วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

พระธรรมคัมภีร์นครน่าน

การสืบค้นและการอนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์นครน่าน สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ปีพ.ศ. 2557
โดย ดร. พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
 เสนอในงาน ราชวรมุนีวิชาการ ที่ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน
 วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2559

การสำรวจรวบรวมและจัดทำระบบสารสนเทศสำเนาภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ใบลาน พระนครน่าน สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
        1) เพื่อสำรวจรวบรวม อนุรักษ์ และสำเนาภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ใบลาน พระนครน่าน ที่ปรากฏในรายชื่อเอกสารโบราณจากฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
        2) เพื่อสำรวจพระธรรมคัมภีร์ใบลานสำคัญเมืองน่านที่ตกการสำรวจ ของวัดในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 3 วัด และ
        3) เพื่อพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสำหรับการจัดเก็บไฟล์ดิจิตอลสำเนาพระธรรมคัมภีร์ใบลานจังหวัดน่าน สำหรับการเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อไป
การวิจัยปฏิบัติการภาคสนาม (Local Area Action Research) มีขั้นตอนดำเนินการ ดังต่อไปนี้
        1) สำรวจรายการเอกสารหรือสำเนาเอกสารพระธรรมคัมภีร์ใบลานที่มาจากจังหวัดน่านจากฐานข้อมูลของสถาบันวิจัยสังคม ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
        2) รวบรวมเอกสารหรือสำเนาเอกสารคัมภีร์ใบลานที่ได้จากการสำรวจ
        3) ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารหรือสำเนาเอกสารคัมภีร์ใบลาน การวิจัยปฏิบัติการภาคสนาม (Local Area Action Research)
        4) คัดกรองเอกสารหรือสำเนาเอกสารที่มีความสมบูรณ์และที่จำเป็นต้องทำการสำเนาเอกสารใหม่ และจัดทำรายการไว้
        5) ร่วมมือกับคณะสงฆ์วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่านในการสำรวจและทำการสำเนาคัมภีร์ใบลานที่อยู่เมืองน่าน และยังไม่ได้ถ่ายสำเนา
       6) ปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายสำเนาคัมภีร์ใบลานและเรียบเรียงไฟล์ภาพถ่ายดิจิตอล การวิจัยปฏิบัติการภาคสนาม (Local Area Action Research)
       7) จัดทำเมตาดาต้า(Mete Data) สำหรับอธิบายสำเนาคัมภีร์ ใบลาน 
       8) ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บและเผยแพร่ไฟล์ดิจิตอลเอกสารคัมภีร์ใบลาน
       9) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดในฐานข้อมูล
      10) ปริวรรต ถอดความเรียบเรียงสาระคัมภีร์ที่คัดเลือกสำหรับเมืองน่านอย่างน้อยจำนวน 2 เรื่อง
ผลการดำเนินงาน ข้อที่ 1 
     ในด้านการสำรวจรวบรวม อนุรักษ์ และสำเนาภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ใบลาน พระนครน่าน จากฐานข้อมูลพบว่า สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียใหม่ ออกไปสำรวจพระธรรมคัมภีร์ใบลานของวัดในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 - 2537 ได้ทั้งหมด 44 วัด ในพื้นที่ 9 อำเภอ ถ่ายสำเนาภาพพระธรรมคัมภีร์เอาไว้ จำนวน 321 รายการ จำนวน 1,440 ผูก จำนวน 51,562 หน้าลาน

      โดยเฉพาะส่วนของวัดพระธาตุแช่แห้ง สำรวจไว้ ปี พ.ศ. 2524 จำนวน 4 รายการ มี 
       1. ตำนานพระธาตุแช่แห้ง,
       2. มหาชาติชาดก ฉบับเกวียนซาย,
       3. มหาชาติชาดก ฉบับพระรอม,
        และ  4. มหาชาติชาดก ฉบับสิงหรส,
     (ในส่วนที่ทางวัดทำการรวบรวมและทำการปริวรรตพิเศษ 60 เรื่องนั้น คณะผู้วิจัยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมปฏิบัติการโดยตรง แต่ได้มาให้ความช่วยเหลือและแนะนำการจัดเก็บลงทะเบียน)
 ผลการดำเนินงานข้อที่ 2  
     ในด้านสำรวจพระธรรมคัมภีร์ใบลานสำคัญเมืองน่านที่ตกการสำรวจ ของวัดในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้ทำการสำรวจอย่างละเอียดเพียง 3 วัด คือ
         1. วัดดอนแก้ว มีจำนวนทั้งหมด 849 เรื่อง เป็นคัมภีร์ใบลาน จำนวน 832 เรื่อง และพับสา จำนวน 17 เรื่อง และถ่ายสำเนาภาพเอาไว้ 16 รายการ (สถาบันวิจัยสังคมเคยมาสำรวจและถ่ายสำเนาพระธรรมคัมภีร์ไปแล้ว 11 รายการเมื่อปี พ.ศ. 2524 เกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ ปี 2549 ทำความเสียหายอย่างมาก คัมภีร์แช่น้ำเป็นเวลานาน ใบลานเปื่อยยุ่ย แตกผูก ขึ้นราดำ ทางวัดจึงนำมาทำความสะอาดและนำมาเก็บไว้ที่หอธรรม มีคณะอื่นมาสำรวจก่อนหน้านี้ โดยขนพระธรรมคัมภีร์ไว้ที่พระวิหาร แต่ทำการยังไม่สำเร็จ)

