2
ตัวละครและเอกลักษณ์ตัวละครในการแสดงโขน
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
การเสดงโขน ละคร ที่กล่าวมา เรื่องที่นิยมเล่นโขน ก็คือเรื่อง
รามเกียรติ์ รามาวตาร หรือ รามายณะ ซึ่งเป็นนิทานเทพปกรณัมของอินเดีย
ตัวเอกของเรื่องก็พระรามที่พระนารายณ์อวตารมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อต่อสู้กับทศกัณฐ์
ที่เคยเกิดเป็นนนทุก แค้นเทวดาที่ตนต้องล้างเท้า และถูกเทวดาดูหมิ่น จึงบำเพ็ญตบะเพื่อขอพร
พระอิศวรจึงพระทานพร ได้นิ้ววิเศษเป็นอาวุธ ใช้นิ้วชี้เทพเจ้าตายเกือบหมด ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องแปลงกายเป็นอัปสรสาวงามมาฟ้อนรำยั่วให้นนทุกฟ้อนตาม
และ บังเอิญรำท่าชี้นิ้วมาที่ตัวเอง พลาดท่าต่อพระนารายณ์
จึงอาฆาตและขอมีแขนและหัวมากกว่าพระนารายณ์ มาสู้กันให้สมศักดิ์ศรี
แต่พระนารายณ์ว่า ท่านจะเกิดมาเป็นมนุษย์ธรรมดา จะต่อสู้กับยักษ์ ผู้มีมหาอำจาจ
พูดง่าย ๆ คือ ต่อให้ โดยการยอมเสียเปรียบ
นนทุกก็มาเกิดเป็นทศกัณฐ์ พญายักษ์เจ้ากรุงลงกา ด้วยสัญญาต่อกัน พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุทรงยอมรับที่จะอวตารลงมาปราบทศกัณฐ์
จึงทรงลงมาเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา ผู้ครองนคร อโยธยา แต่ทรงขอให้พระลักษมี
อนันตนาคราช และอาวุธคู่พระหัตถ์ไปเกิดด้วย จักรจึงมาเกิดเป็นพระพรต
สังข์และบัลลังก์นาคเป็นพระลักษมณ์ คทาเป็นพระสัตรุด พระลักษมีเกิดเป็นนางสีดา
ธิดาของทศกัณฐ์
ครั้นถึงวาระที่พระนารายณ์จะอวตารมาเกิดเป็นมนุษย์
ท้าวทศรถกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยาก็มีพระประสงค์จะทรงได้โอรสสืบรัชทายาท
จึงโปรดให้ประกอบพิธีหุงข้าวทิพย์ โดยอัญเชิญฤาษี 4 ตน คือพระวสิษฐ์ พระสวามิตร
พระวัชรอัคคี และพระภารทวาชะ ฤาษี 4 ตน จึงไปหาฤาษีกไลโกฏิ พาไปเฝ้าพระอิศวร[1]
ดังที่กล่าวมาตอนต้น มาประกอบพิธี ในระหว่างพิธี บังเกิดมีอสูรทูนถาดทองใส่ข้าวทิพย์
๔ ปั้น ผลุดขึ้นในกองไฟที่ประกอบพิธี กลิ่นข้าวทิพย์หอมไปถึงกรุงลงกา
ทำให้นางมณโทอยากเสวย
ทศกัณฐ์จึงรับสั่งให้กากนาสูรไปลักข้าวทิพย์นั้นมาประทานมเหสี
กากนาสูรโฉบได้ข้าวทิพย์มาครึ่งปั้น
เมื่อนางมณโฑเสวยข้าวทิพย์ส่วนนี้แล้วก็บังเกิดเป็นนางสีดา ซึ่งตามคำพยากรณ์ของพิเภกถือว่านางสีดาจะเกิดมาเป็นผู้ล้างเผ่าพันธุ์
ทศกัณฐ์จึงจำใจต้องนำนางสีดาใส่ผอบแล้วนำไปลอยน้ำ จนท้าวชนกฤาษีไปพบและนำไปเลี้ยงเป็นธิดา
ต่อมาชนกฤาษีลาพรต กลับมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลาเหมือนเดิม
ทางฝ่ายกรุงอโยธยาก็บังเกิดพระราม โอรสนางเกาสุริยา
พระพรต โอรสนางไกยเกษี พระลักษมณ์ และพระสัตรุต โอรสนางสมุทรเทวี
เมื่อพระรามและพระลักษมณ์ทรงเจริญวัยขึ้น ก็ได้ทรงแสดงพลานุภาพปราบกากนาสูรที่รบกวนพระฤๅษีซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่กลางป่า
อยู่มาวันหนึ่ง นางไกยเกษีเกิดเกรงว่าราชสมบัติจะตกแก่พระราม
ราชโอรสองค์ใหญ่แต่พระองค์เดียว จึงทูลขอให้ท้าวทศรถโปรดให้พระพรตได้ครองราชสมบัติ
ท้าวทศรถต้องทรงยินยอม เนื่องจากนางไกยเกษีเคยทำความชอบ
พระรามจึงต้องเสด็จออกป่าและผนวชพร้อมด้วยพระลักษมณ์และนางสีดาเป็นเวลานาน 14 ปี
ระหว่างที่ ๓ พระองค์ทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า ก็มีเรื่องร้ายเกิดขึ้น
คือ นางสำมนักขา ขนิษฐาของทศกัณฐ์มาเห็นพระราม จึงบังเกิดความปฏิพัทธ์ในพระองค์ แปลงตนเป็นสาวงามตรงเข้าเกี้ยวพาราสี
เมื่อพระรามทรงปฏิเสธก็โกรธ ซ้ำยังตรงเข้าตบดีนางสีดาความหึงหวง
พระลักษมณ์ทรงเห็นเหตุการณ์จึงจับนางสำมนักขาลงโทษ ตัดตีน มือ จมูกและใบหู
ทำให้นางสำมนักขาโกรธแค้นยิ่งนัก นำความไปฟ้องให้เชษฐา คือ พญาขร ทูษฐ์ ตรีเศียร
ให้ยกกองทัพยักษ์ไปแก้แค้น พระรามทรงสังหารพญายักษ์ทั้งสามถึงแก่ความตายหมด
แต่นางสำมนักขายังไม่หยุดแค่นั้น นำความไปทูลทศกัณฐ์
