แจ้งข่าวนักศึกษา012173

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ถอดบทเรียน การวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2545


รายงานวิจัย     :   เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ :

   โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตำบลบ้านหวด อำเภองาว  จังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย             :  พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

 ปีงบประมาณ   :    2545

แหล่งทุนวิจัยสำนักงานเลาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 
 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
                    รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดจองคำ :
 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตำบลบ้านหวด อำเภองาว  จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททั่วไป สภาพการจัดการศึกษา สภาพการเผยแผ่ศาสนธรรม สภาพการบริหารการศึกษา และรูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแพร่ศาสนธรรม  โดยมุ่งข้อเท็จจริง  และสาระสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่ผ่านมา  

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ได้พบเห็นและสามารถสรุป ประเด็นที่โดดเด่นของการจัดการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ของวัดจองคำ ตำบลบ้านหวด  อำเภองาว  จังหวัดลำปาง ด้านรูปแบบของการจัดการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน เพื่อเป็นทิฏฐานุคติให้วัดอื่นๆที่มีภารกิจจัดการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรมที่คล้ายกันนี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้ อันอาจจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมในภาพรวม เป็นการขยายผลแห่งความสำเร็จให้แพร่หลายไปทั่วทุกแห่ง ประการสำคัญ ก็ถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันสงฆ์ และบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องทางวัดและโรงเรียนจำต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้วให้เพิ่มคุณภาพการปฏิบัติงานในระดับที่ตนประสงค์ได้ 

สาระสำคัญที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยมีดังต่อไปนี้
1.        ด้านบริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียนวัดจองคำ
                วัดจองคำ แม้จะตั้งอยู่ห่างจากชุมชนเมือง แต่ทางวัดก็ได้พัฒนาเพื่อความเจริญพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย สาธารณูปโภคสะดวกสบายพอสมควร เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้นเคย แสภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์การคมนาคมสะดวกสบาย   สภาพทางเศรษฐกิจของวัดก็มีคณะศรัทธาให้การอุปถัมภ์ไม่ลำบากด้วยปัจจัย 4  ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ไม่เป็นปัญหาเพราะชุมชนถือว่าเป็นภาระหน้าที่จะต้องอุปถัมภ์และแสดงถึงความเป็นฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง  จึงภูมิใจ สภาพการเป็นอยู่ของพระภิกษุสามเณรก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่พำนักก็เป็นสัปปายะเหมาะแก่สมณวิสัย  ในส่วนของโรงเรียนก็มีอาคารเรียนที่เอื้อต่อการขยายการศึกษาสามารถรองรับจำนวนผู้เรียนที่จะเข้าศึกษาในอนาคตได้
                   2. ด้านการจัดการศึกษา
          ในด้านการจัดการศึกษา วัดจองคำ มิได้เพียงจัดการศึกษาตามกรอบที่กลุ่มคณะวางแผนการวิจัยโครงการนำร่องได้กำหนดเป็นความโดดเด่นเอาไว้ แม้จะได้รับความนิยมว่า ทางวัดสามารถบริหารจัดการศึกด้านปริยัติธรรม นักธรรม มีผู้เข้าเรียนเข้าสอบได้ปีละจำนวนเป็นร้อยๆ เท่านั้น ยังได้จัดการศึกษาอื่นๆเสริมหลักสูตรอีกด้วย   และทางวัดยังได้จัดการศึกษาเพื่อการอบรมเยาชนเป็นงานรับผิดชอบด้วย เช่นมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในวัด
          การศึกษาในสถาบันสงฆ์ จะเป็นการขาดไปอีกครึ่งหนึ่งถ้าหากว่า ไม่ติดตามด้วยการปฏิบัติ ทางวัดบางวัดจองคำก็มีระยะเวลาที่เปิดอบรมการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อฝึกจิตของตน โดยมีการแบ่งฝ่ายงานด้านการเผยแผ่และด้านวิปัสสนา ตามตามรางการบริหารวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา วัดจองคำก็ได้มีโครงการรักษาศีลในวันอุโบสถและนอนวัดค้างเพื่อฝึกกรรมฐาน เป็นระยะๆ อุโบสถละ 2 วัน ตลอดพรรษาก็จะได้จำนวนวันมิน้อยสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความตั้งใจจริง

