วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

รากฐานแห่งสันติภาพ (เมตตาบารมี)

รากฐานแห่งสันติภาพ (เมตตาบารมี) เขียนไว้แต่ปี 2542 ยังทันสมัยอยู่

เมื่อประมาณ 10 หรือ 15 ปีก่อนหน้านี้ ความไวของข้อมูลข่าวสารช้ามาก เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดในอีกซีกโลกหนึ่ง กว่าจะมาถึงผู้บริโภคข่าว เป็นเวลาแรมอาทิตย์ หรือหลายอาทิตย์ แต่ส่วนมากจะเป็นข่าวลือเสียมากกว่า หรือไม่ก็กระพือจนข่าวจริงมีนิดเดียว ขยายออกไปขนาดวัดไม่ได้ และผลกระทบจากข่าวสาร ของอีกซีกโลกหนึ่งดูจะไม่ค่อยกระทบต่อ วิธีชีวิตของอีกซีกโลกหนึ่งมากนัก
แต่ปัจจุบัน ยุคไอทีแสงใยแก้ว อินเตอร์เน็ตไร้สาย  ช่องทางสื่อสารฉับไว  ผ่านดาวเทียม เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นจุดใดของเปลือกโลก ผู้คนทั่วโลกสามารถรับรู้ได้ในเวลาเดียวกัน เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งภาษาทางคอมพิวเตอร์เขาว่าเป็น Real Time (เวลาจริง) และเพราะเจ้าข้อมูลข่าวสารมาถึงผู้บริโภคทันกับเหตุการณ์จริง จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการใช้ชีวิตอย่างมาก
ผมพูดเสียยืดยาว เพราะความไวต่อการกระจายข่าวสารมีอิทธิพลต่อประชากรโลกอย่างยิ่ง ผมมี T.V. เครื่องหนึ่ง รับสัญญาณจากดาวเทียมได้ 2,3 ดวง แต่นี่ก็เพียงพอที่ผมจะเห็นเหตุการณ์ที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ โดยไม่ต้องรอรายงานสกู๊ฟข่าว
เห็นพี่น้องชาวตะวันออกกลาง ทะเลาะกันทุกวัน.. ชาวอินโดนีเซีย ทำร้ายชาวจีนในประเทศตน เห็นการเข่นฆ่าชาวโคโซโว ชาวทมิฬ เข้าไปล้างชาวสิงหล และอีกสารพัดแห่งความขัดแย้ง
ความขัดแย้งเป็นบ่อเกิดแห่งการทะเลาะ ทำลายล้างเป็นสาเหตุแห่งการต่อสู้ และสงคราม ทั้งที่เป็นมาที่มาของน้ำตา ความสูญเสีย และความไม่สงบ แถมข่าวแบบเรียลไทม์ ยังตอกย้ำความขัดแย้งและการสูญเสียอีก ก่อให้เกิดความเกลียดชังในใจของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา
ตามหลักของพระพุทธศาสนา สรรพสิ่งทั้งหลายต่างอิงอาศัยกันและกัน อย่างหนึ่งเป็นสาเหตุ อีกอย่างหนึ่งเป็นผล สาเหตุเดียวอาจก่อให้เกิดผลทั้งทางตรง และทางอ้อมมากมาย แผ่กระจายภูมิภาคหนึ่งไปสู่ภูมิภาคหนึ่งอย่างลูกคลื่นเหนือน่านน้ำ
สิ่งที่เห็นชัดที่สุด เช่นเมื่อเกิดสงครามอ่าวเปอร์เเซีย ทำให้น้ำมันโลกมีราคาสูงเพราะการขาดแคลนเนื่องจากสงคราม ข้าวของเครื่องอุปโภค บริโภคของเราก็ถีบตัวสูงขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตสูง ต้องขายแพง ค่าครองชีพของเราก็ต้องสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว รายได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายเท่าตัว นี่คือ ภัยทางเศรษฐกิจ อันเกิดมาจาก สงครามข่าว
ใกล้ตัวเรามาหน่อย เรื่องการเมืองเมื่ออินโดนีเซีย ประท้วงไล่ซูฮาโต หรือมหาเธร์ จับคู่แข่งทางการเมืองใช่ว่า บ้านเราเมืองเราจะนอนดู เพื่อนบ้านถูกไฟไหม้หรือย่าง เขมร 4 ฝ่ายกลำลัง เขม็งเกรียวไฟ แห่งความรุนแรงเพราะไม่มีใครยอมใคร ถล่มอาวุธใส่กันรายวัน
ประเทศไทยยังจะยืนยิ้มดูเสือกัดกันอย่างเบิกบานกระนั้นหรือ เราจะเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ ที่สามารถนอนตาหลับในขณะ ไฟไหม้บ้านรอบ ๆ ได้หรือ?
ครับ.. นี่คือ ผลพวกของกระแสโลกาวิวัตน์ เราต้องช่วยกันรับผิดชอบ แก้ปัญหาไม่มากก็น้อย
 ทางแก้มิใช่การออกกฎหมาย หรือ การทำซัมมิท (Summit) ประชุมสุดยอดผู้นำ ณ ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะนั่นคือ การแก้เพียงปลายเหตุ แถมบางทีแก้ไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน ต้องสาวหาต้นเหตุหรือต้นตอปัญหาให้ได้
ความเกลียด ความโกรธแค้น อาฆาตพยาบาท จองเวร สงครามเอาเปรียบ การดูถูกเหยียดหยามกันของคนในโลกนี้ พระพุทธเจ้าชี้เหตุไปเลยว่า เกิดจากการขาดความเมตตาไม่มีน้ำใจรักใคร่ ในเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก
ผู้ที่เกลียดชังเพื่อนมนุษย์ ไม่รักเพื่อนมนุษย์ คือผู้ที่เกลียดตัวเองไม่รักตัวเอง การทำใจให้รักเพื่อนมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำยากแต่หากทำได้จริงๆ จะเป็นการแก้สาเหตุของปัญหาได้ตรงจุด แก้ถูกปมของความยุ่งเหยิงขัดแย้ง เป็นที่มาของ สันติสุข และสันติภาพ
ความรักที่เป็นที่มาของสันติสุข คือ เมตตาบารมี

