แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข้อมูลพระธัมม์คัมภีร์ใบลาน เชียงใหม่-ลำพูน-พะเยา และ น่าน สำรวจ พ.ศ. 2515-2537 และ 2556-2560


ข้อมูลการสำรวจพระธัมม์คัมภีร์ใบลาน 
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน
อดีต - ปัจจุบัน(2515-2560) 
โดย พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์เชียงใหม่
ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์และปริวรรตคัมภีร์ใบลาน จังหวัดเชียงใหม่
เครือข่ายวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ภาคเหนือ
10 ตุลาคม 2561 

บทนำ
          สืบเนื่องจาก เครือข่ายวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ภาคเหนือ ทำโครงการอนุรักษ์และปริวรรตพระคัมภีร์ใบลานล้านนา ขึ้นมาใน ปี 2561 ต้องการสำรวจและรวบรวมรายการคัมภีร์โบราณที่อยู่ในวัดต่างๆทั้งภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด โดยพระราชเขมากร เจ้าคณะจังหวัดแพร่ และรองอธิการบดีวิทยาเขตแพร่ เป็นประธานเครือข่าย ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์จากเจ้าคณะจังหวัด ภาคเหนือตอนบน ทั้ง 8 จังหวัด ในการอนุญาต ขอความร่วมมือให้แต่ละวัดในเขตปกครอง สำรวจเอกสารโบราณที่เก็บรักษาไว้ที่วัด โดยการกรอกในใบเอกสารรายการสำรวจเบื้องต้น และส่งให้คณะทำงานเครือข่ายผ่านผู้ประสานงานจังหวัด ซึ่งจะเก็บข้อมูลนับแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปประมาณ 3 เดือน
          ในฐานะผู้ประสานงานในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งเคยทำการสำรวจรายการด้วยการทำวิจัยการสำรวจและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานมา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึง ปีพ.ศ. 2560 ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดถือว่าสำรวจไปแล้วครึ่งทาง เพื่อให้ทางเครือข่ายได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น ที่เป็นข้อมูลเก่า ซึ่งเอกสารจริงอาจจะไม่มีหลงเหลือตามจำนวนที่บันทึกไว้ จะได้ตรวจสอบอีกชั้นว่าที่มีอยู่ยังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด นอกจากนี้ ยังมีวัดที่ตกสำรวจอีกมากเมื่อเทียบปริมาณงานงานที่สำรวจไปแล้วกับงานที่ยังเหลือ คงทำได้ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์   ที่เหลือ อีก 85 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นงานหนักที่เครือข่ายจะต้องรีบเข้ามาแบกรับภาระ เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ถูกเก็บและสืบทอดด้วยวิธีประเพณีแบบพื้นบ้านและด้วยพลังศรัทธาต่อพระธรรมรัตนะที่เป็นคำสอนของพระบรมศาสดา

          ด้วยเจตนาจะช่วยให้งานที่มองไม่เห็นฝั่งได้กำหนดเข็มทิศ เป็นจุดมุ่งหมาย ทั้งได้วางฐานบันไดขั้นแรก ให้คณะทำงานได้ก้าวเดินต่อ มุ่งทิศทางเดียวกัน จึงได้รวบรวมข้อมูลมาไว้เป็นราวบันได้ให้เครือข่ายสาวต่อ จนลุถึงจุดหมายปลายทางสำเร็จงานที่มุ่งหวังทุกประการ 

           รายการพระธรรมคัมภีร์จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ที่ถ่ายสำเนาเก็บรักษาไว้ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียใหม่ ได้ออกสำรวจพระธรรมคัมภีร์ใบลานของวัดและสมบัติส่วนบุคคลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่จังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 – 2537 ในช่วงระยะเวลา 22 ปี ซึ่งบางวัดคณะผู้สำรวจได้เข้าไปสำรวจ หลายครั้ง แต่จะระบุเฉพาะปี พ.ศ. แรกที่เริ่มเข้าสำรวจเอาไว้  
มีข้อมูลสำรวจได้ทั้งหมด   317 แห่ง (เป็นวัด จำนวน 285 วัด  
สมบัติของหน่วยงานราชการ/ สมบัติส่วนบุคคล จำนวน 32 ราย)   ด้ทำการถ่ายสำเนาภาพพระธรรมคัมภีร์เอาไว้ เป็นจำนวน 2,179  รายการ  นับจำนวนผูกได้ 7,944   ผูก   แบ่งเป็น
1. วัดในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน  251 วัด สมบัติของหน่วยงานราชการ/สมบัติส่วนบุคคล จำนวน  30 ราย ในพื้นที่  19 อำเภอ  เอกสารจำนวน  2,823 รายการ  

เพิ่มเติม รายการเอกสารวัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง 2556
สถาบันวิจัยสังคม ได้รับมอบหมายภารกิจจากมหาวิทยาลัย ให้ทำการสำรวจ ตรวจสอบ บูรณะ ซ่อมแซม ลงทะเบียน จัดหมวดหมู่ตามรูปแบบคัมภีร์ทางศาสนา ทำการอนุรักษ์ให้คงอยู่ไปอีกนาน   เลือกปริวรรต และเรียบเรียงคัมภีร์ที่เห็นว่าสำคัญอันเกี่ยวกับวัดน้ำบ่อหลวงออกมาเป็นภาษาปัจจุบัน และพิมพ์เผยแพร่ คณะทำงาน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม(อ.ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์) หัวหน้า และบุคลากรฝ่ายล้านนาคดี อีก 6 ท่าน(อาจารย์ศรีเลา เกษพรหม นายอุไร ไชยวงษ์ นายสวัสดิ์ ดีใส นางสาวอมรรัตน์ เฟื่องวรธรรม นายชนินทร์ เขียวสนุก และพนักงานขับรถ) ได้ออกปฏิบัติภารกิจภาคสนามดังกล่าว ในชื่อโครงการสำรวจอนุรักษ์ ลงทะเบียน และถ่ายสำเนา คัมภีร์ใบลานวัดน้ำบ่อหลวง(วนาราม) ตั้งแต่เดือน เมษายน – กรกฎาคม นับเป็นเวลาได้ 32 วันทำการโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัย

