วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

อนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัด ในจังหวัดพะเยา และการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

“การอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัดพะเยาและการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น”

คณะผู้วิจัย :                       อาจารย์ ดร.พิสิฏฐ์  โคตรสุโพธิ์                        หัวหน้าโครงการวิจัย
                                      รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์           นักวิจัย
               รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย พลเมืองดี                 นักวิจัย 
               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์                นักวิจัย
                            
คำสำคัญ :  การสืบค้น,การอนุรักษ์, แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น,พะเยา, วัดหลวงราชสัณฐาน,วัดราชคฤห์, วัดลี,วัดเชียงหมั้น,วัดสุวรรณาราม,วัดไชยพรหม,ดัดดอนไชย,วัดทราย,วัดล้า,วัดทุ่งกล้วย

บทคัดย่อ

                   การวิจัยเรื่อง “การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัดพะเยาและการสร้าง แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์ 3 คือ 1) เพื่อสืบค้นและอนุรักษ์คัมภีร์โบราณล้านนา ของวัดในจังหวัดพะเยา จำนวน 10 วัด 2) เพื่อทำรายการลงทะเบียน ทำดัชนีการสืบค้นอย่างเป็นระบบ และถ่ายสำเนาคัมภีร์โบราณ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแหล่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นการเพิ่มฐานข้อมูลใหม่ๆ เข้าสู่ระบบล้านนาคดีอย่างต่อเนื่อง และ 3)  เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ภูมิปัญญาล้านนาเก็บรักษาไว้ ด้วยกิจกรรมการสำรวจและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานร่วมกับชุมชนกระตุ้นให้มีการทำวิจัยเรื่องที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมพะเยาและสังคมล้านนา
                   วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยปฏิบัติการภาคสนาม ลงมือปฏิบัติการ สำรวจ เก็บข้อมูล จัดระบบและเลือกเอกสารโบราณบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ศึกษารายละเอียด ปริวรรต  มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา เรียบเรียงด้วยภาษาปัจจุบัน ผลการวิจัยมีดังนี้
                   ด้านการสืบค้นและอนุรักษ์คัมภีร์โบราณล้านนา จังหวัดพะเยา ในอดีต  การสำรวจรวบรวมพระธัมม์คัมภีร์เมืองพะเยาที่มีหลักฐานชัดเจนแบ่งเป็น 3  ช่วง คือ ช่วงต้น นำโดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปวง ธมฺมปญฺโญ) นับแต่ พ.ศ. 2500 – 2539 เป็นผู้เปิดประตูเมืองพะเยาในอดีต ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ทำให้เกิด หอวัฒนธรรมนิทัศน์ขึ้นมา ช่วงที่ 2 คณะสำรวจอนุรักษ์เอกสารโบราณ (ชุดที่ 1 ช่วงปี พ.ศ. 2523- 2529 นำโดย รศ. สมหมาย เปรมจิตต์)  จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงที่ 3 คณะสำรวจอนุรักษ์เอกสารโบราณ (ชุดที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2531- 2535 นำโดย อาจารย์ ม.ร.ว.รุจยา อาภากร และ ศาสตราจารย์ ดร.ฮารันด์ ฮุนดิอุซ ส่วนการสำรวจคัมภีร์ใบลานพะเยาปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2558 – 2560  อาจารย์ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัย แบ่งทีมออกปฏิบัติงานภาคสนามเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 นำโดย รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี และ ผศ.จักรแก้ว นามเมือง   สำรวจเอกสารโบราณ 5 วัด คือ 1. วัดหลวงราชสัณฐาน 2. วัดราชคฤห์ 3. วัดลี 4. วัดสุวรรณ และ 5. วัดเชียงหมั้น และกลุ่มที่  2 นำโดย อาจารย์เกริก อัครชิโนเรศ สำรวจ  5 วัด คือ 1. วัดไชยพรหม 2. วัดดอนไชย  3. วัดทราย ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ 4. วัดล้า และ 5. วัดทุ่งกล้วย  