พร้อมทั้งยั่วยุให้ทศกัณฐ์เกิดหลงไหลในความงามของนางสีดา ทศกัณฐ์จึงตรัสสั่งให้ม้ารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อลวงนางสีดา
ครั้นพระรามออกตามไปจับกวางทอง
ทศกัณฐ์ก็เข้าไปลักอุ้มเอานางสีดาพามาไว้ในกรุงลงกา เมื่อเสียนางสีดา
พระรามต้องเสด็จตามไปแย่งเอานางสีดาคืนมา จึงเกิดสงครามยึดเยื้อระหว่างกองทัพพระรามพร้อมด้วยพลวานร
กับกองทัพทศกัณฐ์ ฝ่ายยักษ์ ในที่สุดพระรามก็ทรงปราบทศกัณฐ์และพวกยักษ์ลงได้[2]
ต่อไปนี้ จะได้แสดงรายชื่อตัวละครเอก
ระหว่างกองทัพทั้ง 2 ฝ่าย และฝ่ายสนับสนุน ที่เป็นตัวเดินเรื่องในรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขน โดยการสืบสายราชวงศ์ แต่ละฝ่ายเพื่อเป็นข้อมูล
โดยย่อ ดังนี้
2.1
กลุ่มตัวละคร ฝ่ายอโยธยา หรือ
สืบราชวงศ์อโยธยา[3]
1)
พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ ได้กุมารชื่ออโนมาตัน พระศิวะมอบให้พระอินทร์สร้างกรุงอโยธยา
2) ท้าวอโนมาตัน ผู้เกิดจากดอกบัว
ในพระนาภีของพระวิษณุ ได้ครองเมือง มีมเหสี ชื่อ มณีเกษร[4]
3) ท้าวอัชบาล มีมเหสีชื่อ เทพอัปสร
4) ท้าวทศรถ มีมเหสี 3 นางคือ
4.1) เกาสุริยา
มเหสี คนที่ 1 มีโอรส 1 คือ พระราม
4.2) ไกยเกษี
มเหสีคนที่ 2 มีโอรส 1 คือ พระพรต
4.3) สมุทรขาเทวี มเหศีคนที่
3 มีโอรส 2 คือ
พระลักษมณ์ และ สัตรุด
5) พระราม มีมเหสี คือ สีดา
มีโอรส 2 คือ พระมงกุฏ และ พระลบ
2.2
กลุ่มตัวละคร ฝ่ายลงกา หรือ สืบราชวงศ์ลงกา[5]
1) ท้าวจตุรพักตร์ มีมเหสี
ชื่อ มะลิกา มีอโรส 1 ท้าวลัสเตียน
2) ท้าวลัสเตียน มีมเหสี 5 นาง แต่ละนาง
มีโอรสและธิดา ดังนี้
2.1) ศรีสุนนทา มีโอรส 1 คือ
กุเปรัน
2.2) จิตรมาลี มีโอรส 1 คือ
ทัพนาสูร
2.3) สุวรรณมาลัย มีโอรส 1 คือ อัศธาดา
2.4) วรประไภ มีโอรส 1 คือ มารัน
2.5) รัชฎา มีโอรส 6 และธิดา 1 คือ
2.5.1) ทศกัณฐ์
2.5.2) กุมภกรรณ
2.5.3) พิเภก มี ตรีชฎาเป็นมเหสี
มีธิดา คือ เบญกาย และ เบญกาย
ได้กับหนุมาน มีลูกคือ อสูรผัด
2.5.4) ขร
2.5.5) ทูษฐ์
2.5.6)
ตรีเศียร
2.5.7)
นางสำมนักขา
2.6) ทศกัณฐ์ มีมเหสี และภรรยา 6 นาง ดังนี้
2.6.1)
มณโฑ มีโอรส 2 ธิดา 1 คือ
1)
อินทรชิต มีมเหสี คือ นางกันยุมา มี บุตร 2 คือ ยามลิวัน และ กันยุเวก
2)
สีดา แต่งกับพระราม มีโอรส 2 คือ
พระมงกุฏ และพระลบ
3)
ไพนาสุริยวงศ์
2.6.2) กาลอัคคี มีโอรส 1 คือ บรรลัยกัลป์
2.6.3)
นางช้างพัง มีลูก 2 คือ คิริวัน และ คิริธร
2.6.4)
นางปลา มีลูก 1 นาง คือ นางสุวรรณมัจฉา ได้กับหนุมาน มี ลูกคือ มัจฉานุ
2.6.5)
สนมพันตน มีบุตร 1,000 คือ สหัสกุมาร
2.5.6)
สนมสิบตน มีบุตร 10 คือ สิบรถ
2.3
กลุ่มตัวละคร ฝ่ายขีดขิน หรือ สืบราชวงศ์เมืองขีดขิน
1) นางกาลอัจนา
มีสามี คือ ฤาษีโคดม ถูกพระอินทร์ และพระอาทิตย์ ลักลอบเป็นชู้
นางมีบุตรและธิดาดังนี้
1.1) กับฤาษีโคดม มีธิดา คือ
นางสวาหะ ลูกนางสวาหะ คือ หนุมาน
1.2) กับพระอินทร์
ได้ลูกชื่อ พาลี
1.3)
กับพระอาทิตย์ ได้ลูกชื่อ สุครีพ ต่อมาได้เป็นอุปราชของพาลี
2)
พาลี ถูกฤาษิโคดมสาปให้เป็นลิงป่า
พระอินทร์สร้างเมืองขีดขินให้ครอง ตอนแรกชื่อ พญากากาศ แต่ช่วยตั้งเขาพระสุเมรุให้ตรงได้
พระอิศวรจึงให้นามว่า พาลี (ได้นางมณโฑ)
มีลูกชื่อ องคต
3)
หนุมาน
ลูกนางสวาหะ ได้กับ พระพาย
2.4 เอกลักษณ์ ตัวละครเอก
2.4.1 ฝ่าย
เทพ มนุษย์
1) พระอิศวร มีหลายพระนาม
เช่น พระศุลี พระศิวะ อีกพระนามหนึ่ง
ภูตบดี เป็น หนึ่งในมหาเทพของศาสนาพราหมณ์ ผู้ทำลาย มีอำนาจสูงสุด พระวรการสีขาว ทรงมงกุฏน้ำเต้ากาบ พระศอสีดำเนื่องจากดื่มยาพิษ(พิษนาค)
ในพิธีกวนน้ำอมฤต มี 3 ตา คือตาหนึ่งอยู่ตรงหน้าผาก สามารถเผาผลาญสรรพสิ่งได้
มีนาคเป็นสังวาล
ทัดพระจันทร์เป็นฝิ่นปักผม(จันทเลขา) อาวุธ ตรีศูล 3 ง่าม ทรงโคเป็นพาหนะ
2) พระนารายณ์
หรือ พระวิษณุ พระวรกายสีดอกตะแบก ทรงมงกุฏชัย มีอาวุธ คือสังข์ ตรี