           การสำรวจ ทำความสะอาด ซ่อมแซม การลงทะเบียน การจัดหมวดหมู่ เอกสารโบราณเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า มีเอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน ทั้งสิ้น 300 เรื่อง นับจำนวนผูกได้ 500 ผูก เอกสารใบลานตีพิมพ์ด้วยอักษรไทย จำนวน 250 เรื่อง จำนวน 1,500 ผูก  เอกสารเขียนพับสา จำนวน  35   เล่ม ยังคง เหลือเพียงงานถ่ายสำเนาและการปริวรรตเท่านั้น
1) จังหวัดเชียงใหม่ สำรวจ เพิ่ม 2557 ดร.พิสิฏฐ์ หัวหน้าโครงการ  จำนวน 3 วัด
 คณะนักวิจัยได้ออกไปทำการสำรวจและคัดเลือกวัดตามคุณสมบัติที่กำหนดในขอบเขตการวิจัย ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ จำนวน 3 วัด เป็นวัดในเขตอำเภอเมือง 
       (1) วัดล่ามช้าง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
         คณะนักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติการสำรวจและทำการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง   เริ่มสำราจ เดือน เมษายน 2558 จนแล้วเสร็จ ในเดือน มกราคม 2559 เป็นเวลาทำการ 8 เดือน(ขอยายเวลาสำรวจ) ได้ผลการสำรวจ ดังนี้ เอกสารที่สำรวจได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,702 รายการ นับเป็นผูกได้จำนวน   2,806 ผูก/เล่ม 
          จัดหมวดหมู่ตามระบบการจัดคัมภีร์ของสถาบันวิจัยสังคมดังนี้ 01 พระพุทธศาสนา 1,627 เรื่อง จำนวน   2,697 ผูก/เล่ม  02 หมวดนิทานพื้นบ้าน ไม่มี 03 หมวดกฎหมายโบราณ  2 เรื่อง 2  ผูก/เล่ม  04 หมวดจริยศาสตร์ 14 เรื่อง  14 ผูก/เล่ม 05 หมวดประวัติศาสตร์  1 เรื่อง  1  ผูก/เล่ม 06 หมวดโหราศาสตร์ 1 เรื่อง 1 ผูก/เล่ม     07 หมวดโคลงกลอน 1 เรื่อง 1 ผูก/เล่ม  08 หมวดยาสมุนไพร   6 เรื่อง 6 ผูก/เล่ม  09 หมวดลัทธิพิธีกรรม 7 เรื่อง 7 ผูก/เล่ม 10 หมวดไสยศาสตร์ 8 เรื่อง 8 ผูก/เล่ม 11 หมวดปกิณกะ 34 เรื่อง  69 ผูก/เล่ม
     ทำการปริวรรต จากต้นฉบับใบลาน 1 เรื่อง ได้แก่  “โวหารตำนานสินธุรภิกขุณี” ฉบับธรรมวัดล่ามช้าง จังหวัดเชียงใหม่ จาร ปี จศ. 11723  (พ.ศ. 2358)  จำนวน 1 ผูก 27 หน้าลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยยวน  รหัสภาพถ่ายดิจิตัล หมายเลข 15.0007.01M.1472-11 ซึ่งเป็นตำนานของภิกษุณีที่แปลกออกไปจากประวัติของพระมหาเถรี ภิกษุณีในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล และค้นพบที่วัดล่ามช้าง ในที่อื่น ยังไม่พบว่ามีอีกหลายสำนวนหรือไม่ จึงเห็นควรปริวรรตออกเผแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้

        (2) วัดผ้าขาว ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
         คณะนักวิจัยได้ลงมือสำรวจ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2557 สำรวจเสร็จ กุมภาพันธ์ 2558 รายชื่อและจำนวนของเอกสารที่สำรวจและลงทะเบียนจัดเก็บรักษาไว้ของผ้าขาว   จำแนกประเภทเอกสารและข้อมูลตามแบบบันทึกข้อมูลเอกสารโบราณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   รวมทั้งสิ้น  592 ผูก/เล่ม 
จำแนกตามหมวดหมู่ได้ ดังนี้ 01 พุทธศาสนา 494 ผูก 02 นิทานพื้นบ้าน 2 ผูก 03 กฎหมายโบราณ 2 ผูก 04 จริยศาสตร์ 26  ผูก 05 ประวัติศาสตร์ ไม่มี 06 โหราศาสตร์ 1 ผูก 07 โคลงกลอน 10 ผูก 08 ยาสมุนไพร 11 ผูก 09 ลัทธิพิธีกรรม 30 ผูก 10 ไสยศาสตร์ 1 ผูก 11 ปกิณกะ 15 ผูก/เล่ม  ทำการปริวรรต จากต้นฉบับใบลาน 1 เรื่อง ได้แก่ “ธรรมดาสอนโลก”ฉบับวัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เส้นจาร จำนวน 1 ผูก 38 หน้าลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยยวน เอกสารถ่ายสำเนาไมโครฟิล์ม หมายเลข 132.294.016 ชม 010800404 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ชัปนะ ปิ่นเงิน : ปริวรรต ถ่ายถอดและอธิบายศัพท์ มกราคม 2558  ในระยะที่ทำการอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์ใบลาน ที่วัดผ้าขาว มานำเสนอแทน  ด้วยเห็นว่าเป็นคำสอนที่เป็นหลักขัดเกลาทางสังคมได้ดี
         (3) วัดต้นยางหลวง ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
วัดต้นยางหลวง เป็นวัดแรกที่คณะนักวิจัยได้ลงมือสำรวจ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2557 สำรวจเสร็จ มีนาคม 2558 มีรายการเอกสารที่สำรวจและลงทะเบียนและจัดเก็บรักษาไว้ ที่วัดต้นยางหลวง ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกประเภทเอกสารและข้อมูลตามแบบบันทึกข้อมูลเอกสารโบราณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  รวมทั้งสิ้น 631 รายการ 1,169 ผูก 
จำแนกโดยหมวดได้ ดังนี้ 01 หมวดพระพุทธศาสนา 621 เรื่อง 1,185 ผูก/เล่ม  02 หมวดนิทานพื้นบ้าน   2 เรื่อง 3 ผูก/เล่ม 05 หมวดประวัติศาสตร์ 1 เรื่อง 1 ผูก/เล่ม 09 หมวดลัทธิพิธีกรรม 2 เรื่อง 2 ผูก/เล่ม 10หมวดไสยศาสตร์ 1 เรื่อง  1 ผูก/เล่ม 11 หมวดปกิณกะ 4 เรื่อง 4 ผูก/เล่ม ทำการปริวรรต จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่  “คัมภีร์อานิสงส์สร้างเจดีย์”วัดต้นยางหลวง  ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  ฉบับนี้ เป็นผลงานบันทึกประวัติการบูรณะพระธาตุเจดีย์ ของวัดต้นยางหลวง ตำบลไชยสถาน   เส้นจาร  ใบลาน อักษรธรรมล้านนา หรือ ไทยยวน จำนวน 1 ผูก 48 หน้าลาน  พ.ศ. 2546  เนื่องในพิธีสมโภชการบูรณะพระเจดีย์ครั้งสุดท้าย แม้ว่าจะมีอายุการบันทึกเพียง 13 ปี แต่ถือว่าเป็นเอกสารที่บันทึกประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของท้องถิ่นที่ได้บันทึกการสร้างเจดีย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 เกือบศตวรรษมาแล้ว