           3. การบริหารการศึกษา
          วัดจองคำ มีระบบการบริหารการศึกษาและมีกระบวนการจัดการศึกษาที่เป็นระบบอย่างชัดเจน เจ้าอาวาสมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีการแบ่งภาระมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน รับผิดชอบตามความถนัด ความสามารถ เหมาะกับทักษะ ความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการบริหารแบบกระจายอำนาจรับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ เห็นได้จากแผนผังการบริหารโรงเรียนของวัดจองคำ เพราะมีการวางแผนสร้างตัวตายตัวแทนอย่างเป็นระบบ ทางวัดจึงไม่มีปัญหาด้านความสืบเนื่องของบุคลากรด้านการศึกษา
4.   ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา
          การจัดการศึกษาของแต่ละวัดแม้จะมีหลักสูตรกลางที่ออกมาจากส่วนกลาง แต่ทางวัดเองก็มีเทคนิควิธีที่จะบริหารให้หลักสูตรนั้นๆเป็นที่สนในและตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะศึกษาซึ่งโดดเด่นแตกต่างกันออกไป  มีกฎระเบียบปฏิบัติ มีปฏิทินการศึกษา มีการประเมินผลเพื่อการแก้ปัญหาทุกเดือน มีการสอบสนามวัด และการอบรมเข้มก่อนการสอบอย่างเป็นระบบ นักเรียนไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย 4 จึงมีเวลาใส่ใจการศึกษาอย่างเพียงพอ
                    5.  สาเหตุที่ทำให้วัดประสบผลสำเร็จ
                   การที่สามเณรในวัดจองคำ ในปีการศึกษา 2545 สามารถสอบประโยค ป..9 และเป็นรุ่นแรกของวัดจองคำได้จำนวนถึง 7 รูปนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกและพิเศษอะไร ถ้าได้ศึกษาการทำงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ วางแผน การปฏิบัติการจริง การตรวจสอบติดตามประเมินผล และนำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงแก้ไข ตามกรอบ PDCA แล้ว จะพบว่า พระภิกษุสามเณรทุกรูปที่อยู่ในวัดจองคำต้องปฏิบัติตามกรอบและระเบียบของสำนักฯ อย่างเคร่งครัด   การบริหารการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของวัด  เจ้าอาวาสและคณาจารย์ต้องขยันและอดทนมาก  วิธีที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจัดการปกครองนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง  เน้นการรับผิดชอบสูงทั้งของครูและนักเรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนแทบจะไม่มีการหยุดหรือขาด (ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ) และสุดท้ายใช้เวลาในการอบรมพิเศษก่อนสอบบาลีสนามหลวงที่ยาวนานกว่าที่อื่นๆ  และมีกรณีพิเศษอยู่บ้าง  คือ นักเรียนดู (แปล) หนังสือได้หลายรอบ  นักเรียนแต่งไทย  หรือแต่งฉันท์ได้หลายรอบ   นักเรียนเขียน หรือทำแบบฝึกหัดเกือบทุกวัน  (การเขียนบ่อย ๆ ทำให้แม่นยำ)
                   การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนประสบความสำเร็จได้นั้น  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  เช่น
          1. เจ้าสำนักเรียน  ต้องมีเจตนาและศรัทธาต่อการให้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างแรงกล้า  มีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีและมองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธวจนะ (พระธรรมวินัย) ที่ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาบาลีในพระไตรปิฎก  ต้องเสียสละกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์  และกำลังสติปัญญา  ในการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีนี้   โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก  นอกจากนี้เจ้าสำนักต้องสรรหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทุกชนิดที่จะอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  สอดส่องดูแลเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของอาจารย์และนักเรียนอย่างใกล้ชิด  และสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน  ตลอดจนสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วยเมตตาจิต
          2.  คณาจารย์ก็ต้องมีเจตนาและศรัทธาในการสอนอย่างแท้จริง  มีความรับผิดชอบในหน้าที่การสอน  หมั่นศึกษาค้นคว้าตำราวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านภาษาบาลีอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีความรับผิดชอบในด้านการบริหารและการปกครองดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน  ให้การอบรมสั่งสอนด้วยหวังความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
                        3. นักเรียนต้องมีความตั้งใจพากเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสำนักฯ  เช่น  ห่มดองรัดอกให้เรียบร้อย เข้าเรียนให้ตรงเวลา  ให้ความเคารพ
                       4. อาจารย์ผู้สอน  ตลอดจนเอาใจใส่กิจวัตรทุกอย่างของสำนักฯ  เช่น  ทำวัตรสวดมนต์  การรับฟังโอวาทของเจ้าสำนักฯ  ฯลฯ  โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
           5. ทุนสำหรับการบริหารการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนี้  มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อการบริหารการศึกษา  แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  ไม่ใช่สิ่งที่น่าเป็นห่วง  สิ่งสำคัญอยู่ที่เจ้าสำนักฯ มีเจตนาและศรัทธาอย่างจริงจังที่จะทำงาน  ถ้าเจ้าสำนักฯ ทำอย่างจริงจัง  ศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมจะสละทุนทรัพย์มาช่วยอย่างแน่นอน 
          ดังนั้น  การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  ดังที่ได้ค้นพบดังกล่าวมา