คทา จักร มีครุฑเป็นพาหนะ อยู่บนหลังอนันตนาคราชที่เกษียรสมุทร
เป็นมหาเทพผู้รักษาโลก โดยอวตารลงมาปราบยุคเข็ญในโลกมนุษย์ ในทวาปารยุค
อวตารเป็นรามจันทรา เกิดเป็นพระรามใน รามเกียรติ์
หลังปราบหิรันตยักษ์ เมื่อสรงน้ำมีดอกบัวผุดขึ้นมาในพระนาภี
มีกุมารอยู่กลางดอกบัว ให้ชื่อว่า อโนมาตัน พระอินทร์สร้างเมือง อโยธยา ให้ครอบครอง
เป็นต้นราชวงศ์พระราม เมือง อโยธยา หรือ อยุทยา
เป็นอักษรต้น ของนามฤาษี 4 ตน ที่บำเพ็ญพตรอยู่แถบนั้น คือ อจนคาวี
ยุคอัคระ ทหาฤาษี ยาคมุนี เมื่อนำมาต่อกันก็เป็น “อยุทยา” แล้วกลายเป็น อโยธยา[6]
เหล่าเทวดาขอเชิญพระนารายณ์ให้มาปราบนนทุก
จึงแปลงกายเป็นเทพอัปสร มาฟ้อนยั่วยวนให้
นนทุกหลงรักและฟ้อนรำตามตน นางอัปสรแปลงจึงรำท่าชี้นิ้วเข้าหาตนเอง
นนทุกทำตามจึงหมดกำลังลง ก่อนตาย พระนารายณ์คืนรูป นนทุกเห็นว่ามี 4 กร
จึงตัดพ้อว่า เสียแรงท่านมีมือถึง 4 มี ยังใช้อุบายมาหลอกเอาชนะ ท้ายที่สุดพระนารายณ์ก็บอกว่า
ชาติหน้า ขอให้นนทุก มี 10 หัว 20 มือ เหาะเหิน เดินบนอากาศได้ ส่วนเราจะมีเพียงแต่ 1 เศียร 2 มือ
เป็นมนุษย์ธรรมดา ก็จะมาสู้กัน อันเป็นต้นเรื่องของรามเกียรติ์
3)
พระราม กายสีเขียวนวล มงกุฏยอดเดินหน
เป็นภาคหนึ่งของพระนารายณ์ เป็นโอรสท้าว ทศรถ มีอนุชาต่างมารดา 3 องค์ คือ พระพรต
พระลักษมณ์ และพระสัตรุด เมื่อเยาว์วัย ได้รับการศึกษาจากสำนักฤาษีสวามิตร หรือ วิศวามิตร
เมื่อท้าวชนกจักวรรดิ์ (ฤาษีชนก เจ้าเมืองมิถิลา
ได้ป่าวประกาศให้ยุวกษัตริย์มาประลองยกศรรัตนธนู เพื่ออุปภิเษกกับนางสีดา พระรามสามารถยกศรรัตนธนูได้
จึงได้อภิเษกกับนางสีดา
ระหว่างเดินทางกลับนครอโยธยา ได้ปราบรามสูรยักษ์ผู้ถือขวาน
และได้รับศรจากรามสูร
เมื่อท้าวทศรถยกสมบัติอโยธยาให้พระพรต โอรสนางไกยเกสี
ครอง พระรามจึงต้องถูกเนรเทศออกไปบวชอยู่ในป่า 14 ปี รามเกียรติ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในระยะเวลา 14 ปีที่พระรามถูกเนรเทศ พระรามเป็นตัวเอกเดินเรื่อง หรือตั้งแต่ต้น
ที่ถูกนางสำมนักขามาเกี้ยว แต่ถูกพระรามขับไล่ พระลักษมณ์ตัดหูตัดจมูก นางแค้นใจ จึงไปฟ้องพี่ยักษ์
3 ตนให้มาแก้แค้น แต่พี่ยักษ์ที่ 3 ต่างก็ถูกสังหารตายหมด นางจึงไปบอกทศกัณฐ์ว่า
นางสีดาสวยงามมาก จงไปลักมาเป็นเมียเสีย จากนั้น เรื่องก็เป็นการทำสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์
พระรามจึงมีบทบาทโดดเด่นตลอดเรื่อง
4) พระลักษมณ์ อดีตเป็นพญาอนัตนาคราช
ที่ประทับพระนารายณ์ มาเกิด พระกายสีทอง
เศียรเดียว 2 หัตถ์ ทรงมงกุฏยอดเดินหน เป็นโอรสต่างมารดา คือ
นางสมุทรเทวี มีอนุชาคือ พระสัตรุด พระลักษมณ์
เป็นผู้จงรักต่อพระรามมาก เมื่อพระรามถูกเนรเทศไปบวชอยู่ป่า 14 ปี ก็ติดตามตลอด
ยอมสละชีวิตออกรบทัพลงกาเกือบสิ้นชีพ 3 ครั้ง คือ รบกับกุมภกรรณ ถูกหอกโมกขศักดิ์ รบกับอินทรชิต ถูกศรพรหมศาสตร์ รบกับทศกัณฐ์
ถูกหอกกบิลพัท ทั้ง ๓ ครั้ง ได้หนุมานแก้ไว้ได้ เมื่อพระรามสั่งให้นำนางสีดาไปประหาร แต่ประหารไม่ได้
จึงปล่อยนางไป โดยประหารกวางนำหัวใจกวางมาถวายพระรามแทน เมื่อเสร็จศึก
พระรามโปรดให้พระลักษมณ์ไปครองเมืองโรมคัล
5)
นางสีดา[7] กายสีนวลจันทร์ ทรงมงกุฏกษัตริย์ เป็นพระลักษมี
ชายาพระนารายณ์อวตารมาเกิด เป็นตัวละครสำคัญที่สุดในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้นเหตุที่ทำให้พระรามกับทศกัณฐ์ต้องทำสงครามล้างเผ่ากัน
นางสีดาเป็นธิดาทศกัณฐ์กับนางมณโฑ น้องสาวของอินทรชิต
ข้างฝ่ายมารดา เป็นน้องขององคต เมื่อเวลาคลอด โหรพยากรณ์ว่า นางจะเป็นกาลกรรณีผู้ล้างเผ่าพันธุ์ยักษ์
จึงถูกใส่ผอบลอยไปในแม่น้ำวัลวา
พระฤาษีชนก เดิมเป็นเจ้ากรุงมิถิลา นามว่า ชนกจักรวรรดิ
ไปสรงน้ำ พบนางลอยน้ำมา จึงนำไปเลี้ยงไว้ อธิษฐานให้น้ำนมออกทางนิ้วมือเพื่อให้นางดื่ม
มีนายโสมเป็นผู้ช่วยเหลือ เพราะต้องเอาธุระด้วยการเลี้ยงนางสีดา พระฤาษีไม่มีโอกาสบำเพ็ญภาวนา