 2. จังหวัดลำพูน จำนวน  34 วัด  สมบัติส่วนบุคคล จำนวน  2  ราย  
ในพื้นที่    อำเภอ เอกสารจำนวน  356 รายการ  1441 ผูก
             ดร.พิสิฏฐ์ หัวหน้าโครงการทำการสำรวจเพิ่มเติม วัดในจังหวัดลำพูน อีกจำนวน 2 วัด พ.ศ. 2557 ดังนี้
            (1) วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  
               วัดพระยืนเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสายลังกา ที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยสุโขทัย เมื่อพญากือนานิมนต์พระสุมนเถระมาประกาศศาสนาลัทธิลังกาวงส์ จากสุโขทัย พระสุมนเถระ ได้พำนักที่วัดพระยืน เป็นเวลาถึง 2 ปี จนกว่าการสร้างวัดบุปผาราม(สวนดอก)แล้วเสร็จจึงได้มาประจำที่อารามสวนดอก(ไม้) คณะนักวิจัย ชุดที่ 2 ได้ลงปฏิบัติการสำรวจ อนุรักษ์ และทำรระบบรายการเอกสาร นับตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558 สิ้นสุดโครงการ เดือน มิถุนายน 2558 พระธรรมคัมภีร์ใบลานที่วัดพระยืน มีคัมภีร์ทั้งหมด จำนวน 1,510 ผูก/เล่ม/แผ่น  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ (1) ใบลาน 1,505 ผูก  (2) พับสาและผ้ายันต์ 4 เล่ม/ผืน  (3) สมุดฝรั่ง 1 เล่ม จำแนกโดยหมวดดังนี้  01 พุทธศาสนา 1,353 ผูก/เล่ม  02 นิทานพื้นบ้าน 2 ผูก 03 กฎหมายโบราณ 3 ผูก 04 จริยศาสตร์ 40 ผูก 06 โหราศาสตร์ 1 ผูก 07 โคลงกลอน 2 ผูก 08 ยาสมุนไพร 3 ผูก 09 ลัทธิพิธีกรรม 30 ผูก พับสา 3 เล่ม  สมุดฝรั่ง 1 เล่ม 10 ไสยศาสตร์ 1 ผูก  11 ปกิณกะ 70 ผูก พับสา  1 เล่ม ทำการปริวรรต จำนวน 2  เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1 “เส้นธรรม” วัดพระยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เส้นจาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยวน จำนวน 62 หน้าลาน หน้าลานละ 5 บรรทัด ชัปนะ ปิ่นเงิน : ถ่ายถอดและอธิบายศัพท์  และเรื่องที่ 2 “โอวาทสอนภิกขุสามเณร” ฉบับวัดพระยืน  ชัปนะ ปิ่นเงิน : ถ่ายถอดและอธิบายศัพท์

           (2) วัดบ้านหลุก ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  
             วัดบ้านหลุก ตำบลเหมืองง่า เป็นวัดที่มีเอกสารโบราณ พระธรรมคัมภีร์ใบลาน จัดเก็บไว้ที่หอไตร เป็นจำนวนมาก เก็บรักษาไว้ที่หีบธรรม จำนวนถึง 21 หีบ คณะนักวิจัย กลุ่มที่ 2 ได้ลงมือปฏิบัติการสำรวจ ตั้งแด่เดือน กรกฎาคม 2558 จนถึง เดือน มีนาคม 2559 ก็สามารถทำการสำรวจได้ประมาณ 1 ใน 7 ส่วน (1 : 7)  เพราะมีเอกสารที่จัดเก็บรักษาเอาไว้มาก เท่าที่คณะนักวิจัยได้ทำสำรวจ รายชื่อของเอกสารและลงทะเบียน ที่วัดบ้านหลุก จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ ใบลาน 1,279 รายการ[1] จำแนกโดยหมวดได้ ดังนี้ 01 พุทธศาสนา 1,250 ผูก หมวดอื่นๆ จำนวน 29 รายการ  ได้แก่ 03 กฎหมายโบราณ 9 ผูก 04 จริยศาสตร์ 6 ผูก 06 โหราศาสตร์ 1 ผูก  09 ลัทธิพิธีกรรม 5 ผูก 10 ไสยศาสตร์ ไม่มี 11 ปกิณกะ  8  ผูก หมายเหตุ ยังคงเหลือเอกสารที่รอการสำรวจอีกดังนี้ คือ ใบลาน  293 มัด (2,760 ผูก) ลานก้อม 12 ผูก และ พับสา 65 เล่ม ซึ่งจะทำการสำรวจให้เสร็จสิ้นต่อไป   ทำการปริวรรต จำนวน 3  เรื่อง ได้แก่  1) หนังสือโอวาท (นครเชียงใหม่)  จ.ศ.1199 (พ.ศ.2380) ฉบับวัดบ้านหลุก  2)  หนังสือโอวาทนุสาสนี  จ.ศ.1251 (หริภุญไชยนคร) ฉบับวัดบ้านหลุก  3)  มูลกัมมัฏฐาน




[1] เอกสารโบราณของวัดบ้านหลุก จังหวัดลำพูน ที่ยังคงค้างการสำรวจในโครงการ (เอกสารมีทั้งหมด 21 หีบ) มีรายการดังต่อไปนี้
ใบลาน      293 มัด (2,760 ผูก)
ลานก้อม    12 ผูก
พับสา        65 เล่ม