ข้อค้นพบในงานวิจัย

                     การวิจัยเพื่อให้เห็นเอกลักษณ์ กระบวนการทำงาน การบริหารจนประสบเชื่อเสียงและความสำเร็จด้านจัดการศึกษา  จนได้รับการยกย่องอ้างอิงว่า ถ้าการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีสมัยใหม่นี้ ต้องจัดการบริหารหลักสูตรในรูปแบบของสำนักเรียนวัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการมาตามขั้นตอน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ได้พบเห็นและสามารถสรุป ประเด็นที่โดดเด่นของการจัดการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ด้านรูปแบบของการจัดการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน เพื่อเป็นทิฏฐานุคติให้วัดอื่นๆที่มีภารกิจจัดการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรมทำนองนี้ หรือคล้ายกันนี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้ อันอาจจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมในภาพรวม เป็นการขยายผลแห่งความสำเสร็จให้แพร่กระจายไปทั่วทุกแห่ง ประการสำคัญ ก็ถือว่าเป็นภารกิจหลักของสถาบันสงฆ์ และบุคลากรคือพระสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องทางวัดและโรงเรียนจำต้องปฏิบัติหน้าอยู่แล้วให้เพิ่มคุณภาพในระดับที่ตนประสงค์ได้  ดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป

          ผู้วิจัยได้ตั้งคำถามหลักเพื่อการค้นคว้าเอาไว้ 5 ประการ คือ
1.1 บริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียน  เป็นอย่างไร 1.2.  การจัดการศึกษา เป็นอย่างไร  1.3 การบริหารการศึกษา เป็นอย่างไร 1.4 รูปแบบการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร 1.5 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ ด้วยการตั้งคำถามเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ทางไปหาข้อมูล ค้นคว้าและทำการวิจัย ผู้วิจัยจึงได้ตำตอบมาจากตำหรับตาราหรือข้อมูลที่ทางวัดมีอยู่ และอีกหลายส่วนจากการออกแบบสอบถาม การออกไปสังเกต การสัมภาษณ์ พอจะประมวลได้ดังนี้
                  1.1  ด้านบริบททั่วไปของ วัดและโรงเรียน ของวัดจองคำ
               วัดจองคำ แม้จะตั้งอยู่ห่างจากชุมชนเมือง แต่ทางวัดก็ได้พัฒนาเพื่อความเจริญพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย สาธารณูปโภคสะดวกสบายพอสมควร เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้นเคย แสภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์การคมนาคมสะดวกสบาย   สภาพทางเศรษฐกิจของวัดก็มีคณะศรัทธาให้การอุปถัมภ์ไม่ลำบากด้วยปัจจัย 4  ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ไม่เป็นปัญหาเพราะชุมชนถือว่าเป็นภาระหน้าที่จะต้องอุปถัมภ์และแสดงถึงความเป็นฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง  จึงภูมิใจ สภาพการเป็นอยู่ของพระภิกษุสามเณรก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่พำนักก็สัปปายะเหมาะแก่สมณวิสัย  ในส่วนของโรงเรียนก็มีอาคารเรียนที่เอื้อต่อการขยายการศึกษาสามารถรองรับจำนวนผู้เรียนที่จะเข้าศึกษาในอนาคตได้
         