จึงเอานางไปฝังดินไว้แล้วตั้งหน้าเจริญฌานต่อไป แต่ก็ไม่บรรลุผลอย่างไร เกิดความเบื่อหน่ายในเพศพรหมจรรย์
คิดหวนกลับเข้าครองราชย์สมบัติ จึงจัดการเอาไถขุดเอาผอบที่ฝังไว้ถึง
16 ปี ขึ้นมา นางทาริกามีอายุได้ 16 ปี กลายเป็นสาวงามแล้ว เมื่อนางเกิดรอบที่สองนี้
ถือว่านางเป็นธิดาของพระชนก นางได้ชื่อว่า “สีดา” เพราะทำการไถจึงได้ผะอบขึ้นมา
ท้าวชนกจักรวรรดิ ตั้งพิธีอภิเษกสมรสนางสีดา ประกาศให้ยุวกษัตริย์ทั้งหลายมายกศรศิลป์ชัย
หากผู้ใดยกขึ้นได้
จะได้นางสีดาไปครอง ศรศิลป์ชัยนั้นคือ มหาธนูโมลีของพระอิศวรคู่กับเกราะ
ซึ่งทรงในคราวปราบยักษ์ตรีบุรัม พระอิศวรประทานไว้ที่กรุงมิถิลาเพื่อคอยถ้า สำหรับเป็นอาวุธเมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม
ส่วนเกราะเอาไปไว้ที่พระฤาษีอรรคต พระรามเป็นผู้ยกศรขึ้นได้แต่ผู้เดียว เป็นอันว่าพระรามได้ครองนางสีดา เมื่อทำพิธีอภิเษกสมรสแล้ว
นางได้กลับไปอยู่กรุงอโยธยากับพระราม
ครั้นพระรามมีกรรม
ต้องเดินดง ถึง 14 ปี นางสีดาสมัครตามไปปฏิบัติ
เมื่อม้าริศแปลงเป็นกวางทองมาล่อตามบังคับทศกัณฐ์ พระรามออกไปตามกวางทอง ทศกัณฐ์ก็แอบมาลักพานางไปกรุงลงกา เป็นเหตุให้พระรามต้องตามไปรบ เพื่อชิงเอานางสีดาคืน
เป็นเรื่องยาวตามที่ทราบกัน
2.4.2 ฝ่าย
ยักษ์ อสูร
1) ทศกัณฐ์[8] กายสีเขียว
มี 10 หน้า 20 กร ทรงมงกุฏชัย
ลักษณะปากแสยะ ตาโพลง เป็นตัวเอกของเรื่องอีกตัวหนึ่ง เดิมเป็น “นนทุกยักษ์”
มาเกิดเป็นทศกัณฐ์ เพื่อรบกับพระราม (พระนารายณ์) ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา
เป็นโอรสท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เป็นพี่คนโต มีน้องร่วมท้องคือ กุมภกรรณ พิเภก ขร
ทูษฐ์ ตรีเศียร และ นางสำมนักขา มีนิสัยเจ้าชู้
มักมากในกามารมณ์ มักแปลงร่างเป็นเทวดาลอบไปชมนางสวรรค์ มีชายาหลายตน ชายาเป็นมนุษย์
คือ นางมณโฑ มีลูก ๓ คน คือ รณพักตร์ (อินทรชิต) นางสีดา และไพนาสุริยวงศ์ (ทศพิน)
ชายาเป็นนาค คือ นางกาลอัคคี เป็นอัครราชมเหสี มีลูกชื่อ บรรลัยกัลป์ ชายาเป็นปลา
มีลูกชื่อ นางสุพรรณมัจฉา ชายาเป็นช้าง มีลูก 2 ตน ชื่อ ทศคีรีธร และทศคีรีวัน สมพาสกับนางสนมหนึ่งพัน
มีลูกชายนางละคน เป็น 1,000 คน เรียกรวม ๆ ว่า สหัสสกุมาร กับนางสนมอีก ๑๐ คน
มีลูกอีก 10 คน เรียกว่า สิบรถ
ทศกัณฐ์มีฤทธิอำนาจมาก
เคยช่วยเหลือ เทวดาหลายครั้ง อย่างเช่น ยกเขาไกรลาสที่
เอียงทรุดเพราะยักษ์วิรุฬหกเอาสังวาลนาคฟาด
จึงได้นางมณโฑมาเป็นบำเหน็จรางวัล เป็นคู่ปรปักษ์กับพระราม เพราะไปลักพานางสีดา มเหสีพระรามซึ่งแท้ที่จริงคือลูกสาวของตนเองมา
จึงต้องทำสงครามสู้รบกันเป็นเวลายาวนาน พาเอาเพื่อนฝูง ญาติ พี่น้องและลูกหลาน
ล้มตายเกือบหมดวงศ์ยักษ์ ไม่มีใครฆ่าทศกัณฐ์ให้ตายได้
เพราะถอดดวงใจใส่กล่องซ่อนในแท่งหิน ฝากพระโคดมฤาษีซึ่งเป็นพระอาจารย์เอาไว้
แต่หนุมานลวงเอากล่องดวงใจไปได้ ในที่สุดทศกัณฐ์จึงตายด้วยศรของพระราม
2) กุมภกรรณ กุมภกรรณ กายสีเขียว
สวมกระบังหน้า ไม่มีมงกุฏ ในการทำหัวโขน จะเขียนหน้ายักษ์ทางด้านหลัง 3 หน้า
มีอาวุธ คือ หอกโมกขศักดิ์ คทา และศรพรหมศาสตร์ ลูกท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎาา
น้องทศกัณฐ์ พี่ชายพิเภก ชายาชื่อจันทวดี สนมเอกชื่อคันธมาลี เมื่อครั้งทศกัณฐ์เสียอกเสียใจแทบไร้สติเพราะพาลีพานางมณโฑไป
ได้ช่วยคิดกับพิเภกไปนิมนต์ฤษีมหาโคบุตรมาช่วยเจรจาให้ เป็นผู้รักความยุติธรรม
เมื่อทศกัณฐ์ตามตัวให้มาช่วยรบ กุมภกรรณทูลว่า มูลเหตุของสงครามคือนางสีดา
ขอให้คืนนางไปเสีย ทศกัณฐ์ไม่ยอมประกาศตัดญาติขาดมิตร กุมภกรรณตกใจขออภัยโทษแล้วอาสาออกรบ
แม้พิเภกห้ามปรามก็ไม่ยอมรับฟัง รบครั้งแรกกับสุครีพ
หลอกให้สุครีพไปถอนต้นรังแล้วจับตัวได้ เมื่อทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์
หนุมานทำลายพิธีโดยแปลงเป็นหมาเน่า องคตแปลงเป็นกาจิกหมาเน่าลอยไปติดท่าน้ำโรงพิธี