        2 วัดนาเหลืองใน มีรายการคัมภีร์ใบลาน พับสาและผ้ายันต์ รวมทั้งสิ้น 613 เรื่อง คัมภีร์ใบลาน 545 เรื่อง พับสาและผ้ายันต์ 68 เรื่อง ถ่ายสำเนาภาพเอาไว้ 36 เรื่อง

        3 วัดศรีเชียงบาล มีคัมภีร์ ใบลานทั้งหมด จำนวน 849 เรื่อง (ไม่ได้ถ่ายสำเนาภาพเอาไว้)
รวมพระธรรมคัมภีร์นครน่าน ที่สำรวจครั้งนี้ทั้งหมด จำนวน 2,311 เรื่อง 

 การปริวรรตพระธรรมคัมภีร์จากต้นฉบับใบลานนครน่าน จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
       1. อานิสงส์ก่อพระธาตุ(ดอนแก้ว) ครูบาสุริยะ แต่ง พ.ศ. 2448 (จำนวน 1 ผูก 66 หน้าลาน)
       2. ตำนานถ้ำกุ่ม จารโดย แสนธนัญไชย (จำนวน 1 ผูก 80 หน้าลาน)
       3. “คำสู่ขวัญช้างฉบับพระนครน่าน” สมบัติของแม่เจ้าทิพย์ ชายาของเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย(2389-2474) พ.ศ. 2530 เจ้าแม่ลัดดา ณ น่าน ซึ่งเป็นธิดาของเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ กับแม่เจ้าทิพย์ ได้นำมาถวายให้แด่พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (ครูบาสม อินฺทสโร) อดีต เจ้าอาวาส วัดนาเหลืองใน) จำนวน 2 เล่ม
       4.มงคลธรรมคำกลอน (ฉบับพระชยานันทมุนี วงศ์ 2470) อดีต จจ.น่าน วัดพระธาตุช้างค้ำ จำนวน 1 ผูก 98 หน้าลาน (ทราบว่า มีต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2460 ยังไม่ได้ถ่ายสำเนา)
หมายเหตุ เรื่องทั้ง 4 ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ปี 2558 ในเชื่อ 
“ภูมิปัญญานครน่าน เอกสารโบราณอันซีนเมืองน่าน” 
ผลการดำเนินงานข้อที่ 3
      ในด้านการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสำหรับการจัดเก็บไฟล์ดิจิตอลสำเนาพระธรรมคัมภีร์ใบลานจังหวัดน่าน คณะนักวิจัยได้ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นรายการเอกสารโบราณ ประกอบด้วยหน้าต่างการแสดงผล 2 รูปแบบ คือ
        (1) หน้าต่างแสดงรายการเอกสารโบราณ และ
       (2) หน้าต่างแสดงรายละเอียดและภาพสำเนาเอกสารโบราณ วิธีการใช้งานระบบสนเทศเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นรายการเอกสารโบราณ มี รายการหลัก คือ การค้นหารายการเอกสารโบราณโดยใช้คำค้นหา, การกรองรายการเอกสารโบราณ และ การเข้าถึงรายละเอียดเอกสารโบราณและการควบคุมการแสดงผลภาพสำเนาเอกสาร ผ่านทางเว็บไซต์ฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในชื่อ http://library.cmu.ac.th/nanmanuscripts/
 ข้อเสนอแนะ จากปฏิบัติการสำรวจอนุรักษ์เอกสารโบราณ พระธรรมคัมภีร์ พระนครน่าน ในครั้งนี้ มีประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะดังนี้
      1. มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการบริการวิชาการแก่สังคม ควรเร่งรีบทำการสำรวจเอกสารโบราณที่ตกค้าง หลงการสำรวจ หรือยังไม่ได้สำรวจ โดยร่วมมือกับคณะสงฆ์ในจังหวัดนั้นๆ ลงทุกพื้นที่ และทำการอนุรักษ์โดยด่วน ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนที่ยังพอมีเป็นมรดกสืบทอดให้อนุชนได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
      2. นักวิจัย ควรคัดเลือกเอกสารสำคัญของวัดในแต่ละจังหวัดทำการถอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ออกมา หาวิธีการทำกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา และเก็บเป็นองค์ความรู้ของท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แหล่งเอกสารโบราณเก็บรักษาอยู่ให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น