1.2  ด้านการจัดการศึกษา
                         ในด้านการจัดการศึกษา วัดจองคำ มิได้เพียงจัดการศึกษาตามกรอบที่กลุ่มคณะวางแผนการวิจัยโครงการนำร่องได้กำหนดเป็นความโดดเด่นเอาไว้ แม้จะได้รับความนิยมว่า ทางวัดสามารถบริหารจัดการศึกด้านปริยัติธรรม นักธรรม มีผู้เข้าเรียนเข้าสอบได้ปีละจำนวนเป็นร้อยๆ เท่านั้น ยังได้จัดการศึกษาอื่นๆเสริมหลักสูตรอีกด้วย   และทางวัดยังได้จัดการศึกษาเพื่อการอบรมเยาชนเป็นงานรับผิดชอบด้วย เช่นมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในวัด
          การศึกษาในสถาบันสงฆ์ จะเป็นการขาดไปอีกครึ่งหนึ่งถ้าหากว่า ไม่ติดตามด้วยการปฏิบัติ ทางวัดบางวัดจองคำก็มีระยะเวลาที่เปิดอบรมการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อฝึกจิตของตน โดยมีการแบ่งฝ่ายงานด้านการเผยแผ่และด้านวิปัสสนา ตามตามรางการบริหารวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา วัดจองคำก็ได้มีโครงการรักษาศีลในวันอุโบสถและนอนวัดค้างเพื่อฝึกกรรมฐาน เป็นระยะๆ อุโบสถละ 2 วัน ตลอดพรรษาก็จะได้จำนวนวันมิน้อยสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความตั้งใจจริง
         
1.3  ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม
                         พระสงฆ์นอกจากจะฝึกหัดอบรมตนเองเพื่อควบคุมสมดุลกายและจิตของตนแล้ว หน้าที่หลักในฐานะพุทธบุตร คือการเผยแผ่พระศาสนา พระบรมศาสดาฝากศาสนาไว้ที่ศาสนทายาทของพระองค์ พระสงฆ์จึงถือเป็นหน้าที่ต้องเผยแผ่ศาสนธรรม อบรมจริยธรรม ศีลธรรมเพื่อสร้างความสงบสันติ ความสุขทั้งกายและใจแก่พหูชนตามคำสั่งพระบรมศาสดาที่ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช
          เป็นที่ยินดีที่วัดจองคำแม้จะเน้นการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นหลัก แต่ทางวัดมิได้ทอดธุระภารกิจการเผยแผ่ศาสนธรรม มีโครงการอบรมต่างๆมากมาย แทบทุกเดีอน โดยเฉพาะโครงการพระสงฆ์ช่วยสอนพระพุทธศาสนา หรือเป็นวิทยากรอบรมในโรงเรียน มิได้ขาด วิทยากรได้ถูกรับเชิญไปบรรยายและอบรมอยู่เสมอ   
1.4  การบริหารการศึกษา
                         วัดจองคำ มีระบบการบริหารการศึกษาและมีกระบวนการจัดการศึกษาที่เป็นระบบอย่างชัดเจน เจ้าอาวาสมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีการแบ่งภาระมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน รับผิดชอบตามความถนัด ความสามารถ เหมาะกับทักษะ ความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการบริหารแบบกระจายอำนาจรับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ เห็นได้จากแผนผังการบริหารโรงเรียนของวัดจองคำ เพราะมีการวางแผนสร้างตัวตายตัวแทนอย่างเป็นระบบ ทางวัดจึงไม่มีปัญหาด้านความสืบเนื่องของบุคลากรด้านการศึกษา