กุมภกรรณเป็นผู้รักความสะอาดมาก อาเจียนออกมา
ทำพิธีไม่สำเร็จ เมื่อออกรบ พุ่งหอกโมกขศักศักดิ์ถูกพระลักษมณ์ ต่อมาทำพิธีทดน้ำ ไม่ให้น้ำไหลมา
เพื่อทหารฝ่ายพระรามได้อดน้ำตาย
ไม่มีใครรู้สถานที่ทำพิธีทดน้ำนอกจากนางคันธมาลีและนางกำนัลอีก ๔ คน ซึ่งต้องนำดอกไม้ไปยังพิธีบูชาทุกวัน
หนุมานสืบรู้โดยแปลงร่างเป็นนางกำนัลว่ายวนไปกับนางคันธมาลีด้วย หนุมานทำลายพิธี
และรบชนะกุมภกรรณ ครั้งสุดท้ายกุมภกรรณรบกับพระราม ถูกฆ่าด้วยศรพรหมาสตร์
ก่อนสิ้นใจ จึงเห็นพระรามเป็นองค์นารายณ์ ทูลขอขมาและฝากฝังพิเภก ไว้กับพระราม
3)
นางมณโฑ กายสีขาว ทรงมงกุฏกษัตริย์ เป็นมเหสีของทศกัณฐ์
มารดาของอินทรชิต นางสีดา และไพนาสุริยวงศ์ ชาติกำเนิด นางมีกำเนิดจากกบ (มณฑูกะ)ซึ่งอาศัยอยู่ที่อาศรมฤาษี
4 ตน คือ อตันตา วชิระ วิสูตร และมหาโรมสิงห์ ซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่ที่เขาหิมาลัย
สามหมื่นปี ในป่านั้น โคนม 500 ตัว มีใจเลื่อมใสในพระฤาษี
ได้หยดน้ำนมลงไว้ในอ่างทุกเช้า ถึงเวลา ฤาษีทั้งสี่ก็ไปฉันน้ำนม และให้น้ำนมเป็นทานแก่นางกบที่อาศัยอยู๔ข้างอ่างนั้นเสมอ
ๆ
วันหนึ่งฤาษีพบนาคี ธิดาพญากาลนาคขึ้นมาสมจรกับงูดิน
พระฤาษีเห็นว่าเสียเกียรติยศนาค จึงเคาะขนดหาง และที่กลางตัวให้รู้ตัว นางนาคโกรธและกลัวฤาษีไปฟ้องพญานาคผู้เป็นบิดา
จึงคิดฆ่าด้วยการแอบคายพิษลงในอ่างน้ำนมของพระฤาษี นางกบเห็นเข้า
ด้วยความกตัญญูจึงโดดลงไปดื่มน้ำนมที่ผสมพิษนาคตายอ่างน้ำนมนั้น
เมื่อฤาษีเห็นนางกบตายลอยอยู่ในอ่างน้ำนม
เพื่อถามสาเหตุ จึงชุบชีพให้คืนมา เมื่อทราบเรื่อง จึงเกิดความกรุณา จึงชุบชีวิตใหม่ให้เป็นหญิงมนุษย์
รูปร่างหน้าตาสวยงาม ตั้งชื่อว่า “มณโฑ” ตามชาติเดิมที่เป็นกบ[9]แล้วนำไปถวายพระอิศวร
เป็นนางรับใช้พระอุมาเทวี
เมื่อครั้งที่ทศกัณฐ์ไปช่วยยกเขาพระสุเมรุที่เอนเอียงเพราะฤทธิ์สังวาลของวิรุฬหกยักษ์
พระอิศวรจึงประทานนางมณโฑให้ ในระหว่างเหาะผ่านทางเมืองขีดขิน
พาลีเห็นเข้าจึงชิงเอานางมณโฑไปเป็นชายา ทศกัณฐ์ไปขอให้พระอังคตฤาษีไปว่ากล่าวพาลี
อังคตฤาษีได้แหวะครรภ์นางมณโฑเอาลูกที่เกิดกับพาลีใส่ท้องแพะ และคืนนางมณโฑให้ทศกัณฐ์ไป
ลูกนางมณโฑกับพาลีชื่อ องคต
เมื่อไปอยู่กับทศกัณฐ์ นางมณโฑให้กำเนิด นางสีดา ซึ่งเป็นมนุษย์เหมือนแม่
หลังจากกินข้าวทิพย์ที่นางกากนาสูรโฉบมาจากพิธีขอลูกของท้าวทศรถ เมื่อทำศึกลงกา นางมณโฑทำพิธีหุงน้ำทิพย์ ซึ่งเป็นน้ำอมฤต
นำไปรดผู้ที่ตายแล้ว ก็จะกลับฟื้นมีชีวิตดังเดิม พระอุมาเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ในการประกอบพิธีนี้ให้นางมณโฑ
หนุมานไปทำลายพิธีนี้
หลังจากทศกัณฐ์ตาย
นางมณโฑตกเป็นมเหสีฝ้ายซ้ายของพิเภก และให้กำเนิดไพนาสุริยวงศ์
โดยไม่บอกความจริงให้ทั้งพิเภกและทั้งไพนาสุริยวงศ์รู้ ว่าทั้งสองไม่ใช่พ่อลูกกัน
จนกระทั่งไพนาสุริยวงศ์ซึ่งรู้จากอสูรพี่เลี้ยงไปคาดคั้นถามเอาความจริง นางมณโฑจึงยอมบอกความจริง
4) อินทรชิต ยักษ์
ลูกทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อ รณพักตร์ มีลูก
๒ คน คือ ยามลิวัน และ กันยุเวก สืบสันดานทารุณร้ายกาจจากทศกัณฐ์ เรียนวิชาศิลปศาสตร์ณ สำนักพระฤาษีโคบุตร
ภายหลังเรียนมนตร์ ชื่อมหากาลอัคคี สำหรับบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม ก็ไปนั่งภาวนาอยู่ท่าเดียวครบ 7 ปี
พระเป็นเจ้าเสด็จมาปรากฏเฉพาะหน้าพร้อมกันทั้งสามองค์ พระอิศวรประทานศรพรหมาสตร์
และบอกเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานนาคบาศ
และให้พรว่าเมื่อจะตายให้ตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดจากตัวตกถึงพื้นดิน
ให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์
ต่อเมื่อได้พานทิพย์ของพระพรหมมารองรับ จึงไม่เกิดไหม้ พระนารายณ์ประทานศรวิษณุปาณัม
เมื่อได้ศรสามเล่มและพรพิเศษเวทมนตร์แล้ว ก็เป็นอันเสร็จการศึกษาศิลปศาสตร์.
