรรมบรรณาการแด่ท่านผู้มีส่วนในการเฉลิมฉลองวาระครบรอบการสถาปนา ๔๐ ปีครั้งนี้ด้วย

ขอขอบคุณกรรมการฝ่ายวิชาการ และอนุกรรมการฝ่ายวิชาการจัดทำหนังสือ “พุทธนวัตศิลป์ : จิตรกรรม จากวรรณกรรม มหาเวสสันตระชาดก” โดยเฉพาะ คณาจารย์ศูนย์บัณฑิตศึกษา ผู้ที่เป็นเสาหลักในการเรียบเรียงองค์ความรู้ คติธรรม และสาระที่เกี่่ยวกับประเพณีการตั้งธัมม์หลวง รวมทั้งการสรุปความและวิเคราะห์คุณค่าที่ได้จากวรรณกรรม “มหาเวสสันตระชาดก” เอาไว้อย่างน่าติดตาม

 หนังสือนี้ หากขาดทีมฝ่ายสร้างสรรค์จิตรกรรม  (ทั้งคณาจารย์ และนิสิต สาขาพุทธศิลกรรมที่ปรากฏนามในภาคผนวก)  ช่วยกันเสียสละพลังกายและพลังความคิด สร้างรูปธรรม(ภาพจิตรกรรม) จากคติความเชื่อที่เป็นนามธรรม(วรรณกรรมคำสอน) ให้ปรากฏออกมา สามารถแตะต้องสัมผัสสุนทรียภาพของพุทธศิลปกรรม ในรูปแบบวิถีล้านนาได้อย่างน่าทึ่ง ผ่านการให้คำแนะนำ เพื่อปรับแก้ให้มีความสมบูรณ์ จากอาจารย์อุดม วิจิตรธารากุล ที่เอาใจใส่ในทุกกระบวนการ นับแต่โครงสร้าง มิติของภาพ การลงลายเส้น และลงสี ซึ่งศิลปินก็ได้รับความรู้และปรัปรุงตามคำแนะนำ จนปรากฏผลงานจิตรกรรมที่ประกอบในเล่ม และจิตรกรรมภาพพระบฎจริง ที่นำมาแสดงตลอดการเฉลิมฉลองครั้งนี้

ท้ายสุด ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้หมด ซึ่งให้การสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย จนมีผลงานปรากฏดังที่เห็นมา ณ โอกาสนี้

ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

บรรณาธิการ

 

สารบัญ

   เรื่อง                                                                                            หน้า

คำนำ                                                                                              

กิตติกรรมประกาศ                                                                            

ภาคที่ ๑ อารัมภบท                                                                           

    ๑.๑ ความเป็นมา                                                                           

    ๑.๒ ปฐมเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาเวสสันตระชาดก

ภาคที่ ๒ ประเพณีตั้งธรรมหลวง : เทศมหาชาติ มหาเวสสันตระชาดก

๒.๑ ความเป็นมาของประเพณี

๒.๒ ประเพณีตั้งธัมม์หลวง

๒.๓ ธรรมมหาเวสสันตระชาดกล้านนา

๒.๔ ลำดับพิธีการตั้งธัมม์หลวง

๒.๕ อานิสงส์ของการฟังเทศน์มหาเวสสันตระชาดก   

ภาคที่ ๓ สาระสรุปของเวสสันตระชาดก ๑๓ กัณฑ์

๓.๑ กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร

๓.๒ กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์

๓.๓ กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์

๓.๔ กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์

๓.๕ กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก

๓.๖ กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน

๓.๗ กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน

๓.๘ กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร

๓.๙ กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี

๓.๑๐ กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ์

๓.๑๑ กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช

๓.๑๒ กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์

๓.๑๓ กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์

ภาคที่ ๔ การเทศน์มาลัยเค้า มาลัยปลาย

๔.๑ คัมภีร์พระมาลัยทางล้านนา

๔.๒ คัมภีร์พระมาลัยทางภาคอีสาน

๔.๓ คัมภีร์พระมาลัยทางภาคกลาง

ภาคที่ ๕ วิเคราะห์คุณค่าจากการฟังเทศน์มหาเวสสันตระชาดก

5.1   คุณค่าทางศาสนา

5.2   คุณค่าทางสังคม

5.3  คุณค่าทางจิตใจ

5.4  คุณค่าทางการศึกษา

ปัจฉิมบท

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

1.  ประกาศวิทยาเขต แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวันฉลองครบรอบ 40 ปี

2.  ประกาศวิทยาเขต แต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำหนังสือพุทธนวัตศิลป์ จิตรกรรมจากเวสสันตระชาดก ฉลองวันครบรอบสถาปนา ๔๐ ปี

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น