1.5  ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา
             การจัดการศึกษาของแต่ละวัดแม้จะมีหลักสูตรกลางที่ออกมาจากส่วนกลาง แต่ทางวัดเองก็มีเทคนิควิธีที่จะบริหารให้หลักสูตรนั้นๆเป็นที่สนในและตอบสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะศึกษาซึ่งโดดเด่นแตกต่างกันออกไป  มีกฎระเบียบปฏิบัติ มีปฏิทินการศึกษา มีการประเมินผลเพื่อการแก้ปัญหาทุกเดือน มีการสอบสนามวัด และการอบรมเข้มก่อนการสอบอย่างเป็นระบบ นักเรียนไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัย 4 จึงมีเวลาใส่ใจการศึกษาอย่างเพียงพอ

2. ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถาม
                    ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามตอนที่ 2 ส่วนที่เกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการจัดการศึกษา  กำหนดไว้ฝ่ายละ 5 ด้านและค้นพบข้อสรุปแต่ละด้าน ของวัดจองคำดังนี้

                             2.1.1 การบริหารงานทั่วไป
                             ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ จังหวัดลำปาง โดยเห็นด้วยมากในเรื่องที่ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายคุณภาพของสถานศึกษาอย่างชัดเจน  (X= 3.90) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่องผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการปฏิบัติงานด้านศึกษาแก่ครู  (X = 3.86)  และผู้บริหารกำกับติดตามด้วยการสอบถามการประชุมและการให้รายงานผลเป็นระบบ (X= 3.79)  ตามลำดับ

          2.1.2 รูปแบบการจัดการศึกษา(หลักสูตร)
           ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ เห็นด้วยมากในเรื่องมีการแสวงหาครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาปฏิบัติการในแต่ละหลักสูตร (ถ้าขาดแคลน) (X= 4.42) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่องมีการประชุมปฏิบัติการทำกำหนดการสอนและแผนการสอน  (X= 4.37)  และมีการประชุมครูเพื่อการวิเคราะห์ ประเมิน    หลักสูตรและการบริหารหลักสูตรก่อนและหลังการจัดการศึกษา  (X= 4.17)  ตามลำดับ

2.1.3   รูปแบบการจัดการศึกษา(นักเรียน)

           ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ  เห็นด้วยมากในเรื่อง มีการให้กำลังใจแก่ผู้เรียนทั้งในระหว่างการเรียนและประสบความสำเร็จในการเรียนอย่างทั่วถึง  (X= 4.58) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีการกำกับดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง ( X= 4.56)  และ  มีการติดตามพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างทั่วถึงและแก้ปัญหาหารายบุคคลเมื่อมีปัญหา  (X= 4.42)  ตามลำดับ

2.1.4   อาคารสถานที่
          ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ  เห็นด้วยมากในเรื่องการวางแผนการใช้อาคารและห้องเรียนอย่างเป็นระบบ   (X = 4.25) รองลงมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีอาคารสถานที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา (X= 4.21)  และ มีห้องประชุม ห้องปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุมหรือปฏิบัติการ  (X= 4.10)  ตามลำดับ

2.1.5   การประชาสัมพันธ์และการระดมทรัพยากร
          ผู้ตอบแบบสอบถามของวัดจองคำ เห็นด้วยมากในเรื่องมีการระดมทรัพยากร ด้านบุคลากร  ด้านงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ   (X= 3.94) รองมาคือเห็นด้วยมากในเรื่อง มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (X= 3.75)  และมีการแสวงหาแหล่งทุนเพื่อจัดการการเรียนรู้  (X= 3.73)  ตามลำดับ