ครั้งหนึ่ง
ทศกัณฐ์ใช้ให้ไปปราบพระอินทร์เพื่อให้อ่อนน้อม เมื่อรบชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์จึ่งให้ชื่อใหม่ว่า “อินทรชิต”
เมื่อศึกติดลงกา กุมภกรรณ ได้เป็นจอมทัพออกรบทำสงคราม
ครั้งแรก รบกับพระลักษมณ์ไม่แพ้ชนะกัน ครั้งที่สอง ทำพิธีชุบศรนาคบาศ ถูกชามพูวราชทำลายพิธี
ออกรบกับพระลักษมณ์
แผลงศรเป็นนาคมัดพระลักษมณ์กับทหารล้มกลิ้งทั้งกองทัพ พิเภกแนะนำวิธีแก้แก่พระราม ครั้งที่สาม
ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ แต่ไม่สำเร็จเพราะทศกัณฐ์บอกข่าวตาย เลยแปลงตนเป็นพระอินทร์ยกพลไปสนามรบ
พระลักษมณ์มัวเพลิน หลงว่าเป็นเทวสันนิบาต เผลอตัว อินทรชิตแผลงพรหมาสตร์
ล้มสลบหมดทั้งนายไพร่
หนุมานชิงโดดขึ้นไปหักคอช้าง ก็ถูกตีด้วยคันศรสลบ ภายหลังพิเภกเเก้ฟื้นหมด
ครั้งที่สี่ ทำพิธี
กุมภนิยาเพื่อชุบตัวเป็นกายสิทธิ์
พระลักษมณ์ยกพลตามไปที่ี่พิธี อินทรชิดแพ้พระลักษมณ์หลบเข้าเมือง
รวบรวมพลเข้ารบพระลักษณ์อีก
เป็นครั้งที่ 5 ตายด้วยศรพระลักษมณ์ที่เนินเขาจักรวาล
5)
มัยราพณ์ พญายักษ์ลูกท้าวมหายมยักษ์ เป็นเจ้ากรุงบาดาล
รู้มนตร์สะกดทัพและเครื่องสรรพยาเปากล้อง ถอดดวงจิตต์ไว้ที่เขาตรีกูฏ ได้มัจฉานุไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ทศกัณฐ์ให้ไปตัดศึกพระราม (ก่อนศึก กุมภกรรณ) ครั้นย่องเข้าไปเป้ายาวิเศษด้วยกล้องสะกดหลับหมดทั้งทัพ
ด้วยเข้าอุ้มพระรามลงไปบาดาล ใส่กรงเหล็กไว้ที่ดงตาลเพื่อต้มเสีย หนุมานตามลงไปไล่ฆ่า
แล้วจัดการบ้านเมือง. ตั้งให้ไวยวิกเป็นเจ้าบาดาล ให้มัจฉานุเป็นอุปราช จึงเชิญพระรามขึ้นยังพลับพลา
2.4.3 ฝ่าย
วานร สัตว์พิเศษ
1) หนุมาน พญาวานร เป็นวานรเผือก เกิดเมื่อวันอังคาร
เดือนสาม ปีขาล เวลาออก เผ่นขึ้นมาทางปากแม่ ตัวโตเท่ากับมีอายุ 16 ปี สามารถแผลงฤทธิ์เป็นสี่หน้าแปดมือ
หาวเป็นดาวเดือน มีกุณฑลขนเพชร เขี้ยวแก้ว แม่สั่งไว้ว่า ผู้ใดมาทักสิ่งวิเศษเหล่านี้
ผู้นั้นเป็นพระนารายณ์ ให้เข้าสวามิภักดิ์ในท่าน
สิ่งที่ประกอบร่างหนุมาน ตัวหนุมาน สร้างจากเทพอาวุธของพระอิศวรที่ให้พระพายนำไปซัดใส่ปากนางสวาหะ
ดังนี้ คทา เป็นสันหลังไปถึงหาง ตรี เป็น กาย กร(มือ) และ บาทา(เท้า) จักร เป็น
ศีรษะ
เมื่อจากแม่ไปแล้ว เที่ยวไปบนอากาศ เห็นสวนพระอุมา
ก็ตรงเข้าไปเก็บลูกไม้กินบ้าง เที่ยวถอนต้นไม้ล้มเล่นเกลื่อนกลาด ตามความชนของลิง พระอุมาทราบก็กริ้ว
สาปให้กำลังลดน้อยลงกึ่งหนึ่ง หนุมานตกใจกลัวมาก
ร้องวิงวอนขออภัย พระอุมายอมว่า
เมื่อใดพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระราม ลูบหลังจนถึงหางแล้ว จึงให้พ้นคำสาปนั้น
ฝ่ายพระพายผู้เป็นบิดา มีความคิดถึงลูก ไปเยี่ยมเยือนแล้ว
พาไปเฝ้าพระอิศวร พระเป็นเจ้า ทรงพระกรุณา บอกมนต์ต่าง ๆ ให้
แล้วประทานพรให้มีอายุชั่วกัลป์ แม้ถูกใครฆ่าตายแล้วก็ให้กลับเป็นขึ้นมาได้ และทรงเห็นว่าพญากากาศ
(พาลี) ลูกพระอินทร์ กับสุครีพ ลูกพระอาทิตย์ ผู้น้องของนางสวาหะแม่หนุมาน
ไม่มีลูก ควรให้หนุมานไปอยู่ด้วยพร้อมกับชมพูพาน จึงตรัสเรียกพญากากาศกับสุครีพขึ้นไปเฝ้า
ทรงแนะนำให้รู้จักหนุมานและชมพูพานแล้ว ฝากฝั่งให้ไปอยู่ด้วยที่กรุงขีดขิน
ครั้งหนึ่ง หนุมานไปบำเพ็ญตบะเพื่อให้เรืองฤทธิ์ ที่ป่ากัทลิวัน(ป่ากล้วย)
พบกับสุครีพผู้ถูกพาลีขับจากเมือง ทราบเรื่องและปรับทุกข์กันแล้ว
ก็กลับไปบำเพ็ญตบะตามเดิม
คราวหนึ่ง ออกจากการบำเพ็ญตบะ เดินเที่ยวไปในป่า
เห็นพระราม พระลักษมณ์ ซึ่งเดินคงเพื่อตามนางสีดา พักอยู่ที่โคนต้นหว้า
พระรามบรรทมหลับ หนุนเพลาพระลักษมณ์เป็นเขนย อยากจะรู้ว่าเป็นใครก็เข้าไปกวนจนตื่น
พระรามพินิศดูก็ตรัสทักกะพระลักษณ์ว่า ทรงเห็นกุณฑล ขนเพชร เขียวแก้ว