ปลูกเมตตาให้มากเท่าใด โลกก็จะสงบสุขเท่านั้น
พระท่านว่า  เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลกให้ดำรงอยู่
อย่างไรเสีย โลกใบนี้ เราคงยังต้องอยู่ร่วมกัน เพราะโลกอื่นนักวิทยาศาสตร์ยังค้นไม่พบที่จะแยกย้ายกันไปอยู่

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

บทคัดย่อ รายงานวิจัย กิจกรรมการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนาสู่สังคม โดยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น ปี 2556



รายงานการวิจัย


กิจกรรมการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนาสู่สังคม
โดยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น
The imparting and teaching of Art and Culture,
In the tradition of Lan Na Wisdom to Society
by Local scholars



โดย



อาจารย์ ดร. พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ

สถาบันวิจัยสังคม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
รายงานการวิจัย
ปีงบประมาณ 2556


กิจกรรมการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนาสู่สังคม
โดยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น
The imparting and teaching of Art and Culture,
In the tradition of Lan Na Wisdom to Society
by Local scholars



          หัวหน้าโครงการวิจัย

อาจารย์ ดร. พิสิฏฐ์  โคตรสุโพธิ์                          รับผิดชอบ   50 %


          นักวิจัย

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์           รับผิดชอบ   25 %
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แสง-ชูโต              รับผิดชอบ   25 %
               