3. ปัญหาอุสรรคและวิธีแก้ปัญหา
                    ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหา/อุปสรรคและความสำเร็จที่มีต่อการจัดการศึกษา
       3.1 ด้านการจัดการศึกษา
                 สภาพปัญหา
1.  ในท้องถิ่นไม่ค่อยมีครูผู้สอนประจำ  ต้องหาครูจากกรุงเทพมาสอน
2.  ต้องใช้เงินจำนวนมากในการจัดหาครูมาสอน
3.  จำนวนนักเรียนที่มาเรียนค่อนข้างน้อย 
4. ขาดความต่อเนื่องของการบริหารงาน
5. ขาดการติดตาม และประเมินผลจากผู้ปกครองที่มีอำนาจในการบริหารการศึกษา
6. นักเรียนไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบเท่าที่ควร
7. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ในการเรียนเท่าที่ควร
8. นักเรียนสนใจในการศึกษาในด้านปริยัติสามัญ มากกว่าการศึกษาพระปริยัติธรรม
9. นักเรียนมีพื้นฐานทางภาษาไทยไม่ดีพอ  
 3.2 ทางแก้
            1.  วางแผนการผลิตครูที่สำเร็จจากสำนักให้รับผิดชอบการเรียนการสอน
                             2.  วางแผนการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุอย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติได้
                             3. จัดการศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้แต่ละปี โดยมีผู้รับผิดชอบชัดเชน
                             4. มีการประเมิลผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ พบปัญหาต้องระดมสมองช่วยกันแก้ไขปัญหา
                             5. ผู้นำมีความเสียสละ รักและเอาใจใสสอดส่องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
                             6. การปกครองมีระเบียบวินัยเข้มงวด

4. สาเหตุที่ทำให้วัดประสบผลสำเร็จ
                   การที่สามเณรในวัดจองคำ ในปีการศึกษา 2545 สามารถสอบประโยค ป..9 และเป็นรุ่นแรกของวัดจองคำได้จำนวนถึง 7 รูปนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกและพิเศษอะไร ถ้าได้ศึกษาการทำงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ วางแผน การปฏิบัติการจริง การตรวจสอบติดตามประเมินผล และนำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงแก้ไข ตามกรอบ PDCA แล้ว จะพบว่า พระภิกษุสามเณรทุกรูปที่อยู่ในวัดจองคำต้องปฏิบัติตามกรอบและระเบียบของสำนักฯ อย่างเคร่งครัด   การบริหารการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของวัด  เจ้าอาวาสและคณาจารย์ต้องขยันและอดทนมาก  วิธีที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจัดการปกครองนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง  เน้นการรับผิดชอบสูงทั้งของครูและนักเรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนแทบจะไม่มีการหยุดหรือขาด (ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ) และสุดท้ายใช้เวลาในการอบรมพิเศษก่อนสอบบาลีสนามหลวงที่ยาวนานกว่าที่อื่นๆ  และมีกรณีพิเศษอยู่บ้าง  คือ นักเรียนดู (แปล) หนังสือได้หลายรอบ  นักเรียนแต่งไทย  หรือแต่งฉันท์ได้หลายรอบ   นักเรียนเขียน หรือทำแบบฝึกหัดเกือบทุกวัน  (การเขียนบ่อย ๆ ทำให้แม่นยำ)
                   การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนประสบความสำเร็จได้นั้น  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  เช่น
          1. เจ้าสำนักเรียน  ต้องมีเจตนาและศรัทธาต่อการให้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีอย่างแรงกล้า  มีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีและมองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธวจนะ (พระธรรมวินัย) ที่ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาบาลีในพระไตรปิฎก  ต้องเสียสละกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์  และกำลังสติปัญญา  ในการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีนี้   โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก  นอกจากนี้เจ้าสำนักต้องสรรหาอุปกรณ์การเรียนการสอนทุกชนิดที่จะอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  สอดส่องดูแลเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของอาจารย์และนักเรียนอย่างใกล้ชิด  และสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน  ตลอดจนสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วยเมตตาจิต
          2คณาจารย์ก็ต้องมีเจตนาและศรัทธาในการสอนอย่างแท้จริง  มีความรับผิดชอบในหน้าที่การสอน  หมั่นศึกษาค้นคว้าตำราวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านภาษาบาลีอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีความรับผิดชอบในด้านการบริหารและการปกครองดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน  ให้การอบรมสั่งสอนด้วยหวังความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
                     3นักเรียนต้องมีความตั้งใจพากเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสำนักฯ  เช่น  ห่มดองรัดอกให้เรียบร้อย เข้าเรียนให้ตรงเวลา  ให้ความเคารพ
                  4. อาจารย์ผู้สอน  ตลอดจนเอาใจใส่กิจวัตรทุกอย่างของสำนักฯ  เช่น  ทำวัตรสวดมนต์  การรับฟังโอวาทของเจ้าสำนักฯ  ฯลฯ  โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
          5ทุนสำหรับการบริหารการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนี้  มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อการบริหารการศึกษา  แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  ไม่ใช่สิ่งที่น่าเป็นห่วง  สิ่งสำคัญอยู่ที่เจ้าสำนักฯ มีเจตนาและศรัทธาอย่างจริงจังที่จะทำงาน  ถ้าเจ้าสำนักฯ ทำอย่างจริงจัง  ศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมจะสละทุนทรัพย์มาช่วยอย่างแน่นอน 
          ดังนั้น  การที่จะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  ดังที่ได้ค้นพบดังกล่าวมา