หนุมานได้ยิน
ก็นึกถึงคำแม่บอกแน่ใจว่าพระราม คือ พระนารายณ์อวตาร ก็เข้าไปสวามิภักดิ์
นับแต่นั้นมา
หนุมาน ถือว่าเป็นกำลังหลัก เป็นทหารเอกที่ช่วยพระรามรบทศกัณฐ์ เมื่อพระรามทำ
สงครามขับเคี้ยวกับทศกัณฐ์
ฆ่าทศกัณฐ์ไม่ตาย จึงให้หนุมานไปลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฐ์ที่พระฤาษีโคบุตร
เมื่อเสร็จศึกลงกา ได้สมญาศักดิ์เป็น พญาอนุชิต ครองนพบุรีเมืองใหม่
พระรามแผลงศรให้พญาอนุชิตตามไป ตกที่ไหนให้กลับไปทูลจะได้เสด็จยกพลไปกําหนดเขตสร้างเมืองให้เป็นเกียรติยศ
ครั้นศรตกที่เขาเก้ายอด (นพคิรี) ทำลายเขาทั้งเก้านั้นเตียนราบลงหมด พญาอนุชิตก็ลงไป
เอาหางกวาดให้เป็นกำแพงกั้นเขตแดนไปทั่วทิศ แล้วกลับไปทูล พระรามตรัสว่า
เมื่อกำหนดเขตแดนเสียเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะเสด็จไปทำอะไรให้อีก พระรามขนานนามว่า
นพบุรี ตามนิมิตแห่งภูเขาเก้ายอด และแบ่งราชสมบัติกึ่งอยุธยาแก่พญาอนุชิต
2) พาลี พระอินทร์และพระอาทิตย์เห็นพระโคดมฤาษี
สาบลูกของตนให้เป็นลิงป่า ทนทุกขเวทนาอยู่ริมแม่คงคา มีความสงสารมาก ก็พากันมาหาลูก สร้างมืองขีดขีนให้อยู่
ให้ลูกพระอินทร์ผู้พี่ ชื่อกากาศ เป็นเจ้าเมือง ให้ลุกพระอาทิตย์ ชื่อสุครีพ เป็นอุปราช คราวหนึ่ง
เขาพระสุเมรุเอียงด้วยอำนาจ รามสูรจับอรชุนฟาด พระอิศวรตรัสขอแรงพวกเทวดา อินทร์ พรหม
นักสิทธ์ วิทยาธร ทั้งพญากากาศและสุครีพ ให้ช่วยกันทำให้ตั้งตรง พวกที่มาช่วยก็นำเอาพญานาคทั้งหลายมารวมกัน
ทบเข้าเป็นเกลียว ฟั่นเป็นเชือกพันยอดพระเมรุ ฉุดดึงเท่าไรก็ไม่เขยื้อน จนอ่อนกำลังลงไปตาม ๆ กัน
สุครีพออกอุบาย ให้พวกเหล่านั้นฉุดนาคให้ตึงที่สุด
แล้วตนเอานิ้วมือจิ้มลงที่สะดือนาค พวกนาคสะดุ้ง ก็เลยม้วนขนดเข้าพร้อมกันทันที พระเมรุก็ไหวเขยื้อน
พญากากาศรีบเอาบ่าเข้ายันดันจนพระเมรุตั้งตรงตามเดิม
พระอิศวรเห็นความชอบของพี่น้องทั้งสองนั้น ก็เปลี่ยนชื่อพญากากาศใหม่ว่า พาลี และประทานตรีเพชรกับศร
ว่า ถ้ามีใครเป็นข้าศึกไปรบ ก็ขอให้กำลังของผู้นั้นลดลงไปกึ่งหนึ่ง และเข้าไปรวมเพิ่มเป็นกำลังของพาลี
ภายหลัง พระอิศวรทรงฝากผอบแก้วมีนางดารา ไปให้แก่สุครีพ
พระนารายณ์ซึ่งเฝ้าอยู่ที่นั่น ทูลค้านว่า การประทานหญิงไปให้แก่ชาย
ก็เท่ากับฝากมาลัยแก่แมลงภู่ ครั้นนำผอบไปถึงเมือง
พอเปิดดู เห็นนางในผอบนั้นสวยมาก หน้าผ่องดั่งดวงจันทร์ คิ้วโก่งดั่งคันศร
ครั้งหนึ่ง ทศกัณฐ์อุ้มนางมณโฑเหาะข้ามเมืองของพาลี
เมื่อแลเห็นพาลีก็พาลโกรธ เหาะขึ้นไปรบทศกัณฐ์ ชิงเอานางมณโฑไป ได้ลูกคนหนึ่ง
เมื่ออังคัตฤาษีไปขอให้คืนนางมณโฑแก่ทศกัณฐ์ พาลียอมให้ แต่ขอลูกในท้องไว้ โดยทำพิธีเอาลูกออกจากครรภ์นางมณโฑ
ไปใส่ในท้องนางแพะแล้วพานางมณโฑไปส่งทศกัณฐ์ พระฤาษีทำพิธีให้เด็กออกจากท้องแพแพะ
จึงตั้งชื่อคล้ายตน คือ องคต
สมัยหนึ่ง ทรพีไปท้ารบ พาลีรบกับทรพีกลางแปลง แต่เช้าเย็น
ก็ยังไม่แพ้ชนะ จึงชวนให้ไปรบกันในถ้ำ ด้วยเห็นว่า เป็นที่แคบพอจะฆ่าได้สะดวก
แล้วกลับไปสั่งสุครีพว่า หากรบกันอยู่ถึงเจ็ดวัน ไม่กลับมา ให้สุครีพไปดูที่ลำธาร ถ้าเห็นเลือดข้น
จงเข้าใจว่าเป็นเลือดทรพี แต่ถ้าเห็นเลือดใส
นั้นคือเลือดตน ให้รีบต้อนพวกไพร่พลไปเอาก้อนหินถมปิดปากถ้ำไว้ เพื่อมิให้ใคร ๆ เห็นศพตน
และวกกลับไปรบกันในถ้ำ พาลีรบกับทรพี 7 วัน 7 คืน
ยังไม่แพ้ชนะ เห็นว่าทรพีคงมีเทวดารักษา จึงอุบายถามว่า เทพยดาองค์ใดช่วยให้มีฤทธิ์
ทรพีตอบด้วยความทรนงว่า เทวดา มิได้ช่วยเหลือ ตนมีฤทธิ์เองด้วยเขาทั้งคู่ พาลีจึงประกาศแก่เทวดาว่า
ทรพีไม่รู้จักคุณเทวดา ป่วยการที่เทวดาจะคอยรักษา เทวดาทั้ง 6 ก็ออกจากกายทรพี