3. รายการพระธัมม์คัมภีร์ใบลาน จังหวัดพะเยาที่สำรวจ พ.ศ. 2523 – 2529 
กระบวนการอนุรักษ์พระธัมม์คัมภีร์โบราณเมืองพะเยา ในอดีต ในสมัยครูบากัญจนอรัญญวาสี วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 2332-2411 (อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ. 2552) เป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นำในการเก็บรวบรวมคัมภีร์ธรรม(ในช่วงปี พ.ศ. 2367-2382)  จากวัดและสถานที่ต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน หลวงพระบาง ตาก เป็น ตามความเข้าใจของผู้เรียบเรียง เข้าใจเอาว่า   ครูบากัญจนอรัญวาสี คงต้องเคยสั่งให้ทำการสำรวจ หรือ สั่งให้รวบรวมจากเมืองพะเยา เชียงราย และเชียงแสน  เพื่อนำไปคัดลอกและเก็บรักษาที่นครแพร่ ท่าน คงไม่พลาดโอกาสสำคัญที่จะรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์ให้มากที่สุด
แต่ไม่พบหลักฐานบันทึกชัดเจนว่า ท่านได้เดินทางมารวบรวม หรือ คัดลอกคัมภีร์ธรรมจากจังหวัดพะเยา ไปร่วมทำสังคายนาที่หัวเมืองสำคัญดังที่กล่าวมาเลย ทั้งไม่พบหลักฐานการรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์ในเส้นทาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยา ด้วย ก็สุดจะคาดเดาว่า เกิดจากสาเหตุอะไร 
หากจะให้สันนิษฐานตอบข้อสงสัยของตน ก็คงมีปัจจัยสำคัญ คือ
(1) ภัยสงคราม ระหว่างพม่า-ไทย ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) หัวเมืองต่าง ๆ ใน ล้านนา โดยเฉพาะ เชียงราย เชียงแสน และเมืองพะเยา ช่วงเกิดสงครามสยามกับพม่า จนสูญเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ชาวล้านนา หรือ ชาวยวน ถูกพม่าเกณฑ์เป็นทหาร  มารุกรานรบกับอยุธยา  จนเสียกรุงอยุธยา การที่ถูกพม่ากวาดต้อน เกณฑ์แรงงานชาวล้านนามารบกับไทยหลายครั้ง ประชากรก็ลดลง  ประชาชนต่างก็อพยพหลีกภัยสงครามไปหาที่ปลอดภัย พระสงฆ์ก็ต้องทิ้งวัดปล่อยให้รกร้างไป  ช่วงสงคราม   ในเมืองพะเยาแทบจะร้างผู้คน วัดวาอารามจำนวนมาก ต้องกลายเป็นวัดร้างไป เพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เหลือแต่เพียงวัดในเมืองบางแห่ง  เช่น วัดหลวงราชสัณฐาน    วัดราชคฤห์  แต่หัวเมืองทางเหนือก็ยังไม่สงบ หลังสุด ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อกองทัพพม่า นำโดย อะแซหวุ่นกี้ ยกมารุกรานไทยอีกครั้ง สามารถยึดหัวเมืองล้านนาได้อีก 6 หัวเมือง มี เมืองเชียงราย เมืองพะเยา เมืองฝาง เมืองปุ เมืองสาดและเมืองปาย  ชาวเมืองพะเยาเองต่างก็หลบหนีพิษภัยสงคราม มีชาวเมืองพะเยาจำนวนหนึ่ง อพยพหนีภัยเข้ามาอาศัยเมืองลำปาง มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ด้านทิศใต้ ฝั่งขวาของแม่น้ำวัง  ร่วมกันสร้างหมู่บ้าน ละวัดประจำหมู่บ้าน โดยเอาชื่อเมืองเดิมของตนมาเป็นชื่อว่า “วัดพะเยา /พระยาว” ซึ่งปัจจุบันนี้ ได้แก่ วัดปงสนุก บ้านปงสนุก นครลำปาง
ผลพวงจากสงครามพม่า – สยาม  นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2330 – 2386 เป็นเวลาถึง 56 ปี เมืองพะเยา ตกเป็นเมืองร้างไป จนสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ฟื้นหัวเมืองเหนือหลายเมืองขึ้นมาเป็นเมืองหน้าด่าน  มีเมืองพะเยา เมืองเชียงราย และเมืองงาว โดยให้เมืองพะเยา และเมืองงาว ขึ้นต่อลำปาง ส่วนเมืองเชียงราย ให้ขึ้นกับเชียงใหม่  
ด้วยภัยสงคราม พะเยาเคยเป็นบ้านเมืองร้าง วัดวาถูกทิ้งร้างมานาน แม้จะสงบแต่ก็เพิ่งจะฟื้นตัว ตั้งตัวยังไม่สงบเรียบร้อยมั่นคงเป็นปึกแผ่นนัก  ครูบากัญจนอรัญวาสีจึงไม่อาจสืบค้นคัมภีร์ได้จากพะเยา
   อย่างไรก็ตาม ในครั้งที่ครูบากัญจนอรัญวาสี รวมรวมคัดธรรมที่นครลำปาง  2 สมัย คือ ในปี พ.ศ. 2364  ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านนาครัว เมืองลำปาง(ปัจจุบัน อยู่ในเขต อำเภอแม่ทะ)   และ ในปี พ.ศ. 2382 ครูบาฯมาจำพรรษาที่ วัดเวียง เมืองเถิน  นครลำปาง ได้พบหลักฐาน ในรายการ “เส้นธัมม์เมืองลำปาง” ที่เกี่ยวกับพะเยา โดยมีเจ้าเมืองพะเยา และบุคคลอื่น ๆ ที่ระบุว่า เป็นคนที่อยู่อาศัยในเมืองพะเยา  ได้มาร่วมเป็นเจ้าภาพในการถวายพระธัมม์คัมภีร์ที่นครลำปาง มีหลายคัมภีร์ที่ได้หยิบยืมมาจาก “วัดพระยาว” คงไม่ใช่วัดในจังหวัดพะเยา แต่น่าจะเป็นวัด “ปงสนุก” ตามที่กล่าวมาแล้ว  แต่ในหลักฐาน เส้นธัมม์เมืองลำปางเอง ก็ยังมีชื่อวัด “พงสนุกด่านใต้” ปรากฏอยู่ด้วย ซึ่งวัดพระยาว ก็คือ วัดพงสนุกด้านใต้ วัดเดียวกัน  ขอแสดงตัวอย่างรายการเส้นธัมม์เมืองลำปางดังต่อไปนี้
     ธัมม์มัดหนึ่งฯ เอกนิบาต 14 ผูก ...ยืมวัดศรีเกิด ธัมม์ 5 มัดนี้ ท้าวมหาวงส์ เวียงพระยาวเป็นสัทธารับสร้าง
     ธัมม์มัดหนึ่งฯ สุรินทชุมพู 5  ผูก ...ยืมวัดหมื่นกาด  เจ้าพระยา  เวียงพระยาว เป็นสัทธารับสร้าง
      ธัมม์มัดหนึ่งฯ โปราณสังคหะสูตต์ มี 8 ผูก ยืมวัดพระยาวมา แสนอินทวิไช อยู่เวียงพระยาว เป็นสัทมธารับสร้าง
    ธัมม์มัดหนึ่งฯ มังคลปัญหา มี 8 ผูก ยืมวัดข่วงเพลามา  ปู่อุด เวียงพระยาว เป็นสัทธารับสร้าง
     ธัมม์มัดหนึ่งฯ โวหารมหาปุริสลัก๘ณะ มี 7 ผูก ยืมวัดพระยาวมา  นางฟอง เป็นสัทธารับสร้าง (ดิเรก อินทร์จันทร์, (2560), ดุษฎีนิพนธ์, สาขาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาลวินศึกษา. หน้า 49-50 ; 151-158. และ สัมภาษณ์ วันที่ 21 สิงหาคม 2560))
      (2) ไม่ใช่เส้นทางหลัก สำหรับการสำรวจรวบรวมพระไตรปิฎก ของครูบากัญจนะ เมื่อจับศูนย์กลางตั้งที่ วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ เส้นทางสำรวจพระธัมม์คัมภีร์สายใต้ ก็เป็น ลำปาง เถิน ตาก ลำพูน เชียงใหม่  และเส้นทางสายเหนือ ก็เป็นน่าน และขยายไปถึงนครหลวงพระบาง   
ช่วงการสำรวจรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์เมืองพะเยา