ผู้ช่วยนักวิจัย

นายชนินทร์ เขียวสนุก









บทคัดย่อ

                   โครงการวิจัยเรื่อง “กิจกรรมการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนาสู่สังคมโดยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น” นี้ กำหนดวัตถุประสงค์ ไว้ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์และคัดเลือก
ภูมิปัญญาล้านนาที่ได้จัดระบบหมวดหมู่ไว้ทำการวิจัยเพื่อเป็นฐานความรู้
(Impact Research) แสวงหาวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมอันจะสามารถต่อยอดองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในสังคมและวัฒนธรรมล้านนาปัจจุบันผ่านปราชญ์อาวุโสล้านนา (2) เพื่อค้นหาปัจจัยที่เอื้อต่อกระบวนการบูรณาการ การนำภูมิปัญญามรดกล้านนาคืนสู่ถิ่นกำเนิด ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ ถ่ายทอดโดยปราชญ์ผู้สูงวัยในท้องถิ่นสู่เยาวชนในสถานศึกษาและท้องถิ่น และ (3) เพื่อสร้างและเชื่อมเครือข่ายด้านล้านนาคดีศึกษา ที่อยู่ในท้องถิ่นกำเนิดของภูมิปัญญาล้านนา ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนา การฝึกอบรม
เพื่อการสืบสาน อนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้ด้านการอ่านวรรณกรรมอักษรโบราณล้านนาและกระตุ้นการทำวิจัยเรื่องที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมล้านนาในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันศาสนาในล้านนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ(วิจัยเอกสาร) ผสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มกิจกรรมการถ่ายทอด 4 กลุ่ม ใน 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า
                   ด้านการคัดเลือกภูมิปัญญาล้านนาที่ได้จัดระบบหมวดหมู่ไว้ทำการวิจัยเพื่อเป็นฐานความรู้นั้น ได้คัดเลือกภูมิปัญญาออกมาได้จำนวน 50 เรื่อง จำแนกตามหมวดได้ ดังนี้ หมวดพระพุทธศาสนา 32 เรื่อง หมวดโหราศาสตร์ 1 เรื่อง หมวดลัทธิพิธีกรรม 4 เรื่อง หมวดไสยศาสตร์ 2 เรื่อง และ
หมวดปกิณกะ
11 เรื่อง มาทำการปริวรรต ทำบทคัดย่อ และเรียบเรียงด้วยภาษาปัจจุบัน ส่วนการแสวงหาวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมในการต่อยอดองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในสังคมและวัฒนธรรมล้านนาปัจจุบันนั้น ได้คัดเลือกปราชญ์ท้องถิ่นใน 4 จังหวัดๆ ละ 1 แห่ง โดยมอบหมายให้ปราชญ์ท้องถิ่นนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดแก่เยาวชนและสังคมดังที่กล่าวมา
                   ด้านปัจจัยที่เอื้อต่อกิจกรรมการถ่ายทอดพบว่า (1) ผู้ถ่ายทอดความรู้/ปราชญ์ท้องถิ่น
ได้คณะปราชญ์ล้านนาผู้ที่มีความตระหนักรู้ และมีผู้สูงอายุที่เชี่ยวชาญอักษรล้านนาในพื้นที่ซึ่งปรารถนาที่จะถ่ายทอดมรดกล้านนา และทำโครงการสืบสานมรดกล้านนาในแต่ละจังหวัด
(
2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ ผู้เรียน ได้มีผู้เรียนหลากกลุ่ม เช่น ประชาชน และนักเรียน มารับการถ่ายทอด (3) ความพร้อมของพื้นที่ ทุกพื้นที่ในโครงการมีความพร้อมสูง (4) นโยบายของท้องถิ่นเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนทั้งด้านกลยุทธ์และงบประมาณสนับสนุน  และ (5) การมีส่วนร่วมของชุมชนได้ชุมชนสถานศึกษาและโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ รวมทั้งเจ้าอาวาสและพระสงฆ์ในแต่ละจังหวัดให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง





                   ด้านรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านนานั้น มีรูปแบบการถ่ายทอดกิจกรรมหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของการจัดชั้นเรียน และการฝึกอบรมความรู้เป็นเรื่องๆ ด้วยการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 3 เดือน จากการสำรวจความพึงใจของผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอดมีผลลัพธ์อยู่ในระดับมาก แสดงถึงความสำเร็จในการทำกิจกรรมเป็นที่น่าพอใจ 
                   ด้านการสร้างเครือข่ายล้านนาคดีศึกษาที่อยู่ในท้องถิ่นกำเนิดของภูมิปัญญาล้านนานั้นคณะผู้วิจัยได้ขยายเครือข่ายออกไปอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคล และกลุ่มสถาบัน ในต่างพื้นที่และประสานงานกับสถาบันการศึกษาที่มีภาระกิจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นทำการศึกษาและถ่ายทอดภูมิปัญญา สร้างความร่วมมือในการทำวิจัยเพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชน
โดยการจัดสัมมนาทางวิชาการ เวทีแห่งผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาที่โรงแรมเชียงใหม่ฮิล
2000 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสวนาหาทางออก และวิธีการถ่ายทอด แก่กันและกัน นับเป็นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง  สามารถร่วมมือกันผลักดันภารกิจด้านการอนุรักษ์และสืบสานมรดกล้านนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โครงการวิจัยในรูปแบบนี้ คณะผู้วิจัยได้รับการสนับนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ทำวิจัยการต่อยอดอีกเพื่อพัฒนากิจกรรมโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ อันจะเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาล้านนาอย่างยั่งยืนสืบไป