                   ด้านการทำรายการลงทะเบียน ทำดัชนีการสืบค้นอย่างเป็นระบบ และถ่ายสำเนาคัมภีร์โบราณได้ทำระบบการสำรวจทั้ง 10 วัด รวบรวมเอกสารได้ทั้งหมด จำนวน 7,142 ผูก และพับสา จำนวน 215 เล่ม และเลือกถ่ายสำเนาภาพดิจิตัลรักษาไว้จำนวนหนึ่ง
                   ด้านการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ภูมิปัญญาล้านนา ด้วยกิจกรรมต่างๆการสำรวจและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานร่วมกับชุมชน การสัมมนาทางวิชาการเพื่อกระตุ้นให้มีการทำวิจัยเรื่องที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมพะเยาและสังคมล้านนา ได้ทำการถอดองค์ความรู้จากการปริวรรตมาจำนวน 3 เรื่อ ได้แก่ (1) “ตำราการสร้างพระเจ้า(พระพุทธรูป)” ฉบับวัดเชียงหมั้น ถือว่า “เป็นเรื่องเอก” ในครั้งนี้ ซึ่งมีสาระ บันทึกความรู้ในการสร้างพระพุทธรูป การกำหนดอัตราส่วน พิธีการสร้าง พิธีพุทธาภิเษก รวมทั้งการสร้างพระเจ้าชาตา เป็นต้น 2) ธัมม์ตำนานพระเจ้านั่งดิน ฉบับวัดล้า เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชื่อบ้านนามเมือง และสิ่งสักการะควรค่าแก่การเคารพอย่างยิ่ง และ 3) “เมื่อชางล้านนา : เซียมซีฉบับใบลาน”  พบที่ วัดไชยพรหม คำว่า เมื่อ  หมายถึง การพยากรณ์ฤกษ์ยาม และคำว่า  ชาง  หมายถึง การเลือกออก, คัดออก ดังนั้น เมื่อชางหมายถึง การพยากรณ์ ด้วยการสุ่มเลือกคำพยากรณ์ คล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี หรือ แทงศาสตราของชาวไทยในภาคใต้           คำพยากรณ์มีทั้งดีและร้าย จะบรรยาย โดยใช้เนื้อหานิทานชาดกตอนเหตุการณ์สำคัญ ที่เป็นจุดเปลี่ยนชะตาชีวิตขึ้นหรือลง ของตัวละคร อันเป็นที่รู้จักกันดีในล้านนา “เมื่อชาง” ขอยกให้ “เป็นเรื่องโท”แห่งเมืองพะเยา ส่วน กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ได้ จัดประชุมในหัวข้อ การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เมืองพะเยา  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2560 ที่โรงแรมเกตเวย์ พะเยา ตลอดระยะเวลา 1 วัน ทั้งวิทยากรและนักวิจัยรวมทั้งผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดและเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการทำงานอนุรักษ์เอกสารโบราณร่วมกัน นับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับเป็นที่น่าพอใจ มีผู้แทนจากส่วนราชการในจังหวัดพะเยา ในอำเภอรอบนอก รวมทั้ง สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดพะเยา เช่น มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และปราชญ์ท้องถิ่นผู้สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่าย การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาพะเยาให้คงอยู่ต่อไป 
                   การสำรวจอนุรักษ์พระคัมภีร์เมืองพะเยาในครั้งนี้ แม้จะยังไม่ครบทุกวัด ทั่วเมืองพะเยา แต่ก็พอเป็นดุจส่องประทีปให้อนุชนให้ลุกขึ้นมาตระหนักถึงมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้เก็บรักษาเอาไว้ และทาทางสืบทอดนำมาปรับใช้ให้สมสมัยต่อไป
Research Project Entitled : The Ascertainment and Reservation the Ancient
                              Scriptures kept in Pha Yoa’s Temples and
                              Establishing the Local Learning Sources
Researchers : 
Lect.Dr. Phisit Kotsupho                                        Head Researcher.
Assoc. Prof. Dr. Thanes Sriwichailamphan            Co Researcher
Assoc. Prof. Dr. Wanchai Polamuangdee              Co Researcher
Asst. Prof. Dr.Viroj Inthanon                                 Co Researcher.


Key wordsAscertainment, Reservation, Ancient Scriptures, Pha Yoa’s Local
                        Learning Source, Wat Luangrajjasanthan, Wat Rajjakrue, Wat Lee,
                        Wat ChiengMan, Wat Suwannaran. Wat Chaiprom, Wat Sai,
                       Wat Donchai, Wat Lar, Wat Thung Kluay.