 ด้วยข้อจำกัดทางหลักฐาน ผู้เรียบเรียงจึงขอแบ่ง ระยะการสำรวจรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์เมืองพะเยาที่มีหลักฐานชัดเจนในอดีตออกเป็น 3  ช่วง ดังนี้
เรียงจึงขอแบ่งระยะการสำรวจรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์เมืองพะเยาที่มีหลักฐานชัดเจนออกเป็น 4  ช่วง ดังนี้
  ช่วงที่ 1 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปวง ธมฺมปญฺโญ) กับการอนุรักษ์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา (พ.ศ. 2500 – 2539)    ด้วยความที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระสงฆ์ที่มีความเข้าใจ ทั้งมีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา และเมืองพะเยามาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ท่านเป็นผู้เปิดประตูเมืองพะเยาในอดีต ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง อันเป็นมรดกล้ำค่า โดยท่านเก็บสะสมวัตถุโบราณต่าง ๆ เอาไว้ เช่น วัตถุโบราณ ประมาณ 1,000 ชิ้น หลักศิลาจารึกหินทราย 30 ชิ้น ตำราคัมภีร์โบราณ สมุดข่อย เป็นจำนวนมากมาตั้งแต่ต้น พ.ศ.2500  ท่านได้ปริวรรต แต่งหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความรู้ทั่วไปอีก ไม่น้อยกว่า 25 เรื่อง เช่น ประวัติเมืองพะเยา ประวัติพญางำเมือง ผู้ครองนครภูกามยาวในอดีต ตำนาน ความเป็นมาต่าง ๆ ผลงานที่กล่าวมาเป็นส่วนสำคัญทำให้เกิด หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นสถานศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีและที่รวบรวมจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมกับวัตถุโบราณที่รวบรวมไว้
   ช่วงที่ 2 คณะสำรวจอนุรักษ์เอกสารโบราณ (ชุดที่ 1 ช่วงปี พ.ศ. 2523- 2529 นำโดย รศ. สมหมาย เปรมจิตต์)  จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงระยะเวลา 6 ปี  พื้นที่ทำการสำรวจ มีทั้งหมด 31 แห่ง  แบ่งเป็นวัด 29 วัด และสมบัติส่วนบุคคล อีก 2 ราย ในพื้นที่ 6 อำเภอ 16 ตำบล   บันทึกข้อมูลการสำรวจและถ่ายสำเนาพระธัมม์คัมภีร์ใบลานมาเก็บรักษาไว้ที่คลังข้อมูลกลุ่มล้านนาคดี  สถาบันวิจัยสังคม  เป็นจำนวน 243  รายการ นับจำนวน ผูกได้ 992 ผูก 
ข้อมูลการสำรวจและถ่ายสำเนาพระธัมม์คัมภีร์ใบลานมาเก็บรักษาไว้ที่คลังข้อมูลกลุ่มล้านนาคดี  สถาบันวิจัยสังคม มีจำนวน 243  รายการ นับจำนวน ผูกได้ 992 ผูก จำแนกเป็นดังนี้
1) อำเภอเมือง  มี 11 วัด ได้แก่  
          (1) วัดศรีโคมคำ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 35รายการ
          (2) วัดพระแก้ว รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ 
          (3) วัดตุ่นกลาง รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 9 รายการ
          (4) วัดตุ่นใต้ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 12 รายการ
          (5) วัดดอกบัว รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 8 รายการ
          (6) วัดต๋อมดง รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 12 รายการ
          (7) วัดต๋อมใต้  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 15 รายการ
          (8) วัดแม่นาเรือ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
          (9) วัดบุญเหยี่ยน  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 9 รายการ
          (10) วัดท่ากลอง  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 6 รายการ
          (11) วัดใหม่หลวง รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
2) อำเภอแม่ใจ มี 5 วัด ได้แก่
          (1) วัดศรีสุพรรณ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 10 รายการ 
          (2) วัดตาลถ้อย รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 8 รายการ 
          (3) วัดแม่สุก รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 5 รายการ
          (4) วัดศรีบุญเรือง รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 15 รายการ
          (5) วัดโพธาราม รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 41 รายการ
3) อำเภอดอกคำใต้ มี 5 วัด ได้แก่
          (1) วัดบุญเรือง  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 7 รายการ
          (2) วัดพญาชมพู รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
          (3) วัดดอนเหล็ก รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 4 รายการ
          (4) วัดดอนเล้า รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 2 รายการ
          (5) วัดช่างหิน รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 2 รายการ
 4) อำเภอเชียงคำ มี 5 วัด ได้แก่
          (1) วัดหย่วน รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
          (2) วัดแสนเมืองมา รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 14 รายการ
          (3) วัดนันทาราม รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
          (4) วัดเชียงบาน รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 2 รายการ
          (5) วัดบุญยืน รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ
5) อำเภอเชียงม่วน  มี 1  วัด สมบัติส่วนบุคคล 2 แห่ง ได้แก่
          (1) วัดท่าฟ้าใต้  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 12 รายการ 
          (2) นายสม ชุมภูชนะภัย รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 2 รายการ
          (3) นายคำมา กองแก้ว รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 1 รายการ

6) อำเภอปง  มี 1 วัด ได้แก่ วัดหนองบัว รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ จำนวน 2 รายการ

  ช่วงที่ 3 คณะสำรวจอนุรักษ์เอกสารโบราณ (ชุดที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2531- 2535 นำโดย อาจารย์ ม.ร.ว.รุจยา อาภากร และ ศาสตราจารย์ ดร.ฮารันด์ ฮุนดิอุซ) โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนทุนในการสำรวจจากประเทศเยอรมัน ได้ทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนาขึ้นมา  และได้เข้าไปสำรวจ และบันทึกรายการคัมภีร์ใบลานในพื้นที่จังหวัดพะเยา  นับแต่ พ.ศ. 2531-2535 ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ  จำนวน 8 วัด มีคัมภีร์ จำนวน 356 รายการ ดังนี้

     1) อำเภอเมือง  มี 4 วัด ได้แก่

1) วัดศรีโคมคำ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 230 รายการ
2) วัดตุ่นกลาง รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 20 รายการ

3) วัดหลวงราชสัณฐาน รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 12 รายการ 

4) วัดราชคฤห์  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 3 รายการ

   2) อำเภอแม่ใจ) มี 2 วัด ได้แก่

1) วัดศรีสุพรรณ รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 24 รายการ

2) วัดโพธาราม  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 6  รายการ

   3) อำเภอเชียงคำ มี 2 วัด ได้แก่

1) วัดแสนเมืองมารายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 22 รายการ