5. สรุปและเสนอแนะ
                   ผลการศึกษาวิจัย ได้รูปแบบการจัดการศึกษาที่ชัดเจนคือ มีการวางแผนเป็นระบบทั้งด้านบุคลากรการสอนและนักเรียน การบริหารที่มีการมอบหมายงานเป็นระบบตรวจสอบได้ มีกฎระเบียบของวัดด้านการปกครองที่เข้มแข็ง มีการส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดโดยให้ทุนการศึกษาและนิตยภัตรครู มีปัจจัย หรือทุนการทำงาน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ปรัชญาการทำงานของคณะผู้บริหาร ต้องมุ่งเสียสละเพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่วนผลพลอยได้อื่นๆเป็นสิ่งที่จะตามมาภายหลัง หากมีการทำงานอย่างเป็นระบบเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นสำนักศึกษาในชนบทก็ตาม สำนัก
ศาสนศึกษาวัดจองคำ จะสามารถดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืนด้วยการมีระบบการบริหารรองรับอย่างเป็นรูปธรรมและปฏิบัติการได้จริง เหล่านี้ คือรูปแบบที่โดเด่นน่าที่สำนักเรียนต่างๆควรจะมาศึกษาดูงาน หรือร่วมเครือข่ายเพื่อขยายการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมให้แพร่หลายออกไป พระปริยัติสุนทรให้หลักสำหรับสำนักที่จะเปิดเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีนักธรรม ให้เตรียมความพร้อมในด้านต่อไปนี้
1.  เจ้าอาวาสมีความเสียสละสูง อย่ามีภาระอื่นมากเกินไป
2. บุคลากรครูอาจารย์และนักเรียนต้องพร้อม
3. มีสถานที่พอสมควรที่จะรองรับการขยายตัวได้
4. มีทุนทรัพย์หรือการตั้งกองทุนพอเพียงที่การดำเนินงานในระต้น
5. มีกฎระเบียบที่ถือปฏิบัติเพื่อควบคุมการปกครองอย่างเข้มแข็ง
                   6. ประการสำคัญ คือลงมือกระทำจริง วิธีดีก็ตามถ้าไม่ทำ ไม่บรรลุผล
                     ข้อคิดและแนวทางการปฏิบัติการเหล่านี้ น่าจะบังเกิดประโยชน์แก่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมทางศาสนาคงจะมีลมหายใจสืบไปอีกนานอย่างมิต้องสงสัย





2 ความคิดเห็น:

  1. แม้ว่าจะเป็นงานวิจัยนานมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ กระบวนการทำงาน ยังนำมาเป็นบทเรียนของอนุชนได้

    ตอบลบ