Abstract

            Research Project Entitled : “The Ascertainment and Reservation the Ancient Scriptures kept in Pha Yoa’s Temples and Establishing the Local Learning Sourceshas three objectives; they are 1) to investigate and reserves the ancient Lanna manuscripts of 10  Wats in Pha Yao Province, 2) to enlist & enter in an index  for systematic searching and digitize  photo copies of those are new items for continuous increase to Lana Studies Data Base, 3)  to Establish the Local Learning Sources  by many activities with communities  in order to urge researches do the research for the benefit of Lanna society.
               The research methodology is the fieldwork research by survey  and collection data, set them in system
  of records, selecting some important documents  in order to transliterate  and compile  in  the modern Thai 
language. The results are as follows.
  1) On the part of Pha Yao’s manuscript  collection, in the past is clearly divided into three phases ;  a. the first time, about 2500 – 2539 BE., was done by Phra Ubaligunupamacaraya(Puang Dhammpanno). He was the first person brought the Pha Yao’s history into the public. Thereby, the Wattanathanmnithat Hall was established as the significant Center of Pha Yoa studies.  b. the second time about  2523- 2529 BE. was done by Assoc.Prof. Sommai Premcitt , Social Institute of Research, CMU.  and c. the third time about 2531- 2535 BE. was done by Lect. MRW.Rutjaya Abhakorn & Prof.Dr. Haland Hundiuz, CMU. The recently collection about  2558 – 2560 BE.was done by Lect. Dr.Phisit Kotsupho, the Deputy Director of SRI, CMU.  The activities were divided into two teams worked side by side; one team led by Assoc.Prof. Dr. Wanchai and Assitt. Prof. Jakkeaw Narmmuang surveyed the ancient manuscripts in 5 Wats, i.e., Wat Luangrajjasanthan, Wat Rajjakrue, Wat Lee, Wat Chieng Man, Wat Suwannaran. On the other hand, the second team led by Mr.Kruerk Akkhajinoret worked in 5 Wats ; i.e.. Wat Chaiprom, Wat Sai, Wat Donchai, Wat Lar, Wat Thung Kluay.
               2)  On the part of registration, set the systematically search index and digitization of the data in all 
Wats,   The data were colected  totally   7,142 bindings and 215 books. Some of them  had been digital photo 
copied. 
               3) On the part of establishment  the Local Learning Sources  by many activities with communities 
 in order to urge researches do research for the benefit of Lanna society, three ancient stories of Pha Yoa 
were transliterated such as ; (1) Tamra Karn Sarng Phra Chao (Phra Phuttha Rup) or the legend in making 
the Buddha Image, Wat Chieng Man version. This is Considered as "a masterpiece" in this work, in which it 
recorded the  knowledge of making  the Buddha image, it’s  ratio- dimensions, the auspicious ceremony, and
 how to make the personal Buddha image , etc. (2) Tamnan Phrachao Nung Din or the legend of the 
Earth - sitting Buddha. Wat Lar version is the  regional history about  the Village or City’s  names  and
 the worthy worshiped places in this area.   (3) Mua Jarng / the Palm-leaf Siem Si or the predict was random
 selection. This book was found in Wat Chai Prom. The word “Mua” means to predict, and the word “Jarng” 
 means to choose out,, therefore, the word “Mua Jarng” refers to the forecast got by a random selection. It is 
similar to the  Siem Si or "a weapon pierch into the predict books" of the southern Thai people’s tradition. 
The prophecies are either good or  bad, they are described  on the ground of public well known fairy tales 
in Lanna. It is the “second master" of  Pha Yao.
               In addition, the academic seminar entitled  “the Conservation and inheritance of Pha Yao local
 knowledge"  was held on June 24, 2016 at Gateway Hotel Pha Yao. All participants had shared their ideas
 and suggestion the helpful ways in the future data conservation. There are representatives of Pha Yao
 government agencies, from either internal or the external place, as well as the representatives from
 the higher education institutions in Pha Yao,  such as, Pha Yao University, Mahachulalongkornrajavidyalaya
 University, Pha Yao Campus, and the  local Gurus who are interested in the  network - conservation of the 
Pha Yao’s wisdom. 

               This ascertainment and Reservation of  Pha Yao’s  Ancient Scriptures was not yet complete covered all 
Temples. But it is enough motif to light up the torch of awareness in reserving the  ancestors heritage and
 try the best to  utilize them suitably in the social context.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น