2) วัดหย่วน  รายชื่อพระธัมม์คัมภีร์ 39 รายการ

           ช่วงที่ 4 การสำรวจคัมภีร์ใบลาน จังหวัดพะเยา  ชุดปัจจุบัน  ปี พ.ศ. 2558 – 2560 
ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัย ประกอบด้วยนักวิจัย 3 ท่าน มี รศ.ดร.ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์ ผศ.ดร.วิโรจน์อินทนนท์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี จาก มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และผู้ช่วยนักวิจัย 2 ท่าน ได้แก่ นายชนินทร์ เขียวสนุก นางสาวอมรรัตน์ เฟื่องวรธรรม จากสถาบันวิจัยสังคม หาวิทยาลัยเชียงใหม่   เห็นชอบร่วมกันว่า เอกสารโบราณที่ถ่ายสำเนาจากแหล่งจังหวัดพะเยา ในคลังข้อมูลเอกสารไมโครฟิล์ม ฝ่านล้านนาคดี  สถาบันวิจัยสังคม ก็ยังมีจำนวนน้อย เป็นความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะทำการสืบค้น อนุรักษ์ และทำการถ่ายทอดภูมิปัญญาในจังหวัดพะเยาเพิ่มเติม จึงเลือกวัดที่ได้รับข้อมูลว่า ยังมีเอกสารโบราณที่ตกสำรวจ จำนวน 10 วัด ในพื้นที่ 5 อำเภอ  คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงคำ อำเภอภูซาง  อำเภอภูกามยาว และอำเภอดอกคำใต้ 
ด้านการทำรายการลงทะเบียน ทำดัชนีการสืบค้นอย่างเป็นระบบ และถ่ายสำเนาคัมภีร์โบราณ  มีรายการสำรวจซึ่งจะแบ่งออกตามรายวัดดังนี้
  (1) วัดหลวงราชสัณฐาน มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 870 เรื่อง 1,026 ผูก 3 เล่ม  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่  1) ใบลาน 867 เรื่อง  1,026 ผูก 2) พับสา 3 เรื่อง  3 เล่ม  มีคัมภีร์ใบลาน/พับสาที่ถ่ายสำเนาภาพติจิตัล เอาไว้จำนวน  ......เรื่อง  
     (2) วัดราชคฤห์ มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้น 37 เรื่อง 37 ผูก  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 37 เรื่อง 37 ผูก  
    (3) วัดลี มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้นจำนวน  1,800 เรื่อง 2,146 ผูก  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน  1,731 เรื่อง 2,077 ผูก 2) พับสา,สมุดฝรั่ง 69 เรื่อง 69  เล่ม
    (4) วัดเชียงหมั้น มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้นจำนวน  725  เรื่อง  1,122 ผูก  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 663  เรื่อง  1,060 ผูก 2) พับสา,สมุดฝรั่ง  62  เรื่อง  62 เล่ม 
    (5) วัดสุวรรณคูหา มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 660  เรื่อง 1,265 ผูก จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 646  เรื่อง 1,251 ผูก 2) พับสา,สมุดฝรั่ง  14  เรื่อง 14 เล่ม 
    (6) วัดไชยพรหม  มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน  รวมทั้งสิ้นจำนวน 310  ผูก/เล่ม  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน  297 ผูก 2) พับสา,สมุดฝรั่ง 13  เล่ม 
    (7) วัดดอนไชย มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน   รวมทั้งสิ้น จำนวน 39 ผูก/เล่ม  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 17 ผูก 2) พับสา 22 เล่ม 
        (8) วัดทราย ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 308 ผูก/เล่มจำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 295 ผูก 2) พับสา  13 เล่ม 
(9) วัดล้า มีการการที่สำรวจและลงทะเบียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 598 ผูก  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่  ใบลาน 598 ผูก คัมภีร์ใบลาน/พับสาที่ถ่ายสำเนาภาพติจิตัล เอาไว้จำนวน......เรื่อง
      (10)  วัดทุ่งกล้วย มีรายการที่สำรวจและลงทะเบียน  รวมทั้งสิ้น จำนวน 504 ผูก/เล่ม  จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ 1) ใบลาน 485 ผูก 2) พับสา, สมุดฝรั่ง  19 เล่ม  
ข้อสังเกต เท่าที่คณะนักวิจัยได้สำรวจคัมภีร์ในเมืองพะเยา  อายุของเอกสารมากที่สุด ก็ตกอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2309 (จ.ศ. 1128) ของวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง คือ เรื่อง “ธรรมคำสอนมหาเถรจันทร์”  จารึกปี พ.ศ. 2309 รหัส 80.043.01H.037-037  จำนวน 1 ผูก 44 หน้าลาน อีกคัมภีร์หนึ่ง “กฎหมายโบราณ”  จารึก ปีพ.ศ. 2359(จ.ศ. 1178 รหัส 80.046.03.051-051 จำนวน 1 ผูก 88  หน้าลาน  คัมภีร์ที่เหลือ ส่วนมากเป็นการจารในระหว่าง ปี พ.ศ. 2395-2430  หลังจากที่ ครูบากัญจนะฯ ได้รวบรวมพระธรรมคัมภีร์ล้านนาและนำไปเก็บไว้ที่วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ (พ.ศ. 2382 เป็นปีที่มารวบรวมคัมภีร์ ครั้งที่ 2 โดยมาจำพรรษาที่ วัดเวียง เมืองเถิน  นครลำปาง) แต่ก็นับว่า เป็นเอกสารคัมภีร์โบราณที่มีอายุเกินร้อยปีขึ้นไป ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอด บางคัมภีร์ที่มีอายุการจารึก ก่อนปี พ.ศ. 2330  ที่เมืองพะเยาจะเป็นเมืองร้างเพราะภัยสงคราม แต่พบที่พะเยานั้น คงเป็นเอกสารที่ได้คืนจากผู้คนที่อพยพกลับคืนถิ่น นำมรดกภูมิปัญญาโบราณกลับคืนติดตัวมาหรือส่งคืนต้นแหล่ง ดังที่ชาวเวียงจันทน์ล้านช้าง เมื่ออพยพกลับไปเวียงจันทน์ แต่เพราะเคยมาตั้งรกรากที่เมืองพะเยา ก็ได้ส่งคืน “ตำนานพระเจ้าตนหลวง” แก่วัดศรีโคมคำ สมัยพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ผู้นำสงฆ์ วัดราชคฤห์  (เจ้าคณะแขวงบริเวณเมืองพะเยา พ.ศ. 2451 เมืองพะเยา) และสั่งทำการคัดลอดสืบต่อมาในสมัยหลัง โดยพระสงฆ์และปราชญ์ท้องถิ่น 