สำแดงให้พาลีเห็นแสงสว่างทั้งคูหา เพราะฉะนั้นพาลีก็ฆ่าทรพีตาย และมีฝนตกลงมาห่าใหญ่
ส่วนสุครีพ นับวันคอยอยู่จนเกินกำหนด ไม่เห็นพาลี ก็เสียใจ
ชวนองคตกับพวกทหารออกไปที่เขา ตรวจดูลำธารที่ไหลออกจากถ้ำ เห็นเลือดใส (เพราะฝนตก)
สมเหตุผลว่า น้ำเลือดใส พาลีพี่ชายตายแน่ ก็สั่งให้เอาก้อนหินถมปากถ้ำ พาลีออกมาเห็นปากถ้ำปิดก็โกรธมาก
เอาหัวกระบือทุ่มเต็มแรงจนหินทะลายลง
รีบตรงไปเมือง เห็นผิดไปว่าสุครีพเป็นกบฏ ปิดปากถ้ำเพื่อให้ตนตาย
ก็ขับไล่สุครีพให้ออกเสียจากเมือง
เมื่อพระรามเดินดงตามหานางสีดาไปพบสุครีพ ทราบเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
และทราบว่าพาลีทวนคำสาบาน ที่แอบเอาภรรยาน้องไป พระรามก็บอกให้สุครีพไปท้าพาลีให้ออกมารบ
ครั้นพาลีออกรบกับสุครีพ กลางอากาศ พระรามแผลงศรไปสังหารพาลีจนสิ้นชีพ
3)
องคต พญาวานร ลูกพาลี เกิดด้วยนางมณโฑ ครั้น พาลีตายแล้วสุครีพนำถวายตัวแก่พระราม
หนุมานและชมพูพานไปสำรวจทางอันจะไปลงกาและชัยภูมิ และถวายแหวนนางสีดา ได้ให้องคตไปด้วย
พบยักษ์ปักหลั่น ตามทางเกิดรบกัน ยักษ์ยอมแพ้ เมื่อพระรามยกพลไปตั้งชัยภูมิอยู่ที่เชิงเขามรกต
ให้องคตไปเป็นทูตเจรจาความเมืองให้ทศกัณฐ์ส่งนางสีดาคืน ได้โต้ตอบกับทศกัณฐ์หลายครั้ง
ทศกัณฐ์กริ้วมากสั่งให้เสนา 4 ตน จับองคตฆ่าเสีย
องคตกลับฆ่า 4 เสนาตายหมด แล้วกลับไปรายงานพระราม
เสร็จศึกลงกาแล้ว
พระรามให้บรรดาศักดิ์เป็น พญาอินทรนุภาพ ตำแหน่งอุปราชขีดขิน
4) มัจฉานุ
ลูกหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา ตัวเป็นวานรหางเป็นปลา เมื่อมัยราพณ์ประพาสป่า
พบที่ชายทะเล บังเกิดความกรุณา รักใคร่ พาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อคราวหนุมานตาม
มัยราพณ์ไปในบาดาลเพื่อนำพระรามกลับขึ้นมา
มัจฉานุรบกับพ่อ ไม่แพ้ชนะกัน ทราบภายหลังว่าหนุมานเป็นพ่อ ยอมปล่อยให้ผ่านด่านตนไป
เมื่อหนุมานฆ่ามัยราพณ์แล้ว ก็ตั้งให้เป็นอุปราชบาดาล ไวยวิกผู้เป็นเจ้าบาดาลชวนมัจฉานุไปเฝ้าที่อยุธยา
และตัดหางปลาออก ตั้งให้เป็นพญาหนุราชไปกินเมือง มะลิวัน,
5)
สิบแปดมงกุฏ[10] สิบแปดมงกุฏ
เสนาวานร 18 ตน ที่อวตารมาจากเทวดาต่าง ๆ มีสีกายตามที่เคยเป็นเทวดาองค์เดิม แบ่งเป็น
1) กลุ่มชาวนครขีดขิน 9 นาย
๑) เกยูร (วิรูฬหก) ม่วงแก่ ๒) โกมุท (หิมพาน) บัวโรย ๓) ไซยามพวาน (อิศาน) เทา
4) มาลุนทเกสร (พฤหัสบดี) เมฆ. ๕) วิมล (เสาร์) ดำ ๖) ไวยบุตร
(พิรุณ) เมฆเเก่
๗)
สัตพลิ (จันทร์) ขาว 8)
สุรถานต์ (มหาไชย) เหลือง 9) สุรเสน (พุธ) แสด
(บ้างว่าเขียว)
2) กลุ่มชาวชมพู 9 นาย
๑๐)
นิลขัน (พิฆเนศ) หงส์ดิน ๑๑) นิลปานัน (ราหู)
สัมฤทธิ์ ๑๒)
นิลปาสัน (ศุกร์) เลื่อมเหลือง
๑๓)
นิลราช (สมุทร) น้ำไหล ๑๔) นิลเอก
(พินาย) ทองแดง ๑๕) วิสันตราวิ
(อังคาร) ลินจื่.
๑๖)
กุมิตัน (เกตุ) ทอง. ๑๗)
เกสรทมาลา (ไพศรพณ์) เหลืองอ่อน ๑๘) มายูร (วิรูปักษ์) ม่วงอ่อน
[1] รื่นฤทัย
สัจจพันธุ์, นามานุกรมรามเกียรติ์, หน้า 17.
[2]
วันทนีย์ ม่วงบุญ, ลักษณะประติมานวิทยาของห่มเรื่องรามเกียรติ์,
หน้า 127
[4]
ประพันธ์
สุคนธะชาติ.
พงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์ สีและลักษณะหัวโขน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ในคราวฉลองอายุ 60 ปี. 2534, หน้า
8.
[5] ศิริพงษ์
พยอมแย้ม, เรื่องเดียวกัน, หน้า 4.
[7] นาคะประทีป,
สมญาภิธานรามเกียรติ์, (พระนคร แพร่พิทยา 2510), หน้า 124-128.
[8] รื่นฤทัย
สัจจพันธุ์, นามานุกรมรามเกียรติ์, หน้า 82-83.
[9] นาคะประทีป,
เรื่องเดียวกัน, หน้า 72-73.
[10] นาคะประทีป,
สมญาภิธานรามเกียรติ์, หน้า120-121.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น