Abstract

                   This research entitled the imparting and teaching of Art and Culture, In the tradition of Lan Na Wisdom to Society by Local scholars is designed 1) to analyze and select Lan Na wisdom embodied in Lan Na manuscripts in order to find a suitable method and process which can expand the horizon of such knowledge and apply it to the present Lan Na society through Lan Na learned elders, 2) to find out the factors beneficial to integrating the Lan Na local wisdom, and bring it back to the youths in local educational institutions as well as the locals through the community learned elderly, and 3) to build up the Lan Na studies networks and link them with activities such as seminars and training in order to perpetuate, conserve, and pass on a know-how to read the Lan Na  manuscripts, and encourage them to do research work on the items that will benefit Lan Na society as well as educational institutions, both governmental and private sectors, including Lan Na religious institutions. The study is a documentary research, based on in-depth interview, participant observation and focus group discussion in the four target provinces: Chiang Mai, Lamphun, Phayao and Chiang Rai.
Results of the study are as follows:
                   In selection of the Lan Na wisdom from the collection of manuscripts, fifty items were selected and categorized as the following: Buddhism, thirty-two items; Astrology, one item; Rites and rituals, four items; Magic, two items; and Miscellaneous, eleven items. These materials are then transliterated and rewritten in modern Thai language.  In order to find out a suitable method and process to make such wisdom practicable and applicable for the present Lan Na society and culture, four local learned persons in each province were selected to disseminate the aforesaid wisdom to the youths and society mentioned earlier.
                   As regards the factors conducive to the above-mentioned wisdom dissemination, it was found that (1) with regard to disseminators/Local learned persons, they consisted of local Lan Na learned persons and the elderly specialized in the Lan Na script, who were ambitious to propagate such Lan Na heritage in their community and locality, and wished to create a project for propagating the Lan Na heritage in each province, (2) as for participants/learners, they were from various groups, like community people, local school children, and Buddhist Sunday Schools; all were anxious to participate in learning activity, (3) as regards local preparedness, all area was well prepared for performance, (4) in view of local policy, the aforesaid activity was prioritized and given strategic and budgetary support, and  (5) with regard to community participation, a number of communities, public schools, and Buddhist Sunday Schools, including abbots and community of monks in each province all joined hands in supporting the activity. 
                   As regards an appropriate pattern for dissemination of the Lan Na wisdom, there was a diversity of operating patterns. They were characterized by learning in classroom, and specific training on particular subjects through continuous
three-month activity. 
From the survey of satisfaction of disseminators and recipients, it was rated at a high level, indicating the success of learning activity. 
                   In terms of Lan Na studies network build up in the birthplace of Lan Na local wisdom, the research team has extended it to two other groups, that is, the people and institutions in other areas, and coordinated with educational institutions that were responsible for promoting and maintaining local arts and cultures. It was aimed to study and disseminate the wisdom through cooperation in a research project in order to respond to community demands, for which academic seminar and expert forum were held at the Chiang Mai Hill 2000 so as to exchange experience and deliberative dialogue among the interested groups, resulting in creation of a strong network that would be able to push the task of conserving and perpetuating the Lan Na legacy in the same direction.

                   In order to execute the research project in this manner, the research team was given budgetary support by Chiang Mai University to make possible the further research to pop up research activity with community participation and responsibility to the extent that the community would have a sense of belonging, which is hoped to lead to conserving and perpetuating sustainably the Lan Na wisdom.