4. รายการพระธรรมคัมภีร์ใบลาน นครน่าน ที่สำรวจ 2523-2558
สำรวจฐานข้อมูลเดิม ก่อนที่จะออกไปสำรวจ ทางคณะนักวิจัยได้ค้นข้อมูลจากคลังข้อมูลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียใหม่ ได้เคยออกไปสำรวจ พระธรรมคัมภีร์  ใบลานของวัด ในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523– 2537 สำรวจได้ทั้งหมด 44 วัด  ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ  ได้ถ่ายสำเนาภาพพระธรรมคัมภีร์ได้ 321 รายการ 1,440 ผูก มีจำนวน 51,562 หน้าลาน
1) ยุคแรก (พ.ศ. 2523-2537) สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียใหม่ นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ สมหมาย เปรมจิตต์  ชุดแรก ได้ออกสำรวจพระธรรมคัมภีร์ใบลานของวัดในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 – 2537 ในช่วงระยะเวลา 14 ปี ซึ่งบางวัดเข้าไปสำรวจ หลายครั้ง แต่จะระบุเฉพาะปี พ.ศ.แรกที่เริ่มเข้าสำรวจเอาไว้ ซึ่งสำรวจได้ทั้งหมด 44 วัด ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ  และทำการถ่ายสำเนาภาพพระธรรมคัมภีร์เอาไว้ เป็นจำนวน 321 รายการ(ตรวจสอบได้ 319 รายการ) นับจำนวนผูกได้ 1,440 ผูก มีจำนวนหน้าลานทั้งหมด 51,562 หน้าลาน
2) ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2557-2558)  คณะนักวิจัย นำโดย อาจารย์ ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม อาจารย์ประจำ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.จีรายุทธ์ ชัยจารุวณิช คณะวิทยาศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์ คณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้ช่วยนักวิจัยปฏิบัติการ(รายนามปรากฏในท้ายหนังสือ) ทำการสำรวจรวบรวมและจัดทำระบบสารสนเทศสำเนาภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ใบลาน  พระนครน่าน   ในปี พ.ศ. 2557 ได้ จำนวน 3 วัด คือ วัดดอนแก้ว อำเภอเมือง วัดนาเหลืองใน และวัดศรีเชียงบาล อำเภอเวียงสา โดยการสำรวจรายการอย่างละเอียด ได้จำนวน 2,338 รายการ ดังนี้ 
วัดดอนแก้ว ตำบลในเวียง คณะนักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติการสำรวจและทำการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง 2 ระยะ (ครั้งที่ 1 เริ่ม 19 ตุลาคม – 23 พฤศจิกายน และเข้าไปจัดเก็บงานครั้งที่ 2 จนแล้วเสร็จ ในเดือนธันวาคม  เป็นเวลาทำการ 2 เดือน ได้ผลการสำรวจ ดังนี้ เอกสารที่ วัดดอนแก้ว มีจำนวนทั้งหมด 865 เรื่อง โดยแบ่งประเภทออกเป็นคัมภีร์ใบลาน จำนวน 848 เรื่อง พับสา จำนวน 17 เรื่อง (ชำรุด) สมบูรณ์ 381 เรื่อง ชำรุด  484 เรื่อง (ในส่วนของพับสาไม่ได้ลงรายการสำรวจเอาไว้) คัมภีร์ใบลานทั้งหมดที่ได้ทำการสำรวจ จัดหมวดหมู่ตามระบบการจัดคัมภีร์ของสถาบันวิจัยสังคมดังนี้ 01 พระพุทธศาสนา 790 เรื่อง สมบูรณ์ 381 เรื่อง ชำรุด 484 เรื่อง 02 หมวดนิทานพื้นบ้าน  3 เรื่อง สมบูรณ์ 2 เรื่อง ชำรุด 1 เรื่อง 04 หมวดจริยศาสตร์ 4 เรื่อง สมบูรณ์2 เรื่อง ชำรุด 2 เรื่อง 05 หมวดประวัติศาสตร์ 3 เรื่อง สมบูรณ์ 3 เรื่อง 08 หมวดยาสมุนไพร 1 เรื่อง (ชำรุด) 09 หมวดลัทธิพิธีกรรม 8 เรื่อง สมบูรณ์ 1 เรื่อง  ชำรุด 7 เรื่อง 10 หมวดไสยศาสตร์ 2 เรื่อง สมบูรณ์ 1 เรื่อง ชำรุด 1 เรื่อง 11 หมวดปกิณกะ 37 เรื่อง สมบูรณ์ 16 เรื่อง ชำรุด 21 เรื่อง และถ่ายสำเนาดิจิตอลเป็นฐานข้อมูลของวัดดอนแก้วเอกสาร ไว้ 16 เรื่อง 25 ผูก 1,412 หน้าลาน หมายเหตุ ข้อมูลที่สถาบันวิจัยสังคมได้ถ่ายสำเนาภาพพระธรรมคัมภีร์ใบลานของวัดดอนแก้วเอาไว้เดิม มีพระธรรมคัมภีร์ 11 เรื่อง 56 ผูก 1,845 หน้าลาน) 
ได้ทำการปริวรรต จากต้นฉบับใบลาน 2 เรื่อง ได้แก่ อานิสงส์ก่อพระธาตุดอนแก้ว และตำนานถ้ำกุ่ม
           วัดนาเหลืองใน ตำบลนาเหลือง และวัดศรีเชียงบาล บ้านป่าคา ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน คณะนักวิจัยออกสำรวจระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีรายการคัมภีร์ใบลาน พับสาและผ้ายันต์ วัดนาเหลืองใน รวมทั้งสิ้น 613 รายการ จำแนกตามประเภทวัสดุ ได้แก่ คัมภีร์ใบลาน 562 รายการ พับสาและผ้ายันต์ 51 รายการ ดังนี้ 01 หมวดพระพุทธศาสนา จำนวน  1537  เรื่อง ( 534 = 518  ผูก 16เล่ม )  02 หมวดนิทานพื้นบ้าน จำนวน 3 เรื่อง  4 ผูก 03 หมวดกฎหมายโบราณ จำนวน 1 เรื่อง 1 เล่ม 04 หมวดจริยศาสตร์ จำนวน 2 เรื่อง 2 ผูก 06 หมวดโหราศาสตร์ จำนวน 14 เรื่อง 3 ผูก/ 13 เล่ม  07 หมวดโคลงกลอน จำนวน 6 เรื่อง 1 ผูก 5/ เล่ม 08 หมวดยาสมุนไพร จำนวน 6 เรื่อง 5 ผูก/1เล่ม 09 หมวดลัทธิพิธีกรรม จำนวน 8 เรื่อง 12 ผูก/3 เล่ม 10 หมวดไสยศาสตร์ จำนวน 17 เรื่อง  3 ผูก/15 เล่ม /2 ผืน 11 หมวดปกิณกะ จำนวน 8 เรื่อง 10 เล่ม มีเอกสารใบลานที่ถ่ายสำเนาภาพดิจิตอล 36 รายการ 
ทำการปริวรรต จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ตำราลักษณะช้าง, ตำราช้าง, ตำราสู่ขวัญช้าง และมงคลธรรมคำกลอน         
    วัดศรีเชียงบาล การสำรวจอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์ใบลานที่วัดศรีเชียงบาลได้คัมภีร์ใบลานทั้งหมด จำนวน 860 รายการ จำแนกหมวดธรรมได้ ดังนี้  01 หมวดพระพุทธศาสนา (จำนวน  123 เรื่อง 744 ผูก ) 02 หมวดนิทานพื้นบ้าน จำนวน 3 เรื่อง 3 ผูก 04 หมวดจริยศาสตร์ จำนวน 5 เรื่อง 7 ผูก 09 หมวดลัทธิพิธีกรรม จำนวน 5 เรื่อง 9 ผูก (หมายเหตุ คณะนักวิจัยยังไม่ได้ทำการถ่ายสำเนาภาพเก็บไว้ในครั้งนี้ แต่ได้จัดระบบลงทะเบียนเอาไว้แล้ว)
วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง
เวลาเดียวกันที่วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ ในขณะที่คณะนักวิจัยเข้าไปเยี่ยมโครงการปริวรรตพระธรรมคัมภีร์พระนครน่าน ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา ประมาณ  13 .00  น. 15.30  น.  ได้พบว่า พระเดชพระคุณ พระชยานันทมุนี(ธรรมวัตร/ศิระ ณ น่าน)  ได้รวบรวมพระธรรมคัมภีร์โบราณ โดยได้ติดตามสืบถามจากวัดต่างๆ ที่ได้รับการถวายพระธรรมคัมภีร์ สมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าหลวงนครน่าน ได้จำนวน พระคัมภีร์ทั้งสิ้น 558 พระคัมภีร์ จำนวน 4,293 ผูก 

สรุป

การสำรวจ อนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน โดยทีมนักวิจัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับแต่อดีตมาจวบปัจจุบัน ได้จัดทำฐานข้อมูลเอาไว้ ทั้งที่สถาบันวิจัยสังคม ฝ่ายล้านนาคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงสำรวจครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบนทั้งหมด แต่ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทุกวัด ยังเหลือวัดที่ตกสำรวจอนุรักษ์อีกมาก และเท่าที่ผู้เรียบเรียงมีส่วนรับผิดชอบ สืบสานงานอนุรักษ์พระคัมภีร์มา นับแต่ปี 2556 จนปัจจุบัน ก็ยังสำรวจได้เพียงไม่กี่วัด ใน 4 จังหวัด 
อย่างไรก็ตามข้อมูลที่รวบรวมเรียบเรียงไว้นี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่เก็บจากฐานข้อมูลเดิม และข้อมูลจากการสำรวจใหม่ อาจจะมีการหลงหูหลงตาในด้านรายละเอียดไปบ้าง และยังมีบางกลุ่มได้ทำการสำรวจเอาไว้ แต่ยังไม่ได้เข้าฐานข้อมูล จึงยังไม่มีรายละเอียดทั้งหมด  แต่พอจะประมาณ ได้ว่า ทั้ง 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และ น่าน  ครอบคลุมพื้นที่  42 อำเภอ, แหล่งข้อมูลสำรวจ จำนวน 520 วัด/ส่วนบุคคล, มีรายการคัมภีร์ใบลาน และเอกสารอื่นๆ จำนวนทั้งสิ้น  19,216  รายการ นับจำนวนผูกได้ 27, 691 ผูก / เล่ม   

นี้คือข้อมูลรายการสำรวจเอกสารคัมภีร์ใบลานของ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และ น่านทั้งเก่าและใหม่ ที่คณะผู้วิจัยได้ลงทำการสืบค้นเพิ่มเติมจากทีมชุดก่อน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิง อันที่จริง ยังมีอีก 4 จังหวัด คือ เชียงราย แพร่ ลำปาง และ แม่ฮ่องสอน ที่ทางสถาบันวิจัยสังคมได้สำรวจในคราวเดียวกัน (2515-2537) แต่ผู้เรียบเรียงไม่ได้ลงพื้นที่ทำวิจัยเพิ่ม จึงไม่ได้ให้รายการสำรวจข้อมูลเอกสารเอาไว้ แต่ก็พอจะสืบค้นได้จากฐานข้อมูล ฝ่ายล้านนาคดี สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักส่งเสริมฯ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แม้จะเป็นเพียงวัดเป้าหมายการสำรวจในครั้งก่อนก็ตาม
อย่างไรก็ตาม แม้แต่ 4 จังหวัดที่ผู้เรียบเรียงได้สำรวจและให้ข้อมูลเบื้องต้นนี้ ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกวัด ทุกพื้นที่  คงเป็นภาระหนักที่ต้องช่วยกันระดมสรรพกำลังแบกเข็นให้งานสำรวจพระธัมม์คัมภีร์ใบลานอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้สำเร็จต่อไป.  

หนังสืออ้างอิง

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์ จังหวัดเชียงใหม่
          ลำพูน. สภาวิจัยแห่งชาติ. 2557.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์สมัยเจ้าอนัตวรฤทธิ
          เดช เจ้าผู้ครองนครน่าน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2558.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์ จังหวัดพะเยา.
           สภาวิจัยแห่งชาติ. 2559.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. ภูมิปัญญานครน่าน เอกสารโบราณอันซีนเมืองน่าน.  เชียงใหม่ : สถาบันวิจัย
           สังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2558.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. ปุราโณวาท หลักจริยศาสตร์สร้างดุลยภาพชีวิตแบบล้านนา.
           เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2559.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. พระพุทธรูป คติการสร้างและพิธีกรรมจากเอกสารโบราณเมืองพะเยา.
           เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วัดน้ำบ่อหลวง(วนาราม) สมบัติวัต ศรัทธาวัด. หนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐิน
           พระราชทาน ประจำปีพุทธศักราช 2556. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2556.

[1]  โปรดสืบค้นเพิ่มเติมจาก หอสมุดดิจิตัล คัมภีร์ใบลานล้านนา  http://lannamanuscripts.net/th
[2]  วัดหลวงราชสัณฐาน  และ วัดราชคฤห์  คณะนักวิจัยได้ไปทำการสำรวจอีกครั้ง พบว่า พระธัมม์คัมภีร์ ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำรวจตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2531 และถ่ายสำเนาไว้ พ.ศ. 2535 ได้จัดเก็บไว้ในตู้พระธรรม เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี พบว่า คัมภีร์ส่วนมาก ได้กระจัดกระจาย แตกหมวดไป จึงต้องทำการสำรวจและลงทะเบียนใหม่ ส่วนใดที่หอสมุดดิจิตัลถ่ายสำเนาไว้แล้ว ถ้าเอกสารชัดเจน คณะนักวิจัยชุดนี้จะไม่ถ่ายซ้ำ)